การเป็นหนี้ไม่ได้หมายถึงความฟุ้งเฟ้อแต่เพียงอย่างเดียว เพราะมีสินค้าหรือบริการหลายอย่างที่เราจำเป็นต้องใช้หรืออยากได้ แต่เราซื้อด้วยเงินสดไม่ไหว ตัวอย่างสำคัญ ๆ ก็เช่น บ้าน รถ การเรียนต่อ พวกเราส่วนใหญ่จึงต้องมองหาตัวช่วยซึ่งมักมาในรูปของสินเชื่อหรือเงินกู้
ข้อดีของการซื้อของด้วยเงินกู้คือ เราสามารถค่อย ๆ ผ่อนจ่ายทีละงวดด้วยจำนวนเงินก้อนน้อยตามกำลังรายได้ของเราได้ แต่ก่อนที่เราจะเลือกเดินทางในเส้นทางสาย “ลูกหนี้” มาดูกันว่าทำอย่างไรหนี้จึงจะไม่สร้างปัญหาให้เราเหมือนอย่างที่เคยได้ยินในข่าวกันบ่อย ๆ บทความนี้จะพาทุกคนไปรู้จักวิธีการเตรียมตัวให้พร้อมก่อนเป็นหนี้ จะได้เป็นหนี้ได้อย่างสบายใจ ไม่มีปัญหากวนใจตามมาทีหลัง
หนี้เป็นสิ่งไม่ดีหรือไม่ เป็นหนี้เท่าไรไม่สร้างภาระ
เริ่มแรก เราควรรู้ก่อนว่าหนี้มีกี่ประเภทและอะไรบ้าง แบบไหนเป็นหนี้ดี แบบไหนพึงระวัง แบบไหนอันตราย เราสามารถแบ่งหนี้ออกเป็น 2 ประเภทหลัก ๆ ได้แก่ หนี้ที่สร้างรายได้และหนี้ที่ไม่สร้างรายได้ โดยหนี้ที่สร้างรายได้คือ หนี้ดี ช่วยให้เรามีเงินใช้หรือสร้างความมั่นคงในอนาคต เช่น หนี้เพื่อการศึกษา เรียนจบแล้วจะได้มีความก้าวหน้าทางการงานมากขึ้น หนี้เพื่อการประกอบอาชีพ กู้เงินมาเพื่อใช้ซื้อสิ่งของที่จำเป็นในการทำงาน ส่วนหนี้ที่ไม่สร้างรายได้แบ่งเป็น 2 ประเภทย่อย ได้แก่ หนี้พึงระวังและหนี้อันตราย โดยตัวอย่างของหนี้พึงระวัง เช่น หนี้จากการใช้จ่ายฟุ่มเฟือย ซื้อสิ่งของที่ไม่จำเป็นหรือของลดราคาทั้งที่ไม่ต้องใช้ หรือหนี้ที่มากเกินกำลังที่จะจ่ายไหว เช่น การซื้อบ้านหรือรถที่แพงเกินความสามารถในการชำระหนี้ของเรา และหนี้อันตรายคือหนี้ที่เราต้องละเว้นอย่างเด็ดขาด เพราะการสร้างหนี้ประเภทนี้นอกจากไม่เกิดประโยชน์หรือได้ประโยชน์น้อยมากแล้ว หลายอย่างยังมีความเสี่ยงสูงมากที่จะทำให้เราได้รับโทษหรือเกิดความเสียหายรุนแรง หรือเรียกว่า “ได้ไม่คุ้มเสีย” เช่น หนี้จากการพนัน และหนี้ที่กู้ไปลงทุนในสิ่งที่ผิดกฎหมาย
หลังจากรู้จักประเภทหนี้แล้ว เราต้องรู้จักตัวเองและรู้จักเจ้าหนี้หรือเกณฑ์ในการพิจารณาสินเชื่อ ในฐานะ “ว่าที่ลูกหนี้” เราต้องคิดให้รอบคอบก่อนว่าสินค้าและบริการที่เราจะก่อหนี้เพื่อให้ได้มานั้นเป็นสิ่งที่จำเป็นในการใช้ชีวิตประจำวันแน่ ๆ หรือแค่เพราะอยากได้ แต่ไม่ได้มีความจำเป็นในการใช้ชีวิตเลย หลังจากคิดถึงความจำเป็นแล้ว ลูกหนี้ต้องคิดต่อว่า “จำเป็นต้องซื้อตอนนี้เลยหรือรอได้” หากรอได้ เราจะมีเวลาเก็บเงินให้ครบก่อนค่อยซื้อ จะได้ไม่ต้องไปกู้ หรือเก็บเงินดาวน์ให้ได้เยอะหน่อย จะได้กู้เงินน้อยลง และที่สำคัญ เราต้องวางแผนการผ่อนชำระแล้วดูว่าไหวหรือเปล่า ซึ่งอาจจะลองซ้อมผ่อนชำระดูก่อน 3 เดือน ถ้าลองแล้วไหว เงินยังพอใช้ไม่รู้สึกตึงมือจนเกินไป จึงค่อยตัดสินใจกู้
