“…ถ้าเราอยากให้เศรษฐกิจโต ใช้วิธีไหนมันก็สามารถกระตุ้นเศรษฐกิจได้ทั้งนั้น…ไม่ว่าจะกู้ผ่านครัวเรือน ผ่านรัฐ ผ่านเอกชน กระตุ้นเศรษฐกิจหมด”
“ถามว่าเราอยากได้แบบไหน สิ่งที่เศรษฐกิจมันขาด ขาดจริงๆ คือการลงทุน สิ่งที่ควรทำในแง่ของ ‘นโยบายหนี้’ คือทำอย่างไรให้เกิดการลงทุนภาคเอกชน…เพราะตัวนี้มันจะช่วยไม่ใช่แค่กระตุ้นเศรษฐกิจฝั่งอุปสงค์ แต่จะสร้างศักยภาพ เพิ่มประสิทธิภาพ จะช่วยฝั่งอุปทาน ซึ่งเป็นสิ่งที่เราขาดมานาน”
ดร.เศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ
ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย
สรุปความจาก ‘ผู้ว่าการ ธปท. พบสื่อมวลชน’ วันที่ 19 กรกฎาคม 2566
วันที่ 21 กรกฎาคมที่ผ่านมา ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เผยแพร่มาตรการแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือน โดยมาตรการที่จะบังคับใช้ก่อนคือ ‘การให้สินเชื่ออย่างรับผิดชอบ’ ซึ่ง ธปท. จะขอความร่วมมือให้ธนาคารพาณิชย์ดูแลไม่ให้ผู้กู้ก่อหนี้เกินตัว และกระตุกพฤติกรรมให้ผู้กู้มีวินัยทางการเงิน คาดหมายว่ามาตรการให้สินเชื่ออย่างรับผิดชอบจะลดหนี้ครัวเรือนลงได้ไม่มากก็น้อย
หากเปรียบสินเชื่อเป็นอาหาร หนี้ครัวเรือนก็คงเป็นขนมหวาน การก่อหนี้ครัวเรือนมากเกินไปจะเกิดสถานการณ์ ‘หนี้พอกพูน’ (Debt Overhang) ซึ่งส่งผลให้เศรษฐกิจไทยอ่อนแอและเปราะบาง มาตรการแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือนเปรียบเสมือน ‘การอดขนมหวาน’ เพื่อลดความเสี่ยงของสถานการณ์หนี้พอกพูนที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต
อย่างไรก็ตาม การอดขนมหวานเพียงอย่างเดียวโดยไม่รับประทานอาหารที่มีประโยชน์เข้าไปทดแทนจะทำให้ร่างกายขาดสารอาหาร ร่างกายต้องการอาหารที่มีประโยชน์เข้าไปทดแทน เช่นเดียวกับระบบเศรษฐกิจไทยที่ยังต้องการการจัดสรรทรัพยากรทางการเงินผ่านการให้สินเชื่อ เพื่อสนับสนุนการเติบโตทางเศรษฐกิจ
อาหารที่มีประโยชน์สำหรับระบบเศรษฐกิจไทยคือ ‘หนี้ธุรกิจที่กระตุ้นให้เกิดการลงทุนภาคเอกชน’
ปัจจุบันสัดส่วนระหว่างหนี้ธุรกิจกับหนี้ครัวเรือนอยู่ในระดับต่ำเกินไป โดยในปี 2564 สัดส่วนหนี้ธุรกิจต่อหนี้ครัวเรือนของไทยอยู่ที่ 1 เท่า เมื่อเทียบกับเศรษฐกิจเกิดใหม่ซึ่งมีสัดส่วนเฉลี่ยสูงถึง 2.1 เท่า (รูปที่ 1) ข้อมูลสะท้อนว่า นอกจากจะมีหนี้ครัวเรือนสูงเกินไป ระบบการเงินไทยยังส่งแรงสนับสนุนให้เกิดการลงทุนไม่มากพอ เปรียบเสมือนร่างกายที่รับประทานขนมหวานมากเกินไป แต่รับประทานอาหารที่มีประโยชน์น้อยเกินไป
