เทคโนโลยีดิจิทัลสามารถเชื่อมโลกการเงินและเศรษฐกิจจริงด้วยการเป็นเครื่องมือให้สถาบันการเงินผู้ให้บริการทางการเงินเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการ
เทคโนโลยีดิจิทัล ได้รับนิยามจากสำนักงานราชบัณฑิตยสภาว่า คือ เทคโนโลยีที่เกี่ยวกับรูปแบบข้อมูลที่คอมพิวเตอร์สามารถจัดเก็บและจัดการได้ ขอบเขตที่คลุมความกว้างขวางนี้ทำให้ดิจิทัลสอดแทรกเป็นโครงสร้างพื้นฐานสำคัญที่สนับสนุนการดำเนินงานและการดำรงชีพในแทบทุกมิติ บทความนี้อาศัยกรอบแนวคิดจากประเด็น นัยของการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลในภาคการเงินที่มีต่อเศรษฐกิจไทย ของโครงการศึกษาวิจัย เรื่องเศรษฐกิจดิจิทัลของภาคการเงิน ภายใต้แผนงานอาเซียนในกระแสแห่งความพลิกผัน ระยะที่ 2 ด้วยทุนวิจัยจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ มาอธิบายบทบาทของดิจิทัลในการเชื่อมโยงโลกเศรษฐกิจและโลกการเงิน
ก่อนอื่น ขอตั้งข้อสังเกตว่า เทคโนโลยีดิจิทัลเหมือนเครื่องมืออื่น ๆ ที่ถูกพัฒนา มีต้นทุนที่จะเข้าถึง และต้องอาศัยความคุ้นเคยและคุ้นชินในการนำมาใช้งาน เมื่อเวลาผ่านไป เทคโนโลยีก็จะถูกใช้งานอย่างแพร่หลาย ด้วยต้นทุนที่ถูกลง จนกระทั่ง ผู้ใช้งานเองก็สามารถใช้งานได้โดยที่ไม่จำเป็นต้องมีความรู้ความเข้าใจเชิงลึก ลักษณะเช่นนี้สอดคล้องกับการใช้งานดิจิทัลในภาคการเงิน ทั้งด้านผู้ให้บริการและผู้ใช้บริการทางการเงินที่มียอดการใช้งานเติบโตขึ้นมาก โดยเฉพาะธุรกรรมการชำระเงินที่ช่องทางดิจิทัลเป็นช่องทางหลักในปัจจุบัน การศึกษานี้จึงมุ่งอธิบายผลของการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลในภาคการเงินที่มีต่อเศรษฐกิจ โดยตอบคำถาม ดังนี้
1.นัยของการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลในภาคการเงินต่อแรงงานและธุรกิจคืออะไร?
นอกจากภาคการเงินจะเป็นสาขากิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ส่งผลต่อการเติบโตของ GDP ของประเทศในทางตรงแล้ว การเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลในภาคการเงินยังมีส่วนสนับสนุนรายได้ประชาชาติของประเทศ ผ่านทั้งการยกระดับผลิตภาพรวมของธุรกิจ โดยเฉพาะธุรกิจขนาดเล็ก และการยกระดับรายได้ของแรงงาน ดังนั้น การศึกษาชิ้นนี้จึงวัดผลของการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลในภาคการเงินที่มีต่อผลิตภาพของธุรกิจขนาดเล็กในกลุ่มตัวอย่างภาคบริการบางส่วน และผลของการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลยกระดับรายได้ของแรงงาน ก่อนที่จะประเมินผลกระทบในระดับมหภาคที่มีต่อ GDP ในภาพรวมของประเทศ เพื่อสะท้อนช่องว่างที่ยังเติมเต็มได้
2. ความรู้สึกของผู้ใช้บริการทางการเงินที่มีต่อการให้บริการทางการเงินเป็นอย่างไร ?
แนวทางหนึ่งที่จะเข้าใจภาพรวมของสถานการณ์การใช้งานบริการทางการเงินดิจิทัล คือ การประเมินกระแสความรู้สึกของสังคมที่มีต่อการใช้งาน รวมถึง แนวทางการให้บริการผ่านช่องทางดิจิทัล ซึ่งสามารถติดตามร่องรอยดิจิทัลได้ การหยั่งกระแสความรู้สึกดังกล่าว ทำให้การศึกษาชิ้นนี้ นำมาใช้กำหนดกลุ่มเป้าหมาย หลังเข้าใจถึงประเด็นปัญหา อุปสรรค ประโยชน์ และความคาดหวังของผู้ใช้บริการ ตลอดจน ความเพียงพอของการให้บริการ ประกอบการการคัดกรองกลุ่มเป้าหมายด้วยแบบสำรวจเบื้องต้น แล้วจึงสำรวจเชิงคุณภาพ
3. ปัจจัยที่จะทำให้เทคโนโลยีดิจิทัลสนับสนุนการเติบโตทางธุรกิจของ SMEs คืออะไร ?
