NITMX รับนโยบายแบงก์ชาติจับมือ Red Hat เปิดตัวระบบ Infra ใหม่ API Hub แชร์ข้อมูลระหว่างแบงก์ พร้อมสร้างมาตรฐานใหม่หนุนแบงก์/นอนแบงก์ยกระดับอุตสาหกรรมธนาคารไทย
ย้อนไปเมื่อธันวาคม 2566 ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้เปิดรับฟังความเห็นต่อนโยบายการเปิดกว้างให้ใช้ประโยชน์จากข้อมูลตามสิทธิของผู้ใช้บริการ (Open Banking Data for Consumer Empowerment) โดยภาคส่วนที่เกี่ยวข้องต่างเห็นด้วยกับการนโยบายนี้ เพราะช่วยให้ผู้ใช้บริการได้รับบริการที่สะดวก ขณะที่ผู้ให้บริการอย่างธนาคารก็สามารถเข้าถึงข้อมูลและโครงสร้างพื้นฐานสำคัญที่สามารถต่อยอดไปสู่การพัฒนาบริการและนวัตกรรมทางการเงิน ที่ตอบโจทย์ผู้ใช้บริการได้ดียิ่งขึ้น
การเงินธนาคาร ได้สัมภาษณ์พิเศษ นายธีรเกียรติ์ จิตตวัฒนรัตน์ Head of Inovation & Solution Architect บริษัท เนชั่นแนล ไอทีเอ็มเอ๊กซ์ จำกัด (NITMX) ถึงการพัฒนา API Hub ซึ่งเป็นระบบโครงสร้างพื้นฐานใหม่ เพื่อให้ธนาคารพาณิชย์ สถาบันการเงินและนอนแบงก์ สามารถใช้ประโยชน์ในการรับส่งข้อมูลและต่อยอดนวัตกรรมทางการเงินได้ตามนโยบาย Open Banking Data for Consumer Empowerment ของ ธปท. พร้อมเผยก้าวต่อไปของ NITMX ที่ต้องการสนับสนุนอุตสาหกรรมธนาคารไทยให้สร้างนวัตกรรมอย่างต่อเนื่อง
NITMX พัฒนาระบบ API Hub Infra ใหม่ของอุตสาหกรรมธนาคาร
นายธีรเกียรติ์ กล่าวว่า บทบาทของ เนชั่นแนล ไอทีเอ็มเอ๊กซ์ คือการเป็นผู้พัฒนาและให้บริการระบบโครงสร้างพื้นฐานการชำระเงินของประเทศไทย จัดตั้งขึ้นโดยความร่วมมือของธนาคารพาณิชย์ไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อยกระดับการชำระเงินของประเทศไทย เช่น การพัฒนาระบบ ATM Pool ที่ช่วยให้ผู้ใช้ถอนและโอนเงิน ผ่านตู้ ATM ข้ามธนาคารได้ จนถึงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญของประเทศอย่างระบบ PromptPay ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน
จากนโยบาย Open Banking Data for Consumer Empowerment ของ ธปท. ทำให้ เนชั่นแนล ไอทีเอ็มเอ๊กซ์ ได้พัฒนา API Hub โดยมีหน้าที่นำข้อมูลที่ได้รับความยินยอมจากเจ้าของข้อมูล มาแลกเปลี่ยนซึ่งกันและกัน ภายใต้มาตรฐานที่เป็นประโยชน์ในการเชื่อมต่อระหว่าง ธนาคารพาณิชย์ สถาบันการเงินและนอนแบงก์ โดยระบบ
API Hub ถูกพัฒนาตามแนวคิด Open Data และ Open Infra
Open Data : คือการแชร์ข้อมูลต่างๆ ที่ถูกเก็บอยู่ที่ธนาคารพาณิชย์เช่น ชื่อ-สกุล ที่อยู่ Statement สลิปเงินเดือน ฯลฯ เพื่ออำนวยความสะดวกเมื่อลูกค้าธนาคารต้องการทำธุรกรรมหลายธนาคาร ตัวอย่างเช่น หากลูกค้าเคยเปิดบัญชีที่ธนาคาร A แล้วต้องการเปิดบัญชีที่ธนาคาร B ด้วย โดยปกติลูกค้าต้องยื่นเอกสารใหม่ทั้งหมด แต่การเปิดโครงสร้างพื้นฐานแบบ Open Data จะช่วยให้ลูกค้าสามารถให้ความยินยอมย้ายข้อมูลที่เคยให้ไว้กับธนาคาร A มาสู่ธนาคาร B ได้โดยไม่ต้องเก็บข้อมูลใหม่ทั้งหมด
“วิสัยทัศน์ของ ธปท. คือต้องการผลักดันไปที่บริการให้สินเชื่อของธนาคารให้มีความสะดวก รวดเร็วมากยิ่งขึ้น และลดการเก็บข้อมูลที่ซ้ำซ้อนกัน อีกทั้งในอนาคตหากมีสถาบันการเงินหรือนอนแบงก์ต้องการเข้ามาเชื่อมต่อในส่วนนี้เพื่ออำนวยความสะดวกลูกค้าก็สามารถทำได้เช่นกัน”
