ธปท.สั่ง 6 แบงก์ใหญ่ส่งแผนและแนวทางการออกผลิตภัณฑ์การเงิน หนุนเรียลเซ็กเตอร์ปรับตัวสู่การทำธุรกิจยั่งยืน ขีดเส้นส่งแผนภายในไตรมาสแรกปี 2567 ขณะที่ 3 แบงก์ใหญ่
“กรุงไทย-กรุงศรีฯ-ทีทีบี” รับลูกเร่งกำหนดอุตสาหกรรมนำร่อง ชี้แบงก์ชาติอาจต้องร่วมอุดหนุนต้นทุนการเปลี่ยนผ่าน
นายรณดล นุ่มนนท์ รองผู้ว่าการ ด้านเสถียรภาพสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า หลังจาก ธปท.ออกมาตรฐานการจัดกลุ่มกิจกรรมเศรษฐกิจที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม (Thailand Taxonomy) ไป ล่าสุดได้มีการหารือกับธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ (D-SIBs) 6 แห่ง เพื่อผลักดันให้ภาคการเงินเกิดการเปลี่ยนผ่านไปสู่ด้านสิ่งแวดล้อม ให้มีการปรับตัวของภาคธุรกิจเกิดขึ้นจริง โดยกำหนดให้แบงก์ส่งแผนและแนวทางออกโปรดักต์ภายในไตรมาสที่ 1 ปี 2567
“เราให้แบงก์จัดทำแผนและแนวทางการออกโปรดักต์ที่สามารถตอบโจทย์ให้ลูกค้าสามารถปรับเปลี่ยนได้จริง โดย ธปท.ต้องการเริ่มต้นให้แบงก์คัดเลือกเซ็กเตอร์ หรือพอร์ตธุรกิจที่คิดว่าต้องการปรับเปลี่ยนให้เป็นธุรกิจสีเขียว อาจจะไม่ใช่แค่ 2 กลุ่มธุรกิจพลังงาน-ขนส่ง แต่อาจจะเป็นเซ็กเตอร์ที่มีความพร้อมที่ต้องการปรับเปลี่ยน และผลิตภัณฑ์และบริการที่ออกมา”
ทั้งนี้ ธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ 6 แห่ง ประกอบด้วย ธนาคารกรุงเทพ, กสิกรไทย, ไทยพาณิชย์, กรุงไทย, กรุงศรีอยุธยา และธนาคารทหารไทยธนชาต (ทีทีบี)
นายผยง ศรีวณิช กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงไทย กล่าวว่า ธปท.ให้แบงก์ต่าง ๆ โดยเฉพาะที่มีความสำคัญเชิงระบบส่งแผนคัดเลือกอุตสาหกรรมที่มีวิวัฒนาการในเชิงบวกเรื่องการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่สอดคล้องกับเป้าหมายของประเทศ ซึ่ง KTB ได้ส่งแผนดังกล่าวแล้ว อย่างไรก็ดี ในปี 2567 จะต้องเสนอแผนให้ ธปท.อีกครั้ง ในส่วนของการเลือกอุตสาหกรรม ว่าจะสามารถช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้เมื่อใด และจะสามารถลดได้ในปริมาณเท่าไร
“แผนจะต้องบอกว่าเป้าหมายจะอยู่ในปีไหน ภายใต้แผนว่าจะมีการลงทุนแบบไหน ด้วยตัวชี้วัดอะไรบ้าง โดยเรื่องดังกล่าวจะเป็นการขับเคลื่อนทั้งระบบ ส่วนจะเป็นเซ็กเตอร์ไหนก่อน จะต้องรอ ธปท.ประกาศ”
ด้านนายประกอบ เพียรเจริญ ประธานคณะเจ้าหน้าที่ด้านลูกค้าธุรกิจขนาดใหญ่และวาณิชธนกิจ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา กล่าวว่า ธปท.ต้องการเห็นแผนการดำเนินการ การช่วยเหลือลูกค้าเปลี่ยนผ่าน (transition) จากสีแดง สีเหลือง กระทั่งไปสู่สีเขียว โดยต้องการเห็นแผนปฏิบัติการใน 2 ส่วน คือ 1.ให้แบงก์มาดูพอร์ตสินเชื่อและกลุ่มธุรกิจที่คิดว่าจะเข้าไปช่วยธุรกิจในการเปลี่ยนผ่านไปสู่การเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งกรุงศรีฯกำลังพิจารณาเซ็กเตอร์ที่จะเข้าไปช่วยเหลือลูกค้า เช่น พลังงาน หรืออื่น ๆ
และ 2.เครื่องมือที่จะเข้ามาช่วยลูกค้าในการเปลี่ยนผ่านไปสู่ธุรกิจสีเขียว อาจจะมีหลากหลายรูปแบบ เช่น กรีนบอนด์ สินเชื่อที่เชื่อมโยงกับความยั่งยืน (sustainability-linked loan) หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ
เนื่องจากปัจจุบันลูกค้า 1 รายอาจจะมีหลายธุรกิจ และนำวงเงินไปใช้ในหลายบริษัทและหลายธุรกรรม เช่น ไปลงทุนในโซลาร์ หรือถ่านหิน ดังนั้น ข้อมูลเหล่านี้แบงก์จะต้องลงลึกและแยกรายธุรกรรมให้ได้ รวมถึงจะต้องทำข้อมูลเป็นมาตรฐานเดียวกัน หรือ one data ทั้งระบบธนาคารพาณิชย์
“ธปท.พยายามเข้ามาคุยกับแบงก์ และช่วยเหลือว่ามีปัญหา อุปสรรคอะไรบ้าง ในการช่วยเหลือลูกค้าเปลี่ยนผ่าน ซึ่งการเปลี่ยนผ่านย่อมมี transition cost ตรงนี้ใครจะเป็นคนรับภาระ ซึ่งแบงก์ก็พยายามสนับสนุนเต็มที่ และคาดว่า ธปท.ก็น่าจะมีอะไรมาช่วย อาจจะเป็นการ subsidy ชั่วคราว รวมถึง sponser ด้วย”
นายศรัณย์ ภู่พัฒน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารลูกค้าธุรกิจ ธนาคารทหารไทยธนชาต (ทีทีบี) กล่าวว่า ในเบื้องต้นเห็นว่ามีอุตสาหกรรมที่อยู่ในข่าย 5 อุตสาหกรรม โดยธนาคารอยู่ในระหว่างคัดเลือก เพื่อที่จะนำลูกค้าสู่การเปลี่ยนผ่าน โดยธนาคารมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เพื่อสร้างแรงจูงใจให้แก่ลูกค้าในโครงการที่เกี่ยวข้องกับ ESG
ทั้งนี้ ธนาคารให้ความสำคัญกับการเติบโตอย่างยั่งยืนของธุรกิจ โดยมีการกำหนด “Green and Blue Definition” ตั้งแต่ปี 2564 เพื่อเป็นแนวทางในการปล่อยสินเชื่อสีเขียวและสีฟ้า ซึ่งในปี 2565 ธนาคารได้ปล่อยสินเชื่อสีเขียวและสีฟ้าไปแล้วมากกว่า 1.3 หมื่นล้านบาท และตั้งเป้าจะปล่อยอีก 9,000 ล้านบาทในปี 2566 รวมถึงเป็นธนาคารแรกที่ออกหุ้นกู้เพื่อสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืนทางทะเล (Green and Blue Bonds) โดยในปี 2565 ออกหุ้นกู้เพื่อสิ่งแวดล้อมราว 100 ล้านดอลลาร์ และหุ้นกู้เพื่อความยั่งยืนทางทะเล อีก 50 ล้านดอลลาร์
“ทีทีบีตระหนักถึงบทบาทและหน้าที่ของธนาคารในการเป็นสถาบันการเงินที่ช่วยส่งเสริมให้ธุรกิจไปสู่ความเติบโตยั่งยืน โดยส่งเสริมการเงินที่ยั่งยืนผ่านผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย เช่น สินเชื่อสีเขียว โดยในไตรมาสที่ 3/66 ปล่อยวงเงินสินเชื่อสีเขียว 13,514 ล้านบาท มาจากสินเชื่อธุรกิจและสินเชื่อรถ EV หรือการให้ความรู้ผ่านการอบรมต่าง ๆ เป็นต้น”
ขอขอบคุณแหล่งที่มา : ประชาชาติธุรกิจ
Chairman: Mr. Suwit Indrachalerm (Bangkok Bank Public Company Limited)
Coordinator: Mr. Suphawat Maseng
Objectives: This club is established with the approval of its members to carry out corporate social responsibility (CSR) activities consistent with the operations of the Thai Bankers’ Association as follows
This will close in 500 seconds
Chairman: Ms. Suteera Sripaibulya (Bangkok Bank Public Company Limited)
Coordinator: Ms. Sampantanee Apaipan
Objectives: This club is established
This will close in 500 seconds
Chairman: Mr. Than Siripokee (Bangkok Bank Public Company Limited)
Coordinator: Ms. Supada Ruttanapong
Objectives: This club is established
This will close in 500 seconds
Chairman: Mr. Paisarn Lertkowit (Bangkok Bank Public Company Limited)
Coordinator: Ms. Kristsanee Disapad
Objectives: This club is established
This will close in 500 seconds
Chairman: Mr. Kittichai Singha (Bank of Ayudhya Public Company Limited)
Coordinatior: Ms. Chutiporn Jiranansuroj
Objectives: This club is established
This will close in 500 seconds
