คอลัมน์ : ร่วมด้วยช่วยคิด
ผู้เขียน : ดร.นครินทร์ อมเรศ
ผอ.ฝ่ายยุทธศาสตร์ความร่วมมือระหว่างองค์กร ธนาคารไทยพาณิชย์
“งานแบงก์จำเป็น แบงก์ไม่จำเป็น” (Banking is Necessary, But Banks are Not) เป็นคำกล่าวตั้งแต่ปี 2537 ของคุณ Bill Gates มหาเศรษฐีผู้ปลุกปั้นบริษัทไมโครชอฟท์ ก่อนจะผันตัวเองมาเป็นนักการกุศลเต็มเวลา ในปัจจุบัน ซึ่งนับว่าสะท้อนวิสัยทัศน์อันกว้างไกล และแยกส่วนที่สำคัญ คือบทบาทหน้าที่ในการให้บริการและเป็นตัวกลางทางการเงินออกจากองค์กรหรือหน่วยงานที่ให้บริการนั้นโดยมีนัยว่าเทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นอย่างก้าวกระโดดจะนำมาซึ่งยุคสมัยที่ผู้ใช้บริการทางการเงินยังจะได้รับบริการ “งานแบงก์” อยู่ เพียงแต่ผู้ให้บริการอาจจะเป็นผู้ประกอบการรายอื่น หรืออาจจะเป็นการทำธุรกรรมระหว่างผู้ใช้บริการด้วยกัน เพียงแค่ผ่านเทคโนโลยีตัวกลางที่ไม่จำเป็นต้องเป็นธนาคารเช่นเดียวกับในอดีต ในการนี้แล้ว “คนแบงก์” จะยังจำเป็นหรือไม่ หากไม่มีแบงก์เสียแล้ว?
ในฐานะที่ได้ใช้เวลาเป็น “คนแบงก์” ถึงสามในสี่ของเส้นทางอาชีพที่ผ่านมาจึงอยากจะขอแลกเปลี่ยนมุมมอง โดยเริ่มจากว่า คนแบงก์เป็นใคร ทำอะไร อย่างไรโดยแบบสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติ แสดงว่า ในไตรมาสที่สามปี 2566 นั้น มีคนแบงก์อยู่ประมาณ 225,000 คน โดยร้อยละ 76 จบการศึกษาสายสังคมศาสตร์ ธุรกิจ และกฎหมาย และน่าสังเกตว่าเกือบ 1 ใน 5 ของคนแบงก์เป็นผู้จัดการและผู้บริหาร และมีอีกกว่าร้อยละ 40 เป็นผู้ประกอบวิชาชีพ หรือเจ้าหน้าที่เทคนิค จึงอาจกล่าวได้ว่า “คนแบงก์” ส่วนใหญ่ต้องใช้ทักษะ ความชำนาญ และมีความรู้ความสามารถในการบริหารจัดการ และอาจเป็นเหตุให้คนแบงก์มีเส้นทางอาชีพค่อนข้างยาว เพราะเมื่อต้องใช้เวลาบ่มเพาะประสบการณ์อย่างยาวนานก็ต้องทำงานให้คุ้มกับการเรียนรู้
ประเด็นหนึ่งที่ธุรกิจธนาคารอาจจะแตกต่างจากธุรกิจอื่น ๆ คือ บริการทางการเงินนับเป็นสินค้าที่สร้างความแตกต่างได้ไม่ง่ายนัก อีกทั้งแนวทาง วิธีการ และเทคโนโลยีที่ให้บริการก็มีความโปร่งใสและเรียนรู้ได้อย่างเปิดเผย จึงทำให้ผู้นำกระแสต้องหมั่นสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ ขณะที่คู่ค้าคู่แข่งก็ปรับตัวตามกันมาไม่ลำบาก จึงมีการแข่งขันสูง ทั้งในส่วนธุรกิจ และในส่วนของการสรรหาบุคลากรที่สามารถถ่ายโอนไหลเวียนกันได้คล่อง โดยมีกลไกหนึ่งที่ทำให้ตลาดแรงงานของคนแบงก์เลื่อนไหลไม่ติดขัดคือการมีชมรมต่าง ๆ ภายใต้สมาคมธนาคารไทย เป็นการรวมตัวกันของบุคลากรภาคการเงินการธนาคารในสายวิชาชีพเฉพาะเดียวกัน
โดยปกติแล้วชมรมเป็นการรวมตัวกันทำงานอดิเรก ซึ่งตรงกันข้ามกับชมรมภายใต้สมาคมธนาคารไทย ที่เป็น Coworking Space ของคนแบงก์ในกลุ่มทักษะเดียวกัน แต่อยู่ต่างองค์กรกันโดยอาจแบ่งออกเป็นสามกลุ่มคร่าว ๆ คือ กลุ่มที่เกี่ยวข้องกับกฎเกณฑ์ อาทิ ชมรมกำกับการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ ชมรมตรวจสอบและป้องกันการทุจริต และชมรมนักกฎหมาย หรือกลุ่มที่เกี่ยวกับการประกอบการ ได้แก่ ชมรมสินเชื่อส่วนบุคคล ชมรมธุรกิจบัตรเครดิต และชมรมธุรกิจต่างประเทศ นอกจากนี้ ยังมีกลุ่มชมรมรากฐานสำคัญ เช่น ชมรมเทคโนโลยีสารสนเทศธนาคาร ชมรมนักบริหารงานประเมินราคาและชมรมนักวิเคราะห์เศรษฐกิจ