Open Infra : คือการแชร์ระบบโครงสร้างพื้นฐานให้กับธนาคารพาณิชย์ สถาบันการเงิน หรือนอนแบงก์ ให้เข้ามาพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือนวัตกรรมการเงินใหม่เพื่อเชื่อมต่อกับโครงสร้างพื้นฐานนี้ ตัวอย่างเช่น ในกรณีที่ลูกค้าธนาคารบางรายมีบัญชีเงินฝากอยู่หลายธนาคาร หากธนาคารพาณิชย์นำแอปพลิเคชั่นโมบายล์แบงก์กิ้งมาเชื่อมต่อกับระบบ API Hub จะสามารถดึงข้อมูลบัญชีเงินฝากจากทุกธนาคารมารวมอยู่ในแอปพลิเคชั่นเดียวได้
นอกจากนี้ระบบ API Hub ยังช่วยสร้างการแข่งขันในตลาดนวัตกรรมการเงินให้คึกคัก ช่วยให้ผู้บริโภคมีทางเลือกในการเข้าถึงบริการทางการเงินมากขึ้น อีกทั้งยังสามารถปรับใช้กับระบบโครงสร้างพื้นฐานเดิมอย่าง PromptBiz และ PromptTrade ที่เป็นโครงสร้างพื้นฐานการชำระเงินและรับส่งเอกสารสำหรับภาคธุรกิจ
นายธีรเกียรติ์ได้ยกตัวอย่างการนำ API Hub ไปใช้กับระบบ PromptTrade ในกรณีของการแลกเปลี่ยนเอกสารสำหรับผู้ส่งออกและนำเข้า โดยปกติต้องใช้เอกสารสำคัญจากหลายหน่วยงาน แต่ API Hub จะทำหน้าที่เป็น Portal เดียวในการเชื่อมต่อข้อมูลเอกสารจากทุกหน่วยงาน ซึ่งหากไม่มีระบบ API Hub ผู้ส่งออกหรือนำเข้าต้องไปเดินเรื่องกับแต่ละหน่วยงานเอง ทำให้เสียเวลาและมีต้นทุนเพิ่ม ระบบ API Hub คาดว่าจะเปิดให้ธนาคารและองค์กรที่เป็นพาร์ตเนอร์ของ เนชั่นแนล ไอทีเอ็มเอ๊กซ์ เริ่มทดลองใช้งานผ่าน Sandbox ภายในเดือนเมษายนนี้
NITMX จับมือ Red Hat ฝ่า 3 ความท้าทาย API Hub
นายธีรเกียรติ์กล่าวต่อว่า การพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานของประเทศอย่าง API Hub นั้นมีความท้าทายที่ เนชั่นแนล ไอทีเอ็มเอ๊กซ์ ต้องเผชิญอยู่ด้วยกัน 3 ประการคือ
“API Hub เป็นระบบโครงสร้างพื้นฐานของประเทศในลักษณะเดียวกับ PromptPay ซึ่งมีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้นประมาณ 1 เท่าทุกปี ดังนั้นระบบจะต้องสามารถรองรับอัตราการเติบโตในอนาคตได้”
นายธีรเกียรติ์กล่าวต่อว่า นอกจากความท้าทายใหญ่ทั้ง 3 ข้อแล้ว ยังต้องประกอบด้วยอีกหลายปัจจัยสำคัญเช่น ระบบต้องมีความเสถียร พึ่งพาได้ มีความปลอดภัยสูง และมีต้นทุนที่ไม่สูงมากในการพัฒนาระบบต่อไป เพื่อช่วยให้องค์กรขนาดเล็กสามารถเข้าถึงโครงสร้างพื้นฐานที่ เนชั่นแนล ไอทีเอ็มเอ๊กซ์ ทำได้
โดยจากความท้าทายและปัจจัยดังกล่าวทำให้ เนชั่นแนล ไอทีเอ็มเอ๊กซ์ ต้องร่วมมือกับพาร์ตเนอร์ด้านเทคโนโลยีที่เชื่อถือได้อย่าง Red Hat เนื่องจากระบบ API Hub นั้นใช้พื้นฐานของผลิตภัณฑ์อย่าง Red Hat OpenShift เป็นพื้นฐานทั้งในส่วนของ OS และ Container Orchestration
“Red Hat OpenShift เป็นแพลตฟอร์มที่มีความเสถียร เมื่อเกิดปัญหาขึ้น ทาง Red Hat สามารถซัพพอร์ต NITMX ได้ อีกทั้งยังมีจุดเด่นในด้าน Container Orchestration ตอบโจทย์ระบบ API Hub ที่รันทุกอย่างในลักษณะของ Micro Services และยังรองรับการดำเนินการบน Hybrid Cloud Environment ใดก็ได้”
เดินหน้าศึกษาเทคโนโลยีใหม่ เล็งใช้ AI สแกนธุรกรรมต้องสงสัย
นายธีรเกียรติ์ กล่าวต่อว่า โฟกัสหลักในการพัฒนาของ เนชั่นแนล ไอทีเอ็มเอ๊กซ์ จะเน้นที่ระบบ API Hub เป็นหลัก โดยมองถึงการรองรับนวัตกรรมหรือยูสเคสใหม่จากพาร์ตเนอร์ทุกราย ขณะเดียวก็ยังให้ความสำคัญกับการศึกษาทุกเทคโนโลยีที่มีโอกาสสร้างความเปลี่ยนแปลง ตลอดจนการตระหนักถึงภัยคุกคามรูปแบบใหม่ ที่อาจเกิดขึ้นตามพัฒนาการของเทคโนโลยีด้วย
“ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ เทคโนโลยีกระจายศูนย์ (Decentralized) อย่าง Blockchain เพราะเป็นเทคโนโลยีที่มีโอกาสมาแทนที่ระบบการชำระเงินอย่าง PromptPay และท้าทายบทบาทในการเป็นตัวกลางของ NITMX โดยตรง”
อีกเป้าหมายที่ เนชั่นแนล ไอทีเอ็มเอ๊กซ์ ต้องการบรรลุ คือการเป็นผู้กำหนดมาตรฐานความพร้อมใช้งานและประสิทธิภาพของสมาชิก ที่จะต้องมี SLA ที่ใกล้เคียงกันทั้ง ธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ ขนาดเล็ก และ ธนาคารต่างชาติ
นายธีรเกียรติ์ กล่าวต่อว่า เนชั่นแนล ไอทีเอ็มเอ๊กซ์ ยังมีแผนจะพัฒนา AI เพื่อตรวจจับและคาดการณ์พฤติกรรมที่น่าสงสัยก่อนที่จะเกิดความเสียหาย โดยจะเป็นส่วนเสริมจากระบบ Central Fraud Registry (CFR) ที่ เนชั่นแนล ไอทีเอ็มเอ๊กซ์ เป็นผู้พัฒนาให้ธนาคารสมาชิกสามารถนำส่งข้อมูลธุรกรรมต้องสงสัยที่ผู้เสียหายเป็นผู้แจ้ง หรือธนาคารตรวจพบเองผ่านช่องทาง NITMX Web Portal ส่งผลให้ระบบสามารถทำงานในลักษณะ Prevention ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
“NITMX จะเป็นผู้สนับสนุนด้านนวัตกรรมให้ธนาคารพาณิชย์สามารถเดินต่อไปได้ โดยอาจมองสิ่งที่ NITMX ทำเป็นเหมือนเลโก้ชิ้นเล็ก ๆ ให้ธนาคารนำเลโก้เหล่านี้ไปประกอบกันให้กลายเป็นนวัตกรรม ผลิตภัณฑ์ หรือโซลูชั่นใหม่ ๆในอุตสาหกรรมได้กว้างและครอบคลุมมากขึ้น เป็น Common Utility ที่พาร์ตเนอร์ทุกรายสามารถเข้าถึงได้”
ขอขอบคุณแหล่งที่มา : MB การเงินการธนาคาร
Chairman: Mr. Suwit Indrachalerm (Bangkok Bank Public Company Limited)
Coordinator: Mr. Suphawat Maseng
Objectives: This club is established with the approval of its members to carry out corporate social responsibility (CSR) activities consistent with the operations of the Thai Bankers’ Association as follows
This will close in 500 seconds
Chairman: Ms. Suteera Sripaibulya (Bangkok Bank Public Company Limited)
Coordinator: Ms. Sampantanee Apaipan
Objectives: This club is established
This will close in 500 seconds
Chairman: Mr. Than Siripokee (Bangkok Bank Public Company Limited)
Coordinator: Ms. Supada Ruttanapong
Objectives: This club is established
This will close in 500 seconds
Chairman: Mr. Paisarn Lertkowit (Bangkok Bank Public Company Limited)
Coordinator: Ms. Kristsanee Disapad
Objectives: This club is established
This will close in 500 seconds
Chairman: Mr. Kittichai Singha (Bank of Ayudhya Public Company Limited)
Coordinatior: Ms. Chutiporn Jiranansuroj
Objectives: This club is established
This will close in 500 seconds
Chairman: Pongpichet Nananukool (Kasikorn Bank Public Company Limited)
Coordinator: Mr. Warat Attanandana
Objectives: This club is established
This will close in 500 seconds
Chairman: Mr. Kitipong Muttamara (Krungthai Bank Public Company Limited)