รูปที่ 1 สัดส่วนสินเชื่อธุรกิจต่อสินเชื่อครัวเรือน
อ้างอิง: Bank for International Settlements
หมายเหตุ: (1) All หมายถึงค่าเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักของ 43 ประเทศในกลุ่มตัวอย่าง โดยสมมติให้อัตราแลกเปลี่ยนเป็นไปตามข้อสมมติ Purchasing Power Parity (2) AE หมายถึง Advanced Economies (3) EME หมายถึง Emerging Markets Economics
ทำไมสัดส่วนระหว่างหนี้ธุรกิจต่อหนี้ครัวเรือนจึงต่ำเกินไป? เราจะปรับสัดส่วนระหว่างหนี้ครัวเรือนกับหนี้ธุรกิจเพื่อฟื้นฟูสุขภาพเศรษฐกิจไทยได้อย่างไร? บทความฉบับนี้ชวนผู้อ่านหาคำตอบผ่านมุมมองของธนาคารพาณิชย์และกลไกการทำงานของตลาดสินเชื่อครับ
ธนาคารพาณิชย์ให้สินเชื่อธุรกิจ (SMEs) น้อยเกินไป เพราะ ‘ไม่ทราบความเสี่ยง’ และ ‘หลีกเลี่ยงความเสี่ยง’
ในการให้สินเชื่อ ธนาคารพาณิชย์จะพิจารณา Risk-Adjusted Return on Capital หรือ RAROC ซึ่งเปรียบเสมือนกำไรต่อหน่วยของการดำเนินธุรกิจ RAROC คำนวณจากรายได้ดอกเบี้ยหักต้นทุน 3 ประเภท ได้แก่ 1) ต้นทุนจากการระดมทุน 2) ต้นทุนจากการดำเนินการ และ 3) ต้นทุนจากการตั้งสำรองค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ ซึ่งสะท้อนความเสี่ยงที่ผู้กู้จะผิดนัดชำระหนี้
หากมองจากมุมของธนาคารพาณิชย์จะพบว่ามีเหตุผล 2 ประการที่ทำให้ระบบธนาคารพาณิชย์ให้สินเชื่อธุรกิจ โดยเฉพาะธุรกิจ SMEs น้อยกว่า เมื่อเทียบกับสินเชื่อครัวเรือน
เพิ่มประสิทธิภาพของกลไกตลาดสินเชื่อ ช่วยให้ระบบธนาคารพาณิชย์ทราบความเสี่ยง
จากเหตุผลข้างต้น เราจะสามารถสร้างแรงจูงใจให้ระบบธนาคารพาณิชย์ให้สินเชื่อธุรกิจมากขึ้น หากเราเพิ่มประสิทธิภาพของกลไกตลาดสินเชื่อ เพื่อเพิ่มการไหลเวียนของข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวข้องกับความต้องการสินเชื่อ ศักยภาพและความเสี่ยงของธุรกิจ หรือเรียกว่าข้อมูลเครดิต
ไทยสามารถเพิ่มการไหลเวียนของข้อมูลเครดิตได้หลายวิธี เช่น การเพิ่มขอบเขตและความลึกของข้อมูลเครดิตที่เครดิตบูโร การแลกเปลี่ยนข้อมูลเครดิตระหว่างสถาบันการเงิน การจัดให้มีตัวกลางที่ช่วยธุรกิจจัดทำข้อมูลเครดิต และสื่อสารแลกเปลี่ยนกับธนาคารพาณิชย์เพื่อเพิ่มโอกาสที่ธุรกิจจะเข้าถึงสินเชื่อ
นอกจากนี้ เรายังสามารถแก้ปัญหา ‘ไม่ทราบความเสี่ยง’ ทางอ้อม โดยการขยายขอบเขตของสินทรัพย์ค้ำประกันให้สอดคล้องกับสินทรัพย์ที่ธุรกิจ SMEs มีในช่วงที่เริ่มลงทุน เช่น เอกสารคำสั่งซื้อ หรือสินค้าคงคลัง
เศรษฐกิจไทยควรหลีกเลี่ยงความเสี่ยงมากแค่ไหน?