นอกจากลองซ้อมผ่อนแล้ว เราควรเช็กภาพรวมด้วยว่าเรามีหนี้มากไปแล้วหรือไม่ โดยหลักอย่างง่าย หนี้ที่อยู่ในระดับที่สามารถบริหารจัดการได้ไม่ควรมีภาระผ่อนหนี้เกิน 1 ใน 3 หรือ 33% ของรายได้ต่อเดือน ซึ่งภาระผ่อนดังกล่าวต้องเป็นภาระรวมของหนี้ที่มีอยู่กับหนี้ที่กำลังจะเกิดขึ้น (ควรคำนวณสัดส่วนนี้ทุกครั้งที่คิดจะขอกู้เพิ่มหรืออย่างน้อยปีละครั้งเป็นส่วนหนึ่งของการตรวจสุขภาพการเงินประจำปี) เช่น ถ้าเรามีรายได้เดือนละ 30,000 บาท เราไม่ควรมีภาระหนี้ต่อเดือนเกินเดือนละ 10,000 บาท (30,000 หารด้วย 3 เท่ากับ 10,000 บาท) การที่เรามีภาระหนี้ที่ไม่มากเกินไปทำให้ในแต่ละเดือนจะยังมีเงินเพียงพอสำหรับไว้ใช้จ่ายในด้านอื่น ๆ ด้วย
เมื่อ “รู้เรา” แล้วก็มา “รู้เขา” กันต่อ คือต้องทำความรู้จัก “ว่าที่เจ้าหนี้” หรือผู้ให้บริการสินเชื่อหรือเงินกู้แต่ละแห่งให้สินเชื่อกับว่าที่ลูกหนี้แบบไหน ซึ่งจะแตกต่างกันไปตามนโยบายของแต่ละที่ แต่ปัจจัยหลัก ๆ ที่เหมือนกันก็คือ ลูกหนี้ต้องมีความสามารถในการชำระคืนหนี้ โดยพิจารณาจากความเพียงพอและความน่าเชื่อถือของแหล่งรายได้ ประวัติการชำระหนี้จากข้อมูลในรายงานเครดิตบูโร (NCB) ประเภทหนี้ที่ขอกู้ตรงตามวัตถุประสงค์ของหนี้ชนิดนั้น ๆ และวงเงินที่ขอกู้ไม่เกินความสามารถในการชำระหนี้และเป็นไปตามนโยบายของผู้ให้บริการ
หนี้ไม่ใช่ของฟรี แต่มีราคาต้องจ่าย (และอาจแพงกว่าที่เราคิด)
คนที่สนใจอยากขอสินเชื่อหรือขอกู้เงินหลายคนอาจมุ่งหน้าคิดเฉพาะเรื่องสภาพคล่องหรือ “ขอให้ได้เงินได้ของตอนนี้เถอะ” จนอาจลืมไปว่า “หนี้ไม่ใช่ของฟรี” แต่เป็นสิ่งที่มีราคาต้องจ่ายในรูปของดอกเบี้ย ซึ่งก็คือต้นทุนที่ลูกหนี้ต้องจ่ายให้เจ้าหนี้นั่นเอง และหากเรากู้เงินจำนวนมาก และกู้ในระยะเวลานาน เรายิ่งต้องจ่ายดอกเบี้ยมากตามไปด้วย
เมื่อรู้แล้วว่าหนี้ไม่ใช่ของฟรีแต่มาพร้อมกับดอกเบี้ยเสมอ แล้วอัตราดอกเบี้ยเงินกู้มีกี่ประเภทกัน คำตอบคือมี 2 ประเภท ได้แก่ อัตราดอกเบี้ยคงที่ (fixed rate) และอัตราดอกเบี้ยลอยตัว (floating rate)
อัตราดอกเบี้ยลอยตัวอีก 2 ประเภทที่เป็นที่รู้จัก คือ Minimum Loan Rate หรือ MLR ส่วนใหญ่ใช้กับลูกค้ารายใหญ่ชั้นดีที่กู้เงินระยะยาวที่มีกำหนดระยะเวลาไว้แน่นอน เช่น สินเชื่อเพื่อการประกอบธุรกิจของลูกค้าธุรกิจ และ Minimum Overdraft Rate หรือ MOR ใช้กับวงเงินเบิกเกินบัญชี (Overdraft: O/D) เพื่อเสริมสภาพคล่องให้ธุรกิจ
เมื่อรู้จักประเภทของอัตราดอกเบี้ยแล้ว เราก็ควรรู้วิธีการคิดดอกเบี้ยด้วย ซึ่งมี 2 วิธี ได้แก่
