วันที่ 27 กันยายน 2566 ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) Google ประเทศไทย และศูนย์ประสานงานด้านความมั่นคงปลอดภัยเทคโนโลยีสารสนเทศภาคการธนาคาร ภายใต้สมาคมธนาคารไทย (TB-CERT) ร่วมกันจัดแคมเปญ #31Days31Tips ที่จะนำเสนอคอนเทนต์ความรู้ด้านดิจิทัลและเคล็ดลับความปลอดภัยบนโลกออนไลน์ในรูปแบบต่างๆ ผ่านช่องทางโซเชียลมีเดียของแต่ละองค์กรตลอดเดือนตุลาคมนี้ ซึ่งเป็นเดือนแห่งการสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ (Cybersecurity Awareness Month) เพื่อเพิ่มการมีส่วนร่วมและการแบ่งปันความรู้ความเข้าใจ ซึ่งจะช่วยให้คนไทยมีภูมิคุ้มกันทางไซเบอร์และใช้เทคโนโลยีออนไลน์ได้อย่างปลอดภัย
ปัจจุบัน กลโกงบนโลกออนไลน์ยังคงเป็นปัญหาที่คนไทยยังต้องเผชิญอย่างต่อเนื่อง จากข้อมูลของกองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี พบว่ากลโกงของมิจฉาชีพมีหลากหลายรูปแบบ และที่พบบ่อย ได้แก่ หลอกซื้อขายสินค้าหรือบริการ หลอกให้โอนเงินเพื่อทำงาน หลอกให้กู้เงิน และหลอกให้ลงทุน เป็นต้น ซึ่งมีมูลค่าความเสียหายจากการถูกหลอกลวงกว่า 9 พันล้านบาท ในช่วง 5 เดือนที่ผ่านมา (17 มีนาคม - 25 สิงหาคม 2566) โดยความร่วมมือในครั้งนี้จะช่วยทำให้การเตือนภัยทางออนไลน์สามารถเข้าถึงประชาชนในวงกว้างขึ้น ผ่านเนื้อหาข้อมูลที่ถูกต้อง เป็นประโยชน์ และเข้าใจง่าย อยู่ในรูปแบบที่สามารถแบ่งปันผ่านช่องทางโซเชียลมีเดียที่หลายหลากได้ เพื่อให้ความปลอดภัยบนโลกออนไลน์เป็นสิ่งที่ไม่ไกลตัวประชาชนอีกต่อไป
น.ส.ชญาวดี ชัยอนันต์ ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายองค์กรสัมพันธ์ และโฆษกธนาคารแห่งประเทศไทย กล่าวว่า “ความร่วมมือในครั้งนี้เป็นการย้ำเตือนจุดยืนว่า ธปท. ตระหนักและให้ความสำคัญกับการแก้ปัญหาภัยทางการเงินให้ได้ครบวงจร โดยการสื่อสารให้ความรู้และข้อมูลต่าง ๆ กับประชาชนในเชิงรุกและต่อเนื่อง จะช่วยให้ประชาชนรู้เท่าทัน สามารถป้องกันตนเอง และมีภูมิคุ้มกันจากภัยออนไลน์ ซึ่งจะสอดรับกับชุดมาตรการจัดการภัยทุจริตทางการเงินที่ ธปท. ได้ดำเนินการแล้วตั้งแต่ช่วงต้นปีที่ผ่านมา เช่น การขอให้ธนาคารยกเลิกแนบลิงก์ SMS และการยืนยันตัวตนขั้นต่ำด้วย biometrics รวมถึงการให้ความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการดำเนินการตาม พ.ร.ก. มาตรการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี”
แจ็คกี้ หวาง Country Director, Google ประเทศไทย กล่าวว่า “ในระยะเวลา 25 ปีที่ Google ได้ดำเนินธุรกิจทั่วโลก เราได้ตระหนักและให้ความสำคัญในการเสริมสร้างความปลอดภัยบนโลกออนไลน์อย่างต่อเนื่อง ในเดือนตุลาคมซึ่งเป็นเดือนแห่งการสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ เราจึงได้จัดแคมเปญ #31Days31Tips เพื่อให้คนไทยมีเครื่องมือและข้อมูลในการท่องโลกออนไลน์อย่างปลอดภัย รวมถึงสามารถแบ่งปันกับคนที่ห่วงใยได้ โดยแคมเปญนี้เป็นส่วนหนึ่งของความมุ่งมั่นของ Googleในการทำให้อินเทอร์เน็ตเป็นพื้นที่ที่ปลอดภัยสำหรับทุกคนผ่านกลยุทธ์ใน 3 ด้าน ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ (Products) ที่มีความปลอดภัยโดยค่าเริ่มต้น พร้อมด้วยการรักษาความปลอดภัยในตัว เครื่องมือ (Tools) ที่ให้ผู้ใช้สามารถควบคุมข้อมูลส่วนตัวด้วยตนเอง เช่น การตรวจสอบความปลอดภัย (Security Checkup) รวมถึงเครื่องมือจัดการรหัสผ่าน (Password Manager) และโครงการ (Programs) ต่างๆ เพื่อเสริมสร้างความรู้เกี่ยวกับการรักษาความปลอดภัยบนโลกออนไลน์ และช่วยให้คนไทยท่องอินเทอร์เน็ตได้อย่างมั่นใจ โดยเป็นการต่อยอดจากกิจกรรม “Safer Songkran” ภายใต้โครงการ Safer with Google ที่จัดขึ้นในเดือนเมษายนที่ผ่านมา ในการส่งมอบความห่วงใยและส่งเสริมความปลอดภัยทางดิจิทัลให้กับตัวเองและครอบครัว”
ด้าน ดร.กิตติ โฆษะวิสุทธิ์ ประธานกรรมการ TB-CERT กล่าวว่า “วิถีชีวิตปัจจุบันในยุคดิจิทัล มีการใช้เทคโนโลยีในทุกช่วงเวลาไม่ว่าจะเพื่อการสื่อสาร ความบันเทิง สุขภาพ รวมถึงการทำงาน ซึ่งทำให้เกิดความสะดวกสบายในการดำเนินชีวิตประจำวัน อีกทั้งยังส่งผลกระทบต่อพฤติกรรมของผู้ใช้งาน แต่สิ่งสำคัญที่ต้องมีควบคู่กันคือ การยกระดับความตระหนักรู้ให้เท่าทันภัยคุกคามทางไซเบอร์ ซึ่งศูนย์ประสานงานด้านความมั่นคงปลอดภัยเทคโนโลยีสารสนเทศภาคการธนาคารภายใต้สมาคมธนาคารไทยได้ให้ความสำคัญ โดยร่วมมือกับหน่วยงานต่าง ๆ ในการจัดการภัยทางไซเบอร์ รวมทั้งสื่อสารให้ความรู้ที่เกี่ยวข้องอยู่เป็นประจำซึ่งถือเป็นหนึ่งในมาตรการหลักเพื่อสังคมไทย ความร่วมมือในครั้งนี้ถือเป็นก้าวสำคัญที่จะเสริมภูมิคุ้มกันให้สังคมไทยมีความแข็งแกร่งต่อการหลอกลวงในรูปแบบต่าง ๆ และภัยไซเบอร์ที่มีความซับซ้อนและเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเช่นกัน” ทั้งนี้ แคมเปญ #31Days31Tips ตลอดเดือนตุลาคมนี้ จะนำเสนอเคล็ดลับและเครื่องมือที่เสริมความปลอดภัยออนไลน์ผ่านช่องทางโซเชียลมีเดียของ ธปท. Google และ TB-CERT โดยเนื้อหาจะประกอบด้วย 4 หมวดหมู่ ได้แก่ การรักษาความปลอดภัยของบัญชีออนไลน์ การป้องกันตัวเองจากสแกม การตรวจเช็คข่าวปลอมหรือข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง และการปกป้องความเป็นส่วนตัวบนโลกออนไลน์ เพื่อเสริมทักษะดิจิทัลให้คนไทยรู้เท่าทันกลลวงออนไลน์รอบด้าน
ธนาคารแห่งประเทศไทย
Google ประเทศไทย
ศูนย์ประสานงานด้านความมั่นคงปลอดภัย
เทคโนโลยีสารสนเทศภาคการธนาคาร
ภายใต้สมาคมธนาคารไทย
27 กันยายน 2566
Chairman: Mr. Suwit Indrachalerm (Bangkok Bank Public Company Limited)
Coordinator: Mr. Suphawat Maseng
Objectives: This club is established with the approval of its members to carry out corporate social responsibility (CSR) activities consistent with the operations of the Thai Bankers’ Association as follows
This will close in 500 seconds
Chairman: Ms. Suteera Sripaibulya (Bangkok Bank Public Company Limited)
Coordinator: Ms. Sampantanee Apaipan
Objectives: This club is established
This will close in 500 seconds
Chairman: Mr. Than Siripokee (Bangkok Bank Public Company Limited)
