คอลัมน์ : ร่วมด้วยช่วยคิด
ผู้เขียน : ดร.นครินทร์ อมเรศ
ธนาคารไทยพาณิชย์
การใช้งานระบบการเงินดิจิทัลไทยนับว่าประสบความสําเร็จมากในด้านการมีผู้ใช้บริการเพิ่มสูงขึ้น และกลายเป็นช่องทางหลักในการทำธุรกรรม สร้างความสะดวกสบาย และลดภาระการใช้บริการ แต่เทียบกับช่องทางดั้งเดิม อาทิ สาขา หรือตู้ ATM แล้ว ก็นับว่ามีการร้องเรียนถึงภัยจากมิจฉาชีพผ่านช่องทางดิจิทัลมากกว่า จึงขอเชิญทุกท่านร่วมแลกเปลี่ยนมุมมองถึงระบบนิเวศต้านภัยการเงินดิจิทัลไทย
โดยสรุปประเด็นที่นำเสนอในโครงการศึกษาสถานการณ์ภัยคุกคามทางออนไลน์ คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ภายใต้การสนับสนุนของสานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) วันที่ 9 พ.ค.ที่ผ่านมา ดังนี้
เริ่มที่ “สิ่งพึงเห็น… Aspiration” คือการใช้และการให้บริการทางการเงินดิจิทัลได้อย่างปลอดภัย กล่าวคือผู้ให้บริการโทรคมนาคม สถาบันการเงิน และผู้ให้บริการด้านเทคโนโลยีทางการเงิน สามารถสกัดการโจมตีโดยตรงจากมิจฉาชีพไม่ให้มีช่องโหว่ในระบบ ไม่สร้างโอกาสให้คนร้ายเข้าถึงข้อมูลธุรกรรม
หากคนร้ายโจมตีไปที่ฐานข้อมูลต่าง ๆ ผู้ดูแลข้อมูลก็สามารถคุ้มครองพิทักษ์ข้อมูลส่วนบุคคลได้อย่างปลอดภัย ทำให้คนร้ายไม่สามารถใช้ข้อมูลส่วนตัวเหล่านี้ไปล่อลวงผู้ใช้บริการต่อไปได้ นอกจากนี้ เจ้าหน้าที่ภาครัฐพึงดำเนินการเชิงรุก ป้องกันไม่ให้คนร้ายนำเงินออกและติดตามเส้นเงินเพื่อจับกุมผู้กระทำผิดมาลงโทษได้
“สิ่งสากล… Benchmark” คือการระมัดระวังภัย ตลอดกระบวนการทั้งก่อนและหลังดําเนินธุรกรรม โดยใช้ตัวอย่างจากผู้ให้บริการการชําระเงินผ่านบัตรเครดิตรายใหญ่ของโลกทั้งสองเจ้า ซึ่งเทียบเคียงแนวทางที่ได้ใช้ในต่างประเทศ ที่การจะส่งเงินออกจากผู้ให้บริการบัตรเครดิตนั้น จะต้องผ่านระบบกลางในการตรวจสอบกับทางผู้ให้บริการทางการเงินของผู้รับเงิน โดยมีการหน่วงธุรกรรมเพื่อกลั่นกรอง ตลอดจนพิสูจน์ตัวตนผู้โอนเงิน โดยใช้ประโยชน์จากจุดแข็ง คือการมีธุรกรรมปกติเป็นจำนวนมากทั้งภายในและระหว่างสถาบันการเงิน จึงสามารถจำแนกพฤติกรรมผิดปกติออกจากธุรกรรมทั่วไปได้ จึงทำงานเชิงรุกป้องกันภัยได้
แล้ว “สิ่งแวดล้อม… ของระบบนิเวศ (Ecosystem)” ในปัจจุบันของการต้านภัยการเงินดิจิทัลไทย ครอบคลุมและคุ้มครองการใช้บริการทางการเงินได้ดีหรือไม่ ?
