ปปง. เผยไทยประเทศเดียวในโลก ชื่อซิม-โมบายแบงก์กิ้งไม่ตรงกัน หลัง ต.ค. แจ้งเตือนผ่านแอปฯธนาคารเท่านั้น มีความจำเป็น 4 กลุ่ม ได้รับข้อยกเว้น ใช้หลักฐาน เหตุผลชี้แจง
พล.ต.ต. เอกรักษ์ ลิ้มสังกาศ รองเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) ได้ให้สัมภาษณ์กับฐานเศรษฐกิจ ผ่านรายการ "ฐานทอล์ค" ออกอากาศทางช่องเนชั่นทีวี 22 ว่า ประเทศไทยเป็นประเทศเดียวในโลก ที่อนุญาตให้ชื่อบัญชีโมบายแบงก์กิ้ง กับชื่อผู้ลงทะเบียนซิมการ์ดเป็นคนละคนกันได้
นี่จึงเป็นช่องโหว่ให้มิจฉาชีพใช้ก่ออาชญากรรม จึงเป็นที่มาของการตรวจสอบให้ชื่อซิมการ์ด และชื่อบัญชีโมบายแบงก์กิ้งจะต้องเป็นชื่อเดียวกัน ซึ่งแนวความคิดดังกล่าวนี้เกิดขึ้นมาตั้งแต่ช่วงปลายปีที่แล้ว แต่ข้อจำกัดของการตรวจสอบบัญชีกว่า 100 ล้านเลขหมายนั้น ผู้ให้บริการและ กสทช. ไม่ได้มีการออกแบบระบบมาเพื่อการตรวจสอบสิ่งเหล่านี้ แต่ออกแบบระบบมาเพื่อให้บริการและอำนวยความสะดวกแก่ลูกค้า
จากการประสานงานกับผู้ให้บริการทราบว่า สามารถตรวจสอบได้ 300,000 เลขหมายต่อเดือน ซึ่งไม่สามารถรอให้ฝ่ายผู้ให้บริการเป็นผู้ตรวจสอบได้ เนื่องจากต้องใช้เวลามากถึง 29ปี จึงสามารถตรวจสอบได้ครบทั้ง 100 กว่าเลขหมาย
ดังนั้นทั้ง กสทช. ผู้ให้บริการ ธนาคารแห่งประเทศไทย กระทรวงดีอี และ ปปง.จึงได้หารือร่วมกันเพื่อออกแบบระบบที่สามารถตรวจสอบให้แล้วเสร็จได้ภายใน 120 วัน โดยต้องให้คณะกรรมการตามกฎหมาย PDPA อนุมัติให้ ปปง.เป็นหน่วยงานเจ้าภาพในการดำเนินมาตรการนี้
จากนั้น ปปง.จะให้ทุกธนาคารที่มีข้อมูลโมบายแบงก์กิ้งส่งข้อมูลมายัง ปปง. โดยมีการเข้ารหัส 2ชั้นเพื่อป้องกันการรั่วไหลของข้อมูล ในประมาณเดือนมิถุนายน ปปง.จะส่งข้อมูลต่อไปยัง กสทช.โดยแยกเป็นรายธนาคาร เมื่อ กสทช.ได้รับแล้ว จะนำออกมาแยกเป็นรายค่าย แล้วส่งให้ผู้ให้บริการแต่ละค่ายทำการตรวจสอบ หากพบว่าบัญชีใดที่หมายเลขบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ใช้ซิมการ์ด และโมบายแบงก์กิ้งไม่ตรงกัน ก็จะถูกส่งข้อมูลกลับมายัง กสทช. จากนั้น กสทช.จะส่งกลับมาให้ ปปง.เพื่อส่งต่อไปยังธนาคารเจ้าของข้อมูล
สำหรับขั้นตอนการแจ้งไปยังเจ้าของบัญชีเพื่อแก้ไข หรือชี้แจงให้ถูกต้องนั้นคาดว่าจะมีขึ้นหลัง 120วัน นับจากวันที่ 27 พฤษภาคม 2567 หรือช่วงเดือนตุลาคมเป็นต้นไป โดยธนาคารจะแจ้งผ่านกล่องข้อความในโมบายแบงก์กิ้งเท่านั้น จะไม่มีการส่งข้อความ SMS หรือโทรศัพท์แจ้งเตือนทั้งสิ้น หากมีการแจ้งผ่าน 2 ช่องทางนี้คือมิจฉาชีพล้านเปอร์เซ็นต์
โดยกลุ่มที่ไม่สามารถเปลี่ยนชื่อซิมได้ และได้รับการยกเว้นมีดังนี้
