ประวัติความเป็นมา

ประวัติความเป็นมา

ย้อนกลับไปในปีพ.ศ. 2501 เมื่อกลุ่มของนายธนาคารชั้นนำที่เป็นตัวแทนของธนาคารพาณิชย์ไทยได้จัดตั้งกลุ่มขึ้นมามีการประชุมเพื่อหารือเกี่ยวกับจัดตั้งในรูปแบบของสมาคมในเดือนกันยายน 2501 ซึ่งประกอบด้วย ธนาคารพาณิชย์ 13 แห่งในสมัยนั้น “สมาคมธนาคารไทย” ได้จดทะเบียนจัดตั้งเมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม 2510 โดยมีวัตถุประสงค์หลัก คือ

  • มุ่งเน้นในการสร้างความพร้อม และความร่วมมือระหว่างธนาคารสมาชิกด้วยกัน ทางด้านการเงินการธนาคาร
  • ให้ความร่วมมือและประสานงานกับภาครัฐบาล และองค์กรเศรษฐกิจหลักของภาคเอกชน ในการพัฒนาเศรษฐกิจ การเงินของประเทศ ให้เจริญและก้าวหน้ายิ่งขึ้น
  • สนับสนุนนโยบายของรัฐ ที่มุ่งเน้นการเปิดเสรีทางการเงินในอนาคต โดยมีเป้าหมายที่จะส่งเสริมให้ประเทศไทย พัฒนาเป็นศูนย์กลางทางการเงินในภูมิภาคอาเซียนในอนาคต

ปัจจุบัน สมาคมธนาคารไทยมีจำนวนสมาชิก 15 ธนาคาร ดังนี้

  1. ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)
  2. ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)
  3. ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)
  4. ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน)
  5. ธนาคารเกียรตินาคินภัทร จำกัด (มหาชน)
  6. ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย จำกัด (มหาชน)
  7. ธนาคารทหารไทยธนชาต จำกัด (มหาชน)
  8. ธนาคารทิสโก้ จำกัด (มหาชน)
  9. ธนาคารไทยเครดิต เพื่อรายย่อย จำกัด (มหาชน)
  10. ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)
  11. ธนาคารยูโอบี จำกัด (มหาชน)
  12. ธนาคารแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน)
  13. ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด (ไทย) จำกัด (มหาชน)
  14. ธนาคารไอซีบีซี (ไทย) จำกัด (มหาชน)
  15. ธนาคารแห่งประเทศจีน (ไทย) จำกัด (มหาชน)

นับตั้งแต่ก่อตั้ง สมาคมธนาคารไทยได้มีบทบาทที่สำคัญในการเป็นตัวแทนธนาคารพาณิชย์ในการหารือกับธนาคารแห่งประเทศไทย, กระทรวงการคลัง, กระทรวงพาณิชย์ และหน่วยงานอื่น ๆ ของรัฐบาลในการกำหนดและการดำเนินนโยบายทางเศรษฐกิจและการเงินที่สำคัญ

สมาคมธนาคารไทยร่วมมือกับหอการค้าและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยจัดตั้งคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน (กกร.) ซึ่งเป็นสถาบันหลักภาคเอกชนในการส่งเสริมการค้า การอุตสาหกรรม และการเงินของประเทศ โดยมีจุดมุ่งหมายให้เป็นศูนย์รวมความคิดเห็นและข้อเสนอแนะที่เป็นเอกภาพของภาคธุรกิจเอกชน เกี่ยวกับแนวทางในการแก้ปัญหาทางการค้าและเศรษฐกิจ และนำเสนอต่อคณะกรรมการร่วมภาครัฐบาลและเอกชนเพื่อแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจ (กรอ.) หรือเสนอต่อหน่วยงานราชการที่รับผิดชอบเกี่ยวกับปัญหานั้นๆ โดยตรง เพื่อประกอบการพิจารณาในการวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจ หรือกำหนดเป็นนโยบาย หรือมาตรการในการแก้ปัญหาเศรษฐกิจของชาติ

สมาคมธนาคารไทยได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกสมาคมธนาคารอาเซียน (ASEAN Bankers Association : ABA) ซึ่งมีสมาคมธนาคารสมาชิก 10 ประเทศ ได้แก่ กัมพูชา ไทย บรูไน ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย เมียนมา ลาว เวียดนาม สิงคโปร์และอินโดนีเซีย โดยมีการประสานงานอย่างใกล้ชิด ความร่วมมือที่ผ่านมา เช่น มาตรการแก้ปัญหา Y2K, การจัดประชุมเชิงวิชาการ เชิงปฏิบัติการ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและความแข็งแกร่งของระบบการเงิน การธนาคารในภูมิภาคอาเซียน

ประธานสมาคมธนาคารไทยจาก (2501 – ปัจจุบัน)

นายเกษม ล่ำซำ

พ.ศ. 2501 – 2503


นายบรรเจิด ชลวิจารณ์

พ.ศ. 2504 – 2507


นายอุเทน เตชะไพบูลย์

พ.ศ. 2508 – 2511
2517 – 2518


นายจำรัส จตุรภัทร

พ.ศ. 2512 – 2513


นายเฉลิม ประจวบเหมาะ

พ.ศ. 2514 – 2516


นายสุขุม นวพันธ์

พ.ศ. 2519 – 2520


นายบุญชู โรจนเสถียร

พ.ศ. 2521 – 2522


นายประจิตร ยศสุนทร

พ.ศ. 2523 – 2524


นายสมบูรณ์ นันทาภิวัฒน์

พ.ศ. 2525 – 2526


นายบรรยงค์ ล่ำซำ

พ.ศ. 2527 – 2528


นายชาตรี โสภณพนิช

พ.ศ. 2529 – 2531


นายปกรณ์ ทวีสิน

พ.ศ. 2532 – 2533


นายธารินทร์ นิมมานเหมินท์

พ.ศ. 2534 – 2535


ดร. สม จาตุศรีพิทักษ์

พ.ศ. 2536 – 2538


ดร. โอฬาร ไชยประวัติ

พ.ศ. 2539 – 2540


นายบัณฑูร ล่ำซำ

พ.ศ. 2541 – 2542


นายจุลกร สิงหโกวินท์

พ.ศ. 2543 – 2544


นายชาติศิริ โสภณพนิช

พ.ศ. 2545 – 2548
2554 – 2556


คุณหญิงชฏา วัฒนศิริธรรม

พ.ศ. 2549


นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์

พ.ศ. 2550 – 2552


ดร.ประสาร ไตรรัตน์วรกุล

พ.ศ. 2553


นายบุญทักษ์ หวังเจริญ

พ.ศ. 2557 – 2558


นายปรีดี ดาวฉาย

พ.ศ. 2559 – 2562


นายผยง ศรีวณิช

พ.ศ. 2563 – ปัจจุบัน