วันพฤหัสบดีที่ 29 สิงหาคม 2567 “นายผยง ศรีวณิช” ประธานสมาคมธนาคารไทย และกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) เข้าร่วมสัมมนาวิชาการ “Fiscal GreenPrint พิมพ์เขียวนโยบายการคลังสู่เศรษฐกิจสีเขียว” จัดโดยสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) โดยร่วมเสวนากับผู้บริหารองค์กรภาครัฐและเอกชนในหัวข้อ “Fiscal GreenPrint: Bridging Policy and Practice เชื่อมนโยบายสู่การปฏิบัติ” ณ ห้องอินฟินิตี้ บอลรูม โรงแรมพูลแมน คิง เพาเวอร์ กรุงเทพ
โดยระบุว่า การขับเคลื่อนการเปลี่ยนผ่านไปสู่เศรษฐกิจสีเขียว หรือ Green Transition ให้มีประสิทธิภาพ ต้องคำนึงถึงบริบทเศรษฐกิจไทยในปัจจุบันที่กำลังเผชิญปัญหา เศรษฐกิจนอกระบบที่มีขนาดใหญ่เกือบ 50% ของ GDP ความใหญ่ของเศรษฐกิจนอกระบบนั้น นำมาสู่ความท้าทายในหลายด้าน เช่น รายได้ของประเทศและความสามารถในการแข่งขันอยู่ในระดับต่ำ ปัญหาความยากจนและความเหลื่อมล้ำสูง โดยเฉพาะความเหลื่อมล้ำระหว่างรายใหญ่กับรายเล็ก ทำให้การรับมือกับการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ (Climate Impact) ทำได้ยากมากยิ่งขึ้น สอดคล้องกับข้อมูล World Bank และ IMF ที่ชี้ว่าประเทศที่มีเศรษฐกิจนอกระบบขนาดใหญ่มีแนวโน้มในการรับมือกับ Climate Risk ด้อยกว่าประเทศที่มีเศรษฐกิจนอกระบบขนาดเล็ก ดังนั้นการเร่งแก้ปัญหาเศรษฐกิจนอกระบบ จึงเป็นรากฐานที่สำคัญในการขับเคลื่อนสู่ Green Transition เพื่อยกระดับเศรษฐกิจไทย
“ประเทศไทยจัดอยู่ในกลุ่มที่มี Climate Risk สูง พร้อมๆกับมีเศรษฐกิจนอกระบบขนาดใหญ่ ทำให้มีความเสี่ยง และความเปราะบางในการรับมือกับ Climate Risk สูงกว่าประเทศอื่นๆในภูมิภาค ดังนั้นปัญหาเศรษฐกิจนอกระบบจึงเป็นเรื่องเร่งด่วนในการจัดการ เพราะหากสามารถแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจนอกระบบจะทำให้ไทยมีฐานที่แข็งแรงในการเปลี่ยนผ่านไปสู่ Green Transition ได้อย่างมีประสิทธิภาพ”
ทั้งนี้ อยากให้ประเทศไทยมองเรื่อง Green Transition เป็นโจทย์เดียวกันกับโอกาสในการยกระดับเศรษฐกิจของประเทศ และแก้ปัญหาเชิงโครงสร้างที่เกี่ยวเนื่องกันไปในคราวเดียว โดยเฉพาะผ่านการเพิ่มการลงทุนใหม่ๆ ในระยะ 10 ปีที่ผ่านมาการลงทุนภาคเอกชนของไทยอยู่ในระดับต่ำมายาวนาน นับตั้งแต่วิกฤต 40 (ค่าเฉลี่ยปี 2533-2539 อยู่ที่ 41%) และคิดเป็นสัดส่วนเพียง 25% ของ GDP ต่ำกว่าหลายประเทศในเอเชีย โดยทาง Bain & Company ประเมินว่าภายในปี 2573 จะมีการลงทุนสีเขียว (Green Investment) ในภูมิภาค ASEAN ราว 1.5 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ สำหรับประเทศไทยประเมินว่ามีความจำเป็นต้องมีการลงทุนสีเขียวมากถึง 1.8 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในช่วงเวลาเดียวกัน ซึ่งจะก่อให้เกิดโอกาสในการยกระดับรายได้และการจ้างงานของประชาชน จากความต้องการ Green Job ที่เพิ่มสูงขึ้น และยังจะยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันในยุค Future Economy อีกด้วย