Coordinator: Ms. Supada Ruttanapong
Objectives: This club is established
This will close in 500 seconds
Chairman: Mr. Paisarn Lertkowit (Bangkok Bank Public Company Limited)
Coordinator: Ms. Kristsanee Disapad
Objectives: This club is established
This will close in 500 seconds
Chairman: Mr. Kittichai Singha (Bank of Ayudhya Public Company Limited)
Coordinatior: Ms. Chutiporn Jiranansuroj
Objectives: This club is established
This will close in 500 seconds
Chairman: Pongpichet Nananukool (Kasikorn Bank Public Company Limited)
Coordinator: Mr. Warat Attanandana
Objectives: This club is established
This will close in 500 seconds
Chairman: Mr. Kitipong Muttamara (Krungthai Bank Public Company Limited)
Coordinator: Ms. Manisa Rueangsri
Objectives: This club is established
This will close in 500 seconds
Chairman: Mr. Atis Ruchirawat Ayudhya Capital Services Co., Ltd.
Coordinator: Ms. Apsorn Suttaroj
Objectives: This club is established
This will close in 500 seconds
Acting Chairman: Mr. Settarat Na-Nakorn (Kasikorn Bank Public Company Limited)
: Ms. Suchanee.lavanavanija (Bangkok Bank Public Company Limited)
Coordinator: Ms. Monruedee Teerarungruang
Objectives: The Club is established
This will close in 500 seconds
Chairman: Mr. Thitivorn Chothayaphorn (Bank of Ayudhya Public Company Limited)
Coordinator: K. Jitti Wijitbanjong
Objectives: The Club is established
This will close in 500 seconds
Chairman: Mr. Prathin Kijjaruwankul (Kiatnakin Phatra Bank Public Company Limited)
Coordinator: Mr. Thammanun Harnprasitkam
Objectives: The Club is established
This will close in 500 seconds
Chairman: Ms. Oranuch Nampoolsuksan (Bangkok Bank Public Company Limited)
Coordinator: Ms. Roongratt Ratanarajchartikul
Objectives: The Club is established
This will close in 500 seconds
Chairman: Dr. Phacharaphot Nuntramas (Krungthai Bank Public Company Limited)
Coordinator: Dr. Chamadanai Maknual
Objectives: The Club is established
This will close in 500 seconds
Chairman: Ms. Pornvalai Kulrojseth (Krungthai Bank Public Company Limited)
Coordinator: -
Objectives: The Club is established
This will close in 500 seconds
Chairman: Ms. Puntipa Hannoraseth (Bank of Ayudhya Public Company Limited)
Coordinator: Ms. Tippawan Bannajirakul
Objectives: The Club is established
This will close in 500 seconds
Chairman: Ms. Waranee Wanrat (TMBThanachart Bank Public Company Limited)
Coordinator: Ms. Sunisa Netsawang
Objectives: The Club is established
This will close in 500 seconds
Acting Chairman: Ms. Jeerana Ramasoot (Bangkok Bank Public Company Limited)