Coordinator: Ms. Manisa Rueangsri
Objectives: This club is established
This will close in 500 seconds
Chairman: Mr. Atis Ruchirawat Ayudhya Capital Services Co., Ltd.
Coordinator: Ms. Apsorn Suttaroj
Objectives: This club is established
This will close in 500 seconds
Acting Chairman: Mr. Settarat Na-Nakorn (Kasikorn Bank Public Company Limited)
: Ms. Suchanee.lavanavanija (Bangkok Bank Public Company Limited)
Coordinator: Ms. Monruedee Teerarungruang
Objectives: The Club is established
This will close in 500 seconds
Chairman: Mr. Thitivorn Chothayaphorn (Bank of Ayudhya Public Company Limited)
Coordinator: K. Jitti Wijitbanjong
Objectives: The Club is established
This will close in 500 seconds
Chairman: Mr. Prathin Kijjaruwankul (Kiatnakin Phatra Bank Public Company Limited)
Coordinator: Mr. Thammanun Harnprasitkam
Objectives: The Club is established
This will close in 500 seconds
Chairman: Ms. Oranuch Nampoolsuksan (Bangkok Bank Public Company Limited)
Coordinator: Ms. Roongratt Ratanarajchartikul
Objectives: The Club is established
This will close in 500 seconds
Chairman: Dr. Phacharaphot Nuntramas (Krungthai Bank Public Company Limited)
Coordinator: Dr. Chamadanai Maknual
Objectives: The Club is established
This will close in 500 seconds
Chairman: Ms. Pornvalai Kulrojseth (Krungthai Bank Public Company Limited)
Coordinator: -
Objectives: The Club is established
This will close in 500 seconds
Chairman: Ms. Puntipa Hannoraseth (Bank of Ayudhya Public Company Limited)
Coordinator: Ms. Tippawan Bannajirakul
Objectives: The Club is established
This will close in 500 seconds
Chairman: Ms. Waranee Wanrat (TMBThanachart Bank Public Company Limited)
Coordinator: Ms. Sunisa Netsawang
Objectives: The Club is established
This will close in 500 seconds
Acting Chairman: Ms. Jeerana Ramasoot (Bangkok Bank Public Company Limited)
Coordinator: Ms. Natchanok Aryukong
Objectives: The Club is established
This will close in 500 seconds
Chairman: Dr. Vasin Udomratchatavanich Bank of Ayudhya Public Company Limited
Coordinator: Ms. Manduan Aeambunapong
Objectives: The Club is established
This will close in 500 seconds
Chairman: Mr. Sant Thaosuwan (Bank of Ayudhya Public Company Limited)
Coordinator: Ms. Wasunthree Tri-utok
Objectives: The Club is established
This will close in 500 seconds
Chairman: Mr. luesak Sukasem (Krungthai Bank Public Company Limited)
Coordinator: Ms. Nipaporn Daokhanon
Objectives: The Club is established
This will close in 500 seconds
ธรรมาภิบาล(Governance) : มีระบบการกำกับดูแลกิจการที่ดี และดำเนินการกำกับดูแลได้อย่างมีประสิทธิผลในระดับคณะกรรมการ โดยกำหนดภาระและขอบเขตความรับผิดชอบที่ชัดเจนในระดับการจัดการในเรื่องที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล
This will close in 500 seconds
ยุทธศาสตร์ (Strategy) : บูรณาการพันธกิจด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล เข้ากับยุทธศาสตร์การดำเนินธุรกิจและกำหนดกรอบด้านการเงินที่ยั่งยืน โดยสนับสนุนเพื่อให้ประเทศสามารถเปลี่ยนผ่านไปสู่เป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ได้อย่างราบรื่น
This will close in 500 seconds
การบริหารความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อม สังคมและธรรมาภิบาล (ESG Risk Management) : ผนวกรวมประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล ไว้ในกระบวนการบริหารความเสี่ยง
This will close in 500 seconds
ผลิตภัณฑ์ทางการเงิน(Financial Products) : ปรับใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อส่งเสริมการเข้าถึงบริการทางการเงิน รวมทั้งนวัตกรรมทางการเงินที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและยั่งยืน
This will close in 500 seconds
การสื่อสาร (Communication) : สื่อสารและประสานความร่วมมือกับผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วนในการสร้างจิตสำนึกสาธารณะด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล
This will close in 500 seconds
การเปิดเผยข้อมูลทางการเงิน (Disclosure) : พัฒนาระบบการติดตามและการรายงานที่สอดคล้องกับกรอบการกำกับดูแลของประเทศไทยและมาตรฐานการเปิดเผยข้อมูลด้านความยั่งยืนในระดับสากล
This will close in 500 seconds
3 เรื่องต้องรู้ก่อนเข้าร่วมมาตรการปิดจบ หนี้เรื้อรัง
**สามารถขอออกจากมาตรการได้ แต่จะไม่ได้รับสิทธิแก้หนี้ตามเงื่อนไขเดิม**
3 เรื่องต้องรู้ หากจ่ายขั้นต่ำบัตรกดเงินสดนาน ๆ
แบบไหนเข้าข่ายปัญหาหนี้เรื้อรัง (Persistent Debt - PD)
1. แม้ภาระต่อเดือนไม่สูง แต่ใช้เวลานาน กว่าจะหมดหนี้
2. ยอดขั้นต่ำที่จ่ายแต่ละเดือนเป็นดอกเบี้ยมากกว่าเงินต้น
3. เมื่อผ่อนจบพบว่ายอดรวมที่จ่ายไปส่วนใหญ่คือ ดอกเบี้ย
อยากหมดหนี้ไว ㆍจ่ายดอกเบี้ยลดลง ㆍ ภาระต่อเดือนไม่เพิ่มจากเดิม
เลือกเข้ามาตรการปิดจบหนี้เรื้อรังได้ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป
หมายเหตุ : ลูกหนี้ที่เข้าข่ายเป็นหนี้รื้อร้ง จะได้รับการติดต่อจากเจ้าหนี้ โดยหาก 5 ปีที่ผ่านมา ลูกหนี้จ่ายดอกเบี้ยรวมมากกว่าเงินต้นรวม จะได้รับข้อเสนอปิดจบหนี้ภายใน 5 ปี ดอกเบี้ยไม่เกิน 15% ต่อปี
ตัวอย่าง
ใช้บัตรกดเงินสด
วงเงินหมุนเวียน 15,000 บาท
ผ่อนขั้นต่ำ (3%) มาแล้ว 5 ปี
เหลือจ่ายเงินต้นอีก 8,700 บาท
ทางเลือกที่ 1 : ผ่อนขั้นต่ำต่อไปจนครบ ดอกเบี้ย 25% ต่อปี ผ่อนต่ออีก 13 ปี 5 เดือน
เหลือจ่ายดอกเบี้ยอีก 14,000 บาท
ดอกเบี้ยรวมทั้งสัญญา 29,000 บาท
ทางเลือกที่ 2 : เข้าโครงการแก้หนี้เรื้อรัง ดอกเบี้ย 15% ต่อปี ผ่อนต่ออีก 3 ปี 6 เดือน (เดือนละ 260 บาท)
เหลือจ่ายดอกเบี้ยอีก 2,500 บาท
ดอกเบี้ยรวมทั้งสัญญา 17,500 บาท
*ประหยัดดอกเบี้ยได้ 11,500 บาท*
หมายเหตุ: ผ่อนเดือนละ 260 บาท เท่ากับยอดการผ่อนขั้นต่ำ ณ เดือนสุดท้ายของปีที่ 5 ก่อนเข้าโครงการ
ตอบข้อสงสัย มาตรการปิดจบหนี้เรื้อรัง
(1) ทำไมมาตรการปิดจบหนี้เรื้อรัง ไม่รวมหนี้บัตรเครดิต?