ปัญหาของ SMEs มีลักษณะเฉพาะและหลากหลาย จึงต้องทำความเข้าใจที่มาของปัญหาก่อน จึงจะสามารถคัดกรองกลุ่มเป้าหมายที่สามารถได้รับประโยชน์จากการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลทางการเงินเพื่อสนับสนุนการดำเนินธุรกิจ โดยในการสำรวจนั้น การเข้าถึงผู้ประกอบการ SMEs ทำให้สร้างองค์ความรู้ผ่านความเข้าใจอย่างลึกซึ้ง ซึ่งแม้แต่ละรายจะมีลักษณะเฉพาะ มีความแตกต่างทั้งในส่วนของขนาด ผลประกอบการ พื้นที่ สาขากิจกรรม และพื้นฐานความรู้ความเข้าใจต่อทักษะดิจิทัลในภาคการเงิน แต่ก็เปิดโอกาสให้สามารถประมวลปัญหา โอกาส และความคาดหวังที่มีร่วมกัน อันจะนำไปสู่การออกแบบนโยบายที่ตรงใจ SMEs ได้
4. สถาบันการเงินมีกลยุทธ์ในการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลเป็นอย่างไร ?
สถาบันการเงินมีการปรับตัวเพื่อเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล ทั้งในบทบาทเชิงรุกเพื่อนำหน้าตลาด และในบทบาทเชิงรับ เพื่อป้องกันส่วนแบ่งการตลาดการให้บริการทางการเงินจากผู้เล่นรายใหม่ ๆ โดยเฉพาะในกลุ่มธุรกิจเทคโนโลยีที่มีจุดแข็งในการให้บริการลูกค้าแตกต่างออกไป กลไกการปรับตัวของภาคการเงินอาจจะมีรูปแบบมาตรฐานตามตัวอย่างกรณีศึกษาในต่างประเทศ แต่มุมมองของกลยุทธ์การปรับตัวในประเทศไทยที่การให้บริการทางการเงินมีความเป็นสถาบันอยู่คู่กับเศรษฐกิจไทยอย่างยาวนานจะมีความสำคัญในการต่อยอดเพื่อให้การเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลในภาคการเงินสามารถตอบโจทย์การเติบโตของเศรษฐกิจในภาพรวมได้เช่นกัน
5. แนวมาตรการและนโยบายที่จะส่งเสริมให้การเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลในภาคการเงินสนับสนุนการเติบโตของเศรษฐกิจควรเป็นอย่างไร ?
หลังจากเข้าใจทั้งมุมมองเชิงมหภาค กระแสสังคมที่มีต่อการให้บริการทางการเงินและการใช้บริการทางการเงินดิจิทัล ความรู้สึกเชิงลึกของกลุ่มเป้าหมาย ตลอดจน มุมมองของผู้ให้บริการในการปรับตัวเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลแล้ว การศึกษาจะสังเคราะห์แนวมาตรการและนโยบาย โดยถอดบทเรียนจากเครื่องมือที่ผู้ดำเนินนโยบายและระบบนิเวศการเงินไทยมีการใช้งานในการส่งเสริมการพัฒนาการของดิจิทัลในภาคการเงินและการรับมือกับความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากการใช้งานดิจิทัลในภาคการเงิน เพื่อจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายที่ไม่เพียงจะตอบโจทย์ผู้กำกับดูแล แต่จะมีความสอดคล้องกับการดำเนินการของผู้ให้บริการ และตอบโจทย์ผู้ใช้บริการ
คำถามข้างต้นสะท้อนความสำคัญของเทคโนโลยีดิจิทัลในการยกระดับประสิทธิภาพการทำงานของภาคธุรกิจและการดำรงชีวิตของประชาชน ในส่วนต่อไปจะแลกเปลี่ยนถึงผลการศึกษาส่วนหนึ่งจากประเด็น นัยของการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลในภาคการเงินที่มีต่อเศรษฐกิจไทย โครงการเศรษฐกิจดิจิทัลของภาคการเงิน
การศึกษาผลของดิจิทัลผ่านรายได้ของแรงงาน
