ศูนย์ประสานงานด้านความมั่นคงปลอดภัยเทคโนโลยีสารสนเทศภาคการธนาคาร หรือ Thailand Banking Sector CERT (TB-CERT) สมาคมธนาคารไทย จัดงานสัมมนาประจำปีด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ TB-CERT Cybersecurity Annual Conference 2023 ภายใต้หัวข้อหลัก “Sustainable Cybersecurity” เมื่อวันที่ 22 กันยายน 2566 ณ โรงแรม The Athenee Hotel, a Luxury Collection Hotel, Bangkok” เพื่อเผยแพร่ความรู้และสร้างความตระหนักถึงการเตรียมพร้อมและยกระดับด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ให้กับสมาชิก และบุคลากรในอุตสาหกรรมภาคการเงินการธนาคาร การลงทุน ประกันภัย รวมทั้งภาคอุตสาหกรรมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยได้รับเกียรติจาก 1) คุณผยง ศรีวณิช กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) และประธานสมาคมธนาคารไทย กล่าว Welcome Address 2) ศาสตราจารย์พิเศษวิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ ปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กล่าว Opening Speech และ 3) คุณเดช ฐิติวณิช ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายระบบข้อสนเทศ ธนาคารแห่งประเทศไทย กล่าว Special Event Keynote และวิทยากรจากหน่วยงานผู้สนับสนุน ไม่ว่าจะเป็น Keynote Speaker โดยบริษัท Gartner รวมทั้งการออกบูธแสดงเทคโนโลยีและโซลูชันจากองค์กรชั้นนำทั่วโลกผู้สนับสนุนการจัดงานถึง 17 บูธ มีผู้เข้าร่วมงานจากภาคธนาคาร และหน่วยงานอื่น ๆ รวมกว่า 500 ท่าน นอกจากนี้ ยังมีการจัดแข่งขัน TB-CERT Cyber Combat ประจำปี เพื่อฝึกทักษะในการปฏิบัติการเชิงรุกและเชิงรับของบุคลากรในภาคการธนาคารพันธมิตรด้วย ซึ่งได้รับการสนับสนุนระบบการฝึกดังกล่าวจากบริษัท Cyberbit
สำหรับหัวข้อ Sustainable Cybersecurity ในปีนี้ ถูกคิดขึ้นมาเพื่อให้องค์กรตระหนักในด้านการสร้างความยั่งยืนด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ เนื่องด้วยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในการดำเนินการทางธุรกิจ พฤติกรรมของผู้ใช้บริการ สภาพกิจกรรมทางสังคม รวมทั้งการพัฒนาบุคลากรให้มีทักษะเหมาะสมกับยุคดิจิทัล ด้วยการเปลี่ยนแปลงและความซับซ้อนนี้ก่อให้เกิดความท้าทายจากการถูกโจมตีโดยอาศัยเทคโนโลยีด้วยเช่นกัน นอกจากองค์กรจะต้องสร้างศักยภาพให้มีความสามารถในการกู้คืนธุรกิจให้สามารถกลับมาให้บริการได้อย่างรวดเร็ว (Organizational Resiliency) แล้ว องค์กรจะต้องพิจารณากรอบแนวคิดในการบริหารจัดการด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์เดิม และพัฒนาเพิ่มเติมเพื่อให้เกิดความยั่งยืน ซึ่งไม่เพียงเพื่อเพิ่มความสามารถในการรับมือกับภัยคุกคามที่เปลี่ยนแปลงอย่างไม่เคยเกิดขึ้น แต่จากกรอบแนวคิดนี้จะต้องช่วยสนับสนุนเป้าหมายองค์กรในระยะยาวโดยไม่ลดทอนความสามารถในการดำเนินการให้บรรลุเป้าหมายธุรกิจในอนาคตอีกด้วย ดังนั้น ความยั่งยืนด้านไซเบอร์จึงเป็นหัวข้อสำคัญในการแลกเปลี่ยนมุมมองต่อแนวทางการพัฒนา ปัญหา และอุปสรรค หรือแนวทางการสนับสนุนจากส่วนต่าง ๆ เพื่อให้เกิดความยั่งยืนด้านความ มั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ของสังคมเศรษฐกิจดิจิทัล