ทุกวันนี้หากคนร้ายโจมตีไปยังผู้ใช้บริการ ผู้เสียหายนั้นสามารถรายงานไปยังศูนย์ AOC 1441 หรือ Anti Online Scam Operation Center ที่จะแลกเปลี่ยนข้อมูลกับเจ้าหน้าที่ และผู้ให้บริการทางการเงินให้ไล่เส้นเงินการกระทําผิดผ่านบัญชีม้าไปให้ถึงตัวอาชญากร เป็นการดำเนินการภายใต้ระเบียบปฏิบัติและการกำกับดูแลที่ชัดเจน
แต่ผู้เกี่ยวข้องใน “ระบบนิเวศ” ไม่ได้มีเพียงเท่านี้ ยังมีส่วนของประตูเข้าผ่านระบบเครือข่ายโทรคมนาคม และประตูออกผ่านกระเป๋าเงินดิจิทัล หรือการผ่องถ่ายไปยังสินทรัพย์ดิจิทัล นอกจากนี้ ระบบนิเวศจะยังสมบูรณ์ไปไม่ได้ หากไม่นับรวมผู้มีส่วนเกี่ยวข้องที่จะร่วมพัฒนาและแก้ไขปัญหา อาทิ ภาคการศึกษาที่ประกอบไปด้วยผู้ทรงคุณวุฒิ เจ้าของเครื่องมือเฉพาะด้าน ผู้ให้บริการด้านเทคโนโลยี แพลตฟอร์ม และที่ปรึกษาทางเทคโนโลยีทั้งรัฐและเอกชน
สำหรับ “สิ่งที่ต้องทํา… Execution” เพื่อที่จะสร้างกลไกบริหารจัดการภายใต้ธรรมาภิบาลที่รัดกุมนั้น อาจจะแบ่งออกเป็นสามมิติ เริ่มจากในมิติของกระบวนการปฏิบัติการ ที่มีศูนย์รวมการทำงานที่ AOC 1441 และผู้ให้บริการเองก็มีการจัดทําแนวปฏิบัติร่วมกันในอุตสาหกรรมการเงินแล้วนั้น
แต่ยังขาดพิมพ์เขียวและคู่มือของผู้เกี่ยวข้องทั้งระบบนิเวศ ซึ่งรวมไปถึงผู้ใช้บริการด้วย ในมิติที่สองต้องมีโครงสร้างธรรมาภิบาลและการกำกับดูแลระบบนิเวศแบบจําลองในการปฏิบัติการ ซึ่งแม้ว่าจะมี พ.ร.ก.มาตรการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี พ.ศ. 2566 และมีคณะกรรมการติดตามบังคับใช้แล้วก็ตาม แต่ยังเกี่ยวข้องกับหน่วยงานอื่น จึงต้องการโครงสร้างธรรมาภิบาลและการกํากับดูแลที่ชัดเจนมิติที่สามคือ การดำเนินการทางเทคนิคอันจะนำไปสู่ระบบป้องกันภัยที่สมบูรณ์ของระบบนิเวศ เพื่อที่จะตรวจจับพฤติกรรมผิดปกติตั้งแต่ประตูหน้า หรือจุดสัมผัสในการใช้บริการของลูกค้าผ่านระบบโทรคมนาคม
สิ่งพึงเป็น… คือการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ความร่วมมือระหว่างองค์กร โดยมีปัจจัยแห่งความสำเร็จจากบทเรียนความร่วมมือในการทำงานในการรับมือกับโควิด-19 ของ Global Outbreak Alert and Response Network (GOARN) คือ 1) สร้างความเชื่อมั่นว่าผู้เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนเข้าถึงทรัพยากรของเครือข่าย และตระหนักถึงคุณค่าของงานว่ามีมากกว่าระดับหน่วยงาน แต่ส่งผลบวกต่อภาพรวม 2) ยอมรับความแตกต่าง ว่าข้อเสนอของแต่ละหน่วยงานเป็นสิ่งที่มีการคิดหรือทําร่วมกันนั้น ล้วนแต่เป็นไปได้ มีหลักการ และเป็นประโยชน์ต่อระบบนิเวศ 3) นิยามและจัดลําดับความสําคัญ มุ่งให้งานบรรลุเป้าหมาย และทําภารกิจให้เสร็จสิ้น 4) เอื้อการสื่อสารแลกเปลี่ยน เพื่อสร้างความกล้าและความยอมรับนับถือ รวมถึงนำไปสู่ผลลัพธ์
เมื่อมองการออกแบบระบบนิเวศต้านภัยการเงินดิจิทัลไทยแล้ว เชื่อว่าเราจะบรรลุสิ่งพึงเห็น… การใช้และให้บริการทางการเงินดิจิทัลได้อย่างปลอดภัย บนมาตรฐานสากลที่มีการระวังภัยตลอดกระบวนการ ทั้งก่อนและหลังการดําเนินการธุรกรรม เพื่อให้ระบบนิเวศการเงินดิจิทัลไทยมีความครอบคลุมและคุ้มครองการใช้บริการ โดยมีสิ่งที่ต้องทำคือ การสร้างกลไกการบริหารจัดการภายใต้ธรรมาภิบาลที่รัดกุม ผ่านสิ่งพึงเป็น…คือการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ความร่วมมือระหว่างองค์กร
