คลังเผยเศรษฐกิจไทยโตต่อเนื่อง คาดปี 66 จีดีพีขยายตัว 3.8% เครื่องยนต์เร่งสำคัญคือส่งออก เสริมด้วยการลงทุน Mega Project ในประเทศ ธปท.มั่นใจเศรษฐกิจไทยแข็งแกร่ง ปี 66 คาดเติบโต 3.7% ชี้นโยบายการเงินไทยต้องเน้นความสมดุล เดินหน้าวางรากฐานภาคการเงิน พัฒนาดิจิทัล-มุ่งสู่ความยั่งยืน ก.ล.ต.เปิดแผนยุทธศาสตร์ปี 66-68 กำหนด 5 เป้าหมายพัฒนาตลาดทุน ตลาดหลักทรัพย์ฯ โชว์ศักยภาพบริษัทจดทะเบียนไทยสร้างกำไรโตต่อเนื่อง ชู Well-being จุดแข็งตลาดทุนไทย
หลังจากที่เศรษฐกิจไทยได้รับผลกระทบจากปัจจัยลบรอบด้าน ทั้งการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 สงครามรัสเซีย-ยูเครน สงครามระหว่างธนาคารกลางของประเทศต่างๆ ที่ต้องขึ้นดอกเบี้ยเพื่อต่อสู้กับเงินเฟ้อที่พุ่งสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว มาในปี 2566 นี้ เริ่มมีสัญญาณการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย โดยเฉพาะจากภาคการท่องเที่ยวที่กลับมาคึกคักหลังการเปิดประเทศอย่างเต็มรูปแบบ แต่ก็ยังมีความเสี่ยงของภาคการส่งออกที่ลดลงจากภาวะเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว
วารสารการเงินธนาคาร ได้สัมภาษณ์พิเศษแม่ทัพเศรษฐกิจ นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง รวมถึง 3 ขุนพลตลาดเงินและตลาดทุนไทย ดร.เศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล เลขาธิการ คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ และ ดร.ภากร ปีตธวัชชัย กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เพื่อเจาะลึกถึงภาพเศรษฐกิจไทยในปี 2566 รวมถึงนโยบายเศรษฐกิจที่จะนำพาประเทศไทยให้เติบโตต่อไปได้อย่างแข็งแกร่ง
ธปท.คาดเศรษฐกิจไทยปี 66 โต 3.7%
ท่องเที่ยว-บริโภคในประเทศหนุน
ดร.เศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผย การเงินธนาคาร ว่า ในปี 2566 เศรษฐกิจไทยจะยังฟื้นตัวได้ต่อเนื่องแม้ว่าเศรษฐกิจโลกจะชะลอตัวลง โดยคาดว่าปี 2566 เศรษฐกิจไทยจะโตประมาณ 3.7% ขณะที่การส่งออกคาดว่าจะโตเพียง 1% เนื่องจากได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจโลกชะลอตัว อย่างไรก็ตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยจะถูกเอื้อด้วยภาคท่องเที่ยวและการฟื้นตัวของการบริโภคภายในประเทศเป็นหลัก
“แรงงานไทยและเศรษฐกิจไทยพึ่งพาการท่องเที่ยวค่อนข้างมาก ดังนั้น การฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยวก็จะเอื้อให้เศรษฐกิจไทยยังฟื้นตัวได้ แม้ว่าจะมีความเสี่ยงจากปัจจัยต่างๆ แต่มีโอกาสค่อนข้างมากที่เศรษฐกิจไทยจะโตได้มากกว่า 3%”
โดยในปี 2566 มี 2 เครื่องยนต์หลักที่เป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย ได้แก่ 1.การบริโภคภายในประเทศ ซึ่งมาจากรายได้ของประชาชนที่เติบโตขึ้นจากกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่เริ่มฟื้นตัว 2.ภาคท่องเที่ยวเป็นเครื่องยนต์ที่สำคัญ โดย ธปท.คาดว่า ในปี 2565 จะมีจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติมากกว่า 10 ล้านคน และปี 2566 ที่ 20 ล้านคน