คุณผยง ศรีวณิช กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกรุงไทย และประธานสมาคมธนาคารไทย ได้กล่าวถึงความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการป้องกันภัยไซเบอร์ อาทิ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม และสำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ รวมทั้งความร่วมมือในการป้องกันภัยทุจริตออนไลน์ อาทิ การใช้เทคโนโลยี AI ในการตรวจจับรูปแบบการฉ้อโกงออนไลน์ ซึ่งหน่วยงานภาครัฐก็ได้ให้ความสำคัญกับประเด็นเร่งด่วนดังกล่าว โดยมีบทบาทสำคัญในการเสนอและบังคับใช้กฎหมายที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการดำเนินงานของภาคการธนาคาร และสำหรับการจัดงานสัมมนาในครั้งนี้จะเป็นโอกาสในการแลกเปลี่ยนมุมมอง การเสริมสร้างความร่วมมือภายในและนอกสายงานด้านการเงินการธนาคาร รวมทั้งการเพิ่มความตระหนักในความสำคัญของความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ ที่จะนำไปสู่ความปลอดภัยไซเบอร์ที่ยั่งยืนได้
ศาสตราจารย์พิเศษวิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ ปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กล่าวว่า ความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ที่ยั่งยืนไม่ใช่ทางเลือกแต่เป็นเรื่องที่จำเป็น เนื่องจากเป็นประเด็นที่มีความเกี่ยวข้องทางเศรษฐกิจและสังคมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ตราบใดที่สังคมยังต้องเปลี่ยนแปลงไปสู่ดิจิทัลที่เติบโตขึ้นเรื่อย ๆ ความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์เป็นรากฐานที่สำคัญอย่างหนึ่งของระบบการเงินที่แข็งแกร่งทั้งในปัจจุบันและอนาคต กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมได้เป็นหน่วยงานหลักในการขับเคลื่อนด้านดิจิทัลของประเทศซึ่งได้ดำเนินการในหลายประเด็น อาทิ G-Cloud High Society, G-Cloud Data Protection และยังดำเนินนโยบายด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ในลักษณะเชิงรุกอีกด้วย
กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมได้ให้ความสำคัญกับแก้ไขปัญหาภัยทุจริตออนไลน์และความเสี่ยงจากการโจมตีทางไซเบอร์ เนื่องจากปัญหาเหล่านี้มีผลกระทบต่อประชาชนในวงกว้างและส่งผลต่อความสูญเสียทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลกระทบต่อภาคการเงินการธนาคารที่มักตกเป็นเป้าหมายและถูกใช้เป็นเครื่องมือในการหลอกลวงประชาชนและการทำธุรกรรมที่ผิดกฎหมาย โดยกระทรวงฯ ได้มีความร่วมมือกับธนาคารและหน่วยงานโทรคมนาคมอย่างเต็มที่เพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น เราได้กำหนดมาตรการและกลยุทธ์ซึ่งเน้นในสามมิติหลักคือ การป้องกัน การระงับ และการยับยั้ง (Prevention, Interception, and Suppression) ซึ่งปัจจุบันทางธนาคารและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถมีแนวทางที่สะดวกรวดเร็วมากขึ้นในการจัดการกับการฉ้อโกงออนไลน์จากการบังคับใช้พระราชกฤษฎีกาเรื่องการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางไซเบอร์ และหวังเป็นอย่างยิ่งว่า การสัมมนาในวันนี้ จะเป็นการหารือและแลกเปลี่ยนความรู้ด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ที่สำคัญ อันจะนำไปสู่ความร่วมมือประสานงานระหว่างภาครัฐและเอกชน ที่จะสร้างนโยบายและแนวปฏิบัติที่ดีที่สุดเพื่อการก้าวไปสู่ความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ที่ยั่งยืนสำหรับประเทศไทย
คุณเดช ฐิติวณิช ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายระบบข้อสนเทศ ธนาคารแห่งประเทศไทย ได้กล่าวในช่วง Special Event Keynote ถึงวิสัยทัศน์สำหรับภูมิทัศน์ใหม่ภาคการเงินประเทศไทยเพื่อเศรษฐกิจดิจิทัลและการเติบโตอย่างยั่งยืน ซึ่งในรายงานดังกล่าวมีหลายประเด็นที่กล่าวถึงความยั่งยืน ไม่ว่าจะเป็นด้านสิ่งแวดล้อม การพัฒนาระบบการชำระเงิน และอีกหนึ่งประเด็นสำคัญคือเรื่องของการใช้เทคโนโลยีและข้อมูลในการสร้างสรรค์นวัตกรรม ซึ่งนวัตกรรมจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและการเข้าถึงบริการทางการเงินได้ผ่าน 3 หลักการ ได้แก่ 1) การเปิดกว้างในการแข่งขัน (Open Competition) รวมถึงการขยายขอบเขตธุรกิจและความยืดหยุ่นในการดำเนินการธุรกิจของธนาคารและสถาบันการเงินนอกธนาคาร และผู้ที่เข้าสู่ตลาดใหม่ ภายใต้การควบคุมโดยการประเมินความเสี่ยงและในสภาวะการแข่งขันเท่าเทียมและไม่สร้างการครอบครองตลาดที่ไม่เป็นธรรม เช่น การให้สิทธิ์ในการดำเนินธุรกิจธนาคารเสมือน (Virtual Banking) เป็นต้น 2) การเปิดกว้างให้ผู้ให้บริการกลุ่มต่าง ๆ เข้าถึงโครงสร้างพื้นฐานทางการเงินอย่างเหมาะสมและเป็นธรรม (Open Infrastructure) ซึ่งโครงสร้างพื้นฐานนี้จะส่งเสริมกระบวนการเปลี่ยนแปลงไปสู่ความเป็นเศรษฐกิจดิจิทัลมากยิ่งขึ้น เช่น การพัฒนา PromptBiz และ 3) การเปิดกว้างให้มีการใช้ประโยชน์จากข้อมูล (Open Data) ซึ่งจะสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาบริการทางการเงินที่ดีขึ้น
การที่เราได้ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี ในอีกด้านได้เปิดโอกาสให้ผู้ไม่หวังดีหาทางโจมตีหรือหลอกลวงทางดิจิทัลมากขึ้น ความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ที่ยั่งยืนจึงเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างมาก สถาบันการเงินและองค์กรต่าง ๆ จำเป็นต้องมีความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ที่แข็งแกร่งเพื่อปกป้อง ตรวจจับ ตอบสนอง และกู้คืนจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ หลายครั้งที่เราโดนโจมตีจากจุดอ่อนของมนุษย์ จึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องเพิ่มพูนความรู้และสร้างความตระหนักรู้ให้กับทุกคน เพราะบุคคล กระบวนการ และเทคโนโลยี (People, Process, and Technology) เป็นเสาหลักที่สำคัญของความมั่นคงทางไซเบอร์ ซึ่งภาคการเงินจำเป็นต้องสร้างสมดุลระหว่างการส่งเสริมนวัตกรรมและการจัดการความเสี่ยงด้านไซเบอร์ เพื่อให้ภาคการเงินสามารถปรับตัวกับความท้าทายใหม่ ๆ ในขณะที่ยังคงมีประสิทธิภาพในการป้องกัน และสามารถเดินหน้าสู่เศรษฐกิจดิจิทัลที่ยั่งยืน โดยธนาคารแห่งประเทศไทยมีความยินดีที่จะร่วมมือด้านความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ร่วมกับทุกองค์กรและบุคลากรที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับระบบการเงินต่อไป