ขอขอบคุณแหล่งที่มา : ประชาชาติธุรกิจ
ขอขอบคุณแหล่งที่มา : ROYAL THAI GOVERNMENT
Chairman: Mr. Suwit Indrachalerm (Bangkok Bank Public Company Limited)
Coordinator: Mr. Suphawat Maseng
Objectives: This club is established with the approval of its members to carry out corporate social responsibility (CSR) activities consistent with the operations of the Thai Bankers’ Association as follows
This will close in 500 seconds
Chairman: Ms. Suteera Sripaibulya (Bangkok Bank Public Company Limited)
Coordinator: Ms. Sampantanee Apaipan
Objectives: This club is established
This will close in 500 seconds
Chairman: Mr. Than Siripokee (Bangkok Bank Public Company Limited)
Coordinator: Ms. Supada Ruttanapong
Objectives: This club is established
This will close in 500 seconds
Chairman: Mr. Paisarn Lertkowit (Bangkok Bank Public Company Limited)
Coordinator: Ms. Kristsanee Disapad
Objectives: This club is established
This will close in 500 seconds
Chairman: Mr. Kittichai Singha (Bank of Ayudhya Public Company Limited)
Coordinatior: Ms. Chutiporn Jiranansuroj
Objectives: This club is established
This will close in 500 seconds
Chairman: Pongpichet Nananukool (Kasikorn Bank Public Company Limited)
Coordinator: Mr. Warat Attanandana
Objectives: This club is established
This will close in 500 seconds
Chairman: Mr. Kitipong Muttamara (Krungthai Bank Public Company Limited)
Coordinator: Ms. Manisa Rueangsri
Objectives: This club is established
This will close in 500 seconds
Chairman: Mr. Atis Ruchirawat Ayudhya Capital Services Co., Ltd.
Coordinator: Ms. Apsorn Suttaroj
Objectives: This club is established
This will close in 500 seconds
Acting Chairman: Mr. Settarat Na-Nakorn (Kasikorn Bank Public Company Limited)
: Ms. Suchanee.lavanavanija (Bangkok Bank Public Company Limited)
Coordinator: Ms. Monruedee Teerarungruang
Objectives: The Club is established
This will close in 500 seconds
Chairman: Mr. Thitivorn Chothayaphorn (Bank of Ayudhya Public Company Limited)
Coordinator: K. Jitti Wijitbanjong
Objectives: The Club is established
This will close in 500 seconds
Chairman: Mr. Prathin Kijjaruwankul (Kiatnakin Phatra Bank Public Company Limited)
Coordinator: Mr. Thammanun Harnprasitkam
Objectives: The Club is established
This will close in 500 seconds
Chairman: Ms. Oranuch Nampoolsuksan (Bangkok Bank Public Company Limited)
Coordinator: Ms. Roongratt Ratanarajchartikul
Objectives: The Club is established
This will close in 500 seconds
Chairman: Dr. Phacharaphot Nuntramas (Krungthai Bank Public Company Limited)
Coordinator: Dr. Chamadanai Maknual
Objectives: The Club is established
This will close in 500 seconds
Chairman: Ms. Pornvalai Kulrojseth (Krungthai Bank Public Company Limited)
Coordinator: -
Objectives: The Club is established