กลุ่มที่ 1 คนในครอบครัวเดียวกัน เป็นพ่อแม่ลูก นามสกุลเดียวกัน ,เป็นญาติพี่น้อง และมีความจำเป็นไปชี้แจงต่อธนาคาร หากเป็นสามีภรรยาจะต้องจดทะเบียนสมรสเท่านั้น
กลุ่มที่ 2 ผู้ต้องได้รับการดูแลตามคำสั่งศาล เช่นผู้อนุบาล ผู้ไร้ความสามารถ เป็นต้น ให้นำคำสั่งศาลไปประกอบการชี้แจง
กลุ่มที่ 3 บริษัท องค์กรที่มีเบอร์โทรศัพท์ให้พนักงานใช้ โดยบริษัทต้องออกหนังสือยืนยันเพื่อให้เจ้าของบัญชีนำไปชี้แจงต่อธนาคาร
กลุ่มที่ 4 กลุ่มที่ธนาคารพิจารณาแล้วมีความเสี่ยงต่ำ และยังมีความจำเป็นต้องยกเว้น ซึ่งในขณะนี้อยู่ระหว่างการวางแนวทางในกลุ่มนี้
สำหรับความเป็นมาของมาตรการดังกล่าว รัฐบาล และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องใช้ความพยายามในการแก้ปัญหาอาชญากรรมออนไลน์ แก๊งคอลเซ็นเตอร์มาแล้วไม่ต่ำกว่า 3-4 ปี โดยในช่วงแรกเน้นการจับกุมปราบปราม มีการตั้งกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บก.ปอท.) แต่ก็ไม่ได้ทำให้จำนวนคดีลดลง ยังคงปรากฏว่ามีประชาชนจำนวนมากถูกหลอกลวง ได้รับความเดือดร้อนเสียหาย
จากนั้นเมื่อ 17 มีนาคม 2566 ได้มีการออกพ.ร.ก.มาตรการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี พ.ศ. 2566 ก็ยังไม่ทำให้จำนวนคดีลดลง ต่อมา 1 พฤศจิกายน 2566 ได้เปิดศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขปัญหาอาชญากรรมออนไลน์ (Anti Online Scam Operation Center : AOC ) หรือ AOC 1441 ให้บริการ 24 ช.ม. เป็นกระบวนการรับคำร้องทุกข์เพื่อให้ได้เบาะแสดำเนินคดีกับคนร้าย
สถิติคดีที่เกิดจากอาชญากรรมออนไลน์อยู่ที่เฉลี่ย 400 คดีต่อวัน มูลค่าความเสียหาย 100-150 ล้านบาทต่อวัน เฉลี่ยความเสียหายที่เกิดจากอาชญากรรมทางเทคโนโลยีอยู่ที่เฉลี่ย 4,000 ล้านบาทต่อเดือน หรือ 50,000 ล้านบาทต่อปี โดยคนร้ายสามารถโอนเงินจากบัญชีม้าแถว 1 ไปยังบัญชีม้าแถว 3 ในเวลาเพียง 6 นาที
ดังนั้นการใช้วิธีจับกุมปราบปรามอย่างเดียวจึงไม่เพียงพอต่อการแก้ปัญหา เนื่องจากเมื่อเจ้าหน้าที่ตำรวจติดตามจับกุมบัญชีม้าเหล่านี้ได้ เจ้าของบัญชีมักอ้างว่าไม่รู้เรื่อง หรือถูกหลอกให้เปิดบัญชี กระทั่งมีความจำเป็นทางเศรษฐกิจต้องขายบัญชีไป ซึ่งเมื่อติดตามไปยังชื่อเจ้าของซิมการ์ดก้ได้รับคำตอบว่าไม่รู้เรื่องเช่นเดียวกัน จึงทำให้เบาะแสการจับกุมคนร้ายขาดช่วงไปเพราะบัญชีม้า มาเจอกับซิมผี ทำให้ความเสียหายที่เกิดขึ้นไม่สามารถติดตามกลับมาได้ ปัจจุบันมีสถิติการรับแจ้งความออนไลน์ จาก https://thaipoliceonline.go.th อย่างไม่เป็นทางการอยู่ประมาณ 500,000 คดี (ไม่รวมคดีไม่ได้รับสินค้าจากการสั่งซื้อทางออนไลน์)