Coordinator: Ms. Natchanok Aryukong
Objectives: The Club is established
This will close in 500 seconds
Chairman: Dr. Vasin Udomratchatavanich Bank of Ayudhya Public Company Limited
Coordinator: Ms. Manduan Aeambunapong
Objectives: The Club is established
This will close in 500 seconds
Chairman: Mr. Sant Thaosuwan (Bank of Ayudhya Public Company Limited)
Coordinator: Ms. Wasunthree Tri-utok
Objectives: The Club is established
This will close in 500 seconds
Chairman: Mr. luesak Sukasem (Krungthai Bank Public Company Limited)
Coordinator: Ms. Nipaporn Daokhanon
Objectives: The Club is established
This will close in 500 seconds
ธรรมาภิบาล(Governance) : มีระบบการกำกับดูแลกิจการที่ดี และดำเนินการกำกับดูแลได้อย่างมีประสิทธิผลในระดับคณะกรรมการ โดยกำหนดภาระและขอบเขตความรับผิดชอบที่ชัดเจนในระดับการจัดการในเรื่องที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล
This will close in 500 seconds
ยุทธศาสตร์ (Strategy) : บูรณาการพันธกิจด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล เข้ากับยุทธศาสตร์การดำเนินธุรกิจและกำหนดกรอบด้านการเงินที่ยั่งยืน โดยสนับสนุนเพื่อให้ประเทศสามารถเปลี่ยนผ่านไปสู่เป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ได้อย่างราบรื่น
This will close in 500 seconds
การบริหารความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อม สังคมและธรรมาภิบาล (ESG Risk Management) : ผนวกรวมประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล ไว้ในกระบวนการบริหารความเสี่ยง
This will close in 500 seconds
ผลิตภัณฑ์ทางการเงิน(Financial Products) : ปรับใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อส่งเสริมการเข้าถึงบริการทางการเงิน รวมทั้งนวัตกรรมทางการเงินที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและยั่งยืน
This will close in 500 seconds
การสื่อสาร (Communication) : สื่อสารและประสานความร่วมมือกับผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วนในการสร้างจิตสำนึกสาธารณะด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล
This will close in 500 seconds
การเปิดเผยข้อมูลทางการเงิน (Disclosure) : พัฒนาระบบการติดตามและการรายงานที่สอดคล้องกับกรอบการกำกับดูแลของประเทศไทยและมาตรฐานการเปิดเผยข้อมูลด้านความยั่งยืนในระดับสากล
This will close in 500 seconds
3 เรื่องต้องรู้ก่อนเข้าร่วมมาตรการปิดจบ หนี้เรื้อรัง
**สามารถขอออกจากมาตรการได้ แต่จะไม่ได้รับสิทธิแก้หนี้ตามเงื่อนไขเดิม**
3 เรื่องต้องรู้ หากจ่ายขั้นต่ำบัตรกดเงินสดนาน ๆ
แบบไหนเข้าข่ายปัญหาหนี้เรื้อรัง (Persistent Debt - PD)
1. แม้ภาระต่อเดือนไม่สูง แต่ใช้เวลานาน กว่าจะหมดหนี้
2. ยอดขั้นต่ำที่จ่ายแต่ละเดือนเป็นดอกเบี้ยมากกว่าเงินต้น
3. เมื่อผ่อนจบพบว่ายอดรวมที่จ่ายไปส่วนใหญ่คือ ดอกเบี้ย
