ธปท. อยู่ระหว่างศึกษาการออกไกด์ไลน์ ประชาชนโดนมิจฉาชีพหลอกกรณีไหน แบงก์ต้องรับผิดชอบ 100% พร้อมร่วมมือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่างกฎหมายใหม่คืนเงินให้ประชาชนที่ถูกหลอกได้เร็วขึ้น
นางสาวดารณี แซ่จู ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายกำกับระบบชำระเงินและคุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย กล่าวถึง การยกระดับการจัดการภัยการเงิน โดยในด้านการคืนเงินให้กับผู้เสียหายกฎหมายยังไม่ได้กำหนดว่าต้องทำการคืนเงินให้ผู้เสียหายภายในกี่วัน ซึ่งโดยปกติแล้วกระบวนการในปัจจุบันคือเมื่อจับกุมคนร้ายได้แล้ว ต้องพิจารณาว่าเงินที่มิจฉาชีพหลอกมานั้นมีผู้เกี่ยวข้องกี่ราย จากนั้นจะทำการเฉลี่ยทรัพย์คืนให้กับผู้เสียหาย ขณะที่หากไม่มีผู้เสียหายรายอื่นมาขอเฉลี่ยทรัพย์ เจ้าหน้าที่มีอำนาจคืนเงินได้เลยซึ่งกรณีนี้เกิดขึ้นได้น้อย
ดังนั้นเพื่อให้กระบวนการคืนเงินให้กับผู้เสียหายมีความคล่องตัวมากขึ้น ธปท. , สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (สำนักงาน ปปง.) และ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องอยู่ระหว่างร่างกฎหมายฉบับใหม่เพื่อช่วยคืนเงินให้ประชาชนที่ถูกมิจฉาชีพหลอกได้เร็วยิ่งขึ้น
ส่วนกรณีที่มีผู้เสียหายเรียกร้องให้ธนาคารต้องเป็นผู้คืนเงินให้กับผู้เสียหายเต็มจำนวน 100% ธปท. อยู่ระหว่างการศึกษาการทำไกด์ไลน์ (Enforcement) ในการกำหนดหน้าที่ของสถาบันการเงิน โดยหากสถาบันการเงินไม่ปฏิบัติตามแล้วมีประชาชนได้รับความเสียหายจากการถูกมิจฉาชีพหลอกสถาบันการเงินต้องรับผิดชอบ 100%
นางสาวดารณี ได้ยกตัวอย่าง เช่น ธปท. กำหนดให้ทุกธนาคารต้องเร่งปิดช่องโหว่จากกรณีแอปพลิเคชั่นดูดเงินภายใน 1 เดือน หากธนาคารไม่สามารถทำได้แล้วมีผู้เสียหายจากกรณีดังกล่าว ธนาคารต้องเป็นผู้รับผิดชอบ 100%
“ตอนนี้ยังอยู่ในกระบวนการที่เรากำลังทำไกด์ไลน์เพื่อกำหนดว่าแบงก์ต้องทำอะไรบ้าง เรื่องนี้เป็นเรื่องยาก เพราะอาจมีกรณีที่โจรร่วมมือกันโกงแบงก์ ดังนั้นต้องกำหนดให้ชัดว่าอะไรคือหน้าที่ของแบงก์ และหากแบงก์ไม่ทำหน้าที่ก็ต้องรับผิดชอบ”
นอกจากนี้ธปท. ยังศึกษากรณีในต่างประเทศเพื่อกำหนดกฎเกณฑ์ให้ชัดเจน เช่น กรณีของสิงคโปร์ หากมีเงินโอนออกจากบัญชีโดยไม่มีข้อความในโทรศัพท์มือถือ (SMS) แจ้งเตือน ธนาคารต้องรับผิดชอบใช้เงินคืนจำนวน แต่หากมี SMS แจ้งเตือน ธนาคารไม่จำเป็นต้องรับผิดชอบ เป็นต้น
นางสาวดารณี กล่าวต่อว่า ส่วนมาตรการที่ธปท. ได้ออกมาเพื่อจัดการภัยการเงินในช่วงที่ผ่านมา เช่น การกำหนดให้ธนาคารไม่ส่งลิงก์ผ่าน SMS ช่วยให้ประชาชนโดนหลอกลดลง อย่างไรก็ตามมิจฉาชีพได้เปลี่ยนรูปแบบจากการหลอกว่าส่ง SMS จากธนาคาร เป็นส่งจากหน่วยงานของรัฐแทน เช่น กรมบัญชีกลาง
“เราพยายามบอกว่าเรื่องนี้ทุกฝ่ายต้องช่วยกัน ทุกอย่างจะมาอยู่ที่แบงก์ไม่ได้ อย่างเรื่อง SMS ต้องป้องกันตั้งแต่ไม่ให้มิจฉาชีพสามารถส่ง SMS ได้”