จากการที่ปปง.นำชื่อผู้ต้องหาในคดีมาประกาศในระบบ HR03 หรือรายชื่อบุคคลที่มีความเสี่ยงสูงซึ่งควรได้รับการเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิดตามกฎกระทรวงการตรวจสอบเพื่อทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับลูกค้า พ.ศ. 2563 มีจำนวน 30,000 กว่าคน ในระยะเวลา 8เดือน สามารถปิดบัญชีได้กว่า 300,000 บัญชี อายัดเงินในระบบได้ประมาณ 1,000 ล้านบาท ซึ่งเป็นเงินค้างท่อที่อายัดไว้แล้วคนร้ายไม่สามารถถอนได้ทัน
เมื่อประสิทธิภาพของการปราบปรามไม่สามารถทำให้การก่ออาชญากรรมทางเทคโนโลยีลดลง จึงนำมาสู่การพิจารณางานป้องกันเพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้ยังมีการพูดคุยกับธนาคารแห่งประเทศไทย และสมาคมธนาคารในการวางมาตรการ ไม่ให้ใครก็ได้มาเปิดบัญชีได้ ยิ่งกรณีที่มีบัญชีธนาคารอยู่เป็นจำนวนมากต้องชี้แจงให้ได้ว่ามีความจำเป็นอะไรที่จะต้องเปิดบัญชีเพิ่ม
ขอขอบคุณแหล่งที่มา : ฐานเศรษฐกิจ
Chairman: Mr. Suwit Indrachalerm (Bangkok Bank Public Company Limited)
Coordinator: Mr. Suphawat Maseng
Objectives: This club is established with the approval of its members to carry out corporate social responsibility (CSR) activities consistent with the operations of the Thai Bankers’ Association as follows
This will close in 500 seconds
Chairman: Ms. Suteera Sripaibulya (Bangkok Bank Public Company Limited)
Coordinator: Ms. Sampantanee Apaipan
Objectives: This club is established
This will close in 500 seconds
Chairman: Mr. Than Siripokee (Bangkok Bank Public Company Limited)
Coordinator: Ms. Supada Ruttanapong
Objectives: This club is established
This will close in 500 seconds
Chairman: Mr. Paisarn Lertkowit (Bangkok Bank Public Company Limited)
Coordinator: Ms. Kristsanee Disapad
Objectives: This club is established
This will close in 500 seconds
Chairman: Mr. Kittichai Singha (Bank of Ayudhya Public Company Limited)
Coordinatior: Ms. Chutiporn Jiranansuroj
Objectives: This club is established
This will close in 500 seconds
Chairman: Pongpichet Nananukool (Kasikorn Bank Public Company Limited)
Coordinator: Mr. Warat Attanandana
Objectives: This club is established
This will close in 500 seconds
Chairman: Mr. Kitipong Muttamara (Krungthai Bank Public Company Limited)
Coordinator: Ms. Manisa Rueangsri
Objectives: This club is established
This will close in 500 seconds
Chairman: Mr. Atis Ruchirawat Ayudhya Capital Services Co., Ltd.