หากเราเจอสินเชื่อหรือเงินกู้ที่ใช้ flat rate เช่น เงินกู้นอกระบบ เราสามารถคูณ flat rate ด้วย 1.8 เพื่อแปลงเป็นอัตราดอกเบี้ยแบบลดต้นลดดอกแบบคร่าว ๆ ได้ ยกตัวอย่างเช่น flat rate อยู่ที่ 2% ก็คิดเป็นอัตราดอกเบี้ยแบบลดต้นลดดอกที่ 2% X 1.8 = 3.6%
เลือกกู้ยังไงให้ถูกประเภท
สิ่งสำคัญอีกอย่างที่ต้องรู้เมื่อจะตัดสินใจกู้ คือ รายละเอียดและเงื่อนไขของสินเชื่อประเภทต่าง ๆ และเลือกกู้ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ในการกู้ ซึ่งจะขอเล่าถึงบริการหรือผลิตภัณฑ์สำหรับลูกค้ารายย่อยที่เราพบเห็นบ่อย ๆ ในท้องตลาดและใกล้ตัวเรา ได้แก่ บัตรเครดิต สินเชื่อส่วนบุคคล สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย เช่าซื้อรถ
บัตรเครดิต ใช้สำหรับซื้อสินค้าและบริการเพื่อใช้สอยในชีวิตประจำวันโดยยังไม่ต้องจ่ายเงินทันที เพราะผู้ออกบัตรจะสำรองจ่ายเงินให้ร้านค้าไปก่อนค่อยมาเรียกเก็บเงินจากผู้ใช้บัตรทีหลัง และยังใช้บัตรเบิกถอนเงินสดออกมาใช้จ่ายในยามฉุกเฉินได้ด้วย แม้การมีบัตรเครดิตจะช่วยให้ใช้ชีวิตได้สะดวกสบายขึ้น แต่ถ้าหากใช้อย่างเกินความสามารถในการชำระคืนก็อาจทำให้มีปัญหาตามมาในภายหลังได้ เมื่อใดก็ตามที่ไม่สามารถจ่ายชำระได้เต็มจำนวนและตรงเวลา (ไม่รวมกรณีเบิกถอนเงินสด) ผู้ออกบัตรสามารถคิดอัตราดอกเบี้ย ค่าปรับ ค่าบริการ และค่าธรรมเนียมได้ โดยรวมกันแล้วไม่เกิน 16% ต่อปี สำหรับวงเงินที่จะได้รับจะขึ้นอยู่กับรายได้ของผู้สมัคร โดยอยู่ระหว่าง 1.5–5 เท่าของระดับรายได้
เทคนิคการใช้บัตรเครดิตให้ได้ประโยชน์สูงสุด คือ (1) กรณีที่ใช้เฉพาะซื้อสินค้าและบริการ ควรจ่ายหนี้ให้เต็มจำนวนและตรงเวลา เพราะจะได้ไม่เสียดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมและหรือได้รับประโยชน์จากระยะเวลาปลอดดอกเบี้ย (2) จ่ายให้ได้มากกว่าขั้นต่ำ (minimum payment) เพราะยิ่งจ่ายน้อย ก็ยิ่งเสียดอกเบี้ยมากและใช้เวลานานกว่าจะหมดหนี้ เช่น มียอดคงค้างหนี้บัตรเครดิต 30,000 บาท จ่ายขั้นต่ำไปเรื่อย ๆ ลูกหนี้จะเสียดอกเบี้ยรวมมากถึง 4,224 บาท และเป็นหนี้นานเกือบ 3 ปีครึ่งกว่าจะหมดหนี้[2] (3) หากไม่จำเป็นจริง ๆ ควรหลีกเลี่ยงการใช้บัตรเครดิตกดเงินสด เพราะลูกหนี้จะเสียค่าธรรมเนียมเบิกถอนล่วงหน้า 3% และเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) อีก 7% ด้วย และ (4) ลูกหนี้ไม่ควรใช้การหมุนหนี้บัตร ใช้หรือกดเงินจากบัตรนี้ไปจ่ายบัตรอื่นหรือสินเชื่ออื่น เพราะจะทำให้ลูกหนี้มีภาระหนี้ไม่จบไม่สิ้น หนี้วนเป็นงูกินหาง
หมายเหตุ : ขั้นต่ำ 8% ของยอดหนี้สำหรับปี 2567 และปรับเป็น 10% ตั้งแต่ปี 2568 เป็นต้นไป