นางสาวดารณี กล่าวว่า สำหรับความคืบหน้าการยกระดับการจัดการบัญชีม้า หลังจากที่ธปท. ได้ออกมาตรการในการแลกเปลี่ยนข้อมูลบัญชีที่อาจเป็นบัญชีม้าข้ามธนาคาร ซึ่งมีผลตั้งแต่วันที่ 1 ส.ค. 2567 ที่ผ่านมา ปัจจุบันได้เชื่อมต่อข้อมูลพื่อแลกเปลี่ยนกันครบทุกธนาคารแล้ว โดยพบว่า
กลุ่มบัญชีม้าดำ หรือบัญชีที่ถูกระงับการทำธุรกรรมจากทุกธนาคาร ทั้งช่องทางสาขาและช่องทางออนไลน์ มีจำนวนทั้งสิ้น 38,000 ราย คิดเป็นจำนวนบัญชี 340,000 กว่าบัญชี (ช่วง มี.ค. 66- พ.ค. 67) ซึ่งกลุ่มนี้จะอยู่ภายใต้สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.)
โดยกลุ่มนี้ธนาคารสามารถระงับการให้บริการได้ทันทีและจะนำข้อมูลเข้าสู่ระบบกลางทันทีภายใน 1 วัน หากซึ่งเจ้าของบัญชีไม่ใช่มิจฉาชีพตามที่ถูกกล่าวหา จะต้องมาเจรจากับเจ้าหน้าที่ตำรวจเพื่อใช้บริการต่อไป โดยระหว่างนี้เจ้าของบัญชีดังกล่าวจะไม่สามารถเปิดบัญชีใหม่กับธนาคารอื่นๆ ได้
กลุ่มบัญชีบัญชีม้าเทา มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 15,000 ราย คิดเป็นจำนวนบัญชี 36,000 บัญชี กลุ่มนี้หากต้องการใช้บริการของธนาคารต่อ จะต้องมายืนยันตัวตนที่สาขาของธนาคาร
กลุ่มบัญชีม้าน้ำตาล หรือบัญชีต้องสงสัยภายในธนาคาร ปัจจุบันยังไม่ได้มีการแชร์ข้อมูลระหว่างธนาคารในกลุ่มนี้ โดยกลุ่มนี้ยังไม่มีตัวเลขที่ชัดเจน เนื่องจากแต่ละธนาคารอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
สำหรับมาตรการที่การกำหนดให้แสกนหน้าเมื่อต้องทำธุรกรรมที่มีวงเงินเกิน 50,000 บาท พบว่าช่วยให้บัญชีม้าที่มีลักษณะขายขาดลดลง แต่บัญชีม้าเลี้ยง หรือบัญชีที่ได้ส่วนแบ่งเป็นรายเดือน หรือได้ส่วนแบ่งเป็นรายธุรกรรมยังคงพบอยู่ ซึ่งพบว่ากลุ่มบัญชีม้าที่มีลักษณะขายขาดเริ่มเปลี่ยนมาเป็นบัญชีม้าเลี้ยงมากขึ้น
โดยเห็นได้จากราคาซื้อขายบัญชีม้าในช่วงที่ผ่านมามีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ปัจจุบันอยู่ที่ 20,000-40,000 บาท เช่นเดียวกับราคารายเดือนที่เพิ่มขึ้นเช่นกัน แม้มาตรการที่ให้แลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างธนาคารจะลดจำนวน ม้าหมุนหรือบัญชีม้าที่เมื่อถูกปิดจากธนาคารหนึ่ง ก็จะไปสมัครบัญชีใหม่ที่อีกธนาคารหนึ่งจะลดลง
“การปิดบัญชีม้าก็ทำได้ค่อนข้างยาก เหตุผลหนึ่งเป็นเพราะมิจฉาฉีพได้รับผลตอบแทนสูง ขณะที่ได้รับโทษไม่รุนแรงมากนัก”
ขอขอบคุณแหล่งที่มา : MB การเงินธนาคาร
Chairman: Mr. Suwit Indrachalerm (Bangkok Bank Public Company Limited)
Coordinator: Mr. Suphawat Maseng
Objectives: This club is established with the approval of its members to carry out corporate social responsibility (CSR) activities consistent with the operations of the Thai Bankers’ Association as follows
This will close in 500 seconds
Chairman: Ms. Suteera Sripaibulya (Bangkok Bank Public Company Limited)
Coordinator: Ms. Sampantanee Apaipan
Objectives: This club is established
This will close in 500 seconds
Chairman: Mr. Than Siripokee (Bangkok Bank Public Company Limited)
Coordinator: Ms. Supada Ruttanapong