Chairman: Pongpichet Nananukool (Kasikorn Bank Public Company Limited)
Coordinator: Mr. Warat Attanandana
Objectives: This club is established
This will close in 500 seconds
Chairman: Mr. Kitipong Muttamara (Krungthai Bank Public Company Limited)
Coordinator: Ms. Manisa Rueangsri
Objectives: This club is established
This will close in 500 seconds
Chairman: Mr. Atis Ruchirawat Ayudhya Capital Services Co., Ltd.
Coordinator: Ms. Apsorn Suttaroj
Objectives: This club is established
This will close in 500 seconds
Acting Chairman: Mr. Settarat Na-Nakorn (Kasikorn Bank Public Company Limited)
: Ms. Suchanee.lavanavanija (Bangkok Bank Public Company Limited)
Coordinator: Ms. Monruedee Teerarungruang
Objectives: The Club is established
This will close in 500 seconds
Chairman: Mr. Thitivorn Chothayaphorn (Bank of Ayudhya Public Company Limited)
Coordinator: K. Jitti Wijitbanjong
Objectives: The Club is established
This will close in 500 seconds
Chairman: Mr. Prathin Kijjaruwankul (Kiatnakin Phatra Bank Public Company Limited)
Coordinator: Mr. Thammanun Harnprasitkam
Objectives: The Club is established
This will close in 500 seconds
Chairman: Ms. Oranuch Nampoolsuksan (Bangkok Bank Public Company Limited)
Coordinator: Ms. Roongratt Ratanarajchartikul
Objectives: The Club is established
This will close in 500 seconds
Chairman: Dr. Phacharaphot Nuntramas (Krungthai Bank Public Company Limited)
Coordinator: Dr. Chamadanai Maknual
Objectives: The Club is established
This will close in 500 seconds
Chairman: Ms. Pornvalai Kulrojseth (Krungthai Bank Public Company Limited)
Coordinator: -
Objectives: The Club is established
This will close in 500 seconds
Chairman: Ms. Puntipa Hannoraseth (Bank of Ayudhya Public Company Limited)
Coordinator: Ms. Tippawan Bannajirakul
Objectives: The Club is established
This will close in 500 seconds
Chairman: Ms. Waranee Wanrat (TMBThanachart Bank Public Company Limited)
Coordinator: Ms. Sunisa Netsawang
Objectives: The Club is established
This will close in 500 seconds
Acting Chairman: Ms. Jeerana Ramasoot (Bangkok Bank Public Company Limited)
Coordinator: Ms. Natchanok Aryukong
Objectives: The Club is established
This will close in 500 seconds
Chairman: Dr. Vasin Udomratchatavanich Bank of Ayudhya Public Company Limited
Coordinator: Ms. Manduan Aeambunapong
Objectives: The Club is established
This will close in 500 seconds
Chairman: Mr. Sant Thaosuwan (Bank of Ayudhya Public Company Limited)
Coordinator: Ms. Wasunthree Tri-utok
Objectives: The Club is established
This will close in 500 seconds
Chairman: Mr. luesak Sukasem (Krungthai Bank Public Company Limited)
Coordinator: Ms. Nipaporn Daokhanon
Objectives: The Club is established
This will close in 500 seconds