“แม้เศรษฐกิจโลกจะชะลอแต่เราก็ยังเห็นคนเดินทางอยู่ การใช้จ่ายอาจจะน้อยลงแต่คนก็ยังมาเที่ยวไทย อาจจะเพราะไทยอาจจะเป็นที่ท่องเที่ยวที่ไม่แพงมาก ทำให้มั่นใจว่าภาคท่องเที่ยวจะยังเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ ปัจจัยที่จะฉุดเศรษฐกิจไทย เช่น ภาคการส่งออกที่เริ่มชะลอตัวจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก ซึ่งส่งออกอาจจะกระทบตัวเลขแต่กระทบกับคนน้อยกว่าการชะลอตัวของภาคท่องเที่ยว”
ดร.เศรษฐพุฒิกล่าวต่อว่า สำหรับความเสี่ยงในปี 2566 คือเรื่องตลาดการเงินโลกที่มีความผันผวน โดยสาเหตุหลักมาจากการขึ้นดอกเบี้ยที่ค่อนข้างเร็วและแรงในหลายประเทศหลัก ซึ่งการที่ดอกเบี้ยขึ้นเร็วประเทศที่มีหนี้ที่สูงก็จะเจอปัญหาหากไทยไม่ดำเนินนโยบายที่ไปซ้ำเติมปัญหาหรือกระทบกับเสถียรภาพเศรษฐกิจไทยจะฟื้นตัวได้ต่อเนื่อง
โดยตัวอย่างการดำเนินนโยบายที่ซ้ำเติมปัญหาที่เห็นได้ชัด คือ อังกฤษซึ่งเป็นประเทศที่พัฒนาแล้วกำลังเจอปัญหาในตลาดพันธบัตรรัฐบาลซึ่งเป็นตลาดที่ปลอดภัยที่สุดของอังกฤษ โดยเป็นผลจากการที่อังกฤษประกาศนโยบายการคลังที่กระทบกับความเชื่อมั่นทำให้ตลาดผันผวน
อย่างไรก็ตาม ไทยยังมีความสามารถในการรองรับความผันผวนจากตลาดการเงินโลกได้ เนื่องจากความเปราะบางในภาคต่างประเทศของไทยมีน้อย แม้ว่าอาจเกิด Shock ที่ทำให้เงินไหลออกจากไปไปยังตลาดที่ปลอดภัยกว่าแต่ไทยยังสามารถรองรับได้
ดร.เศรษฐพุฒิกล่าวว่า โดยปกติแล้วการเกิดวิกฤติเศรษฐกิจจะเกิดจาก 3 ปัจจัย ได้แก่
“ไทยเป็นประเทศที่นับได้ว่ามีเสถียรภาพค่อยข้างดีในหลายด้าน แต่ไม่ใช่เสถียรภาพดีแล้วจะทำอะไรก็ได้ เพราะหากมีการประกาศนโยบายที่ไปกระทบเสถียรภาพในวงกว้าง ก็อาจทำให้เสถียรภาพที่มี่อยู่ลดลงได้ โดยสิ่งสำคัญคือ ตอนนี้ควรระวังแต่ไม่ต้องกังวลจนเกินไป เพราะแม้เกิด Shock ในตลาดการเงินโลกไทยจะยังมีความสามารถในการรองรับได้”
ทั้งนี้ สิ่งสำคัญในการรองรับ Shock ที่จะเกิดขึ้นคือ ในระดับประเทศต้องรักษากันชนต่างๆ เอาไว้ให้ดีไม่ให้เกิดความเปราะบาง ขณะที่ผู้ประกอบการต้องใส่ใจเรื่องการดูแลสภาพคล่อง โจทย์ของผู้ประกอบการคือต้องรักษาเสถียรภาพให้มีความยืดหยุ่นรองรับ Shock ต่างๆ ให้ได้
นโยบายการเงินไทย ต้องเน้นความสมดุล
ดร.เศรษฐพุฒิกล่าวถึงการดำเนินนโยบายการเงินของไทยว่า การขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยเป็นการขึ้นดอกเบี้ยแบบค่อยเป็นค่อยไป เนื่องจากต้องรักษาความสมดุลในเรื่องต่างๆ ให้เหมาะสม ซึ่งเป็นการปรับนโยบายที่อาจจะแตกต่างจากต่างประเทศแต่เหมาะสมกับเศรษฐกิจไทย เนื่องจากสภาพเศรษฐกิจของไทยไม่ได้เหมือนกับต่างประเทศ โดยเฉพาะในฝั่งของเงินเฟ้อซึ่งเงินเฟ้อของไทยมาจากฝั่งอุปทานขณะที่ต่างประเทศมาจากฝั่งอุปสงค์เป็นหลัก