ระบบธนาคารพาณิชย์จัดสรรเงินทุนโดยชั่งน้ำหนักระหว่างการให้สินเชื่อเพื่อสร้าง ‘โอกาส’ ให้คนในระบบเศรษฐกิจ และการบริหาร ‘ความเสี่ยง’ ต่อเสถียรภาพของระบบ โดยมีเป้าหมายสูงสุดคือการจัดสรรทรัพยากรทางการเงินเพื่อสนับสนุนภาคเศรษฐกิจจริงอย่างเต็มกำลังและยั่งยืน
โดยปกติเราจะพูดคุยกันถึงการบริหารความเสี่ยง นั่นคือการรักษาเสถียรภาพของระบบธนาคารพาณิชย์เพื่อให้ระบบสามารถทำงานได้เป็นปกติเป็นหลัก เราอาจเผลอลืมพูดคุยกันถึง ‘ต้นทุนค่าเสียโอกาส’ ของการบริหารความเสี่ยง เนื่องจากธนาคารพาณิชย์จำเป็นต้องตั้งสำรองค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ จึงต้องกักเก็บทรัพยากรทางการเงินไว้กับตัว ไม่สามารถปล่อยออกไปเป็นสินเชื่อธุรกิจที่ส่งเสริมการลงทุนและเพิ่มศักยภาพการเติบโตทางเศรษฐกิจในระยะยาว
ต้นทุนค่าเสียโอกาสของการบริหารความเสี่ยงมีมูลค่ามากแค่ไหน สมมติว่าระบบธนาคารพาณิชย์ตั้งสำรองเพิ่มขึ้น 1% ของยอดคงค้างสินเชื่อ ณ สิ้นไตรมาสที่ 1/66 จะต้องสำรองคิดเป็นมูลค่าประมาณ 1.8 แสนล้านบาท หากระบบธนาคารพาณิชย์สามารถนำทรัพยากรส่วนนี้มาปล่อยกู้ให้ธุรกิจลงทุน ข้อมูลจาก Penn World Table ระบุว่าการลงทุนของไทยจะให้ผลตอบแทนประมาณ 8.4% นั่นคือเศรษฐกิจไทยเสียโอกาสคิดเป็นกิจกรรมทางเศรษฐกิจมูลค่าราว 1.5 หมื่นล้านบาทต่อปี หรือประมาณ 0.1% ของ GDP ไทยในปี 2565 ซึ่งเป็นตัวเลขที่มีนัยสำคัญ
ผมขอชวนตั้งคำถามว่า ระบบธนาคารพาณิชย์ชั่งน้ำหนักระหว่างโอกาสและความเสี่ยงในระดับที่ ‘เหมาะสมที่สุด’ นั่นคือระดับที่สามารถจัดสรรเงินทุนเพื่อสนับสนุนภาคเศรษฐกิจจริงอย่างเต็มกำลังและยั่งยืนแล้วหรือยัง ระบบธนาคารพาณิชย์ไม่ควรตั้งสำรองน้อยเกินไปจนสร้างความเปราะบาง แต่ก็ไม่ควรมากเกินไปจนทำหน้าที่จัดสรรทรัพยากรทางการเงินบกพร่อง
เมื่อมองไปข้างหน้า การเพิ่มประสิทธิภาพของกลไกตลาดสินเชื่อจะช่วยให้ธนาคารพาณิชย์ประเมินความเสี่ยงได้คมชัดยิ่งขึ้น จึงสามารถตั้งสำรองลดลงได้โดยไม่สร้างความเสี่ยงต่อเสถียรภาพของระบบธนาคารพาณิชย์ เมื่อนั้นธนาคารพาณิชย์จะสามารถปล่อยทรัพยากรทางการเงินออกสู่ระบบเศรษฐกิจ เพื่อสนับสนุนกิจกรรมการลงทุนได้มากขึ้น
การเพิ่มประสิทธิภาพของกลไกตลาดสินเชื่อและการหลีกเลี่ยงความเสี่ยงในระดับที่ธนาคารพาณิชย์สามารถสนับสนุนการเติบโตทางเศรษฐกิจได้อย่างเต็มกำลังและยั่งยืน จะช่วยปรับสัดส่วนของสินเชื่อธุรกิจและสินเชื่อครัวเรือนให้กลับมาอยู่ในระดับที่เหมาะสมกับเศรษฐกิจไทย เปรียบเสมือนร่างกายที่ได้ขนมหวานและอาหารที่มีประโยชน์ ซึ่งช่วยสร้างความสุขไปพร้อมกับการเติบโตได้อย่างสมดุล
ขอขอบคุณแหล่งที่มา : THE STANDARD
Chairman: Mr. Suwit Indrachalerm (Bangkok Bank Public Company Limited)
Coordinator: Mr. Suphawat Maseng