ธรรมาภิบาล(Governance) : มีระบบการกำกับดูแลกิจการที่ดี และดำเนินการกำกับดูแลได้อย่างมีประสิทธิผลในระดับคณะกรรมการ โดยกำหนดภาระและขอบเขตความรับผิดชอบที่ชัดเจนในระดับการจัดการในเรื่องที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล
This will close in 500 seconds
ยุทธศาสตร์ (Strategy) : บูรณาการพันธกิจด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล เข้ากับยุทธศาสตร์การดำเนินธุรกิจและกำหนดกรอบด้านการเงินที่ยั่งยืน โดยสนับสนุนเพื่อให้ประเทศสามารถเปลี่ยนผ่านไปสู่เป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ได้อย่างราบรื่น
This will close in 500 seconds
การบริหารความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อม สังคมและธรรมาภิบาล (ESG Risk Management) : ผนวกรวมประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล ไว้ในกระบวนการบริหารความเสี่ยง
This will close in 500 seconds
ผลิตภัณฑ์ทางการเงิน(Financial Products) : ปรับใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อส่งเสริมการเข้าถึงบริการทางการเงิน รวมทั้งนวัตกรรมทางการเงินที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและยั่งยืน
This will close in 500 seconds
การสื่อสาร (Communication) : สื่อสารและประสานความร่วมมือกับผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วนในการสร้างจิตสำนึกสาธารณะด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล
This will close in 500 seconds
การเปิดเผยข้อมูลทางการเงิน (Disclosure) : พัฒนาระบบการติดตามและการรายงานที่สอดคล้องกับกรอบการกำกับดูแลของประเทศไทยและมาตรฐานการเปิดเผยข้อมูลด้านความยั่งยืนในระดับสากล
This will close in 500 seconds
3 เรื่องต้องรู้ก่อนเข้าร่วมมาตรการปิดจบ หนี้เรื้อรัง
**สามารถขอออกจากมาตรการได้ แต่จะไม่ได้รับสิทธิแก้หนี้ตามเงื่อนไขเดิม**
3 เรื่องต้องรู้ หากจ่ายขั้นต่ำบัตรกดเงินสดนาน ๆ
แบบไหนเข้าข่ายปัญหาหนี้เรื้อรัง (Persistent Debt - PD)
1. แม้ภาระต่อเดือนไม่สูง แต่ใช้เวลานาน กว่าจะหมดหนี้
2. ยอดขั้นต่ำที่จ่ายแต่ละเดือนเป็นดอกเบี้ยมากกว่าเงินต้น
3. เมื่อผ่อนจบพบว่ายอดรวมที่จ่ายไปส่วนใหญ่คือ ดอกเบี้ย
อยากหมดหนี้ไว ㆍจ่ายดอกเบี้ยลดลง ㆍ ภาระต่อเดือนไม่เพิ่มจากเดิม
เลือกเข้ามาตรการปิดจบหนี้เรื้อรังได้ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป
หมายเหตุ : ลูกหนี้ที่เข้าข่ายเป็นหนี้รื้อร้ง จะได้รับการติดต่อจากเจ้าหนี้ โดยหาก 5 ปีที่ผ่านมา ลูกหนี้จ่ายดอกเบี้ยรวมมากกว่าเงินต้นรวม จะได้รับข้อเสนอปิดจบหนี้ภายใน 5 ปี ดอกเบี้ยไม่เกิน 15% ต่อปี
ตัวอย่าง
ใช้บัตรกดเงินสด
วงเงินหมุนเวียน 15,000 บาท
ผ่อนขั้นต่ำ (3%) มาแล้ว 5 ปี
เหลือจ่ายเงินต้นอีก 8,700 บาท
ทางเลือกที่ 1 : ผ่อนขั้นต่ำต่อไปจนครบ ดอกเบี้ย 25% ต่อปี ผ่อนต่ออีก 13 ปี 5 เดือน
เหลือจ่ายดอกเบี้ยอีก 14,000 บาท
ดอกเบี้ยรวมทั้งสัญญา 29,000 บาท
ทางเลือกที่ 2 : เข้าโครงการแก้หนี้เรื้อรัง ดอกเบี้ย 15% ต่อปี ผ่อนต่ออีก 3 ปี 6 เดือน (เดือนละ 260 บาท)
เหลือจ่ายดอกเบี้ยอีก 2,500 บาท
ดอกเบี้ยรวมทั้งสัญญา 17,500 บาท
*ประหยัดดอกเบี้ยได้ 11,500 บาท*
หมายเหตุ: ผ่อนเดือนละ 260 บาท เท่ากับยอดการผ่อนขั้นต่ำ ณ เดือนสุดท้ายของปีที่ 5 ก่อนเข้าโครงการ
ตอบข้อสงสัย มาตรการปิดจบหนี้เรื้อรัง
(1) ทำไมมาตรการปิดจบหนี้เรื้อรัง ไม่รวมหนี้บัตรเครดิต?