(2) ทำไมต้องมีเงื่อนไขปิดวงเงินหากเข้าร่วมมาตรการปิดจบหนี้เรื้อรัง
(3) การเข้ามาตรการปิดจบหนี้เรื้อรัง จะมีการรายงานข้อมูลในเครดิตบูโร (NCB) หรือไม่
ทำไมมาตรการปิดจบหนี้เรื้อรัง ไม่รวมหนี้บัตรเครดิต?
เพราะหนี้บัตรเครดิตมี (1) อัตราดอกเบี้ย และ (2) เงื่อนไขการผ่อนชำระที่ทำให้ไม่เข้าข่ายหนี้เรื้อรังที่จ่ายดอกเบี้ยมากกว่าเงินต้นและใช้เวลานานในการปิดจบ
ลูกหนี้บัตรเครดิตจ่ายขั้นต่ำที่ 8% ทำให้จ่ายชำระเงินต้นมากกว่าดอกเบี้ย ลูกหนี้สามารถปิดจบหนี้ได้ภายในระยะเวลาไม่นานนัก
บัตรกดเงินสดมักจ่ายขั้นต่ำที่ 3% และดอกเบี้ยส่วนใหญ่อยู่ที่ 25% ต่อปี ซึ่งจะทำให้ ตัดจ่ายดอกเบี้ย 2% และตัดเงินต้นเพียง 1%
ทำไมต้องมีเงื่อนไขปิดวงเงินหากเข้าร่วมมาตรการปิดจบหนี้เรื้อรัง
เงื่อนไขการปิดวงเงินจะช่วยให้ลูกหนี้มีวินัยทางการเงินเพิ่มขึ้นและสามารถปิดจบหนี้ได้ภายใน 5 ปี
อย่างไรก็ดี กรณีลูกหนี้ที่เข้ามาตรการฯ มีความจำเป็นฉุกเฉิน เช่น เจ็บป่วย ได้รับอุบัติเหตุ ตกงาน ผู้ให้บริการอาจพิจารณาให้สินเชื่อได้ หากลูกหนี้มีความสามารถในการชำระหนี้เพียงพอ ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับนโยบายและเงื่อนไขของผู้ให้บริการแต่ละแห่ง
กรณีลูกหนี้มีบัตรกดเงินสดมากกว่า 1 ใบ สามารถเลือกเข้าโครงการแค่บางบัตร และเก็บวงเงินบัตรกดเงินสดที่เหลือไว้ก่อนได้
การเข้ามาตรการปิดจบหนี้เรื้อรัง จะมีการรายงานข้อมูลในเครดิตบูโร (NCB) หรือไม่
จะมีการรายงานข้อมูลใน NCB โดยเพิ่มการรายงานประเภทของสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้ "รหัส (code) 03" โดยจะไม่กระทบสถานะบัญชีลูกหนี้ที่ยังเป็น 10-ปกติ เช่นเดิมทั้งนี้ การรายงานนี้ จะช่วยให้ผู้ให้บริการทราบถึงการเข้าโครงการซึ่งสะท้อนความตั้งใจที่ดีในการแก้ปัญหาหนี้ของลูกหนี้
มาตรการปิดจบหนี้เรื้อรัง..ช่วยเหลือลูกหนี้อย่างไร?