“เงินเฟ้อของต่างประเทศมาจากการที่เศรษฐกิจของเขาร้อนแรงมาก แต่บ้านเราไม่เห็นภาพนี้หลักๆ มาจากราคาพลังงานและอาหาร เครื่องยนต์เงินเฟ้อไม่ได้ติดจึงไม่จำเป็นต้องขึ้นดอกเบี้ยเร็วและแรง ดังนั้น เมื่อบริบทของเศรษฐกิจไทยไม่ได้เหมือนต่างประเทศ นโยบายของเราก็ไม่จำเป็นต้องเหมือนต่างประเทศ เป็นที่มาของการขึ้นดอกเบี้ยแบบค่อยเป็นค่อยไป”
ดร.เศรษฐพุฒิกล่าวต่อว่า หน้าที่หลักของธนาคารกลางคือการรักษาเสถียรภาพด้านราคาหรือการดูแลเงินเฟ้อ แต่การขึ้นดอกเบี้ยเร็วและแรงเพื่อสกัดเงินเฟ้อไม่ให้สูงขึ้นก็ทำให้เกิดผลข้างเคียงในระบบเศรษฐกิจได้โดยเฉพาะเรื่องภาระหนี้ของประชาชน
“การทำนโยบายการเงินต้องรักษาสมดุลเรื่องเสถียรภาพด้านราคา เสถียรภาพด้านการเงิน และการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ โดยด้านเสถียรภาพราคาจะเห็นว่าค่อยๆ ทยอยลดลงมาแล้วและคาดว่าจะเข้ากรอบของ ธปท. ในครึ่งหลังของปี 66 ด้านค่าเงินที่อ่อนค่าในช่วงที่ผ่านมามาจากดอลลาร์ที่แข็งค่าขึ้น ดังนัน ถ้ากระแสดอลลาร์เปลี่ยนบาทก็จะแข็งค่าขึ้น ขณะที่การฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยปัจจุบันยังไม่ฟื้นตัวถึงระดับก่อนโควิดดังนั้นนโยบายการเงินที่เหยียบเบรกแรงจึงไม่เหมาะสม”
เดินหน้าวางรากฐานภาคการเงิน พัฒนาดิจิทัล-มุ่งสู่ความยั่งยืน
ดร.เศรษฐพุฒิกล่าวว่า ท่ามกลางความผันผวนของตลาดการเงินโลก การดำเนินนโยบายของ ธปท. ต้องเหมาะสมกับบริบทของเศรษฐกิจไทย โดยในระยะสั้นการทำมาตรการแบบปูพรมอาจต้องลดลง เนื่องจากปัจจุบันเศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัวแล้ว รายได้ของหลายภาคส่วนเริ่มกลับมาโดยทำมาตรการที่ตรงจุดมากขึ้น
“มาตรการที่ทำแล้วต้องจบก็ควรจบ ไม่เช่นนั้นจะกลายเป็นมาตรการที่ต่ออกไปเรื่อยๆ ตัวอย่างคือ ที่ไทยลดภาษี VAT จาก 10% มาเป็น 7% ตั้งแต่ปี 2540 ปัจจุบันก็ยังกลับไปเท่าเดิมไม่ได้”
นอกจากนี้ อีกเรื่องที่ต้องให้ความสำคัญคือ หนี้ครัวเรือน ซึ่งไทยมีหนี้ครัวเรือน 88% ของจีดีพี ถือว่าสูงกว่าที่ควรเป็น เพราะปกติแล้วหนี้ครัวเรือนไม่ควรสูงเกิน 80% ของจีดีพี โดยหากจะทำให้กลับเข้าสู่ระดับที่เหมาะสมอย่างค่อยเป็นค่อยไป ต้องไม่ทำนโยบายที่ทำให้ประชาชนไม่สามารถเข้าถึงสินเชื่อได้
ทั้งนี้ ต้องพยายามแก้ปัญหาหนี้ให้ครบวงจรมากขึ้นเพื่อแก้ปัญหาหนี้เดิม และในระยะข้างหน้าจะให้ความสำคัญตั้งแต่ก่อนก่อหนี้ เช่น การให้ความรู้ทางการเงิน นอกจากนี้ ธปท. ยังให้ความสำคัญกับการปล่อยหนี้ คือการให้สินเชื่ออย่างมีความรับผิดชอบ ไม่สร้างภาระหนี้มากเกินไปให้กับลูกหนี้
“หนี้ที่กระทบจากโควิดและเป็นหนี้ที่มีปัญหา พบว่า 70% เป็นของสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ อีก 20% เป็นของนอนแบงก์ และ 10% อยู่กับธนาคารพาณิชย์หรือนอนแบงก์ที่เป็นลูกของธนาคารพาณิชย์ ดังนั้น การแก้ปัญหาก็ต้องไล่ให้ครบ”