(2) ทำไมต้องมีเงื่อนไขปิดวงเงินหากเข้าร่วมมาตรการปิดจบหนี้เรื้อรัง
(3) การเข้ามาตรการปิดจบหนี้เรื้อรัง จะมีการรายงานข้อมูลในเครดิตบูโร (NCB) หรือไม่
ทำไมมาตรการปิดจบหนี้เรื้อรัง ไม่รวมหนี้บัตรเครดิต?
เพราะหนี้บัตรเครดิตมี (1) อัตราดอกเบี้ย และ (2) เงื่อนไขการผ่อนชำระที่ทำให้ไม่เข้าข่ายหนี้เรื้อรังที่จ่ายดอกเบี้ยมากกว่าเงินต้นและใช้เวลานานในการปิดจบ
ลูกหนี้บัตรเครดิตจ่ายขั้นต่ำที่ 8% ทำให้จ่ายชำระเงินต้นมากกว่าดอกเบี้ย ลูกหนี้สามารถปิดจบหนี้ได้ภายในระยะเวลาไม่นานนัก
บัตรกดเงินสดมักจ่ายขั้นต่ำที่ 3% และดอกเบี้ยส่วนใหญ่อยู่ที่ 25% ต่อปี ซึ่งจะทำให้ ตัดจ่ายดอกเบี้ย 2% และตัดเงินต้นเพียง 1%
ทำไมต้องมีเงื่อนไขปิดวงเงินหากเข้าร่วมมาตรการปิดจบหนี้เรื้อรัง
เงื่อนไขการปิดวงเงินจะช่วยให้ลูกหนี้มีวินัยทางการเงินเพิ่มขึ้นและสามารถปิดจบหนี้ได้ภายใน 5 ปี
อย่างไรก็ดี กรณีลูกหนี้ที่เข้ามาตรการฯ มีความจำเป็นฉุกเฉิน เช่น เจ็บป่วย ได้รับอุบัติเหตุ ตกงาน ผู้ให้บริการอาจพิจารณาให้สินเชื่อได้ หากลูกหนี้มีความสามารถในการชำระหนี้เพียงพอ ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับนโยบายและเงื่อนไขของผู้ให้บริการแต่ละแห่ง
กรณีลูกหนี้มีบัตรกดเงินสดมากกว่า 1 ใบ สามารถเลือกเข้าโครงการแค่บางบัตร และเก็บวงเงินบัตรกดเงินสดที่เหลือไว้ก่อนได้
การเข้ามาตรการปิดจบหนี้เรื้อรัง จะมีการรายงานข้อมูลในเครดิตบูโร (NCB) หรือไม่
จะมีการรายงานข้อมูลใน NCB โดยเพิ่มการรายงานประเภทของสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้ "รหัส (code) 03" โดยจะไม่กระทบสถานะบัญชีลูกหนี้ที่ยังเป็น 10-ปกติ เช่นเดิมทั้งนี้ การรายงานนี้ จะช่วยให้ผู้ให้บริการทราบถึงการเข้าโครงการซึ่งสะท้อนความตั้งใจที่ดีในการแก้ปัญหาหนี้ของลูกหนี้
มาตรการปิดจบหนี้เรื้อรัง..ช่วยเหลือลูกหนี้อย่างไร?