Objectives: This club is established
This will close in 500 seconds
Chairman: Mr. Paisarn Lertkowit (Bangkok Bank Public Company Limited)
Coordinator: Ms. Kristsanee Disapad
Objectives: This club is established
This will close in 500 seconds
Chairman: Mr. Kittichai Singha (Bank of Ayudhya Public Company Limited)
Coordinatior: Ms. Chutiporn Jiranansuroj
Objectives: This club is established
This will close in 500 seconds
Chairman: Pongpichet Nananukool (Kasikorn Bank Public Company Limited)
Coordinator: Mr. Warat Attanandana
Objectives: This club is established
This will close in 500 seconds
Chairman: Mr. Kitipong Muttamara (Krungthai Bank Public Company Limited)
Coordinator: Ms. Manisa Rueangsri
Objectives: This club is established
This will close in 500 seconds
Chairman: Mr. Atis Ruchirawat Ayudhya Capital Services Co., Ltd.
Coordinator: Ms. Apsorn Suttaroj
Objectives: This club is established
This will close in 500 seconds
Acting Chairman: Mr. Settarat Na-Nakorn (Kasikorn Bank Public Company Limited)
: Ms. Suchanee.lavanavanija (Bangkok Bank Public Company Limited)
Coordinator: Ms. Monruedee Teerarungruang
Objectives: The Club is established
This will close in 500 seconds
Chairman: Mr. Thitivorn Chothayaphorn (Bank of Ayudhya Public Company Limited)
Coordinator: K. Jitti Wijitbanjong
Objectives: The Club is established
This will close in 500 seconds
Chairman: Mr. Prathin Kijjaruwankul (Kiatnakin Phatra Bank Public Company Limited)
Coordinator: Mr. Thammanun Harnprasitkam
Objectives: The Club is established
This will close in 500 seconds
Chairman: Ms. Oranuch Nampoolsuksan (Bangkok Bank Public Company Limited)
Coordinator: Ms. Roongratt Ratanarajchartikul
Objectives: The Club is established
This will close in 500 seconds
Chairman: Dr. Phacharaphot Nuntramas (Krungthai Bank Public Company Limited)
Coordinator: Dr. Chamadanai Maknual
Objectives: The Club is established
This will close in 500 seconds
Chairman: Ms. Pornvalai Kulrojseth (Krungthai Bank Public Company Limited)
Coordinator: -
Objectives: The Club is established
This will close in 500 seconds
Chairman: Ms. Puntipa Hannoraseth (Bank of Ayudhya Public Company Limited)
Coordinator: Ms. Tippawan Bannajirakul
Objectives: The Club is established
This will close in 500 seconds
Chairman: Ms. Waranee Wanrat (TMBThanachart Bank Public Company Limited)
Coordinator: Ms. Sunisa Netsawang
Objectives: The Club is established
This will close in 500 seconds
Acting Chairman: Ms. Jeerana Ramasoot (Bangkok Bank Public Company Limited)