นายผยงกล่าวว่า สมาคมธนาคารไทยให้ความสำคัญกับ Green Transition โดยยกระดับประเด็น Sustainability เป็น 1 ใน 4 ยุทธศาสตร์สำคัญที่จะร่วมกันผลักดัน โดยที่ในปีนี้ ธนาคารพาณิชย์ 8 แห่ง ร่วมผลักดันโครงการ Financing the Transition เพื่อสนับสนุนผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงิน ที่ช่วยให้ภาคธุรกิจปรับตัวสู่ความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม ต่อยอดจากในปี 2566 ที่ธนาคารขนาดใหญ่ให้สินเชื่อเปลี่ยนผ่านเพื่อความยั่งยืนหรือ Transition Finance เกือบ 2 แสนล้านบาท หรือ 1.4% ของยอดคงค้างสินเชื่อรวม นอกจากนี้ สมาคมธนาคารไทย ยังได้บรรจุเรื่อง Green Economy อยู่ในข้อเสนอที่ได้นำเสนอต่อรัฐบาล เพื่อพิจารณาเป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของประเทศ โดยเสนอให้เพิ่มศักยภาพในการแข่งขันให้กับผู้ประกอบการ ด้วยการสนับสนุน Tax Incentive สำหรับ Transition Finance รวมถึงการลงทุนที่เกี่ยวกับ Green โดยมองว่าการมี Incentive ที่เหมาะสมให้กับผู้ประกอบการ โดยเฉพาะในกลุ่ม SMEs ในการปรับตัว จะมีส่วนสนับสนุนให้ผู้ประกอบการเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้มากขึ้น
“ข้อมูล หรือ Data คือ สิ่งสำคัญในการขับเคลื่อน Green Transition เพื่อให้สามารถเข้าใจปัญหาหรือสถานการณ์ที่แท้จริง นำไปสู่การตัดสินใจ ขับเคลื่อนเศรษฐกิจโดยอาศัยข้อมูล (Data-Driven Economy) เปิดกว้าง โปร่งใส เชิญชวนให้ทุกฝ่ายเข้ามามีส่วนร่วม ซึ่งปัจจุบัน พบว่าข้อมูลเกี่ยวกับ Climate Risk และ Green Economy ยังมีข้อจำกัดอยู่มาก ทั้งในเรื่องระบบจัดเก็บและความน่าเชื่อถือของข้อมูล โดยเฉพาะข้อมูลของธุรกิจ SMEs และก๊าซเรือนกระจกใน Scope 3 ซึ่งทำให้การก้าวสู่ Net Zero Supply Chain เป็นไปได้ยาก รวมถึงการมี Verifier และมาตรฐานสำหรับ Carbon Credit ที่ตอบโจทย์ทั้งบริบทในประเทศและบริบทระหว่างประเทศ เพราะ Carbon Credit เป็น Global Asset Class ประเภทหนึ่ง”
นอกจากนี้ การขับเคลื่อนเรื่อง Green Economy ทุกภาคส่วนต้องร่วมมือกัน และต้องไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง เพื่อให้ Green Transition เป็น Inclusive Transition นำโดยภาครัฐที่ออกแบบและขับเคลื่อนนโยบายรวมทั้งสร้างแรงจูงใจด้วยเครื่องมือทางนโยบายทั้งด้านการเงินและด้านสภาพแวดล้อม (Operating Environment) ที่สนับสนุนให้เกิดการปรับตัวในทุกภาคส่วน ในแต่ละ Ecosystem อย่างสมดุล เช่น มาตรการทางด้านภาษี สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ (Soft Loan) รวมไปถึงการจัดซื้อจัดจ้างของรัฐที่เพิ่มแต้มต่อให้กับสินค้าไทยที่ได้มาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อม ด้านผู้ประกอบการรายใหญ่ โดยเฉพาะบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ควรต้องร่วมมีบทบาทยกระดับ SMEs ที่อยู่ใน Supply Chain เดียวกัน ถือเป็นส่วนหนึ่งของ Corporate Responsibility ขณะที่ภาคประชาชน รวมถึงธุรกิจรายย่อย ควรต้องเข้ามาอยู่ในระบบมากขึ้น อีกทั้งเพิ่มความตระหนักรู้ และปรับตัวเพื่อ Up-skill/Re-skill สอดรับโอกาสจาก Green หรือ Transition Job และได้รับค่าจ้างที่สูงขึ้น (Pay by Skill)
“ภาคการเงิน เป็นเพียงหนึ่งในหลายๆฟันเฟืองที่จะร่วมขับเคลื่อน Green Transition ยังต้องมีความร่วมมือจากทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐและเอกชนในแต่ละกลุ่มอุตสาหกรรม เพื่อให้การขับเคลื่อนมีประสิทธิภาพ ซึ่งนโยบายของภาครัฐที่ตรงจุด และในเวลาที่เหมาะสม จะเป็นปัจจัยที่สนับสนุนให้ผู้ประกอบการทุกภาคส่วน โดยเฉพาะ SMEs เข้าสู่ Green Transition ขับเคลื่อนประเทศสู่ Green Economy อย่างยั่งยืน โดยมีความสมดุลระหว่างการลด Carbon Emission กับการส่งผ่าน Incentive เพื่อให้ชุมชนและภาคครัวเรือนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นไปพร้อมๆ กัน”