เมื่อคนพื้นฐานใกล้เคียงกันมารวมตัวกัน แลกเปลี่ยนความรู้ และร่วมกันทำงานส่วนกลางของอุตสาหกรรม กิจกรรมชมรมจึงมีความเหนียวแน่น โดยที่ไม่ได้ขึ้นกับงบประมาณสนับสนุน แต่อยู่ที่การบริหารจัดการของผู้นำ และการสร้างสรรค์คุณค่าร่วมกันในการยกระดับทักษะอาชีพจึงไม่น่าแปลกใจที่คนในวงการเดียวกันจะต่อยอดสายอาชีพความเป็นคนแบงก์ไม่ว่าจะอยู่ในแบงก์เดิม หรือเดินหน้าไปแบงก์อื่น
อย่างไรก็ดี ความเป็นกลุ่มก้อนนี้ก็อาจมีส่วนสร้างความท้าทายในการตอบโจทย์ในยุคที่ชุดทักษะแบบเดียวกันไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างเบ็ดเสร็จ ต้องอาศัยการแลกเปลี่ยนกันระหว่างชมรมภายในอุตสาหกรรมธนาคาร ต้องทำงานร่วมกันระหว่างผู้ให้บริการและผู้กำกับดูแลต้องสร้างความร่วมมือระหว่างภายในและภายนอกอุตสาหกรรมการเงินตลอดจนต้องมีการสนับสนุนส่งเสริมกันระหว่างผู้ให้และผู้ใช้บริการ โจทย์จึงยากขึ้นมาก
สุดท้ายนี้ ขอกลับไปที่คำถามตั้งตันที่ล้อค่ำกล่าวของคุณ Bill Gates ว่า งานแบงก์จำเป็น แบ่งก์อาจจะไม่ แล้วคนแบงก์จำเป็นไหม ? คนแบงก์เองก็เป็นเช่นเดียวกับคนในสังคมที่ต้องอยู่รอดปรับตัวรับทักษะใหม่ เหมือนชมรมที่มีเก่าไปใหม่มา หมุนเวียนกันไปตามยุคสมัยแห่งกิจกรรมและกิจการ ดังนั้นตราบใดที่คนแบงก์จะยังประโยชน์สร้างคุณค่าให้กับเศรษฐกิจและสังคมผ่านการทำงานแบงก์ที่เอื้อให้การจัดสรรทรัพยากรทางเศรษฐกิจเป็นไปด้วยความราบรื่น สร้างโอกาสให้กับทั้งธุรกิจและประชาชน ตลอดจนยกระดับการพัฒนานวัตกรรมให้กับประเทศ คนแบงก์จะยังรักษาคุณค่าให้งานแบงก์เป็นสายอาชีพที่จำเป็นต่อประเทศได้ตราบนั้น
* บทความนี้เป็นข้อคิดเห็นส่วนบุคคล ซึ่งไม่จำเป็นต้องสอดคล้องกับซ้อคิดเห็นของหน่วยงานที่ผู้เขียนสังกัด*
ขอขอบคุณแหล่งที่มา : ประชาชาติธุรกิจ
Chairman: Mr. Suwit Indrachalerm (Bangkok Bank Public Company Limited)
Coordinator: Mr. Suphawat Maseng
Objectives: This club is established with the approval of its members to carry out corporate social responsibility (CSR) activities consistent with the operations of the Thai Bankers’ Association as follows
This will close in 500 seconds
Chairman: Ms. Suteera Sripaibulya (Bangkok Bank Public Company Limited)
Coordinator: Ms. Sampantanee Apaipan
Objectives: This club is established
This will close in 500 seconds
Chairman: Mr. Than Siripokee (Bangkok Bank Public Company Limited)
Coordinator: Ms. Supada Ruttanapong
Objectives: This club is established
This will close in 500 seconds
Chairman: Mr. Paisarn Lertkowit (Bangkok Bank Public Company Limited)