Coordinator: Ms. Apsorn Suttaroj
Objectives: This club is established
This will close in 500 seconds
Acting Chairman: Mr. Settarat Na-Nakorn (Kasikorn Bank Public Company Limited)
: Ms. Suchanee.lavanavanija (Bangkok Bank Public Company Limited)
Coordinator: Ms. Monruedee Teerarungruang
Objectives: The Club is established
This will close in 500 seconds
Chairman: Mr. Thitivorn Chothayaphorn (Bank of Ayudhya Public Company Limited)
Coordinator: K. Jitti Wijitbanjong
Objectives: The Club is established
This will close in 500 seconds
Chairman: Mr. Prathin Kijjaruwankul (Kiatnakin Phatra Bank Public Company Limited)
Coordinator: Mr. Thammanun Harnprasitkam
Objectives: The Club is established
This will close in 500 seconds
Chairman: Ms. Oranuch Nampoolsuksan (Bangkok Bank Public Company Limited)
Coordinator: Ms. Roongratt Ratanarajchartikul
Objectives: The Club is established
This will close in 500 seconds
Chairman: Dr. Phacharaphot Nuntramas (Krungthai Bank Public Company Limited)
Coordinator: Dr. Chamadanai Maknual
Objectives: The Club is established
This will close in 500 seconds
Chairman: Ms. Pornvalai Kulrojseth (Krungthai Bank Public Company Limited)
Coordinator: -
Objectives: The Club is established
This will close in 500 seconds
Chairman: Ms. Puntipa Hannoraseth (Bank of Ayudhya Public Company Limited)
Coordinator: Ms. Tippawan Bannajirakul
Objectives: The Club is established
This will close in 500 seconds
Chairman: Ms. Waranee Wanrat (TMBThanachart Bank Public Company Limited)
Coordinator: Ms. Sunisa Netsawang
Objectives: The Club is established
This will close in 500 seconds
Acting Chairman: Ms. Jeerana Ramasoot (Bangkok Bank Public Company Limited)
Coordinator: Ms. Natchanok Aryukong
Objectives: The Club is established
This will close in 500 seconds
Chairman: Dr. Vasin Udomratchatavanich Bank of Ayudhya Public Company Limited
Coordinator: Ms. Manduan Aeambunapong
Objectives: The Club is established
This will close in 500 seconds
Chairman: Mr. Sant Thaosuwan (Bank of Ayudhya Public Company Limited)
Coordinator: Ms. Wasunthree Tri-utok
Objectives: The Club is established
This will close in 500 seconds
Chairman: Mr. luesak Sukasem (Krungthai Bank Public Company Limited)
Coordinator: Ms. Nipaporn Daokhanon
Objectives: The Club is established
This will close in 500 seconds
ธรรมาภิบาล(Governance) : มีระบบการกำกับดูแลกิจการที่ดี และดำเนินการกำกับดูแลได้อย่างมีประสิทธิผลในระดับคณะกรรมการ โดยกำหนดภาระและขอบเขตความรับผิดชอบที่ชัดเจนในระดับการจัดการในเรื่องที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล
This will close in 500 seconds