Chairman: Mr. Suwit Indrachalerm (Bangkok Bank Public Company Limited)
Coordinator: Mr. Suphawat Maseng
Objectives: This club is established with the approval of its members to carry out corporate social responsibility (CSR) activities consistent with the operations of the Thai Bankers’ Association as follows
This will close in 500 seconds
Chairman: Ms. Suteera Sripaibulya (Bangkok Bank Public Company Limited)
Coordinator: Ms. Sampantanee Apaipan
Objectives: This club is established
This will close in 500 seconds
Chairman: Mr. Than Siripokee (Bangkok Bank Public Company Limited)
Coordinator: Ms. Supada Ruttanapong
Objectives: This club is established
This will close in 500 seconds
Chairman: Mr. Paisarn Lertkowit (Bangkok Bank Public Company Limited)
Coordinator: Ms. Kristsanee Disapad
Objectives: This club is established
This will close in 500 seconds
Chairman: Mr. Kittichai Singha (Bank of Ayudhya Public Company Limited)
Coordinatior: Ms. Chutiporn Jiranansuroj
Objectives: This club is established
This will close in 500 seconds
Chairman: Pongpichet Nananukool (Kasikorn Bank Public Company Limited)
Coordinator: Mr. Warat Attanandana
Objectives: This club is established
This will close in 500 seconds
Chairman: Mr. Kitipong Muttamara (Krungthai Bank Public Company Limited)
Coordinator: Ms. Manisa Rueangsri
Objectives: This club is established
This will close in 500 seconds
Chairman: Mr. Atis Ruchirawat Ayudhya Capital Services Co., Ltd.
Coordinator: Ms. Apsorn Suttaroj
Objectives: This club is established
This will close in 500 seconds
Acting Chairman: Mr. Settarat Na-Nakorn (Kasikorn Bank Public Company Limited)
: Ms. Suchanee.lavanavanija (Bangkok Bank Public Company Limited)
Coordinator: Ms. Monruedee Teerarungruang
Objectives: The Club is established
This will close in 500 seconds
Chairman: Mr. Thitivorn Chothayaphorn (Bank of Ayudhya Public Company Limited)
Coordinator: K. Jitti Wijitbanjong
Objectives: The Club is established
This will close in 500 seconds
Chairman: Mr. Prathin Kijjaruwankul (Kiatnakin Phatra Bank Public Company Limited)
Coordinator: Mr. Thammanun Harnprasitkam
Objectives: The Club is established
This will close in 500 seconds
Chairman: Ms. Oranuch Nampoolsuksan (Bangkok Bank Public Company Limited)
Coordinator: Ms. Roongratt Ratanarajchartikul
Objectives: The Club is established
This will close in 500 seconds
Chairman: Dr. Phacharaphot Nuntramas (Krungthai Bank Public Company Limited)
Coordinator: Dr. Chamadanai Maknual
Objectives: The Club is established
This will close in 500 seconds
Chairman: Ms. Pornvalai Kulrojseth (Krungthai Bank Public Company Limited)