Coordinator: Ms. Kristsanee Disapad
Objectives: This club is established
This will close in 500 seconds
Chairman: Mr. Kittichai Singha (Bank of Ayudhya Public Company Limited)
Coordinatior: Ms. Chutiporn Jiranansuroj
Objectives: This club is established
This will close in 500 seconds
Chairman: Pongpichet Nananukool (Kasikorn Bank Public Company Limited)
Coordinator: Mr. Warat Attanandana
Objectives: This club is established
This will close in 500 seconds
Chairman: Mr. Kitipong Muttamara (Krungthai Bank Public Company Limited)
Coordinator: Ms. Manisa Rueangsri
Objectives: This club is established
This will close in 500 seconds
Chairman: Mr. Atis Ruchirawat Ayudhya Capital Services Co., Ltd.
Coordinator: Ms. Apsorn Suttaroj
Objectives: This club is established
This will close in 500 seconds
Acting Chairman: Mr. Settarat Na-Nakorn (Kasikorn Bank Public Company Limited)
: Ms. Suchanee.lavanavanija (Bangkok Bank Public Company Limited)
Coordinator: Ms. Monruedee Teerarungruang
Objectives: The Club is established
This will close in 500 seconds
Chairman: Mr. Thitivorn Chothayaphorn (Bank of Ayudhya Public Company Limited)
Coordinator: K. Jitti Wijitbanjong
Objectives: The Club is established
This will close in 500 seconds
Chairman: Mr. Prathin Kijjaruwankul (Kiatnakin Phatra Bank Public Company Limited)
Coordinator: Mr. Thammanun Harnprasitkam
Objectives: The Club is established
This will close in 500 seconds
Chairman: Ms. Oranuch Nampoolsuksan (Bangkok Bank Public Company Limited)
Coordinator: Ms. Roongratt Ratanarajchartikul
Objectives: The Club is established
This will close in 500 seconds
Chairman: Dr. Phacharaphot Nuntramas (Krungthai Bank Public Company Limited)
Coordinator: Dr. Chamadanai Maknual
Objectives: The Club is established
This will close in 500 seconds
Chairman: Ms. Pornvalai Kulrojseth (Krungthai Bank Public Company Limited)
Coordinator: -
Objectives: The Club is established
This will close in 500 seconds
Chairman: Ms. Puntipa Hannoraseth (Bank of Ayudhya Public Company Limited)
Coordinator: Ms. Tippawan Bannajirakul
Objectives: The Club is established
This will close in 500 seconds
Chairman: Ms. Waranee Wanrat (TMBThanachart Bank Public Company Limited)
Coordinator: Ms. Sunisa Netsawang
Objectives: The Club is established
This will close in 500 seconds
Acting Chairman: Ms. Jeerana Ramasoot (Bangkok Bank Public Company Limited)
Coordinator: Ms. Natchanok Aryukong
Objectives: The Club is established
This will close in 500 seconds