ยุทธศาสตร์ (Strategy) : บูรณาการพันธกิจด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล เข้ากับยุทธศาสตร์การดำเนินธุรกิจและกำหนดกรอบด้านการเงินที่ยั่งยืน โดยสนับสนุนเพื่อให้ประเทศสามารถเปลี่ยนผ่านไปสู่เป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ได้อย่างราบรื่น
This will close in 500 seconds
การบริหารความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อม สังคมและธรรมาภิบาล (ESG Risk Management) : ผนวกรวมประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล ไว้ในกระบวนการบริหารความเสี่ยง
This will close in 500 seconds
ผลิตภัณฑ์ทางการเงิน(Financial Products) : ปรับใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อส่งเสริมการเข้าถึงบริการทางการเงิน รวมทั้งนวัตกรรมทางการเงินที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและยั่งยืน
This will close in 500 seconds
การสื่อสาร (Communication) : สื่อสารและประสานความร่วมมือกับผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วนในการสร้างจิตสำนึกสาธารณะด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล
This will close in 500 seconds
การเปิดเผยข้อมูลทางการเงิน (Disclosure) : พัฒนาระบบการติดตามและการรายงานที่สอดคล้องกับกรอบการกำกับดูแลของประเทศไทยและมาตรฐานการเปิดเผยข้อมูลด้านความยั่งยืนในระดับสากล
This will close in 500 seconds
3 เรื่องต้องรู้ก่อนเข้าร่วมมาตรการปิดจบ หนี้เรื้อรัง
**สามารถขอออกจากมาตรการได้ แต่จะไม่ได้รับสิทธิแก้หนี้ตามเงื่อนไขเดิม**
3 เรื่องต้องรู้ หากจ่ายขั้นต่ำบัตรกดเงินสดนาน ๆ
แบบไหนเข้าข่ายปัญหาหนี้เรื้อรัง (Persistent Debt - PD)
1. แม้ภาระต่อเดือนไม่สูง แต่ใช้เวลานาน กว่าจะหมดหนี้
2. ยอดขั้นต่ำที่จ่ายแต่ละเดือนเป็นดอกเบี้ยมากกว่าเงินต้น
3. เมื่อผ่อนจบพบว่ายอดรวมที่จ่ายไปส่วนใหญ่คือ ดอกเบี้ย
อยากหมดหนี้ไว ㆍจ่ายดอกเบี้ยลดลง ㆍ ภาระต่อเดือนไม่เพิ่มจากเดิม
เลือกเข้ามาตรการปิดจบหนี้เรื้อรังได้ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป
หมายเหตุ : ลูกหนี้ที่เข้าข่ายเป็นหนี้รื้อร้ง จะได้รับการติดต่อจากเจ้าหนี้ โดยหาก 5 ปีที่ผ่านมา ลูกหนี้จ่ายดอกเบี้ยรวมมากกว่าเงินต้นรวม จะได้รับข้อเสนอปิดจบหนี้ภายใน 5 ปี ดอกเบี้ยไม่เกิน 15% ต่อปี
ตัวอย่าง
ใช้บัตรกดเงินสด
วงเงินหมุนเวียน 15,000 บาท
ผ่อนขั้นต่ำ (3%) มาแล้ว 5 ปี
เหลือจ่ายเงินต้นอีก 8,700 บาท
ทางเลือกที่ 1 : ผ่อนขั้นต่ำต่อไปจนครบ ดอกเบี้ย 25% ต่อปี ผ่อนต่ออีก 13 ปี 5 เดือน
เหลือจ่ายดอกเบี้ยอีก 14,000 บาท
ดอกเบี้ยรวมทั้งสัญญา 29,000 บาท
ทางเลือกที่ 2 : เข้าโครงการแก้หนี้เรื้อรัง ดอกเบี้ย 15% ต่อปี ผ่อนต่ออีก 3 ปี 6 เดือน (เดือนละ 260 บาท)
เหลือจ่ายดอกเบี้ยอีก 2,500 บาท
ดอกเบี้ยรวมทั้งสัญญา 17,500 บาท
*ประหยัดดอกเบี้ยได้ 11,500 บาท*
หมายเหตุ: ผ่อนเดือนละ 260 บาท เท่ากับยอดการผ่อนขั้นต่ำ ณ เดือนสุดท้ายของปีที่ 5 ก่อนเข้าโครงการ
ตอบข้อสงสัย มาตรการปิดจบหนี้เรื้อรัง
(1) ทำไมมาตรการปิดจบหนี้เรื้อรัง ไม่รวมหนี้บัตรเครดิต?
(2) ทำไมต้องมีเงื่อนไขปิดวงเงินหากเข้าร่วมมาตรการปิดจบหนี้เรื้อรัง
(3) การเข้ามาตรการปิดจบหนี้เรื้อรัง จะมีการรายงานข้อมูลในเครดิตบูโร (NCB) หรือไม่
ทำไมมาตรการปิดจบหนี้เรื้อรัง ไม่รวมหนี้บัตรเครดิต?