Coordinator: -
Objectives: The Club is established
This will close in 500 seconds
Chairman: Ms. Puntipa Hannoraseth (Bank of Ayudhya Public Company Limited)
Coordinator: Ms. Tippawan Bannajirakul
Objectives: The Club is established
This will close in 500 seconds
Chairman: Ms. Waranee Wanrat (TMBThanachart Bank Public Company Limited)
Coordinator: Ms. Sunisa Netsawang
Objectives: The Club is established
This will close in 500 seconds
Acting Chairman: Ms. Jeerana Ramasoot (Bangkok Bank Public Company Limited)
Coordinator: Ms. Natchanok Aryukong
Objectives: The Club is established
This will close in 500 seconds
Chairman: Dr. Vasin Udomratchatavanich Bank of Ayudhya Public Company Limited
Coordinator: Ms. Manduan Aeambunapong
Objectives: The Club is established
This will close in 500 seconds
Chairman: Mr. Sant Thaosuwan (Bank of Ayudhya Public Company Limited)
Coordinator: Ms. Wasunthree Tri-utok
Objectives: The Club is established
This will close in 500 seconds
Chairman: Mr. luesak Sukasem (Krungthai Bank Public Company Limited)
Coordinator: Ms. Nipaporn Daokhanon
Objectives: The Club is established
This will close in 500 seconds
ธรรมาภิบาล(Governance) : มีระบบการกำกับดูแลกิจการที่ดี และดำเนินการกำกับดูแลได้อย่างมีประสิทธิผลในระดับคณะกรรมการ โดยกำหนดภาระและขอบเขตความรับผิดชอบที่ชัดเจนในระดับการจัดการในเรื่องที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล
This will close in 500 seconds
ยุทธศาสตร์ (Strategy) : บูรณาการพันธกิจด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล เข้ากับยุทธศาสตร์การดำเนินธุรกิจและกำหนดกรอบด้านการเงินที่ยั่งยืน โดยสนับสนุนเพื่อให้ประเทศสามารถเปลี่ยนผ่านไปสู่เป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ได้อย่างราบรื่น
This will close in 500 seconds
การบริหารความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อม สังคมและธรรมาภิบาล (ESG Risk Management) : ผนวกรวมประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล ไว้ในกระบวนการบริหารความเสี่ยง
This will close in 500 seconds
ผลิตภัณฑ์ทางการเงิน(Financial Products) : ปรับใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อส่งเสริมการเข้าถึงบริการทางการเงิน รวมทั้งนวัตกรรมทางการเงินที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและยั่งยืน
This will close in 500 seconds
การสื่อสาร (Communication) : สื่อสารและประสานความร่วมมือกับผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วนในการสร้างจิตสำนึกสาธารณะด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล
This will close in 500 seconds
การเปิดเผยข้อมูลทางการเงิน (Disclosure) : พัฒนาระบบการติดตามและการรายงานที่สอดคล้องกับกรอบการกำกับดูแลของประเทศไทยและมาตรฐานการเปิดเผยข้อมูลด้านความยั่งยืนในระดับสากล
This will close in 500 seconds
3 เรื่องต้องรู้ก่อนเข้าร่วมมาตรการปิดจบ หนี้เรื้อรัง
**สามารถขอออกจากมาตรการได้ แต่จะไม่ได้รับสิทธิแก้หนี้ตามเงื่อนไขเดิม**
3 เรื่องต้องรู้ หากจ่ายขั้นต่ำบัตรกดเงินสดนาน ๆ