Coordinator: Ms. Natchanok Aryukong
Objectives: The Club is established
This will close in 500 seconds
Chairman: Dr. Vasin Udomratchatavanich Bank of Ayudhya Public Company Limited
Coordinator: Ms. Manduan Aeambunapong
Objectives: The Club is established
This will close in 500 seconds
Chairman: Mr. Sant Thaosuwan (Bank of Ayudhya Public Company Limited)
Coordinator: Ms. Wasunthree Tri-utok
Objectives: The Club is established
This will close in 500 seconds
Chairman: Mr. luesak Sukasem (Krungthai Bank Public Company Limited)
Coordinator: Ms. Nipaporn Daokhanon
Objectives: The Club is established
This will close in 500 seconds
ธรรมาภิบาล(Governance) : มีระบบการกำกับดูแลกิจการที่ดี และดำเนินการกำกับดูแลได้อย่างมีประสิทธิผลในระดับคณะกรรมการ โดยกำหนดภาระและขอบเขตความรับผิดชอบที่ชัดเจนในระดับการจัดการในเรื่องที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล
This will close in 500 seconds
ยุทธศาสตร์ (Strategy) : บูรณาการพันธกิจด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล เข้ากับยุทธศาสตร์การดำเนินธุรกิจและกำหนดกรอบด้านการเงินที่ยั่งยืน โดยสนับสนุนเพื่อให้ประเทศสามารถเปลี่ยนผ่านไปสู่เป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ได้อย่างราบรื่น
This will close in 500 seconds
การบริหารความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อม สังคมและธรรมาภิบาล (ESG Risk Management) : ผนวกรวมประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล ไว้ในกระบวนการบริหารความเสี่ยง
This will close in 500 seconds
ผลิตภัณฑ์ทางการเงิน(Financial Products) : ปรับใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อส่งเสริมการเข้าถึงบริการทางการเงิน รวมทั้งนวัตกรรมทางการเงินที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและยั่งยืน
This will close in 500 seconds
การสื่อสาร (Communication) : สื่อสารและประสานความร่วมมือกับผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วนในการสร้างจิตสำนึกสาธารณะด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล
This will close in 500 seconds
การเปิดเผยข้อมูลทางการเงิน (Disclosure) : พัฒนาระบบการติดตามและการรายงานที่สอดคล้องกับกรอบการกำกับดูแลของประเทศไทยและมาตรฐานการเปิดเผยข้อมูลด้านความยั่งยืนในระดับสากล
This will close in 500 seconds
3 เรื่องต้องรู้ก่อนเข้าร่วมมาตรการปิดจบ หนี้เรื้อรัง
**สามารถขอออกจากมาตรการได้ แต่จะไม่ได้รับสิทธิแก้หนี้ตามเงื่อนไขเดิม**
3 เรื่องต้องรู้ หากจ่ายขั้นต่ำบัตรกดเงินสดนาน ๆ
แบบไหนเข้าข่ายปัญหาหนี้เรื้อรัง (Persistent Debt - PD)
1. แม้ภาระต่อเดือนไม่สูง แต่ใช้เวลานาน กว่าจะหมดหนี้
2. ยอดขั้นต่ำที่จ่ายแต่ละเดือนเป็นดอกเบี้ยมากกว่าเงินต้น
3. เมื่อผ่อนจบพบว่ายอดรวมที่จ่ายไปส่วนใหญ่คือ ดอกเบี้ย