Chairman: Dr. Vasin Udomratchatavanich Bank of Ayudhya Public Company Limited
Coordinator: Ms. Manduan Aeambunapong
Objectives: The Club is established
This will close in 500 seconds
Chairman: Mr. Sant Thaosuwan (Bank of Ayudhya Public Company Limited)
Coordinator: Ms. Wasunthree Tri-utok
Objectives: The Club is established
This will close in 500 seconds
Chairman: Mr. luesak Sukasem (Krungthai Bank Public Company Limited)
Coordinator: Ms. Nipaporn Daokhanon
Objectives: The Club is established
This will close in 500 seconds
ธรรมาภิบาล(Governance) : มีระบบการกำกับดูแลกิจการที่ดี และดำเนินการกำกับดูแลได้อย่างมีประสิทธิผลในระดับคณะกรรมการ โดยกำหนดภาระและขอบเขตความรับผิดชอบที่ชัดเจนในระดับการจัดการในเรื่องที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล
This will close in 500 seconds
ยุทธศาสตร์ (Strategy) : บูรณาการพันธกิจด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล เข้ากับยุทธศาสตร์การดำเนินธุรกิจและกำหนดกรอบด้านการเงินที่ยั่งยืน โดยสนับสนุนเพื่อให้ประเทศสามารถเปลี่ยนผ่านไปสู่เป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ได้อย่างราบรื่น
This will close in 500 seconds
การบริหารความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อม สังคมและธรรมาภิบาล (ESG Risk Management) : ผนวกรวมประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล ไว้ในกระบวนการบริหารความเสี่ยง
This will close in 500 seconds
ผลิตภัณฑ์ทางการเงิน(Financial Products) : ปรับใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อส่งเสริมการเข้าถึงบริการทางการเงิน รวมทั้งนวัตกรรมทางการเงินที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและยั่งยืน
This will close in 500 seconds
การสื่อสาร (Communication) : สื่อสารและประสานความร่วมมือกับผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วนในการสร้างจิตสำนึกสาธารณะด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล
This will close in 500 seconds
การเปิดเผยข้อมูลทางการเงิน (Disclosure) : พัฒนาระบบการติดตามและการรายงานที่สอดคล้องกับกรอบการกำกับดูแลของประเทศไทยและมาตรฐานการเปิดเผยข้อมูลด้านความยั่งยืนในระดับสากล
This will close in 500 seconds
3 เรื่องต้องรู้ก่อนเข้าร่วมมาตรการปิดจบ หนี้เรื้อรัง
**สามารถขอออกจากมาตรการได้ แต่จะไม่ได้รับสิทธิแก้หนี้ตามเงื่อนไขเดิม**
3 เรื่องต้องรู้ หากจ่ายขั้นต่ำบัตรกดเงินสดนาน ๆ
แบบไหนเข้าข่ายปัญหาหนี้เรื้อรัง (Persistent Debt - PD)
1. แม้ภาระต่อเดือนไม่สูง แต่ใช้เวลานาน กว่าจะหมดหนี้
2. ยอดขั้นต่ำที่จ่ายแต่ละเดือนเป็นดอกเบี้ยมากกว่าเงินต้น
3. เมื่อผ่อนจบพบว่ายอดรวมที่จ่ายไปส่วนใหญ่คือ ดอกเบี้ย
อยากหมดหนี้ไว ㆍจ่ายดอกเบี้ยลดลง ㆍ ภาระต่อเดือนไม่เพิ่มจากเดิม