แบบไหนเข้าข่ายปัญหาหนี้เรื้อรัง (Persistent Debt - PD)
1. แม้ภาระต่อเดือนไม่สูง แต่ใช้เวลานาน กว่าจะหมดหนี้
2. ยอดขั้นต่ำที่จ่ายแต่ละเดือนเป็นดอกเบี้ยมากกว่าเงินต้น
3. เมื่อผ่อนจบพบว่ายอดรวมที่จ่ายไปส่วนใหญ่คือ ดอกเบี้ย
อยากหมดหนี้ไว ㆍจ่ายดอกเบี้ยลดลง ㆍ ภาระต่อเดือนไม่เพิ่มจากเดิม
เลือกเข้ามาตรการปิดจบหนี้เรื้อรังได้ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป
หมายเหตุ : ลูกหนี้ที่เข้าข่ายเป็นหนี้รื้อร้ง จะได้รับการติดต่อจากเจ้าหนี้ โดยหาก 5 ปีที่ผ่านมา ลูกหนี้จ่ายดอกเบี้ยรวมมากกว่าเงินต้นรวม จะได้รับข้อเสนอปิดจบหนี้ภายใน 5 ปี ดอกเบี้ยไม่เกิน 15% ต่อปี
ตัวอย่าง
ใช้บัตรกดเงินสด
วงเงินหมุนเวียน 15,000 บาท
ผ่อนขั้นต่ำ (3%) มาแล้ว 5 ปี
เหลือจ่ายเงินต้นอีก 8,700 บาท
ทางเลือกที่ 1 : ผ่อนขั้นต่ำต่อไปจนครบ ดอกเบี้ย 25% ต่อปี ผ่อนต่ออีก 13 ปี 5 เดือน
เหลือจ่ายดอกเบี้ยอีก 14,000 บาท
ดอกเบี้ยรวมทั้งสัญญา 29,000 บาท
ทางเลือกที่ 2 : เข้าโครงการแก้หนี้เรื้อรัง ดอกเบี้ย 15% ต่อปี ผ่อนต่ออีก 3 ปี 6 เดือน (เดือนละ 260 บาท)
เหลือจ่ายดอกเบี้ยอีก 2,500 บาท
ดอกเบี้ยรวมทั้งสัญญา 17,500 บาท
*ประหยัดดอกเบี้ยได้ 11,500 บาท*
หมายเหตุ: ผ่อนเดือนละ 260 บาท เท่ากับยอดการผ่อนขั้นต่ำ ณ เดือนสุดท้ายของปีที่ 5 ก่อนเข้าโครงการ
ตอบข้อสงสัย มาตรการปิดจบหนี้เรื้อรัง
(1) ทำไมมาตรการปิดจบหนี้เรื้อรัง ไม่รวมหนี้บัตรเครดิต?
(2) ทำไมต้องมีเงื่อนไขปิดวงเงินหากเข้าร่วมมาตรการปิดจบหนี้เรื้อรัง
(3) การเข้ามาตรการปิดจบหนี้เรื้อรัง จะมีการรายงานข้อมูลในเครดิตบูโร (NCB) หรือไม่
ทำไมมาตรการปิดจบหนี้เรื้อรัง ไม่รวมหนี้บัตรเครดิต?
เพราะหนี้บัตรเครดิตมี (1) อัตราดอกเบี้ย และ (2) เงื่อนไขการผ่อนชำระที่ทำให้ไม่เข้าข่ายหนี้เรื้อรังที่จ่ายดอกเบี้ยมากกว่าเงินต้นและใช้เวลานานในการปิดจบ
ลูกหนี้บัตรเครดิตจ่ายขั้นต่ำที่ 8% ทำให้จ่ายชำระเงินต้นมากกว่าดอกเบี้ย ลูกหนี้สามารถปิดจบหนี้ได้ภายในระยะเวลาไม่นานนัก
บัตรกดเงินสดมักจ่ายขั้นต่ำที่ 3% และดอกเบี้ยส่วนใหญ่อยู่ที่ 25% ต่อปี ซึ่งจะทำให้ ตัดจ่ายดอกเบี้ย 2% และตัดเงินต้นเพียง 1%
ทำไมต้องมีเงื่อนไขปิดวงเงินหากเข้าร่วมมาตรการปิดจบหนี้เรื้อรัง
เงื่อนไขการปิดวงเงินจะช่วยให้ลูกหนี้มีวินัยทางการเงินเพิ่มขึ้นและสามารถปิดจบหนี้ได้ภายใน 5 ปี
อย่างไรก็ดี กรณีลูกหนี้ที่เข้ามาตรการฯ มีความจำเป็นฉุกเฉิน เช่น เจ็บป่วย ได้รับอุบัติเหตุ ตกงาน ผู้ให้บริการอาจพิจารณาให้สินเชื่อได้ หากลูกหนี้มีความสามารถในการชำระหนี้เพียงพอ ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับนโยบายและเงื่อนไขของผู้ให้บริการแต่ละแห่ง
กรณีลูกหนี้มีบัตรกดเงินสดมากกว่า 1 ใบ สามารถเลือกเข้าโครงการแค่บางบัตร และเก็บวงเงินบัตรกดเงินสดที่เหลือไว้ก่อนได้
การเข้ามาตรการปิดจบหนี้เรื้อรัง จะมีการรายงานข้อมูลในเครดิตบูโร (NCB) หรือไม่
จะมีการรายงานข้อมูลใน NCB โดยเพิ่มการรายงานประเภทของสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้ "รหัส (code) 03" โดยจะไม่กระทบสถานะบัญชีลูกหนี้ที่ยังเป็น 10-ปกติ เช่นเดิมทั้งนี้ การรายงานนี้ จะช่วยให้ผู้ให้บริการทราบถึงการเข้าโครงการซึ่งสะท้อนความตั้งใจที่ดีในการแก้ปัญหาหนี้ของลูกหนี้
มาตรการปิดจบหนี้เรื้อรัง..ช่วยเหลือลูกหนี้อย่างไร?