อยากหมดหนี้ไว ㆍจ่ายดอกเบี้ยลดลง ㆍ ภาระต่อเดือนไม่เพิ่มจากเดิม
เลือกเข้ามาตรการปิดจบหนี้เรื้อรังได้ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป
หมายเหตุ : ลูกหนี้ที่เข้าข่ายเป็นหนี้รื้อร้ง จะได้รับการติดต่อจากเจ้าหนี้ โดยหาก 5 ปีที่ผ่านมา ลูกหนี้จ่ายดอกเบี้ยรวมมากกว่าเงินต้นรวม จะได้รับข้อเสนอปิดจบหนี้ภายใน 5 ปี ดอกเบี้ยไม่เกิน 15% ต่อปี
ตัวอย่าง
ใช้บัตรกดเงินสด
วงเงินหมุนเวียน 15,000 บาท
ผ่อนขั้นต่ำ (3%) มาแล้ว 5 ปี
เหลือจ่ายเงินต้นอีก 8,700 บาท
ทางเลือกที่ 1 : ผ่อนขั้นต่ำต่อไปจนครบ ดอกเบี้ย 25% ต่อปี ผ่อนต่ออีก 13 ปี 5 เดือน
เหลือจ่ายดอกเบี้ยอีก 14,000 บาท
ดอกเบี้ยรวมทั้งสัญญา 29,000 บาท
ทางเลือกที่ 2 : เข้าโครงการแก้หนี้เรื้อรัง ดอกเบี้ย 15% ต่อปี ผ่อนต่ออีก 3 ปี 6 เดือน (เดือนละ 260 บาท)
เหลือจ่ายดอกเบี้ยอีก 2,500 บาท
ดอกเบี้ยรวมทั้งสัญญา 17,500 บาท
*ประหยัดดอกเบี้ยได้ 11,500 บาท*
หมายเหตุ: ผ่อนเดือนละ 260 บาท เท่ากับยอดการผ่อนขั้นต่ำ ณ เดือนสุดท้ายของปีที่ 5 ก่อนเข้าโครงการ
ตอบข้อสงสัย มาตรการปิดจบหนี้เรื้อรัง
(1) ทำไมมาตรการปิดจบหนี้เรื้อรัง ไม่รวมหนี้บัตรเครดิต?
(2) ทำไมต้องมีเงื่อนไขปิดวงเงินหากเข้าร่วมมาตรการปิดจบหนี้เรื้อรัง
(3) การเข้ามาตรการปิดจบหนี้เรื้อรัง จะมีการรายงานข้อมูลในเครดิตบูโร (NCB) หรือไม่
ทำไมมาตรการปิดจบหนี้เรื้อรัง ไม่รวมหนี้บัตรเครดิต?
เพราะหนี้บัตรเครดิตมี (1) อัตราดอกเบี้ย และ (2) เงื่อนไขการผ่อนชำระที่ทำให้ไม่เข้าข่ายหนี้เรื้อรังที่จ่ายดอกเบี้ยมากกว่าเงินต้นและใช้เวลานานในการปิดจบ
ลูกหนี้บัตรเครดิตจ่ายขั้นต่ำที่ 8% ทำให้จ่ายชำระเงินต้นมากกว่าดอกเบี้ย ลูกหนี้สามารถปิดจบหนี้ได้ภายในระยะเวลาไม่นานนัก
บัตรกดเงินสดมักจ่ายขั้นต่ำที่ 3% และดอกเบี้ยส่วนใหญ่อยู่ที่ 25% ต่อปี ซึ่งจะทำให้ ตัดจ่ายดอกเบี้ย 2% และตัดเงินต้นเพียง 1%
ทำไมต้องมีเงื่อนไขปิดวงเงินหากเข้าร่วมมาตรการปิดจบหนี้เรื้อรัง
เงื่อนไขการปิดวงเงินจะช่วยให้ลูกหนี้มีวินัยทางการเงินเพิ่มขึ้นและสามารถปิดจบหนี้ได้ภายใน 5 ปี
อย่างไรก็ดี กรณีลูกหนี้ที่เข้ามาตรการฯ มีความจำเป็นฉุกเฉิน เช่น เจ็บป่วย ได้รับอุบัติเหตุ ตกงาน ผู้ให้บริการอาจพิจารณาให้สินเชื่อได้ หากลูกหนี้มีความสามารถในการชำระหนี้เพียงพอ ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับนโยบายและเงื่อนไขของผู้ให้บริการแต่ละแห่ง
กรณีลูกหนี้มีบัตรกดเงินสดมากกว่า 1 ใบ สามารถเลือกเข้าโครงการแค่บางบัตร และเก็บวงเงินบัตรกดเงินสดที่เหลือไว้ก่อนได้
การเข้ามาตรการปิดจบหนี้เรื้อรัง จะมีการรายงานข้อมูลในเครดิตบูโร (NCB) หรือไม่
จะมีการรายงานข้อมูลใน NCB โดยเพิ่มการรายงานประเภทของสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้ "รหัส (code) 03" โดยจะไม่กระทบสถานะบัญชีลูกหนี้ที่ยังเป็น 10-ปกติ เช่นเดิมทั้งนี้ การรายงานนี้ จะช่วยให้ผู้ให้บริการทราบถึงการเข้าโครงการซึ่งสะท้อนความตั้งใจที่ดีในการแก้ปัญหาหนี้ของลูกหนี้
มาตรการปิดจบหนี้เรื้อรัง..ช่วยเหลือลูกหนี้อย่างไร?