Objectives: This club is established with the approval of its members to carry out corporate social responsibility (CSR) activities consistent with the operations of the Thai Bankers’ Association as follows
This will close in 500 seconds
Chairman: Ms. Suteera Sripaibulya (Bangkok Bank Public Company Limited)
Coordinator: Ms. Sampantanee Apaipan
Objectives: This club is established
This will close in 500 seconds
Chairman: Mr. Than Siripokee (Bangkok Bank Public Company Limited)
Coordinator: Ms. Supada Ruttanapong
Objectives: This club is established
This will close in 500 seconds
Chairman: Mr. Paisarn Lertkowit (Bangkok Bank Public Company Limited)
Coordinator: Ms. Kristsanee Disapad
Objectives: This club is established
This will close in 500 seconds
Chairman: Mr. Kittichai Singha (Bank of Ayudhya Public Company Limited)
Coordinatior: Ms. Chutiporn Jiranansuroj
Objectives: This club is established
This will close in 500 seconds
Chairman: Pongpichet Nananukool (Kasikorn Bank Public Company Limited)
Coordinator: Mr. Warat Attanandana
Objectives: This club is established
This will close in 500 seconds
Chairman: Mr. Kitipong Muttamara (Krungthai Bank Public Company Limited)
Coordinator: Ms. Manisa Rueangsri
Objectives: This club is established
This will close in 500 seconds
Chairman: Mr. Atis Ruchirawat Ayudhya Capital Services Co., Ltd.
Coordinator: Ms. Apsorn Suttaroj
Objectives: This club is established
This will close in 500 seconds
Acting Chairman: Mr. Settarat Na-Nakorn (Kasikorn Bank Public Company Limited)
: Ms. Suchanee.lavanavanija (Bangkok Bank Public Company Limited)
Coordinator: Ms. Monruedee Teerarungruang
Objectives: The Club is established
This will close in 500 seconds
Chairman: Mr. Thitivorn Chothayaphorn (Bank of Ayudhya Public Company Limited)
Coordinator: K. Jitti Wijitbanjong
Objectives: The Club is established
This will close in 500 seconds
Chairman: Mr. Prathin Kijjaruwankul (Kiatnakin Phatra Bank Public Company Limited)
Coordinator: Mr. Thammanun Harnprasitkam
Objectives: The Club is established
This will close in 500 seconds
Chairman: Ms. Oranuch Nampoolsuksan (Bangkok Bank Public Company Limited)
Coordinator: Ms. Roongratt Ratanarajchartikul
Objectives: The Club is established
This will close in 500 seconds
Chairman: Dr. Phacharaphot Nuntramas (Krungthai Bank Public Company Limited)