สินเชื่อส่วนบุคคล คือสินเชื่อที่กู้มาเพื่อจับจ่ายใช้สอยในชีวิตประจำวันหรือประกอบอาชีพ โดยไม่ต้องมีทรัพย์สินเป็นหลักประกัน สินเชื่อนี้มีหลายประเภท เช่น รับเงินเป็นก้อน บัตรกดเงินสด สินเชื่อส่วนบุคคลดิจิทัล สินเชื่อที่มีทะเบียนรถเป็นประกันคิดอัตราดอกเบี้ย ค่าปรับ ค่าบริการ และค่าธรรมเนียม รวมกันไม่เกิน 25% ต่อปี (24% ต่อปีสำหรับสินเชื่อที่มีทะเบียนรถเป็นประกัน) วงเงินที่จะได้รับจะขึ้นอยู่กับรายได้ของผู้กู้ โดยอยู่ระหว่าง 1.5–5 เท่าของระดับรายได้
ข้อควรพิจารณาก่อนตัดสินใจขอสินเชื่อส่วนบุคคลมาใช้จ่ายก็คือ อยากให้หยุดคิดก่อนสักนิดว่า มีความจำเป็นต้องขอสินเชื่อหรือไม่ เพื่อวัตถุประสงค์อะไร หากจะนำมาใช้จ่ายซื้อของไม่จำเป็น ก็ไม่ควรทำอย่างเด็ดขาด เพราะอัตราดอกเบี้ยของสินเชื่อประเภทนี้ค่อนข้างสูง จึงควรขอเมื่อจำเป็นจริง ๆ หรือเพื่อประกอบอาชีพ แต่ลูกหนี้ต้องมีวินัยในการใช้จ่ายและชำระคืนด้วย อีกอย่างคือผลเสียของการจ่ายขั้นต่ำ ถ้ากู้ 15,000 บาทจ่ายขั้นต่ำเดือนละ 3% ของยอดคงค้างไปเรื่อย ๆ จะใช้เวลา 18 ปี กว่าจะชำระหนี้ก้อนนี้จบ และเสียดอกเบี้ยทั้งสัญญาถึง 29,000 บาทเกือบสองเท่าของเงินต้น แต่ถ้าเปลี่ยนจากจ่ายขั้นต่ำ ที่เดือนแรกจ่ายอยู่ที่ 450 บาท เป็นจ่ายคืนเดือนละ 600 บาททุกเดือน จะปิดจบหนี้ได้ภายใน 3 ปี และจ่ายดอกเบี้ยทั้งสัญญาเพียง 6,500 บาท
สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยหรือสินเชื่อบ้าน เช่น สินเชื่อเพื่อซื้อบ้านหรือคอนโด (มือหนึ่ง มือสอง) ซื้อที่ดินและปลูกสร้างที่อยู่อาศัย หรือปรับปรุง ต่อเติม ซ่อมแซมที่อยู่อาศัย รวมถึงกรณีการขอสินเชื่อที่เกี่ยวเนื่องกับสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย (top up loan) เพื่อนำไปตกแต่งบ้าน และการรีไฟแนนซ์ (refinance) ด้วย โดยวงเงินขอกู้ที่ได้จะอยู่ประมาณ 70% ถึง 100% ของราคาซื้อขายหรือราคาประเมิน ขึ้นอยู่กับประเภทสินเชื่อหรือประเภทหรือมูลค่าที่อยู่อาศัยที่ขอกู้ ระยะเวลาการผ่อนขึ้นกับนโยบายของผู้ให้บริการ ซึ่งส่วนใหญ่จะกำหนดระยะเวลาการผ่อนชำระโดยพิจารณาอายุผู้กู้ประกอบด้วย โดยปกติสถาบันการเงินจะกำหนดอัตราดอกเบี้ย 3 ปีแรกของสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยอาจเป็นอัตราดอกเบี้ยแบบคงที่หรือแบบลอยตัวที่มีส่วนลดมากเพื่อจูงใจลูกค้าให้มากู้กับตน (teaser rate) หรือที่เรียกว่าช่วงโปรโมชัน หลังจากนั้นค่อยคิดอัตราดอกเบี้ยแบบลอยตัวซึ่งอาจมีการบวกหรือลบอัตราดอกเบี้ยด้วย
เทคนิคดี ๆ ในการกู้ซื้อบ้าน เนื่องจากหนี้บ้านเป็นหนี้ระยะยาว ส่วนใหญ่ประมาณ 20-30 ปี และเป็นหนี้ก้อนใหญ่ ก่อนกู้จึงต้องคิดให้รอบคอบก่อนว่าจำเป็นต้องซื้อตอนนี้เลยหรือไม่ หรือเช่าอยู่ไปก่อนจะดีกว่า ซึ่งหากจำเป็นต้องซื้อ ก็ต้องพิจารณาความสามารถในการชำระหนี้ของตัวเองว่าจะสามารถผ่อนได้ครบทุกงวดในระยะยาวหรือไม่ หากพบว่าอาจจะทำไม่ได้ จะได้เตรียมแผนสำรองไว้ก่อนล่วงหน้า