เลือกเข้ามาตรการปิดจบหนี้เรื้อรังได้ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป
หมายเหตุ : ลูกหนี้ที่เข้าข่ายเป็นหนี้รื้อร้ง จะได้รับการติดต่อจากเจ้าหนี้ โดยหาก 5 ปีที่ผ่านมา ลูกหนี้จ่ายดอกเบี้ยรวมมากกว่าเงินต้นรวม จะได้รับข้อเสนอปิดจบหนี้ภายใน 5 ปี ดอกเบี้ยไม่เกิน 15% ต่อปี
ตัวอย่าง
ใช้บัตรกดเงินสด
วงเงินหมุนเวียน 15,000 บาท
ผ่อนขั้นต่ำ (3%) มาแล้ว 5 ปี
เหลือจ่ายเงินต้นอีก 8,700 บาท
ทางเลือกที่ 1 : ผ่อนขั้นต่ำต่อไปจนครบ ดอกเบี้ย 25% ต่อปี ผ่อนต่ออีก 13 ปี 5 เดือน
เหลือจ่ายดอกเบี้ยอีก 14,000 บาท
ดอกเบี้ยรวมทั้งสัญญา 29,000 บาท
ทางเลือกที่ 2 : เข้าโครงการแก้หนี้เรื้อรัง ดอกเบี้ย 15% ต่อปี ผ่อนต่ออีก 3 ปี 6 เดือน (เดือนละ 260 บาท)
เหลือจ่ายดอกเบี้ยอีก 2,500 บาท
ดอกเบี้ยรวมทั้งสัญญา 17,500 บาท
*ประหยัดดอกเบี้ยได้ 11,500 บาท*
หมายเหตุ: ผ่อนเดือนละ 260 บาท เท่ากับยอดการผ่อนขั้นต่ำ ณ เดือนสุดท้ายของปีที่ 5 ก่อนเข้าโครงการ
ตอบข้อสงสัย มาตรการปิดจบหนี้เรื้อรัง
(1) ทำไมมาตรการปิดจบหนี้เรื้อรัง ไม่รวมหนี้บัตรเครดิต?
(2) ทำไมต้องมีเงื่อนไขปิดวงเงินหากเข้าร่วมมาตรการปิดจบหนี้เรื้อรัง
(3) การเข้ามาตรการปิดจบหนี้เรื้อรัง จะมีการรายงานข้อมูลในเครดิตบูโร (NCB) หรือไม่
ทำไมมาตรการปิดจบหนี้เรื้อรัง ไม่รวมหนี้บัตรเครดิต?
เพราะหนี้บัตรเครดิตมี (1) อัตราดอกเบี้ย และ (2) เงื่อนไขการผ่อนชำระที่ทำให้ไม่เข้าข่ายหนี้เรื้อรังที่จ่ายดอกเบี้ยมากกว่าเงินต้นและใช้เวลานานในการปิดจบ
ลูกหนี้บัตรเครดิตจ่ายขั้นต่ำที่ 8% ทำให้จ่ายชำระเงินต้นมากกว่าดอกเบี้ย ลูกหนี้สามารถปิดจบหนี้ได้ภายในระยะเวลาไม่นานนัก
บัตรกดเงินสดมักจ่ายขั้นต่ำที่ 3% และดอกเบี้ยส่วนใหญ่อยู่ที่ 25% ต่อปี ซึ่งจะทำให้ ตัดจ่ายดอกเบี้ย 2% และตัดเงินต้นเพียง 1%
ทำไมต้องมีเงื่อนไขปิดวงเงินหากเข้าร่วมมาตรการปิดจบหนี้เรื้อรัง
เงื่อนไขการปิดวงเงินจะช่วยให้ลูกหนี้มีวินัยทางการเงินเพิ่มขึ้นและสามารถปิดจบหนี้ได้ภายใน 5 ปี
อย่างไรก็ดี กรณีลูกหนี้ที่เข้ามาตรการฯ มีความจำเป็นฉุกเฉิน เช่น เจ็บป่วย ได้รับอุบัติเหตุ ตกงาน ผู้ให้บริการอาจพิจารณาให้สินเชื่อได้ หากลูกหนี้มีความสามารถในการชำระหนี้เพียงพอ ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับนโยบายและเงื่อนไขของผู้ให้บริการแต่ละแห่ง
กรณีลูกหนี้มีบัตรกดเงินสดมากกว่า 1 ใบ สามารถเลือกเข้าโครงการแค่บางบัตร และเก็บวงเงินบัตรกดเงินสดที่เหลือไว้ก่อนได้
การเข้ามาตรการปิดจบหนี้เรื้อรัง จะมีการรายงานข้อมูลในเครดิตบูโร (NCB) หรือไม่
จะมีการรายงานข้อมูลใน NCB โดยเพิ่มการรายงานประเภทของสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้ "รหัส (code) 03" โดยจะไม่กระทบสถานะบัญชีลูกหนี้ที่ยังเป็น 10-ปกติ เช่นเดิมทั้งนี้ การรายงานนี้ จะช่วยให้ผู้ให้บริการทราบถึงการเข้าโครงการซึ่งสะท้อนความตั้งใจที่ดีในการแก้ปัญหาหนี้ของลูกหนี้
มาตรการปิดจบหนี้เรื้อรัง..ช่วยเหลือลูกหนี้อย่างไร?