Coordinator: Dr. Chamadanai Maknual
Objectives: The Club is established
This will close in 500 seconds
Chairman: Ms. Pornvalai Kulrojseth (Krungthai Bank Public Company Limited)
Coordinator: -
Objectives: The Club is established
This will close in 500 seconds
Chairman: Ms. Puntipa Hannoraseth (Bank of Ayudhya Public Company Limited)
Coordinator: Ms. Tippawan Bannajirakul
Objectives: The Club is established
This will close in 500 seconds
Chairman: Ms. Waranee Wanrat (TMBThanachart Bank Public Company Limited)
Coordinator: Ms. Sunisa Netsawang
Objectives: The Club is established
This will close in 500 seconds
Acting Chairman: Ms. Jeerana Ramasoot (Bangkok Bank Public Company Limited)
Coordinator: Ms. Natchanok Aryukong
Objectives: The Club is established
This will close in 500 seconds
Chairman: Dr. Vasin Udomratchatavanich Bank of Ayudhya Public Company Limited
Coordinator: Ms. Manduan Aeambunapong
Objectives: The Club is established
This will close in 500 seconds
Chairman: Mr. Sant Thaosuwan (Bank of Ayudhya Public Company Limited)
Coordinator: Ms. Wasunthree Tri-utok
Objectives: The Club is established
This will close in 500 seconds
Chairman: Mr. luesak Sukasem (Krungthai Bank Public Company Limited)
Coordinator: Ms. Nipaporn Daokhanon
Objectives: The Club is established
This will close in 500 seconds
ธรรมาภิบาล(Governance) : มีระบบการกำกับดูแลกิจการที่ดี และดำเนินการกำกับดูแลได้อย่างมีประสิทธิผลในระดับคณะกรรมการ โดยกำหนดภาระและขอบเขตความรับผิดชอบที่ชัดเจนในระดับการจัดการในเรื่องที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล
This will close in 500 seconds
ยุทธศาสตร์ (Strategy) : บูรณาการพันธกิจด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล เข้ากับยุทธศาสตร์การดำเนินธุรกิจและกำหนดกรอบด้านการเงินที่ยั่งยืน โดยสนับสนุนเพื่อให้ประเทศสามารถเปลี่ยนผ่านไปสู่เป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ได้อย่างราบรื่น
This will close in 500 seconds
การบริหารความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อม สังคมและธรรมาภิบาล (ESG Risk Management) : ผนวกรวมประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล ไว้ในกระบวนการบริหารความเสี่ยง
This will close in 500 seconds
ผลิตภัณฑ์ทางการเงิน(Financial Products) : ปรับใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อส่งเสริมการเข้าถึงบริการทางการเงิน รวมทั้งนวัตกรรมทางการเงินที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและยั่งยืน