เพราะเมื่อถึงเวลาจริง การผ่อนชำระจะได้ไม่สะดุด นอกจากนี้ เราอาจเก็บเงินเพื่อวางเป็นเงินดาวน์ (down payment) ให้ได้มาก จะได้ลดจำนวนเงินที่จะขอกู้ ทำให้เป็นหนี้น้อยลง หมดหนี้เร็วขึ้น และเมื่อผ่อนไปสักระยะ เช่น 3 ปี ก็มักจะเป็นช่วงหมดโปรโมชัน อัตราดอกเบี้ยจะปรับสูงขึ้นจาก teaser rate จึงควรหาข้อมูลล่วงหน้าเพื่อเปรียบเทียบว่าจะขอลดดอกเบี้ยกับเจ้าหนี้เดิม (retention) หรือย้ายไปกู้กับเจ้าหนี้ใหม่ที่เสนออัตราดอกเบี้ยต่ำ (refinance) ที่น่าจะมีหลายเจ้า
อีกเรื่องหนึ่งที่สำคัญและอยากมาเตือนกันก็คือ มีผู้ให้กู้บางเจ้าปล่อยกู้ในวงเงินที่สูงกว่ามูลค่าที่อยู่อาศัยที่ซื้อขายหรือราคาประเมินจริงเพื่อให้ลูกหนี้มีเงินส่วนเกินไปใช้จ่าย หรือที่เรียกว่า “สินเชื่อเงินทอน” ดังนั้นลูกหนี้ต้องระวัง และทางที่ดีไม่ควรใช้บริการสินเชื่อประเภทนี้ เพราะจะทำให้เป็นหนี้เกินความจำเป็นและอาจชำระหนี้คืนไม่ได้ในอนาคต
เช่าซื้อรถ ผู้เช่าซื้อหรือลูกหนี้ทำสัญญาเช่าซื้อกับผู้ให้เช่าซื้อ (สถาบันการเงินหรือบริษัทที่ให้บริการ) ว่าจะชำระค่าเช่าซื้อหรือค่างวดรถตามจำนวนเงินและระยะเวลาตามที่ตกลงกัน ผู้เช่าซื้อจะได้รถไปใช้ในระหว่างที่จ่ายค่างวดอยู่ แต่กรรมสิทธิ์ในรถจะเป็นของผู้เช่าซื้อก็ต่อเมื่อชำระเงินครบตามสัญญาที่กำหนดไว้ ระยะเวลาผ่อนชำระประมาณ 12–72 เดือน และวงเงินสำหรับรถใหม่ประมาณร้อยละ 75–80 ของมูลค่ารถ ส่วนกรณีรถใช้แล้ว วงเงินที่ได้รับจะขึ้นอยู่กับยี่ห้อและรุ่นรถ สภาพรถและราคาประเมินรถ
เทคนิคดี ๆ สำหรับผู้ที่กำลังวางแผนจะซื้อรถ อยากให้คำนึงถึงปัจจัยต่าง ๆ ให้รอบด้าน โดยเฉพาะเรื่องค่าใช้จ่าย ทั้งค่าใช้จ่ายตอนซื้อ เช่น เงินจอง เงินดาวน์ (เช่นเดียวกับการกู้ซื้อบ้าน ยิ่งเราวางเงินดาวน์มากเท่าไหร่ ค่าผ่อนที่เราต้องชำระต่องวดและดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายยิ่งน้อยลงเท่านั้น) ค่าจดทะเบียนรถ ค่ามัดจำป้ายแดง และค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นเมื่อได้รถมาใช้ เช่น ค่าน้ำมัน ค่าที่จอดรถ ค่าตรวจเช็กระยะ ค่าประกันภัยรถยนต์ ค่าภาษีรถยนต์ ค่า พรบ. ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายแฝงจำนวนไม่น้อยที่ต้องจ่ายในแต่ละปีที่บางคนอาจจะลืมนึกถึงไป
เปรียบเทียบข้อมูลหาสิ่งที่ใช่ก่อนตัดสินใจ
หากเราได้ทำความรู้จักกับสิ่งต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจขอสินเชื่อหรือกู้เงินและได้ข้อสรุปว่าเป็นทางเลือกที่ดีแล้ว ยังมีอีก 1 ขั้นตอนที่ควรทำ คือ เปรียบเทียบข้อมูลของสถาบันการเงินหลาย ๆ ที่ด้วย เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อตัวเราเอง เช่น เปรียบเทียบอัตราดอกเบี้ย วงเงินสินเชื่อ หลักประกันและเงื่อนไข ระยะเวลาผ่อนชำระ และเลือกให้เหมาะสมกับวัตถุประสงค์ กู้เท่าที่จำเป็นและจ่ายชำระคืนไหวเท่านั้น โดยสามารถหาข้อมูลเพื่อเปรียบเทียบรายละเอียดของผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ได้ที่เว็บไซต์ธนาคารแห่งประเทศไทย https://app.bot.or.th/1213/MCPD/ProductApp