ถ้าได้รับแจ้งเตือนว่าเป็นลูกหนี้เรื้อรัง (severe PD) จะได้รับข้อเสนอให้สมัครเข้าร่วมมาตรการเพื่อปิดจบหนี้ ซึ่งจะได้รับประโยชน์จากการเข้าร่วมมาตรการ ดังนี้
** สำหรับลูกหนี้ที่เริ่มเรื้อรัง (general PD) ให้รีบติดต่อเจ้าหนี้หากต้องการแก้หนี้ เจ้าหนี้จะมีแนวทางให้ความช่วยเหลือที่เหมาะสมเป็นรายกรณี **
การแจ้งเตือนเมื่อเข้าข่ายลูกหนี้เรื้อรัง
ความถี่การแจ้งเตือนจากเจ้าหนี้
ช่องทางการแจ้งเตือน
โดยลูกหนี้เรื้อรังจะได้รับข้อเสนอแนวทางการปิดจบหนี้จากเจ้าหนี้ด้วย
หนี้เรื้อรัง คืออะโร.. แค่ไหนที่เรียกว่าเรื้อรัง?
แบบไหนเข้าข่ายปัญหาหนี้เรื้อรัง (Persistent Debt - PD)
ลูกหนี้เรื้อรัง 2 แบบ
1. เริ่มเป็นหนี้เรื้อรัง (general PD)
2. เป็นหนี้เรื้อรัง (severe PD)
** ธปท. กำหนดเกณฑ์รายได้ เพื่อมุ่งให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ที่เดือดร้อนที่สุดก่อน โดยพิจารณาความเรื้อรังและรายได้ที่ไม่สูงมากของลูกหนี้ **
ทวงหนี้อย่างเป็นธรรม ต้องแจ้งข้อมูลสำคัญอะไรบ้าง
เจ้าหนี้จะต้องแจ้งรายละเอียดของภาระหนี้พร้อมข้อมูลสำคัญอื่น ๆ แก่ลูกหนี้ให้ครบถ้วน เช่น
และห้ามเรียกให้ผู้ค้ำประกันชำระหนี้ก่อน ยกเว้น ลูกหนี้ล้มละลายหรือติดต่อไม่ได้
#ResponsibleLending #แก้หนี้ยั่งยืน #เจ้าหนี้รับผิดชอบ #ลูกหนี้มีวินัย
มีหนี้กับหลายเจ้าหนี้จะทำอย่างไร?
เคยปรับโครงสร้างหนี้แล้วขอปรับซ้ำได้ไหม?
หมายเหตุ: เกณฑ์ Responsible Lending ลูกหนี้มีสิทธิขอปรับโครงสร้างหนี้ ก่อนเป็นหนี้เสีย อย่างน้อย 1 ครั้ง และหลังเป็นหนี้เสีย อย่างน้อย 1 ครั้ง โดยนับรวมการปรับโครงสร้างหนี้ก่อน 1 ม.ค. 67
สัญญาณปัญหาหนี้
สัญญาณว่าลูกหนี้กำลังมีปัญหา เช่น จ่ายขั้นต่ำ จ่ายช้า กดบัตรเงินสดมาจ่ายคืนหนี้อื่น รายได้ไม่พอรายจ่าย ถ้าเห็นสัญญาณแบบนี้ไปคุยกับเจ้าหนี้ได้เลย !!
หมายเหตุ: สนใจติดต่อ Call center และสาขาของธนาคารที่ท่านใช้บริการ