ถ้าได้รับแจ้งเตือนว่าเป็นลูกหนี้เรื้อรัง (severe PD) จะได้รับข้อเสนอให้สมัครเข้าร่วมมาตรการเพื่อปิดจบหนี้ ซึ่งจะได้รับประโยชน์จากการเข้าร่วมมาตรการ ดังนี้
** สำหรับลูกหนี้ที่เริ่มเรื้อรัง (general PD) ให้รีบติดต่อเจ้าหนี้หากต้องการแก้หนี้ เจ้าหนี้จะมีแนวทางให้ความช่วยเหลือที่เหมาะสมเป็นรายกรณี **
การแจ้งเตือนเมื่อเข้าข่ายลูกหนี้เรื้อรัง
ความถี่การแจ้งเตือนจากเจ้าหนี้
ช่องทางการแจ้งเตือน
โดยลูกหนี้เรื้อรังจะได้รับข้อเสนอแนวทางการปิดจบหนี้จากเจ้าหนี้ด้วย
หนี้เรื้อรัง คืออะโร.. แค่ไหนที่เรียกว่าเรื้อรัง?
แบบไหนเข้าข่ายปัญหาหนี้เรื้อรัง (Persistent Debt - PD)
ลูกหนี้เรื้อรัง 2 แบบ
1. เริ่มเป็นหนี้เรื้อรัง (general PD)
2. เป็นหนี้เรื้อรัง (severe PD)
** ธปท. กำหนดเกณฑ์รายได้ เพื่อมุ่งให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ที่เดือดร้อนที่สุดก่อน โดยพิจารณาความเรื้อรังและรายได้ที่ไม่สูงมากของลูกหนี้ **
ทวงหนี้อย่างเป็นธรรม ต้องแจ้งข้อมูลสำคัญอะไรบ้าง
เจ้าหนี้จะต้องแจ้งรายละเอียดของภาระหนี้พร้อมข้อมูลสำคัญอื่น ๆ แก่ลูกหนี้ให้ครบถ้วน เช่น
และห้ามเรียกให้ผู้ค้ำประกันชำระหนี้ก่อน ยกเว้น ลูกหนี้ล้มละลายหรือติดต่อไม่ได้
#ResponsibleLending #แก้หนี้ยั่งยืน #เจ้าหนี้รับผิดชอบ #ลูกหนี้มีวินัย
มีหนี้กับหลายเจ้าหนี้จะทำอย่างไร?
เคยปรับโครงสร้างหนี้แล้วขอปรับซ้ำได้ไหม?
หมายเหตุ: เกณฑ์ Responsible Lending ลูกหนี้มีสิทธิขอปรับโครงสร้างหนี้ ก่อนเป็นหนี้เสีย อย่างน้อย 1 ครั้ง และหลังเป็นหนี้เสีย อย่างน้อย 1 ครั้ง โดยนับรวมการปรับโครงสร้างหนี้ก่อน 1 ม.ค. 67
สัญญาณปัญหาหนี้
สัญญาณว่าลูกหนี้กำลังมีปัญหา เช่น จ่ายขั้นต่ำ จ่ายช้า กดบัตรเงินสดมาจ่ายคืนหนี้อื่น รายได้ไม่พอรายจ่าย ถ้าเห็นสัญญาณแบบนี้ไปคุยกับเจ้าหนี้ได้เลย !!
หมายเหตุ: สนใจติดต่อ Call center และสาขาของธนาคารที่ท่านใช้บริการ
ปิดหนี้ก่อนกำหนดได้ ไม่ต้องจ่าย Prepayment fee
Prepayment fee คือ ค่าปรับจากการไถ่ถอนสินเชื่อก่อนกำหนด
ธปท. ห้ามเรียกเก็บ prepayment fee ในสินเชื่อภายใต้กำกับของ ธปท. ดังนี้
** ยกเว้นสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย ที่ผู้ให้บริการยังเรียกเก็บ prepayment fee ได้ในกรณีรีไฟแนนซ์ในช่วง 3 ปีแรกนับจากวันทำสัญญา เพื่อให้ลูกหนี้มีโอกาสได้ดอกเบี้ยต่ำในช่วง 3 ปีแรก
ห้ามเรียกเก็บค่าปรับจากการปิดหนี้ก่อนกำหนด (Prepayment Fee)
ต่อไปนี้ !! สถาบันการเงินและ Non-bank ภายใต้การกำกับดูแลของ ธปท. ห้ามเรียกเก็บค่าปรับจากการปิดหนี้ก่อนกำหนด (Prepayment Fee)
ยกเว้น สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย ที่ผู้ให้บริการยังสามารถเรียกเก็บค่าปรับรีไฟแนนซ์ได้ในช่วง 3 ปีแรกนับจากวันทำสัญญา