ขอย้ำอีกครั้งว่า ก่อนตัดสินใจขอสินเชื่อหรือกู้เงิน ต้องคิดให้รอบด้านและรอบคอบก่อนทุกครั้ง ถ้าพวกเราทุกคนสามารถบริหารจัดการหนี้ได้อย่างเหมาะสม ไม่เป็นหนี้เกินตัว และไม่สร้างภาระหรือความเดือดร้อนให้กับตนเองและคนอื่นมากจนเกินไป การ “เป็นหนี้อย่างเป็นสุข” ก็สามารถเป็นจริงได้โดยไม่ยากเลย
[1] เป็นประกาศที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.)
[2] สมมติฐาน : จ่ายขั้นต่ำ 10% ของยอดหนี้คงค้าง หรือ 500 บาท แล้วแต่จำนวนใดจะสูงกว่า (ในช่วงที่ยอดหนี้คงค้างยังมากกว่า 500 บาท)
ขอขอบคุณแหล่งที่มา : ธนาคารแห่งประเทศไทย
Chairman: Mr. Suwit Indrachalerm (Bangkok Bank Public Company Limited)
Coordinator: Mr. Suphawat Maseng
Objectives: This club is established with the approval of its members to carry out corporate social responsibility (CSR) activities consistent with the operations of the Thai Bankers’ Association as follows
This will close in 500 seconds
Chairman: Ms. Suteera Sripaibulya (Bangkok Bank Public Company Limited)
Coordinator: Ms. Sampantanee Apaipan
Objectives: This club is established
This will close in 500 seconds
Chairman: Mr. Than Siripokee (Bangkok Bank Public Company Limited)
Coordinator: Ms. Supada Ruttanapong
Objectives: This club is established
This will close in 500 seconds
Chairman: Mr. Paisarn Lertkowit (Bangkok Bank Public Company Limited)
Coordinator: Ms. Kristsanee Disapad
Objectives: This club is established
This will close in 500 seconds
Chairman: Mr. Kittichai Singha (Bank of Ayudhya Public Company Limited)
Coordinatior: Ms. Chutiporn Jiranansuroj
Objectives: This club is established
This will close in 500 seconds
Chairman: Pongpichet Nananukool (Kasikorn Bank Public Company Limited)
Coordinator: Mr. Warat Attanandana
Objectives: This club is established
This will close in 500 seconds
Chairman: Mr. Kitipong Muttamara (Krungthai Bank Public Company Limited)
Coordinator: Ms. Manisa Rueangsri
Objectives: This club is established
This will close in 500 seconds
Chairman: Mr. Atis Ruchirawat Ayudhya Capital Services Co., Ltd.