ถ้าได้รับแจ้งเตือนว่าเป็นลูกหนี้เรื้อรัง (severe PD) จะได้รับข้อเสนอให้สมัครเข้าร่วมมาตรการเพื่อปิดจบหนี้ ซึ่งจะได้รับประโยชน์จากการเข้าร่วมมาตรการ ดังนี้
** สำหรับลูกหนี้ที่เริ่มเรื้อรัง (general PD) ให้รีบติดต่อเจ้าหนี้หากต้องการแก้หนี้ เจ้าหนี้จะมีแนวทางให้ความช่วยเหลือที่เหมาะสมเป็นรายกรณี **
การแจ้งเตือนเมื่อเข้าข่ายลูกหนี้เรื้อรัง
ความถี่การแจ้งเตือนจากเจ้าหนี้
ช่องทางการแจ้งเตือน
โดยลูกหนี้เรื้อรังจะได้รับข้อเสนอแนวทางการปิดจบหนี้จากเจ้าหนี้ด้วย
หนี้เรื้อรัง คืออะโร.. แค่ไหนที่เรียกว่าเรื้อรัง?
แบบไหนเข้าข่ายปัญหาหนี้เรื้อรัง (Persistent Debt - PD)
ลูกหนี้เรื้อรัง 2 แบบ
1. เริ่มเป็นหนี้เรื้อรัง (general PD)
2. เป็นหนี้เรื้อรัง (severe PD)
** ธปท. กำหนดเกณฑ์รายได้ เพื่อมุ่งให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ที่เดือดร้อนที่สุดก่อน โดยพิจารณาความเรื้อรังและรายได้ที่ไม่สูงมากของลูกหนี้ **
ทวงหนี้อย่างเป็นธรรม ต้องแจ้งข้อมูลสำคัญอะไรบ้าง
เจ้าหนี้จะต้องแจ้งรายละเอียดของภาระหนี้พร้อมข้อมูลสำคัญอื่น ๆ แก่ลูกหนี้ให้ครบถ้วน เช่น
และห้ามเรียกให้ผู้ค้ำประกันชำระหนี้ก่อน ยกเว้น ลูกหนี้ล้มละลายหรือติดต่อไม่ได้
#ResponsibleLending #แก้หนี้ยั่งยืน #เจ้าหนี้รับผิดชอบ #ลูกหนี้มีวินัย
มีหนี้กับหลายเจ้าหนี้จะทำอย่างไร?
เคยปรับโครงสร้างหนี้แล้วขอปรับซ้ำได้ไหม?
หมายเหตุ: เกณฑ์ Responsible Lending ลูกหนี้มีสิทธิขอปรับโครงสร้างหนี้ ก่อนเป็นหนี้เสีย อย่างน้อย 1 ครั้ง และหลังเป็นหนี้เสีย อย่างน้อย 1 ครั้ง โดยนับรวมการปรับโครงสร้างหนี้ก่อน 1 ม.ค. 67
สัญญาณปัญหาหนี้
สัญญาณว่าลูกหนี้กำลังมีปัญหา เช่น จ่ายขั้นต่ำ จ่ายช้า กดบัตรเงินสดมาจ่ายคืนหนี้อื่น รายได้ไม่พอรายจ่าย ถ้าเห็นสัญญาณแบบนี้ไปคุยกับเจ้าหนี้ได้เลย !!
หมายเหตุ: สนใจติดต่อ Call center และสาขาของธนาคารที่ท่านใช้บริการ