ทั้งนี้ TB-CERT ขอขอบคุณแขกผู้มีเกียรติทุกท่านทั้งในและต่างประเทศ และบริษัท Partner ต่าง ๆ ที่สละเวลามาร่วมงานและแสดงนิทรรศการเทคโนโลยีและนำเสนอโซลูชันที่น่าสนใจมากมาย ได้แก่ บริษัท Cisco และ NTT, บริษัท Imperva, บริษัท Akamai Technologies, บริษัท Trellix บริษัท Forcepoint, บริษัท Kaspersky, บริษัท Mandiant, บริษัท Yip In Tsoi และ Zscaler, บริษัท Check Point, บริษัท CrowdStrike, บริษัท Datadog, บริษัท Dell Technologies ร่วมกับ Microsoft และ Intel, บริษัท Fortinet, บริษัท SecIron, บริษัท SentinelOne, บริษัท Splunk และบริษัท Trend Micro ซึ่งช่วยให้งานสัมมนา TB-CERT Cybersecurity Annual Conference 2023 ในปีนี้เสร็จสิ้นสมบูรณ์ไปด้วยดีตามวัตถุประสงค์ของงาน หวังเป็นอย่างยิ่งว่าทุก ๆ ท่านจะได้เพิ่มพูนความรู้และอัปเดตเทคโนโลยีใหม่ ๆ จากงานครั้งนี้ไปไม่มากก็น้อย รวมถึงได้แลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร และสร้างความสัมพันธ์ที่ดีทั้งภายในและภายนอกหน่วยงาน
Chairman: Mr. Suwit Indrachalerm (Bangkok Bank Public Company Limited)
Coordinator: Mr. Suphawat Maseng
Objectives: This club is established with the approval of its members to carry out corporate social responsibility (CSR) activities consistent with the operations of the Thai Bankers’ Association as follows
This will close in 500 seconds
Chairman: Ms. Suteera Sripaibulya (Bangkok Bank Public Company Limited)
Coordinator: Ms. Sampantanee Apaipan
Objectives: This club is established
This will close in 500 seconds
Chairman: Mr. Than Siripokee (Bangkok Bank Public Company Limited)
Coordinator: Ms. Supada Ruttanapong
Objectives: This club is established
This will close in 500 seconds
Chairman: Mr. Paisarn Lertkowit (Bangkok Bank Public Company Limited)
Coordinator: Ms. Kristsanee Disapad
Objectives: This club is established
This will close in 500 seconds
Chairman: Mr. Kittichai Singha (Bank of Ayudhya Public Company Limited)
Coordinatior: Ms. Chutiporn Jiranansuroj
Objectives: This club is established
This will close in 500 seconds
Chairman: Pongpichet Nananukool (Kasikorn Bank Public Company Limited)
Coordinator: Mr. Warat Attanandana
Objectives: This club is established
This will close in 500 seconds
Chairman: Mr. Kitipong Muttamara (Krungthai Bank Public Company Limited)
Coordinator: Ms. Manisa Rueangsri
Objectives: This club is established
This will close in 500 seconds
Chairman: Mr. Atis Ruchirawat Ayudhya Capital Services Co., Ltd.