การศึกษาอาศัยข้อมูล สสช. จากแบบสำรวจภาวะการมีงานทำของประชากรและแบบสำรวจการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของผู้ประกอบการจากแบบสำรวจการมีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในสถานประกอบการปี 2022 ครอบคลุม 46,071 ราย คิดเป็นประชากร 17,535,800 คน คือ ที่อยู่ เพศ สถานะสมรส การศึกษา รายได้ ตำแหน่งงานที่ทำ สาขากิจกรรมทางเศรษฐกิจ ประเภทของสถานที่ทำงาน จำนวนชั่วโมงการทำงาน รายได้ สถานะประกันสังคม การจดทะเบียนและการจัดทำบัญชีอย่างเป็นระบบของธุรกิจ
โดยพบความสัมพันธ์เชิงบวกอย่างชัดเจนระหว่างรายได้เฉลี่ยและสัดส่วนแรงงานที่มีคอมพิวเตอร์ในครัวเรือน ซึ่งความหลากหลายของการมีคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลในครัวเรือนของแรงงานที่อยู่ในกิจกรรมในแต่ละสาขาเศรษฐกิจ สะท้อนโอกาสที่สามารถส่งเสริมให้บางสาขากิจกรรมสามารถยกระดับการใช้งานเทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อยกระดับรายได้เพิ่มขึ้นได้ด้วย สำหรับความสัมพันธ์เชิงบวกระหว่างรายได้เฉลี่ยและสัดส่วนแรงงานที่มีสมาร์ตโฟนมีไม่ชัดเจนนัก เพราะการที่แรงงานเกือบทั้งหมดมีสมาร์ตโฟนใช้ แม้กระทั่งในสาขากิจกรรมที่มีการใช้งานน้อยที่สุด คือ ภาคเกษตรกรรมยังมีการใช้งานสูงกว่า 80% จึงอาจไม่สามารถแสดงถึงโอกาสจาการส่งเสริมการเข้าถึงสมาร์ตโฟนเพิ่มเติมอีกนัก ขณะที่ความสัมพันธ์ค่อนข้างบวกระหว่างค่าจ้างเฉลี่ยของแรงงานภาคเอกชนที่ธุรกิจอยู่ในระบบประกันสังคม มีการจดทะเบียน และมีการจัดทำระบบบัญชี ตามลำดับ แสดงว่าสถานประกอบการในภาคบริการที่มีรายได้ไม่สูงนัก อาทิ ภาคการค้า การโรงแรมและภัตตาคาร และการบริการอื่น ๆ อาจมีความประสงค์ในการไม่เข้าสู่ระบบ ซึ่งอาจเป็นข้อจำกัดในการเข้าถึงบริการทางการเงิน และย้อนกลับส่งผลต่อทั้งผลิตภาพของสถานประกอบการเองและรายได้ของแรงงานในที่สุด
เมื่อกำหนดสมมติฐานให้มีสัดส่วนชั่วโมงของแรงงานที่มีคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลเพิ่มขึ้น 2% ในสาขากิจกรรมทางเศรษฐกิจที่มีสัดส่วนดังกล่าวน้อยกว่า 50% และเพิ่มขึ้น 1% ในกลุ่มที่มีสัดส่วนดังกล่าวอย่างน้อย 50% โดยพบกว่าจะทำให้ Nominal GDP เพิ่มสูงขึ้น 0.64% โดยผลบวกมีมากที่สุดในสาขาการผลิต การเงิน บริการที่ส่วนใหญ่อยู่ในภาครัฐ คือ สาธารณสุข การศึกษา และการบริหารราชการ และภาคการค้า
การศึกษาผลของการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลในภาคการเงินที่มีต่อผลิตภาพรวมของผู้ประกอบการ
การศึกษาอาศัยข้อมูล สสช. จากการสำรวจธุรกิจทางการค้าและบริการปี 2020 และแบบสำรวจการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของผู้ประกอบการจากแบบสำรวจมีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในสถานประกอบการ ครอบคลุม 18,149 แห่ง คิดเป็นประชากร 1,524,762 แห่ง คือ จำนวนคนงาน ค่าตอบแทนแรงงาน ค่าใช้จ่าย สินค้าคงเหลือ รายรับ สินทรัพย์ถาวร การใช้งานระบบเครือข่ายการติดต่อสื่อสารแบบ Intranet / Extranet / LAN การใช้งาน Internet / Internet banking การสั่งซื้อสินค้าหรือบริการทาง Internet / การชำระค่าสินค้าหรือบริการผ่าน Internet / การขายสินค้าหรือบริการทาง Internet / การรับชำระค่าสินค้าหรือบริการผ่าน Internet และการจ้างบุคลากรสาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ICT