This will close in 500 seconds
Chairman: Ms. Puntipa Hannoraseth (Bank of Ayudhya Public Company Limited)
Coordinator: Ms. Tippawan Bannajirakul
Objectives: The Club is established
This will close in 500 seconds
Chairman: Ms. Waranee Wanrat (TMBThanachart Bank Public Company Limited)
Coordinator: Ms. Sunisa Netsawang
Objectives: The Club is established
This will close in 500 seconds
Acting Chairman: Ms. Jeerana Ramasoot (Bangkok Bank Public Company Limited)
Coordinator: Ms. Natchanok Aryukong
Objectives: The Club is established
This will close in 500 seconds
Chairman: Dr. Vasin Udomratchatavanich Bank of Ayudhya Public Company Limited
Coordinator: Ms. Manduan Aeambunapong
Objectives: The Club is established
This will close in 500 seconds
Chairman: Mr. Sant Thaosuwan (Bank of Ayudhya Public Company Limited)
Coordinator: Ms. Wasunthree Tri-utok
Objectives: The Club is established
This will close in 500 seconds
Chairman: Mr. luesak Sukasem (Krungthai Bank Public Company Limited)
Coordinator: Ms. Nipaporn Daokhanon
Objectives: The Club is established
This will close in 500 seconds
ธรรมาภิบาล(Governance) : มีระบบการกำกับดูแลกิจการที่ดี และดำเนินการกำกับดูแลได้อย่างมีประสิทธิผลในระดับคณะกรรมการ โดยกำหนดภาระและขอบเขตความรับผิดชอบที่ชัดเจนในระดับการจัดการในเรื่องที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล
This will close in 500 seconds
ยุทธศาสตร์ (Strategy) : บูรณาการพันธกิจด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล เข้ากับยุทธศาสตร์การดำเนินธุรกิจและกำหนดกรอบด้านการเงินที่ยั่งยืน โดยสนับสนุนเพื่อให้ประเทศสามารถเปลี่ยนผ่านไปสู่เป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ได้อย่างราบรื่น
This will close in 500 seconds
การบริหารความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อม สังคมและธรรมาภิบาล (ESG Risk Management) : ผนวกรวมประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล ไว้ในกระบวนการบริหารความเสี่ยง
This will close in 500 seconds
ผลิตภัณฑ์ทางการเงิน(Financial Products) : ปรับใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อส่งเสริมการเข้าถึงบริการทางการเงิน รวมทั้งนวัตกรรมทางการเงินที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและยั่งยืน
This will close in 500 seconds
การสื่อสาร (Communication) : สื่อสารและประสานความร่วมมือกับผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วนในการสร้างจิตสำนึกสาธารณะด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล
This will close in 500 seconds
การเปิดเผยข้อมูลทางการเงิน (Disclosure) : พัฒนาระบบการติดตามและการรายงานที่สอดคล้องกับกรอบการกำกับดูแลของประเทศไทยและมาตรฐานการเปิดเผยข้อมูลด้านความยั่งยืนในระดับสากล
This will close in 500 seconds
3 เรื่องต้องรู้ก่อนเข้าร่วมมาตรการปิดจบ หนี้เรื้อรัง
**สามารถขอออกจากมาตรการได้ แต่จะไม่ได้รับสิทธิแก้หนี้ตามเงื่อนไขเดิม**
3 เรื่องต้องรู้ หากจ่ายขั้นต่ำบัตรกดเงินสดนาน ๆ