Coordinator: Ms. Apsorn Suttaroj
Objectives: This club is established
This will close in 500 seconds
Acting Chairman: Mr. Settarat Na-Nakorn (Kasikorn Bank Public Company Limited)
: Ms. Suchanee.lavanavanija (Bangkok Bank Public Company Limited)
Coordinator: Ms. Monruedee Teerarungruang
Objectives: The Club is established
This will close in 500 seconds
Chairman: Mr. Thitivorn Chothayaphorn (Bank of Ayudhya Public Company Limited)
Coordinator: K. Jitti Wijitbanjong
Objectives: The Club is established
This will close in 500 seconds
Chairman: Mr. Prathin Kijjaruwankul (Kiatnakin Phatra Bank Public Company Limited)
Coordinator: Mr. Thammanun Harnprasitkam
Objectives: The Club is established
This will close in 500 seconds
Chairman: Ms. Oranuch Nampoolsuksan (Bangkok Bank Public Company Limited)
Coordinator: Ms. Roongratt Ratanarajchartikul
Objectives: The Club is established
This will close in 500 seconds
Chairman: Dr. Phacharaphot Nuntramas (Krungthai Bank Public Company Limited)
Coordinator: Dr. Chamadanai Maknual
Objectives: The Club is established
This will close in 500 seconds
Chairman: Ms. Pornvalai Kulrojseth (Krungthai Bank Public Company Limited)
Coordinator: -
Objectives: The Club is established
This will close in 500 seconds
Chairman: Ms. Puntipa Hannoraseth (Bank of Ayudhya Public Company Limited)
Coordinator: Ms. Tippawan Bannajirakul
Objectives: The Club is established
This will close in 500 seconds
Chairman: Ms. Waranee Wanrat (TMBThanachart Bank Public Company Limited)
Coordinator: Ms. Sunisa Netsawang
Objectives: The Club is established
This will close in 500 seconds
Acting Chairman: Ms. Jeerana Ramasoot (Bangkok Bank Public Company Limited)
Coordinator: Ms. Natchanok Aryukong
Objectives: The Club is established
This will close in 500 seconds
Chairman: Dr. Vasin Udomratchatavanich Bank of Ayudhya Public Company Limited
Coordinator: Ms. Manduan Aeambunapong
Objectives: The Club is established
This will close in 500 seconds
Chairman: Mr. Sant Thaosuwan (Bank of Ayudhya Public Company Limited)
Coordinator: Ms. Wasunthree Tri-utok
Objectives: The Club is established
This will close in 500 seconds
Chairman: Mr. luesak Sukasem (Krungthai Bank Public Company Limited)
Coordinator: Ms. Nipaporn Daokhanon
Objectives: The Club is established
This will close in 500 seconds
ธรรมาภิบาล(Governance) : มีระบบการกำกับดูแลกิจการที่ดี และดำเนินการกำกับดูแลได้อย่างมีประสิทธิผลในระดับคณะกรรมการ โดยกำหนดภาระและขอบเขตความรับผิดชอบที่ชัดเจนในระดับการจัดการในเรื่องที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล
This will close in 500 seconds
ยุทธศาสตร์ (Strategy) : บูรณาการพันธกิจด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล เข้ากับยุทธศาสตร์การดำเนินธุรกิจและกำหนดกรอบด้านการเงินที่ยั่งยืน โดยสนับสนุนเพื่อให้ประเทศสามารถเปลี่ยนผ่านไปสู่เป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ได้อย่างราบรื่น
This will close in 500 seconds
การบริหารความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อม สังคมและธรรมาภิบาล (ESG Risk Management) : ผนวกรวมประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล ไว้ในกระบวนการบริหารความเสี่ยง
This will close in 500 seconds
ผลิตภัณฑ์ทางการเงิน(Financial Products) : ปรับใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อส่งเสริมการเข้าถึงบริการทางการเงิน รวมทั้งนวัตกรรมทางการเงินที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและยั่งยืน
This will close in 500 seconds
การสื่อสาร (Communication) : สื่อสารและประสานความร่วมมือกับผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วนในการสร้างจิตสำนึกสาธารณะด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล
This will close in 500 seconds
การเปิดเผยข้อมูลทางการเงิน (Disclosure) : พัฒนาระบบการติดตามและการรายงานที่สอดคล้องกับกรอบการกำกับดูแลของประเทศไทยและมาตรฐานการเปิดเผยข้อมูลด้านความยั่งยืนในระดับสากล
This will close in 500 seconds
ตัวอย่าง
ใช้บัตรกดเงินสด
วงเงินหมุนเวียน 15,000 บาท
ผ่อนขั้นต่ำ (3%) มาแล้ว 5 ปี
เหลือจ่ายเงินต้นอีก 8,700 บาท
ทางเลือกที่ 1 : ผ่อนขั้นต่ำต่อไปจนครบ ดอกเบี้ย 25% ต่อปี ผ่อนต่ออีก 13 ปี 5 เดือน
เหลือจ่ายดอกเบี้ยอีก 14,000 บาท
ดอกเบี้ยรวมทั้งสัญญา 29,000 บาท
ทางเลือกที่ 2 : เข้าโครงการแก้หนี้เรื้อรัง ดอกเบี้ย 15% ต่อปี ผ่อนต่ออีก 3 ปี 6 เดือน (เดือนละ 260 บาท)
เหลือจ่ายดอกเบี้ยอีก 2,500 บาท
ดอกเบี้ยรวมทั้งสัญญา 17,500 บาท
*ประหยัดดอกเบี้ยได้ 11,500 บาท*
หมายเหตุ: ผ่อนเดือนละ 260 บาท เท่ากับยอดการผ่อนขั้นต่ำ ณ เดือนสุดท้ายของปีที่ 5 ก่อนเข้าโครงการ
3 เรื่องต้องรู้ หากจ่ายขั้นต่ำบัตรกดเงินสดนาน ๆ
แบบไหนเข้าข่ายปัญหาหนี้เรื้อรัง (Persistent Debt - PD)
1. แม้ภาระต่อเดือนไม่สูง แต่ใช้เวลานาน กว่าจะหมดหนี้
2. ยอดขั้นต่ำที่จ่ายแต่ละเดือนเป็นดอกเบี้ยมากกว่าเงินต้น
3. เมื่อผ่อนจบพบว่ายอดรวมที่จ่ายไปส่วนใหญ่คือ ดอกเบี้ย
อยากหมดหนี้ไว ㆍจ่ายดอกเบี้ยลดลง ㆍ ภาระต่อเดือนไม่เพิ่มจากเดิม
เลือกเข้ามาตรการปิดจบหนี้เรื้อรังได้ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป
หมายเหตุ : ลูกหนี้ที่เข้าข่ายเป็นหนี้รื้อร้ง จะได้รับการติดต่อจากเจ้าหนี้ โดยหาก 5 ปีที่ผ่านมา ลูกหนี้จ่ายดอกเบี้ยรวมมากกว่าเงินต้นรวม จะได้รับข้อเสนอปิดจบหนี้ภายใน 5 ปี ดอกเบี้ยไม่เกิน 15% ต่อปี
การเข้ามาตรการปิดจบหนี้เรื้อรัง จะมีการรายงานข้อมูลในเครดิตบูโร (NCB) หรือไม่
จะมีการรายงานข้อมูลใน NCB โดยเพิ่มการรายงานประเภทของสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้ "รหัส (code) 03" โดยจะไม่กระทบสถานะบัญชีลูกหนี้ที่ยังเป็น 10-ปกติ เช่นเดิมทั้งนี้ การรายงานนี้ จะช่วยให้ผู้ให้บริการทราบถึงการเข้าโครงการซึ่งสะท้อนความตั้งใจที่ดีในการแก้ปัญหาหนี้ของลูกหนี้
ทำไมต้องมีเงื่อนไขปิดวงเงินหากเข้าร่วมมาตรการปิดจบหนี้เรื้อรัง
เงื่อนไขการปิดวงเงินจะช่วยให้ลูกหนี้มีวินัยทางการเงินเพิ่มขึ้นและสามารถปิดจบหนี้ได้ภายใน 5 ปี
อย่างไรก็ดี กรณีลูกหนี้ที่เข้ามาตรการฯ มีความจำเป็นฉุกเฉิน เช่น เจ็บป่วย ได้รับอุบัติเหตุ ตกงาน ผู้ให้บริการอาจพิจารณาให้สินเชื่อได้ หากลูกหนี้มีความสามารถในการชำระหนี้เพียงพอ ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับนโยบายและเงื่อนไขของผู้ให้บริการแต่ละแห่ง
กรณีลูกหนี้มีบัตรกดเงินสดมากกว่า 1 ใบ สามารถเลือกเข้าโครงการแค่บางบัตร และเก็บวงเงินบัตรกดเงินสดที่เหลือไว้ก่อนได้
ทำไมมาตรการปิดจบหนี้เรื้อรัง ไม่รวมหนี้บัตรเครดิต?