This will close in 500 seconds
การสื่อสาร (Communication) : สื่อสารและประสานความร่วมมือกับผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วนในการสร้างจิตสำนึกสาธารณะด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล
This will close in 500 seconds
การเปิดเผยข้อมูลทางการเงิน (Disclosure) : พัฒนาระบบการติดตามและการรายงานที่สอดคล้องกับกรอบการกำกับดูแลของประเทศไทยและมาตรฐานการเปิดเผยข้อมูลด้านความยั่งยืนในระดับสากล
This will close in 500 seconds
3 เรื่องต้องรู้ก่อนเข้าร่วมมาตรการปิดจบ หนี้เรื้อรัง
**สามารถขอออกจากมาตรการได้ แต่จะไม่ได้รับสิทธิแก้หนี้ตามเงื่อนไขเดิม**
3 เรื่องต้องรู้ หากจ่ายขั้นต่ำบัตรกดเงินสดนาน ๆ
แบบไหนเข้าข่ายปัญหาหนี้เรื้อรัง (Persistent Debt - PD)
1. แม้ภาระต่อเดือนไม่สูง แต่ใช้เวลานาน กว่าจะหมดหนี้
2. ยอดขั้นต่ำที่จ่ายแต่ละเดือนเป็นดอกเบี้ยมากกว่าเงินต้น
3. เมื่อผ่อนจบพบว่ายอดรวมที่จ่ายไปส่วนใหญ่คือ ดอกเบี้ย
อยากหมดหนี้ไว ㆍจ่ายดอกเบี้ยลดลง ㆍ ภาระต่อเดือนไม่เพิ่มจากเดิม
เลือกเข้ามาตรการปิดจบหนี้เรื้อรังได้ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป
หมายเหตุ : ลูกหนี้ที่เข้าข่ายเป็นหนี้รื้อร้ง จะได้รับการติดต่อจากเจ้าหนี้ โดยหาก 5 ปีที่ผ่านมา ลูกหนี้จ่ายดอกเบี้ยรวมมากกว่าเงินต้นรวม จะได้รับข้อเสนอปิดจบหนี้ภายใน 5 ปี ดอกเบี้ยไม่เกิน 15% ต่อปี
ตัวอย่าง
ใช้บัตรกดเงินสด
วงเงินหมุนเวียน 15,000 บาท
ผ่อนขั้นต่ำ (3%) มาแล้ว 5 ปี
เหลือจ่ายเงินต้นอีก 8,700 บาท
ทางเลือกที่ 1 : ผ่อนขั้นต่ำต่อไปจนครบ ดอกเบี้ย 25% ต่อปี ผ่อนต่ออีก 13 ปี 5 เดือน
เหลือจ่ายดอกเบี้ยอีก 14,000 บาท
ดอกเบี้ยรวมทั้งสัญญา 29,000 บาท
ทางเลือกที่ 2 : เข้าโครงการแก้หนี้เรื้อรัง ดอกเบี้ย 15% ต่อปี ผ่อนต่ออีก 3 ปี 6 เดือน (เดือนละ 260 บาท)
เหลือจ่ายดอกเบี้ยอีก 2,500 บาท
ดอกเบี้ยรวมทั้งสัญญา 17,500 บาท
*ประหยัดดอกเบี้ยได้ 11,500 บาท*
หมายเหตุ: ผ่อนเดือนละ 260 บาท เท่ากับยอดการผ่อนขั้นต่ำ ณ เดือนสุดท้ายของปีที่ 5 ก่อนเข้าโครงการ
ตอบข้อสงสัย มาตรการปิดจบหนี้เรื้อรัง
(1) ทำไมมาตรการปิดจบหนี้เรื้อรัง ไม่รวมหนี้บัตรเครดิต?
(2) ทำไมต้องมีเงื่อนไขปิดวงเงินหากเข้าร่วมมาตรการปิดจบหนี้เรื้อรัง
(3) การเข้ามาตรการปิดจบหนี้เรื้อรัง จะมีการรายงานข้อมูลในเครดิตบูโร (NCB) หรือไม่
ทำไมมาตรการปิดจบหนี้เรื้อรัง ไม่รวมหนี้บัตรเครดิต?
เพราะหนี้บัตรเครดิตมี (1) อัตราดอกเบี้ย และ (2) เงื่อนไขการผ่อนชำระที่ทำให้ไม่เข้าข่ายหนี้เรื้อรังที่จ่ายดอกเบี้ยมากกว่าเงินต้นและใช้เวลานานในการปิดจบ
ลูกหนี้บัตรเครดิตจ่ายขั้นต่ำที่ 8% ทำให้จ่ายชำระเงินต้นมากกว่าดอกเบี้ย ลูกหนี้สามารถปิดจบหนี้ได้ภายในระยะเวลาไม่นานนัก