แบบไหนเข้าข่ายปัญหาหนี้เรื้อรัง (Persistent Debt - PD)
1. แม้ภาระต่อเดือนไม่สูง แต่ใช้เวลานาน กว่าจะหมดหนี้
2. ยอดขั้นต่ำที่จ่ายแต่ละเดือนเป็นดอกเบี้ยมากกว่าเงินต้น
3. เมื่อผ่อนจบพบว่ายอดรวมที่จ่ายไปส่วนใหญ่คือ ดอกเบี้ย
อยากหมดหนี้ไว ㆍจ่ายดอกเบี้ยลดลง ㆍ ภาระต่อเดือนไม่เพิ่มจากเดิม
เลือกเข้ามาตรการปิดจบหนี้เรื้อรังได้ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป
หมายเหตุ : ลูกหนี้ที่เข้าข่ายเป็นหนี้รื้อร้ง จะได้รับการติดต่อจากเจ้าหนี้ โดยหาก 5 ปีที่ผ่านมา ลูกหนี้จ่ายดอกเบี้ยรวมมากกว่าเงินต้นรวม จะได้รับข้อเสนอปิดจบหนี้ภายใน 5 ปี ดอกเบี้ยไม่เกิน 15% ต่อปี
ตัวอย่าง
ใช้บัตรกดเงินสด
วงเงินหมุนเวียน 15,000 บาท
ผ่อนขั้นต่ำ (3%) มาแล้ว 5 ปี
เหลือจ่ายเงินต้นอีก 8,700 บาท
ทางเลือกที่ 1 : ผ่อนขั้นต่ำต่อไปจนครบ ดอกเบี้ย 25% ต่อปี ผ่อนต่ออีก 13 ปี 5 เดือน
เหลือจ่ายดอกเบี้ยอีก 14,000 บาท
ดอกเบี้ยรวมทั้งสัญญา 29,000 บาท
ทางเลือกที่ 2 : เข้าโครงการแก้หนี้เรื้อรัง ดอกเบี้ย 15% ต่อปี ผ่อนต่ออีก 3 ปี 6 เดือน (เดือนละ 260 บาท)
เหลือจ่ายดอกเบี้ยอีก 2,500 บาท
ดอกเบี้ยรวมทั้งสัญญา 17,500 บาท
*ประหยัดดอกเบี้ยได้ 11,500 บาท*
หมายเหตุ: ผ่อนเดือนละ 260 บาท เท่ากับยอดการผ่อนขั้นต่ำ ณ เดือนสุดท้ายของปีที่ 5 ก่อนเข้าโครงการ
ตอบข้อสงสัย มาตรการปิดจบหนี้เรื้อรัง
(1) ทำไมมาตรการปิดจบหนี้เรื้อรัง ไม่รวมหนี้บัตรเครดิต?
(2) ทำไมต้องมีเงื่อนไขปิดวงเงินหากเข้าร่วมมาตรการปิดจบหนี้เรื้อรัง
(3) การเข้ามาตรการปิดจบหนี้เรื้อรัง จะมีการรายงานข้อมูลในเครดิตบูโร (NCB) หรือไม่
ทำไมมาตรการปิดจบหนี้เรื้อรัง ไม่รวมหนี้บัตรเครดิต?
เพราะหนี้บัตรเครดิตมี (1) อัตราดอกเบี้ย และ (2) เงื่อนไขการผ่อนชำระที่ทำให้ไม่เข้าข่ายหนี้เรื้อรังที่จ่ายดอกเบี้ยมากกว่าเงินต้นและใช้เวลานานในการปิดจบ
ลูกหนี้บัตรเครดิตจ่ายขั้นต่ำที่ 8% ทำให้จ่ายชำระเงินต้นมากกว่าดอกเบี้ย ลูกหนี้สามารถปิดจบหนี้ได้ภายในระยะเวลาไม่นานนัก
บัตรกดเงินสดมักจ่ายขั้นต่ำที่ 3% และดอกเบี้ยส่วนใหญ่อยู่ที่ 25% ต่อปี ซึ่งจะทำให้ ตัดจ่ายดอกเบี้ย 2% และตัดเงินต้นเพียง 1%
ทำไมต้องมีเงื่อนไขปิดวงเงินหากเข้าร่วมมาตรการปิดจบหนี้เรื้อรัง
เงื่อนไขการปิดวงเงินจะช่วยให้ลูกหนี้มีวินัยทางการเงินเพิ่มขึ้นและสามารถปิดจบหนี้ได้ภายใน 5 ปี
อย่างไรก็ดี กรณีลูกหนี้ที่เข้ามาตรการฯ มีความจำเป็นฉุกเฉิน เช่น เจ็บป่วย ได้รับอุบัติเหตุ ตกงาน ผู้ให้บริการอาจพิจารณาให้สินเชื่อได้ หากลูกหนี้มีความสามารถในการชำระหนี้เพียงพอ ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับนโยบายและเงื่อนไขของผู้ให้บริการแต่ละแห่ง
กรณีลูกหนี้มีบัตรกดเงินสดมากกว่า 1 ใบ สามารถเลือกเข้าโครงการแค่บางบัตร และเก็บวงเงินบัตรกดเงินสดที่เหลือไว้ก่อนได้
การเข้ามาตรการปิดจบหนี้เรื้อรัง จะมีการรายงานข้อมูลในเครดิตบูโร (NCB) หรือไม่
จะมีการรายงานข้อมูลใน NCB โดยเพิ่มการรายงานประเภทของสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้ "รหัส (code) 03" โดยจะไม่กระทบสถานะบัญชีลูกหนี้ที่ยังเป็น 10-ปกติ เช่นเดิมทั้งนี้ การรายงานนี้ จะช่วยให้ผู้ให้บริการทราบถึงการเข้าโครงการซึ่งสะท้อนความตั้งใจที่ดีในการแก้ปัญหาหนี้ของลูกหนี้
มาตรการปิดจบหนี้เรื้อรัง..ช่วยเหลือลูกหนี้อย่างไร?