เพราะหนี้บัตรเครดิตมี (1) อัตราดอกเบี้ย และ (2) เงื่อนไขการผ่อนชำระที่ทำให้ไม่เข้าข่ายหนี้เรื้อรังที่จ่ายดอกเบี้ยมากกว่าเงินต้นและใช้เวลานานในการปิดจบ
ลูกหนี้บัตรเครดิตจ่ายขั้นต่ำที่ 8% ทำให้จ่ายชำระเงินต้นมากกว่าดอกเบี้ย ลูกหนี้สามารถปิดจบหนี้ได้ภายในระยะเวลาไม่นานนัก
บัตรกดเงินสดมักจ่ายขั้นต่ำที่ 3% และดอกเบี้ยส่วนใหญ่อยู่ที่ 25% ต่อปี ซึ่งจะทำให้ ตัดจ่ายดอกเบี้ย 2% และตัดเงินต้นเพียง 1%
ตอบข้อสงสัย มาตรการปิดจบหนี้เรื้อรัง
(1) ทำไมมาตรการปิดจบหนี้เรื้อรัง ไม่รวมหนี้บัตรเครดิต?
(2) ทำไมต้องมีเงื่อนไขปิดวงเงินหากเข้าร่วมมาตรการปิดจบหนี้เรื้อรัง
(3) การเข้ามาตรการปิดจบหนี้เรื้อรัง จะมีการรายงานข้อมูลในเครดิตบูโร (NCB) หรือไม่
3 เรื่องต้องรู้ก่อนเข้าร่วมมาตรการปิดจบ หนี้เรื้อรัง
**สามารถขอออกจากมาตรการได้ แต่จะไม่ได้รับสิทธิแก้หนี้ตามเงื่อนไขเดิม**
มาตรการปิดจบหนี้เรื้อรัง..ช่วยเหลือลูกหนี้อย่างไร?
ถ้าได้รับแจ้งเตือนว่าเป็นลูกหนี้เรื้อรัง (severe PD) จะได้รับข้อเสนอให้สมัครเข้าร่วมมาตรการเพื่อปิดจบหนี้ ซึ่งจะได้รับประโยชน์จากการเข้าร่วมมาตรการ ดังนี้
** สำหรับลูกหนี้ที่เริ่มเรื้อรัง (general PD) ให้รีบติดต่อเจ้าหนี้หากต้องการแก้หนี้ เจ้าหนี้จะมีแนวทางให้ความช่วยเหลือที่เหมาะสมเป็นรายกรณี **
การแจ้งเตือนเมื่อเข้าข่ายลูกหนี้เรื้อรัง
ความถี่การแจ้งเตือนจากเจ้าหนี้
ช่องทางการแจ้งเตือน
โดยลูกหนี้เรื้อรังจะได้รับข้อเสนอแนวทางการปิดจบหนี้จากเจ้าหนี้ด้วย
หนี้เรื้อรัง คืออะโร.. แค่ไหนที่เรียกว่าเรื้อรัง?
แบบไหนเข้าข่ายปัญหาหนี้เรื้อรัง (Persistent Debt - PD)
ลูกหนี้เรื้อรัง 2 แบบ
1. เริ่มเป็นหนี้เรื้อรัง (general PD)
2. เป็นหนี้เรื้อรัง (severe PD)
** ธปท. กำหนดเกณฑ์รายได้ เพื่อมุ่งให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ที่เดือดร้อนที่สุดก่อน โดยพิจารณาความเรื้อรังและรายได้ที่ไม่สูงมากของลูกหนี้ **
ทวงหนี้อย่างเป็นธรรม ต้องแจ้งข้อมูลสำคัญอะไรบ้าง
เจ้าหนี้จะต้องแจ้งรายละเอียดของภาระหนี้พร้อมข้อมูลสำคัญอื่น ๆ แก่ลูกหนี้ให้ครบถ้วน เช่น
และห้ามเรียกให้ผู้ค้ำประกันชำระหนี้ก่อน ยกเว้น ลูกหนี้ล้มละลายหรือติดต่อไม่ได้
#ResponsibleLending #แก้หนี้ยั่งยืน #เจ้าหนี้รับผิดชอบ #ลูกหนี้มีวินัย
มีหนี้กับหลายเจ้าหนี้จะทำอย่างไร?