โดยพบว่าผู้ประกอบการของธุรกิจขนาดใหญ่มีโอกาสที่จะเข้าถึงบริการและผลิตภัณฑ์ทางการเงินมากกว่าจึงได้รับประโยชน์จากการเงินดิจิทัลมากกว่าอยู่แล้ว ดังนั้น การจะยกระดับผลบวกทางเศรษฐกิจจะมุ่งประเมินผลในกลุ่ม Micro SMEs ที่ใช้บริการทางการเงินน้อยกว่า แต่มีสัดส่วนผู้ประกอบการมาก โดยเฉพาะในภาคบริการ ซึ่งมีบทบาทของธุรกิจ Micro SMEs ที่ยังใช้บริการการเงินดิจิทัลไม่มากในเกือบทุกสาขากิจกรรม โดยเฉพาะยังขาดบุคลากรด้าน ICT ซึ่งมีต้นทุนค่าใช้จ่ายต่อหัวสูง ในสถานประกอบการที่มีการจ้างงานเฉลี่ยเพียง 2-4 คน
เมื่อกำหนดสมมติฐานว่าสัดส่วนของ Micro SMEs ที่ใช้บริการด้านการเงินดิจิทัล การซื้อขายสินค้าและบริการผ่านช่องทางออนไลน์ ตลอดจนมีการจ้างบุคลากรด้าน ICT เพิ่มขึ้น และมีผลการประมาณการทางเศรษฐมิติที่มีนัยสำคัญทางสถิติ โดยให้มีสัดส่วนเพิ่มขึ้น 1% ถ้ามีสัดส่วนดังกล่าวมากกว่า 1% และให้มีสัดส่วนเพิ่มขึ้น 0.5% ถ้ามีสัดส่วนดังกล่าวน้อยกว่า 1% จะทำให้ Nominal GDP เพิ่มสูงขึ้น 0.18% โดยผลมากที่สุดในสาขาการการค้า ผ่านช่องทางการขายสินค้าและบริการออนไลน์และการรับชำระเงินออนไลน์ สะท้อนผลบวกของการใช้เครื่องมือด้านดิจิทัลในภาคการเงินที่มีต่อบางสาขาในภาคบริการ แต่ยังอยู่บนการใช้บริการที่มีอยู่ในปัจจุบันแต่ยังไม่รวมถึงผลบวกในการเปลี่ยนผ่านของภาคการเงินซึ่งอาจสามารถยกระดับผลิตภาพของธุรกิจและแรงงานได้อีกมาก โดยเฉพาะในกลุ่มที่ยังเข้าไม่ถึงหรือยังได้รับบริการทางการเงินไม่เพียงพอ
ผลการศึกษานี้สะท้อนบทบาทของดิจิทัลในการสนับสนุนรายได้ประชาชาติของประเทศ ผ่านทั้งการยกระดับรายได้ของแรงงานโดยเฉพาะผ่านการใช้งานคอมพิวเตอร์ในครัวเรือนซึ่งสะท้อนการใช้งานเทคโนโลยีเพื่อการทำงาน และการยกระดับผลิตภาพรวมของธุรกิจ โดยเฉพาะธุรกิจขนาดเล็กในภาคบริการที่ยังมีการใช้บริการทางการเงินผ่านช่องทางดิจิทัลอย่างจำกัด และมีข้อสังเกตว่า ธุรกิจบางส่วนที่ยังอยู่นอกระบบประกันสังคม การจดทะเบียนธุรกิจ และการทำบัญชีอย่างเป็นระบบ อาจเป็นข้อจำกัดให้ไม่สามารถใช้บริการทางการเงินผ่านช่องทางดิจิทัลด้วยเช่นกัน
โดยสรุปแล้ว เทคโนโลยีดิจิทัลสามารถเชื่อมโลกการเงินและเศรษฐกิจจริงด้วยการเป็นเครื่องมือให้สถาบันการเงินผู้ให้บริการทางการเงินเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการ ขณะที่ผู้ใช้บริการในวงกว้างสามารถใช้ประโยชน์เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจทั้งในระดับบุคคลและในระดับธุรกิจ อย่างไรก็ดี แนวมาตรการและนโยบายที่จะส่งเสริมให้การเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลในภาคการเงินสามารถส่งเสริมให้เกิดการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างทั่วถึงต้องออกแบบบนพื้นฐานของความเข้าใจกลุ่มเป้าหมาย เพราะกลุ่มที่มีความพร้อมและเข้าถึงทั้งบริการทางการเงินและดิจิทัลอยู่แล้ว คงไม่ใช่กลุ่มที่จะช่วยปิดช่องว่างการเจริญเติบโตของประเทศได้ ขณะที่การสนับสนุนกลุ่มที่ยังเข้าไม่ถึงบริการทางการเงินอย่างเพียงพอ อาจจะทำได้ยาก เพราะมักจะเป็นกลุ่มที่กลไกตลาดไม่สามารถทำงานรองรับได้อยู่ก่อน เป็นโจทย์ที่ท้าทายและต้องอาศัยกลไกในทางปฏิบัติอีกมาก
ขอขอบคุณแหล่งที่มา : SCB EIC brief โดย ดร.นครินทร์ อมเรศ