Coordinator: Ms. Apsorn Suttaroj
Objectives: This club is established
This will close in 500 seconds
Acting Chairman: Mr. Settarat Na-Nakorn (Kasikorn Bank Public Company Limited)
: Ms. Suchanee.lavanavanija (Bangkok Bank Public Company Limited)
Coordinator: Ms. Monruedee Teerarungruang
Objectives: The Club is established
This will close in 500 seconds
Chairman: Mr. Thitivorn Chothayaphorn (Bank of Ayudhya Public Company Limited)
Coordinator: K. Jitti Wijitbanjong
Objectives: The Club is established
This will close in 500 seconds
Chairman: Mr. Prathin Kijjaruwankul (Kiatnakin Phatra Bank Public Company Limited)
Coordinator: Mr. Thammanun Harnprasitkam
Objectives: The Club is established
This will close in 500 seconds
Chairman: Ms. Oranuch Nampoolsuksan (Bangkok Bank Public Company Limited)
Coordinator: Ms. Roongratt Ratanarajchartikul
Objectives: The Club is established
This will close in 500 seconds
Chairman: Dr. Phacharaphot Nuntramas (Krungthai Bank Public Company Limited)
Coordinator: Dr. Chamadanai Maknual
Objectives: The Club is established
This will close in 500 seconds
Chairman: Ms. Pornvalai Kulrojseth (Krungthai Bank Public Company Limited)
Coordinator: -
Objectives: The Club is established
This will close in 500 seconds
Chairman: Ms. Puntipa Hannoraseth (Bank of Ayudhya Public Company Limited)
Coordinator: Ms. Tippawan Bannajirakul
Objectives: The Club is established
This will close in 500 seconds
Chairman: Ms. Waranee Wanrat (TMBThanachart Bank Public Company Limited)
Coordinator: Ms. Sunisa Netsawang
Objectives: The Club is established
This will close in 500 seconds
Acting Chairman: Ms. Jeerana Ramasoot (Bangkok Bank Public Company Limited)
Coordinator: Ms. Natchanok Aryukong
Objectives: The Club is established
This will close in 500 seconds
Chairman: Dr. Vasin Udomratchatavanich Bank of Ayudhya Public Company Limited
Coordinator: Ms. Manduan Aeambunapong
Objectives: The Club is established
This will close in 500 seconds
Chairman: Mr. Sant Thaosuwan (Bank of Ayudhya Public Company Limited)
Coordinator: Ms. Wasunthree Tri-utok
Objectives: The Club is established
This will close in 500 seconds
Chairman: Mr. luesak Sukasem (Krungthai Bank Public Company Limited)
Coordinator: Ms. Nipaporn Daokhanon
Objectives: The Club is established
This will close in 500 seconds
ธรรมาภิบาล(Governance) : มีระบบการกำกับดูแลกิจการที่ดี และดำเนินการกำกับดูแลได้อย่างมีประสิทธิผลในระดับคณะกรรมการ โดยกำหนดภาระและขอบเขตความรับผิดชอบที่ชัดเจนในระดับการจัดการในเรื่องที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล
This will close in 500 seconds
ยุทธศาสตร์ (Strategy) : บูรณาการพันธกิจด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล เข้ากับยุทธศาสตร์การดำเนินธุรกิจและกำหนดกรอบด้านการเงินที่ยั่งยืน โดยสนับสนุนเพื่อให้ประเทศสามารถเปลี่ยนผ่านไปสู่เป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ได้อย่างราบรื่น
This will close in 500 seconds
การบริหารความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อม สังคมและธรรมาภิบาล (ESG Risk Management) : ผนวกรวมประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล ไว้ในกระบวนการบริหารความเสี่ยง
This will close in 500 seconds
ผลิตภัณฑ์ทางการเงิน(Financial Products) : ปรับใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อส่งเสริมการเข้าถึงบริการทางการเงิน รวมทั้งนวัตกรรมทางการเงินที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและยั่งยืน