อยากหมดหนี้ไว ㆍจ่ายดอกเบี้ยลดลง ㆍ ภาระต่อเดือนไม่เพิ่มจากเดิม
เลือกเข้ามาตรการปิดจบหนี้เรื้อรังได้ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป
หมายเหตุ : ลูกหนี้ที่เข้าข่ายเป็นหนี้รื้อร้ง จะได้รับการติดต่อจากเจ้าหนี้ โดยหาก 5 ปีที่ผ่านมา ลูกหนี้จ่ายดอกเบี้ยรวมมากกว่าเงินต้นรวม จะได้รับข้อเสนอปิดจบหนี้ภายใน 5 ปี ดอกเบี้ยไม่เกิน 15% ต่อปี
ตัวอย่าง
ใช้บัตรกดเงินสด
วงเงินหมุนเวียน 15,000 บาท
ผ่อนขั้นต่ำ (3%) มาแล้ว 5 ปี
เหลือจ่ายเงินต้นอีก 8,700 บาท
ทางเลือกที่ 1 : ผ่อนขั้นต่ำต่อไปจนครบ ดอกเบี้ย 25% ต่อปี ผ่อนต่ออีก 13 ปี 5 เดือน
เหลือจ่ายดอกเบี้ยอีก 14,000 บาท
ดอกเบี้ยรวมทั้งสัญญา 29,000 บาท
ทางเลือกที่ 2 : เข้าโครงการแก้หนี้เรื้อรัง ดอกเบี้ย 15% ต่อปี ผ่อนต่ออีก 3 ปี 6 เดือน (เดือนละ 260 บาท)
เหลือจ่ายดอกเบี้ยอีก 2,500 บาท
ดอกเบี้ยรวมทั้งสัญญา 17,500 บาท
*ประหยัดดอกเบี้ยได้ 11,500 บาท*
หมายเหตุ: ผ่อนเดือนละ 260 บาท เท่ากับยอดการผ่อนขั้นต่ำ ณ เดือนสุดท้ายของปีที่ 5 ก่อนเข้าโครงการ
ตอบข้อสงสัย มาตรการปิดจบหนี้เรื้อรัง
(1) ทำไมมาตรการปิดจบหนี้เรื้อรัง ไม่รวมหนี้บัตรเครดิต?
(2) ทำไมต้องมีเงื่อนไขปิดวงเงินหากเข้าร่วมมาตรการปิดจบหนี้เรื้อรัง
(3) การเข้ามาตรการปิดจบหนี้เรื้อรัง จะมีการรายงานข้อมูลในเครดิตบูโร (NCB) หรือไม่
ทำไมมาตรการปิดจบหนี้เรื้อรัง ไม่รวมหนี้บัตรเครดิต?
เพราะหนี้บัตรเครดิตมี (1) อัตราดอกเบี้ย และ (2) เงื่อนไขการผ่อนชำระที่ทำให้ไม่เข้าข่ายหนี้เรื้อรังที่จ่ายดอกเบี้ยมากกว่าเงินต้นและใช้เวลานานในการปิดจบ
ลูกหนี้บัตรเครดิตจ่ายขั้นต่ำที่ 8% ทำให้จ่ายชำระเงินต้นมากกว่าดอกเบี้ย ลูกหนี้สามารถปิดจบหนี้ได้ภายในระยะเวลาไม่นานนัก
บัตรกดเงินสดมักจ่ายขั้นต่ำที่ 3% และดอกเบี้ยส่วนใหญ่อยู่ที่ 25% ต่อปี ซึ่งจะทำให้ ตัดจ่ายดอกเบี้ย 2% และตัดเงินต้นเพียง 1%
ทำไมต้องมีเงื่อนไขปิดวงเงินหากเข้าร่วมมาตรการปิดจบหนี้เรื้อรัง
เงื่อนไขการปิดวงเงินจะช่วยให้ลูกหนี้มีวินัยทางการเงินเพิ่มขึ้นและสามารถปิดจบหนี้ได้ภายใน 5 ปี
อย่างไรก็ดี กรณีลูกหนี้ที่เข้ามาตรการฯ มีความจำเป็นฉุกเฉิน เช่น เจ็บป่วย ได้รับอุบัติเหตุ ตกงาน ผู้ให้บริการอาจพิจารณาให้สินเชื่อได้ หากลูกหนี้มีความสามารถในการชำระหนี้เพียงพอ ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับนโยบายและเงื่อนไขของผู้ให้บริการแต่ละแห่ง
กรณีลูกหนี้มีบัตรกดเงินสดมากกว่า 1 ใบ สามารถเลือกเข้าโครงการแค่บางบัตร และเก็บวงเงินบัตรกดเงินสดที่เหลือไว้ก่อนได้
การเข้ามาตรการปิดจบหนี้เรื้อรัง จะมีการรายงานข้อมูลในเครดิตบูโร (NCB) หรือไม่
จะมีการรายงานข้อมูลใน NCB โดยเพิ่มการรายงานประเภทของสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้ "รหัส (code) 03" โดยจะไม่กระทบสถานะบัญชีลูกหนี้ที่ยังเป็น 10-ปกติ เช่นเดิมทั้งนี้ การรายงานนี้ จะช่วยให้ผู้ให้บริการทราบถึงการเข้าโครงการซึ่งสะท้อนความตั้งใจที่ดีในการแก้ปัญหาหนี้ของลูกหนี้
มาตรการปิดจบหนี้เรื้อรัง..ช่วยเหลือลูกหนี้อย่างไร?