ประธาน: คุณสุวิทย์ อินทรเฉลิม (ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน))
ผู้ประสานงาน: คุณศุภวัตร มะเส็ง
วัตถุประสงค์: ชมรมฯ นี้ตั้งขึ้นเพื่อดำเนินงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคมโดยความเห็นชอบของสมาชิกซึ่งสอดคล้องกับการดำเนินงานของสมาคมธนาคารไทย ดังนี้
This will close in 500 seconds
ประธาน: คุณสุธีรา ศรีไพบูลย์ (ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน))
ผู้ประสานงาน: คุณสัมพันธนี อภัยพันธุ์
วัตถุประสงค์: ชมรมฯ นี้ตั้งขึ้น
This will close in 500 seconds
ประธาน: คุณทัฬห์ สิริโภคี (ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน))
ผู้ประสานงาน: คุณศุภดา รัตนพงษ์
วัตถุประสงค์: ชมรมฯ นี้ตั้งขึ้น
This will close in 500 seconds
ประธาน: คุณไพศาล เลิศโกวิทย์ (ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)
ผู้ประสานงาน: คุณสมฤทัย สุขจันทร์
วัตถุประสงค์: ชมรมฯ นี้ตั้งขึ้น
This will close in 500 seconds
ประธาน: คุณดุจหทัย สมบูรณ์นิตย์ (ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน))
ผู้ประสานงาน: คุณวรรณนิภา ศิริภักดีชัยกุล
วัตถุประสงค์: ชมรมฯ นี้ตั้งขึ้น
This will close in 500 seconds
ประธาน: คุณธีรวัฒน์ อัศวโภคี (ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน))
ผู้ประสานงาน: คุณวรัท อัตตะนันทน์
วัตถุประสงค์: ชมรมฯ นี้ตั้งขึ้น
This will close in 500 seconds
ประธาน: คุณกิติพงศ์ มุตตามระ (ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน))
ผู้ประสานงาน: คุณมนิษา เรืองศรี
วัตถุประสงค์: ชมรมฯ นี้ตั้งขึ้น
This will close in 500 seconds
ประธาน: คุณอฑิศ รุจิรวัฒน์ (ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน))
ผู้ประสานงาน: คุณอัปสร สุทธาโรจน์
วัตถุประสงค์: ชมรมฯ นี้ตั้งขึ้น
This will close in 500 seconds
รักษาการประธาน: คุณเศรษฐรัฐ ณ นคร (ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน))
: คุณสุชาณี ลวนะวณิช (ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน))
ผู้ประสานงาน: คุณมลฤดี ตีรรุ่งเรือง
วัตถุประสงค์: ชมรมฯ นี้ตั้งขึ้น
This will close in 500 seconds
ประธาน: คุณฐิติวร โชตยาภรณ์ (ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน))
ผู้ประสานงาน: คุณจิตติ วิจิตรบรรจง
วัตถุประสงค์: ชมรมฯ นี้ตั้งขึ้น
This will close in 500 seconds
ประธาน: คุณประทิน กิจจารุวรรรกุล (ธนาคารเกียรตินาคินภัทร จำกัด (มหาชน))
ผู้ประสานงาน: คุณธรรมนูญ หาญประสิทธิ์คำ
วัตถุประสงค์: ชมรมฯ นี้ตั้งขึ้น
This will close in 500 seconds
ประธาน: คุณอรนุช นำพูลสวัสดิ์ (ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน))
ผู้ประสานงาน: คุณรุ่งรัตน์ รัตนราชชาติกุล
วัตถุประสงค์: ชมรมฯ นี้ตั้งขึ้น
This will close in 500 seconds
ประธาน: ดร.พชรพจน์ นันทรามาศ (ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน))
ผู้ประสานงาน: ดร.ฉมาดนัย มากนวล
วัตถุประสงค์: ชมรมฯ นี้ตั้งขึ้น
This will close in 500 seconds
ประธาน: คุณพรวลัย กุลโรจน์เสฏฐ (ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน))