This will close in 500 seconds
การสื่อสาร (Communication) : สื่อสารและประสานความร่วมมือกับผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วนในการสร้างจิตสำนึกสาธารณะด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล
This will close in 500 seconds
การเปิดเผยข้อมูลทางการเงิน (Disclosure) : พัฒนาระบบการติดตามและการรายงานที่สอดคล้องกับกรอบการกำกับดูแลของประเทศไทยและมาตรฐานการเปิดเผยข้อมูลด้านความยั่งยืนในระดับสากล
This will close in 500 seconds
ตัวอย่าง
ใช้บัตรกดเงินสด
วงเงินหมุนเวียน 15,000 บาท
ผ่อนขั้นต่ำ (3%) มาแล้ว 5 ปี
เหลือจ่ายเงินต้นอีก 8,700 บาท
ทางเลือกที่ 1 : ผ่อนขั้นต่ำต่อไปจนครบ ดอกเบี้ย 25% ต่อปี ผ่อนต่ออีก 13 ปี 5 เดือน
เหลือจ่ายดอกเบี้ยอีก 14,000 บาท
ดอกเบี้ยรวมทั้งสัญญา 29,000 บาท
ทางเลือกที่ 2 : เข้าโครงการแก้หนี้เรื้อรัง ดอกเบี้ย 15% ต่อปี ผ่อนต่ออีก 3 ปี 6 เดือน (เดือนละ 260 บาท)
เหลือจ่ายดอกเบี้ยอีก 2,500 บาท
ดอกเบี้ยรวมทั้งสัญญา 17,500 บาท
*ประหยัดดอกเบี้ยได้ 11,500 บาท*
หมายเหตุ: ผ่อนเดือนละ 260 บาท เท่ากับยอดการผ่อนขั้นต่ำ ณ เดือนสุดท้ายของปีที่ 5 ก่อนเข้าโครงการ
3 เรื่องต้องรู้ หากจ่ายขั้นต่ำบัตรกดเงินสดนาน ๆ
แบบไหนเข้าข่ายปัญหาหนี้เรื้อรัง (Persistent Debt - PD)
1. แม้ภาระต่อเดือนไม่สูง แต่ใช้เวลานาน กว่าจะหมดหนี้
2. ยอดขั้นต่ำที่จ่ายแต่ละเดือนเป็นดอกเบี้ยมากกว่าเงินต้น
3. เมื่อผ่อนจบพบว่ายอดรวมที่จ่ายไปส่วนใหญ่คือ ดอกเบี้ย
อยากหมดหนี้ไว ㆍจ่ายดอกเบี้ยลดลง ㆍ ภาระต่อเดือนไม่เพิ่มจากเดิม
เลือกเข้ามาตรการปิดจบหนี้เรื้อรังได้ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป
หมายเหตุ : ลูกหนี้ที่เข้าข่ายเป็นหนี้รื้อร้ง จะได้รับการติดต่อจากเจ้าหนี้ โดยหาก 5 ปีที่ผ่านมา ลูกหนี้จ่ายดอกเบี้ยรวมมากกว่าเงินต้นรวม จะได้รับข้อเสนอปิดจบหนี้ภายใน 5 ปี ดอกเบี้ยไม่เกิน 15% ต่อปี
การเข้ามาตรการปิดจบหนี้เรื้อรัง จะมีการรายงานข้อมูลในเครดิตบูโร (NCB) หรือไม่
จะมีการรายงานข้อมูลใน NCB โดยเพิ่มการรายงานประเภทของสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้ "รหัส (code) 03" โดยจะไม่กระทบสถานะบัญชีลูกหนี้ที่ยังเป็น 10-ปกติ เช่นเดิมทั้งนี้ การรายงานนี้ จะช่วยให้ผู้ให้บริการทราบถึงการเข้าโครงการซึ่งสะท้อนความตั้งใจที่ดีในการแก้ปัญหาหนี้ของลูกหนี้
ทำไมต้องมีเงื่อนไขปิดวงเงินหากเข้าร่วมมาตรการปิดจบหนี้เรื้อรัง
เงื่อนไขการปิดวงเงินจะช่วยให้ลูกหนี้มีวินัยทางการเงินเพิ่มขึ้นและสามารถปิดจบหนี้ได้ภายใน 5 ปี
อย่างไรก็ดี กรณีลูกหนี้ที่เข้ามาตรการฯ มีความจำเป็นฉุกเฉิน เช่น เจ็บป่วย ได้รับอุบัติเหตุ ตกงาน ผู้ให้บริการอาจพิจารณาให้สินเชื่อได้ หากลูกหนี้มีความสามารถในการชำระหนี้เพียงพอ ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับนโยบายและเงื่อนไขของผู้ให้บริการแต่ละแห่ง
กรณีลูกหนี้มีบัตรกดเงินสดมากกว่า 1 ใบ สามารถเลือกเข้าโครงการแค่บางบัตร และเก็บวงเงินบัตรกดเงินสดที่เหลือไว้ก่อนได้
ทำไมมาตรการปิดจบหนี้เรื้อรัง ไม่รวมหนี้บัตรเครดิต?
เพราะหนี้บัตรเครดิตมี (1) อัตราดอกเบี้ย และ (2) เงื่อนไขการผ่อนชำระที่ทำให้ไม่เข้าข่ายหนี้เรื้อรังที่จ่ายดอกเบี้ยมากกว่าเงินต้นและใช้เวลานานในการปิดจบ
ลูกหนี้บัตรเครดิตจ่ายขั้นต่ำที่ 8% ทำให้จ่ายชำระเงินต้นมากกว่าดอกเบี้ย ลูกหนี้สามารถปิดจบหนี้ได้ภายในระยะเวลาไม่นานนัก
บัตรกดเงินสดมักจ่ายขั้นต่ำที่ 3% และดอกเบี้ยส่วนใหญ่อยู่ที่ 25% ต่อปี ซึ่งจะทำให้ ตัดจ่ายดอกเบี้ย 2% และตัดเงินต้นเพียง 1%
ตอบข้อสงสัย มาตรการปิดจบหนี้เรื้อรัง
(1) ทำไมมาตรการปิดจบหนี้เรื้อรัง ไม่รวมหนี้บัตรเครดิต?
(2) ทำไมต้องมีเงื่อนไขปิดวงเงินหากเข้าร่วมมาตรการปิดจบหนี้เรื้อรัง
(3) การเข้ามาตรการปิดจบหนี้เรื้อรัง จะมีการรายงานข้อมูลในเครดิตบูโร (NCB) หรือไม่
3 เรื่องต้องรู้ก่อนเข้าร่วมมาตรการปิดจบ หนี้เรื้อรัง