บัตรกดเงินสดมักจ่ายขั้นต่ำที่ 3% และดอกเบี้ยส่วนใหญ่อยู่ที่ 25% ต่อปี ซึ่งจะทำให้ ตัดจ่ายดอกเบี้ย 2% และตัดเงินต้นเพียง 1%
ทำไมต้องมีเงื่อนไขปิดวงเงินหากเข้าร่วมมาตรการปิดจบหนี้เรื้อรัง
เงื่อนไขการปิดวงเงินจะช่วยให้ลูกหนี้มีวินัยทางการเงินเพิ่มขึ้นและสามารถปิดจบหนี้ได้ภายใน 5 ปี
อย่างไรก็ดี กรณีลูกหนี้ที่เข้ามาตรการฯ มีความจำเป็นฉุกเฉิน เช่น เจ็บป่วย ได้รับอุบัติเหตุ ตกงาน ผู้ให้บริการอาจพิจารณาให้สินเชื่อได้ หากลูกหนี้มีความสามารถในการชำระหนี้เพียงพอ ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับนโยบายและเงื่อนไขของผู้ให้บริการแต่ละแห่ง
กรณีลูกหนี้มีบัตรกดเงินสดมากกว่า 1 ใบ สามารถเลือกเข้าโครงการแค่บางบัตร และเก็บวงเงินบัตรกดเงินสดที่เหลือไว้ก่อนได้
การเข้ามาตรการปิดจบหนี้เรื้อรัง จะมีการรายงานข้อมูลในเครดิตบูโร (NCB) หรือไม่
จะมีการรายงานข้อมูลใน NCB โดยเพิ่มการรายงานประเภทของสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้ "รหัส (code) 03" โดยจะไม่กระทบสถานะบัญชีลูกหนี้ที่ยังเป็น 10-ปกติ เช่นเดิมทั้งนี้ การรายงานนี้ จะช่วยให้ผู้ให้บริการทราบถึงการเข้าโครงการซึ่งสะท้อนความตั้งใจที่ดีในการแก้ปัญหาหนี้ของลูกหนี้
มาตรการปิดจบหนี้เรื้อรัง..ช่วยเหลือลูกหนี้อย่างไร?
ถ้าได้รับแจ้งเตือนว่าเป็นลูกหนี้เรื้อรัง (severe PD) จะได้รับข้อเสนอให้สมัครเข้าร่วมมาตรการเพื่อปิดจบหนี้ ซึ่งจะได้รับประโยชน์จากการเข้าร่วมมาตรการ ดังนี้
** สำหรับลูกหนี้ที่เริ่มเรื้อรัง (general PD) ให้รีบติดต่อเจ้าหนี้หากต้องการแก้หนี้ เจ้าหนี้จะมีแนวทางให้ความช่วยเหลือที่เหมาะสมเป็นรายกรณี **
การแจ้งเตือนเมื่อเข้าข่ายลูกหนี้เรื้อรัง
ความถี่การแจ้งเตือนจากเจ้าหนี้
ช่องทางการแจ้งเตือน
โดยลูกหนี้เรื้อรังจะได้รับข้อเสนอแนวทางการปิดจบหนี้จากเจ้าหนี้ด้วย
หนี้เรื้อรัง คืออะโร.. แค่ไหนที่เรียกว่าเรื้อรัง?
แบบไหนเข้าข่ายปัญหาหนี้เรื้อรัง (Persistent Debt - PD)
ลูกหนี้เรื้อรัง 2 แบบ
1. เริ่มเป็นหนี้เรื้อรัง (general PD)
2. เป็นหนี้เรื้อรัง (severe PD)
** ธปท. กำหนดเกณฑ์รายได้ เพื่อมุ่งให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ที่เดือดร้อนที่สุดก่อน โดยพิจารณาความเรื้อรังและรายได้ที่ไม่สูงมากของลูกหนี้ **
ทวงหนี้อย่างเป็นธรรม ต้องแจ้งข้อมูลสำคัญอะไรบ้าง
เจ้าหนี้จะต้องแจ้งรายละเอียดของภาระหนี้พร้อมข้อมูลสำคัญอื่น ๆ แก่ลูกหนี้ให้ครบถ้วน เช่น
และห้ามเรียกให้ผู้ค้ำประกันชำระหนี้ก่อน ยกเว้น ลูกหนี้ล้มละลายหรือติดต่อไม่ได้
#ResponsibleLending #แก้หนี้ยั่งยืน #เจ้าหนี้รับผิดชอบ #ลูกหนี้มีวินัย
มีหนี้กับหลายเจ้าหนี้จะทำอย่างไร?
เคยปรับโครงสร้างหนี้แล้วขอปรับซ้ำได้ไหม?