ผู้ประสานงาน: -
วัตถุประสงค์: ชมรมฯ นี้ตั้งขึ้น
This will close in 500 seconds
ประธาน: คุณพรรณทิพา หาญนรเศรษฐ์ (ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน))
ผู้ประสานงาน: คุณทิพวรรณ บรรณจิรกุล
วัตถุประสงค์: ชมรมฯ นี้ตั้งขึ้น
This will close in 500 seconds
ประธาน: คุณวราณี วรรณรัตน์ (ธนาคารทหารไทยธนชาต จำกัด (มหาชน))
ผู้ประสานงาน: คุณสุนิษา เนตรสว่าง
วัตถุประสงค์: ชมรมฯ นี้ตั้งขึ้น
This will close in 500 seconds
ประธาน: คุณสมเกียรติ ปรีดามาโนช (ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน))
ผู้ประสานงาน: คุณนาทชนก อายุคง
วัตถุประสงค์: ชมรมฯ นี้ตั้งขึ้น
This will close in 500 seconds
ประธาน: ดร.วศิน อุดมรัชตวนิชย์ (ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน))
ผู้ประสานงาน: คุณแม้นเดือน เอี่ยมบรรณพงษ์
วัตถุประสงค์: ชมรมฯ นี้ตั้งขึ้น
This will close in 500 seconds
ประธาน: คุณสัณฑ์ เถาสุวรรณ (ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน))
ผู้ประสานงาน: คุณวสุนทรี ไตรอุโฆษ
วัตถุประสงค์: ชมรมฯ นี้ตั้งขึ้น
This will close in 500 seconds
ประธาน: คุณลือศักดิ์ สุขเกษม (ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน))
ผู้ประสานงาน: คุณนิภาพร ดาวขนอน
วัตถุประสงค์: ชมรมฯ นี้ตั้งขึ้น
This will close in 500 seconds
ธรรมาภิบาล(Governance) : มีระบบการกำกับดูแลกิจการที่ดี และดำเนินการกำกับดูแลได้อย่างมีประสิทธิผลในระดับคณะกรรมการ โดยกำหนดภาระและขอบเขตความรับผิดชอบที่ชัดเจนในระดับการจัดการในเรื่องที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล
This will close in 500 seconds
ยุทธศาสตร์ (Strategy) : บูรณาการพันธกิจด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล เข้ากับยุทธศาสตร์การดำเนินธุรกิจและกำหนดกรอบด้านการเงินที่ยั่งยืน โดยสนับสนุนเพื่อให้ประเทศสามารถเปลี่ยนผ่านไปสู่เป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ได้อย่างราบรื่น
This will close in 500 seconds
การบริหารความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อม สังคมและธรรมาภิบาล (ESG Risk Management) : ผนวกรวมประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล ไว้ในกระบวนการบริหารความเสี่ยง
This will close in 500 seconds
ผลิตภัณฑ์ทางการเงิน(Financial Products) : ปรับใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อส่งเสริมการเข้าถึงบริการทางการเงิน รวมทั้งนวัตกรรมทางการเงินที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและยั่งยืน
This will close in 500 seconds
การสื่อสาร (Communication) : สื่อสารและประสานความร่วมมือกับผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วนในการสร้างจิตสำนึกสาธารณะด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล
This will close in 500 seconds
การเปิดเผยข้อมูลทางการเงิน (Disclosure) : พัฒนาระบบการติดตามและการรายงานที่สอดคล้องกับกรอบการกำกับดูแลของประเทศไทยและมาตรฐานการเปิดเผยข้อมูลด้านความยั่งยืนในระดับสากล
This will close in 500 seconds