ถ้าได้รับแจ้งเตือนว่าเป็นลูกหนี้เรื้อรัง (severe PD) จะได้รับข้อเสนอให้สมัครเข้าร่วมมาตรการเพื่อปิดจบหนี้ ซึ่งจะได้รับประโยชน์จากการเข้าร่วมมาตรการ ดังนี้
** สำหรับลูกหนี้ที่เริ่มเรื้อรัง (general PD) ให้รีบติดต่อเจ้าหนี้หากต้องการแก้หนี้ เจ้าหนี้จะมีแนวทางให้ความช่วยเหลือที่เหมาะสมเป็นรายกรณี **
การแจ้งเตือนเมื่อเข้าข่ายลูกหนี้เรื้อรัง
ความถี่การแจ้งเตือนจากเจ้าหนี้
ช่องทางการแจ้งเตือน
โดยลูกหนี้เรื้อรังจะได้รับข้อเสนอแนวทางการปิดจบหนี้จากเจ้าหนี้ด้วย
หนี้เรื้อรัง คืออะโร.. แค่ไหนที่เรียกว่าเรื้อรัง?
แบบไหนเข้าข่ายปัญหาหนี้เรื้อรัง (Persistent Debt - PD)
ลูกหนี้เรื้อรัง 2 แบบ
1. เริ่มเป็นหนี้เรื้อรัง (general PD)
2. เป็นหนี้เรื้อรัง (severe PD)
** ธปท. กำหนดเกณฑ์รายได้ เพื่อมุ่งให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ที่เดือดร้อนที่สุดก่อน โดยพิจารณาความเรื้อรังและรายได้ที่ไม่สูงมากของลูกหนี้ **
ทวงหนี้อย่างเป็นธรรม ต้องแจ้งข้อมูลสำคัญอะไรบ้าง
เจ้าหนี้จะต้องแจ้งรายละเอียดของภาระหนี้พร้อมข้อมูลสำคัญอื่น ๆ แก่ลูกหนี้ให้ครบถ้วน เช่น
และห้ามเรียกให้ผู้ค้ำประกันชำระหนี้ก่อน ยกเว้น ลูกหนี้ล้มละลายหรือติดต่อไม่ได้
#ResponsibleLending #แก้หนี้ยั่งยืน #เจ้าหนี้รับผิดชอบ #ลูกหนี้มีวินัย
มีหนี้กับหลายเจ้าหนี้จะทำอย่างไร?
เคยปรับโครงสร้างหนี้แล้วขอปรับซ้ำได้ไหม?
หมายเหตุ: เกณฑ์ Responsible Lending ลูกหนี้มีสิทธิขอปรับโครงสร้างหนี้ ก่อนเป็นหนี้เสีย อย่างน้อย 1 ครั้ง และหลังเป็นหนี้เสีย อย่างน้อย 1 ครั้ง โดยนับรวมการปรับโครงสร้างหนี้ก่อน 1 ม.ค. 67
สัญญาณปัญหาหนี้
สัญญาณว่าลูกหนี้กำลังมีปัญหา เช่น จ่ายขั้นต่ำ จ่ายช้า กดบัตรเงินสดมาจ่ายคืนหนี้อื่น รายได้ไม่พอรายจ่าย ถ้าเห็นสัญญาณแบบนี้ไปคุยกับเจ้าหนี้ได้เลย !!
หมายเหตุ: สนใจติดต่อ Call center และสาขาของธนาคารที่ท่านใช้บริการ