ถ้าได้รับแจ้งเตือนว่าเป็นลูกหนี้เรื้อรัง (severe PD) จะได้รับข้อเสนอให้สมัครเข้าร่วมมาตรการเพื่อปิดจบหนี้ ซึ่งจะได้รับประโยชน์จากการเข้าร่วมมาตรการ ดังนี้
** สำหรับลูกหนี้ที่เริ่มเรื้อรัง (general PD) ให้รีบติดต่อเจ้าหนี้หากต้องการแก้หนี้ เจ้าหนี้จะมีแนวทางให้ความช่วยเหลือที่เหมาะสมเป็นรายกรณี **
การแจ้งเตือนเมื่อเข้าข่ายลูกหนี้เรื้อรัง
ความถี่การแจ้งเตือนจากเจ้าหนี้
ช่องทางการแจ้งเตือน
โดยลูกหนี้เรื้อรังจะได้รับข้อเสนอแนวทางการปิดจบหนี้จากเจ้าหนี้ด้วย
หนี้เรื้อรัง คืออะโร.. แค่ไหนที่เรียกว่าเรื้อรัง?
แบบไหนเข้าข่ายปัญหาหนี้เรื้อรัง (Persistent Debt - PD)
ลูกหนี้เรื้อรัง 2 แบบ
1. เริ่มเป็นหนี้เรื้อรัง (general PD)
2. เป็นหนี้เรื้อรัง (severe PD)
** ธปท. กำหนดเกณฑ์รายได้ เพื่อมุ่งให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ที่เดือดร้อนที่สุดก่อน โดยพิจารณาความเรื้อรังและรายได้ที่ไม่สูงมากของลูกหนี้ **
ทวงหนี้อย่างเป็นธรรม ต้องแจ้งข้อมูลสำคัญอะไรบ้าง
เจ้าหนี้จะต้องแจ้งรายละเอียดของภาระหนี้พร้อมข้อมูลสำคัญอื่น ๆ แก่ลูกหนี้ให้ครบถ้วน เช่น
และห้ามเรียกให้ผู้ค้ำประกันชำระหนี้ก่อน ยกเว้น ลูกหนี้ล้มละลายหรือติดต่อไม่ได้
#ResponsibleLending #แก้หนี้ยั่งยืน #เจ้าหนี้รับผิดชอบ #ลูกหนี้มีวินัย
มีหนี้กับหลายเจ้าหนี้จะทำอย่างไร?
เคยปรับโครงสร้างหนี้แล้วขอปรับซ้ำได้ไหม?
หมายเหตุ: เกณฑ์ Responsible Lending ลูกหนี้มีสิทธิขอปรับโครงสร้างหนี้ ก่อนเป็นหนี้เสีย อย่างน้อย 1 ครั้ง และหลังเป็นหนี้เสีย อย่างน้อย 1 ครั้ง โดยนับรวมการปรับโครงสร้างหนี้ก่อน 1 ม.ค. 67
สัญญาณปัญหาหนี้
สัญญาณว่าลูกหนี้กำลังมีปัญหา เช่น จ่ายขั้นต่ำ จ่ายช้า กดบัตรเงินสดมาจ่ายคืนหนี้อื่น รายได้ไม่พอรายจ่าย ถ้าเห็นสัญญาณแบบนี้ไปคุยกับเจ้าหนี้ได้เลย !!
หมายเหตุ: สนใจติดต่อ Call center และสาขาของธนาคารที่ท่านใช้บริการ
ปิดหนี้ก่อนกำหนดได้ ไม่ต้องจ่าย Prepayment fee
Prepayment fee คือ ค่าปรับจากการไถ่ถอนสินเชื่อก่อนกำหนด
ธปท. ห้ามเรียกเก็บ prepayment fee ในสินเชื่อภายใต้กำกับของ ธปท. ดังนี้