เพราะหนี้บัตรเครดิตมี (1) อัตราดอกเบี้ย และ (2) เงื่อนไขการผ่อนชำระที่ทำให้ไม่เข้าข่ายหนี้เรื้อรังที่จ่ายดอกเบี้ยมากกว่าเงินต้นและใช้เวลานานในการปิดจบ
ลูกหนี้บัตรเครดิตจ่ายขั้นต่ำที่ 8% ทำให้จ่ายชำระเงินต้นมากกว่าดอกเบี้ย ลูกหนี้สามารถปิดจบหนี้ได้ภายในระยะเวลาไม่นานนัก
บัตรกดเงินสดมักจ่ายขั้นต่ำที่ 3% และดอกเบี้ยส่วนใหญ่อยู่ที่ 25% ต่อปี ซึ่งจะทำให้ ตัดจ่ายดอกเบี้ย 2% และตัดเงินต้นเพียง 1%
ทำไมต้องมีเงื่อนไขปิดวงเงินหากเข้าร่วมมาตรการปิดจบหนี้เรื้อรัง
เงื่อนไขการปิดวงเงินจะช่วยให้ลูกหนี้มีวินัยทางการเงินเพิ่มขึ้นและสามารถปิดจบหนี้ได้ภายใน 5 ปี
อย่างไรก็ดี กรณีลูกหนี้ที่เข้ามาตรการฯ มีความจำเป็นฉุกเฉิน เช่น เจ็บป่วย ได้รับอุบัติเหตุ ตกงาน ผู้ให้บริการอาจพิจารณาให้สินเชื่อได้ หากลูกหนี้มีความสามารถในการชำระหนี้เพียงพอ ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับนโยบายและเงื่อนไขของผู้ให้บริการแต่ละแห่ง
กรณีลูกหนี้มีบัตรกดเงินสดมากกว่า 1 ใบ สามารถเลือกเข้าโครงการแค่บางบัตร และเก็บวงเงินบัตรกดเงินสดที่เหลือไว้ก่อนได้
การเข้ามาตรการปิดจบหนี้เรื้อรัง จะมีการรายงานข้อมูลในเครดิตบูโร (NCB) หรือไม่
จะมีการรายงานข้อมูลใน NCB โดยเพิ่มการรายงานประเภทของสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้ "รหัส (code) 03" โดยจะไม่กระทบสถานะบัญชีลูกหนี้ที่ยังเป็น 10-ปกติ เช่นเดิมทั้งนี้ การรายงานนี้ จะช่วยให้ผู้ให้บริการทราบถึงการเข้าโครงการซึ่งสะท้อนความตั้งใจที่ดีในการแก้ปัญหาหนี้ของลูกหนี้
มาตรการปิดจบหนี้เรื้อรัง..ช่วยเหลือลูกหนี้อย่างไร?
ถ้าได้รับแจ้งเตือนว่าเป็นลูกหนี้เรื้อรัง (severe PD) จะได้รับข้อเสนอให้สมัครเข้าร่วมมาตรการเพื่อปิดจบหนี้ ซึ่งจะได้รับประโยชน์จากการเข้าร่วมมาตรการ ดังนี้
** สำหรับลูกหนี้ที่เริ่มเรื้อรัง (general PD) ให้รีบติดต่อเจ้าหนี้หากต้องการแก้หนี้ เจ้าหนี้จะมีแนวทางให้ความช่วยเหลือที่เหมาะสมเป็นรายกรณี **
การแจ้งเตือนเมื่อเข้าข่ายลูกหนี้เรื้อรัง
ความถี่การแจ้งเตือนจากเจ้าหนี้
ช่องทางการแจ้งเตือน
โดยลูกหนี้เรื้อรังจะได้รับข้อเสนอแนวทางการปิดจบหนี้จากเจ้าหนี้ด้วย
หนี้เรื้อรัง คืออะโร.. แค่ไหนที่เรียกว่าเรื้อรัง?
แบบไหนเข้าข่ายปัญหาหนี้เรื้อรัง (Persistent Debt - PD)
ลูกหนี้เรื้อรัง 2 แบบ
1. เริ่มเป็นหนี้เรื้อรัง (general PD)
2. เป็นหนี้เรื้อรัง (severe PD)
** ธปท. กำหนดเกณฑ์รายได้ เพื่อมุ่งให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ที่เดือดร้อนที่สุดก่อน โดยพิจารณาความเรื้อรังและรายได้ที่ไม่สูงมากของลูกหนี้ **
ทวงหนี้อย่างเป็นธรรม ต้องแจ้งข้อมูลสำคัญอะไรบ้าง
เจ้าหนี้จะต้องแจ้งรายละเอียดของภาระหนี้พร้อมข้อมูลสำคัญอื่น ๆ แก่ลูกหนี้ให้ครบถ้วน เช่น
และห้ามเรียกให้ผู้ค้ำประกันชำระหนี้ก่อน ยกเว้น ลูกหนี้ล้มละลายหรือติดต่อไม่ได้
#ResponsibleLending #แก้หนี้ยั่งยืน #เจ้าหนี้รับผิดชอบ #ลูกหนี้มีวินัย
มีหนี้กับหลายเจ้าหนี้จะทำอย่างไร?
เคยปรับโครงสร้างหนี้แล้วขอปรับซ้ำได้ไหม?
หมายเหตุ: เกณฑ์ Responsible Lending ลูกหนี้มีสิทธิขอปรับโครงสร้างหนี้ ก่อนเป็นหนี้เสีย อย่างน้อย 1 ครั้ง และหลังเป็นหนี้เสีย อย่างน้อย 1 ครั้ง โดยนับรวมการปรับโครงสร้างหนี้ก่อน 1 ม.ค. 67