ถ้าได้รับแจ้งเตือนว่าเป็นลูกหนี้เรื้อรัง (severe PD) จะได้รับข้อเสนอให้สมัครเข้าร่วมมาตรการเพื่อปิดจบหนี้ ซึ่งจะได้รับประโยชน์จากการเข้าร่วมมาตรการ ดังนี้
** สำหรับลูกหนี้ที่เริ่มเรื้อรัง (general PD) ให้รีบติดต่อเจ้าหนี้หากต้องการแก้หนี้ เจ้าหนี้จะมีแนวทางให้ความช่วยเหลือที่เหมาะสมเป็นรายกรณี **
การแจ้งเตือนเมื่อเข้าข่ายลูกหนี้เรื้อรัง
ความถี่การแจ้งเตือนจากเจ้าหนี้
ช่องทางการแจ้งเตือน
โดยลูกหนี้เรื้อรังจะได้รับข้อเสนอแนวทางการปิดจบหนี้จากเจ้าหนี้ด้วย
หนี้เรื้อรัง คืออะโร.. แค่ไหนที่เรียกว่าเรื้อรัง?
แบบไหนเข้าข่ายปัญหาหนี้เรื้อรัง (Persistent Debt - PD)
ลูกหนี้เรื้อรัง 2 แบบ
1. เริ่มเป็นหนี้เรื้อรัง (general PD)
2. เป็นหนี้เรื้อรัง (severe PD)
** ธปท. กำหนดเกณฑ์รายได้ เพื่อมุ่งให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ที่เดือดร้อนที่สุดก่อน โดยพิจารณาความเรื้อรังและรายได้ที่ไม่สูงมากของลูกหนี้ **
ทวงหนี้อย่างเป็นธรรม ต้องแจ้งข้อมูลสำคัญอะไรบ้าง
เจ้าหนี้จะต้องแจ้งรายละเอียดของภาระหนี้พร้อมข้อมูลสำคัญอื่น ๆ แก่ลูกหนี้ให้ครบถ้วน เช่น
และห้ามเรียกให้ผู้ค้ำประกันชำระหนี้ก่อน ยกเว้น ลูกหนี้ล้มละลายหรือติดต่อไม่ได้
#ResponsibleLending #แก้หนี้ยั่งยืน #เจ้าหนี้รับผิดชอบ #ลูกหนี้มีวินัย
มีหนี้กับหลายเจ้าหนี้จะทำอย่างไร?
เคยปรับโครงสร้างหนี้แล้วขอปรับซ้ำได้ไหม?
หมายเหตุ: เกณฑ์ Responsible Lending ลูกหนี้มีสิทธิขอปรับโครงสร้างหนี้ ก่อนเป็นหนี้เสีย อย่างน้อย 1 ครั้ง และหลังเป็นหนี้เสีย อย่างน้อย 1 ครั้ง โดยนับรวมการปรับโครงสร้างหนี้ก่อน 1 ม.ค. 67
สัญญาณปัญหาหนี้
สัญญาณว่าลูกหนี้กำลังมีปัญหา เช่น จ่ายขั้นต่ำ จ่ายช้า กดบัตรเงินสดมาจ่ายคืนหนี้อื่น รายได้ไม่พอรายจ่าย ถ้าเห็นสัญญาณแบบนี้ไปคุยกับเจ้าหนี้ได้เลย !!
หมายเหตุ: สนใจติดต่อ Call center และสาขาของธนาคารที่ท่านใช้บริการ