ถ้าได้รับแจ้งเตือนว่าเป็นลูกหนี้เรื้อรัง (severe PD) จะได้รับข้อเสนอให้สมัครเข้าร่วมมาตรการเพื่อปิดจบหนี้ ซึ่งจะได้รับประโยชน์จากการเข้าร่วมมาตรการ ดังนี้
** สำหรับลูกหนี้ที่เริ่มเรื้อรัง (general PD) ให้รีบติดต่อเจ้าหนี้หากต้องการแก้หนี้ เจ้าหนี้จะมีแนวทางให้ความช่วยเหลือที่เหมาะสมเป็นรายกรณี **
การแจ้งเตือนเมื่อเข้าข่ายลูกหนี้เรื้อรัง
ความถี่การแจ้งเตือนจากเจ้าหนี้
ช่องทางการแจ้งเตือน
โดยลูกหนี้เรื้อรังจะได้รับข้อเสนอแนวทางการปิดจบหนี้จากเจ้าหนี้ด้วย
หนี้เรื้อรัง คืออะโร.. แค่ไหนที่เรียกว่าเรื้อรัง?
แบบไหนเข้าข่ายปัญหาหนี้เรื้อรัง (Persistent Debt - PD)
ลูกหนี้เรื้อรัง 2 แบบ
1. เริ่มเป็นหนี้เรื้อรัง (general PD)
2. เป็นหนี้เรื้อรัง (severe PD)
** ธปท. กำหนดเกณฑ์รายได้ เพื่อมุ่งให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ที่เดือดร้อนที่สุดก่อน โดยพิจารณาความเรื้อรังและรายได้ที่ไม่สูงมากของลูกหนี้ **
ทวงหนี้อย่างเป็นธรรม ต้องแจ้งข้อมูลสำคัญอะไรบ้าง
เจ้าหนี้จะต้องแจ้งรายละเอียดของภาระหนี้พร้อมข้อมูลสำคัญอื่น ๆ แก่ลูกหนี้ให้ครบถ้วน เช่น
และห้ามเรียกให้ผู้ค้ำประกันชำระหนี้ก่อน ยกเว้น ลูกหนี้ล้มละลายหรือติดต่อไม่ได้
#ResponsibleLending #แก้หนี้ยั่งยืน #เจ้าหนี้รับผิดชอบ #ลูกหนี้มีวินัย
มีหนี้กับหลายเจ้าหนี้จะทำอย่างไร?
เคยปรับโครงสร้างหนี้แล้วขอปรับซ้ำได้ไหม?
หมายเหตุ: เกณฑ์ Responsible Lending ลูกหนี้มีสิทธิขอปรับโครงสร้างหนี้ ก่อนเป็นหนี้เสีย อย่างน้อย 1 ครั้ง และหลังเป็นหนี้เสีย อย่างน้อย 1 ครั้ง โดยนับรวมการปรับโครงสร้างหนี้ก่อน 1 ม.ค. 67
สัญญาณปัญหาหนี้
สัญญาณว่าลูกหนี้กำลังมีปัญหา เช่น จ่ายขั้นต่ำ จ่ายช้า กดบัตรเงินสดมาจ่ายคืนหนี้อื่น รายได้ไม่พอรายจ่าย ถ้าเห็นสัญญาณแบบนี้ไปคุยกับเจ้าหนี้ได้เลย !!
หมายเหตุ: สนใจติดต่อ Call center และสาขาของธนาคารที่ท่านใช้บริการ
ปิดหนี้ก่อนกำหนดได้ ไม่ต้องจ่าย Prepayment fee
Prepayment fee คือ ค่าปรับจากการไถ่ถอนสินเชื่อก่อนกำหนด
ธปท. ห้ามเรียกเก็บ prepayment fee ในสินเชื่อภายใต้กำกับของ ธปท. ดังนี้