ดร.เศรษฐพุฒิกล่าวว่า นอกจากมาตรการระยะสั้นแล้ว ในระยะยาวต้องมีการวางรากฐานด้านภาคการเงินให้ปรับตัวเข้าสู่โลกในบริบทใหม่ได้ โดยการที่จะทำให้เศรษฐกิจไทยฟื้นตัวได้อย่างต่อเนื่องหนีไม่พ้นเรื่องความยั่งยืน เนื่องจากเป็นกระแสที่มาเร็วและแรง ไม่ใช่เฉพาะแค่เรื่องสภาพภูมิอากาศที่จะเข้ามากระทบแต่รวมถึงนโยบายด้านความยั่งยืนของประเทศต่างๆ ด้วย
โดยโจทย์ของ ธปท. คือ จะทำอย่างไรให้การเปลี่ยนผ่านไปสู่ความยั่งยืนมีต้นทุนที่น้อยที่สุด เป็นการเปลี่ยนผ่านที่ไม่ส่งผลกระทบในวงกว้างและร้ายแรง เพื่อให้เศรษฐกิจโดยรวมเติบโตได้แม้มีการเปลี่ยนผ่านสู่ความยั่งยืน ต้องไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลังเนื่องจากจะเป็นการซ้ำเติมเรื่องความเหลื่อมล้ำ
“โจทย์ของ ธปท. คือทำอย่างไรให้การเปลี่ยนผ่านเกิดขึ้นในรูปแบบ Low Disruption หรือให้เกิดผลกระทบน้องที่สุด เพราะถ้าทำช้าก็จะกระทบต้นทุน มีการกีดกันเกิดขึ้น แต่ถ้าทำเร็วความเหลื่อมล้ำก็จะเกิดขึ้นอย่างชัดเจน เพราะบริษัทใหญ่พร้อมที่จะปรับแต่เอสเอ็มอีหรือรายเล็กอาจจะยังไม่พร้อม”
ดังนั้น หน้าที่ของ ธปท.คือ สนับสนุนให้ภาคการเงินมีการปรับตัวเพื่อที่จะเอื้อให้การเปลี่ยนผ่านเป็นไปในรูปแบบที่ ธปท. ต้องการเห็นคือ ภาคการเงินต้องออกผลิตภัณฑ์และบริการที่เอื้อให้การเปลี่ยนผ่านเกิดขึ้น นอกจากนี้ ต้องนำประเด็นเรื่องสิ่งแวดล้อมมาผนวกกับการทำงานของสถาบันการเงิน
โดย ธปท.ได้จัดทำ Taxonomy เพื่อกำหนดกรอบและนิยามของความยั่งยืนให้มีความชัดเจน เพื่อให้สถาบันการเงินนำไปใช้เป็นแนวปฏิบัติเดียวกัน โดยคาดว่าจะออกได้ในไตรมาส 1 ปี 2566 เริ่มจากภาคขนส่งและพลังงาน
ทั้งนี้ การทำ Taxonomy อย่างเดียวอาจไม่พอ แต่มีความจำเป็นเพื่อให้เป็นมาตรฐานกลาง โดยสิ่งที่ยากคือความตระหนักเรื่องความยั่งยืนของไทยยังมีน้อย โดยภาครัฐต้องเข้ามาช่วยลดความเสี่ยงเพื่อทำให้การปล่อยสินเชื่อทำได้ง่ายมากขึ้น
“ในการสนับสนุนภาคการเงินสิ่งที่ ธปท. ได้เข้าไปช่วย เช่น ทำให้นิยามชัดเจนมากขึ้น มีข้อมูลที่จะนำมาใช้ได้ มีวิธีที่ทำให้สถาบันการเงินนำไปปฏิบัติได้จริง โดยทำงานร่วมกับสมาคมธนาคารไทยเพื่อทำคู่มือให้สถาบันการเงินนำมาใช้ได้ชัดเจนยิ่งขึ้นและในอนาคตคาดว่าจะมีการเข้าไปตรวจว่าสถาบันการเงินได้มีการปฏิบัติตามจริงหรือไม่”
ดร.เศรษฐพุฒิกล่าวว่า นอกจากการวางรากฐานเรื่องความยั่งยืนแล้ว การวางรากฐานเรื่องดิจิทัลในภาคการเงินก็เป็นเรื่องสำคัญ โดย ธปท.มีเป้าหมายในการใช้นวัตกรรมทางการเงินมาสร้างประโยชน์และโอกาสให้กับเศรษฐกิจ โดยไม่ให้เกิดผลกระทบด้านเสถียรภาพ โดยปัจจุบันเรื่องของดิจิทัลประเทศไทยไม่ได้ล้าหลังไปกว่าประเทศอื่น
“การเงินดิจิทัลจะเป็นโอกาสที่จะทำให้ประชาชนหรือธุรกิจใหม่ๆ เข้าถึงภาคการเงินได้มากขึ้น ธปท. จึงเน้นเรื่อง Responsible Innovation หรือนวัตกรรมที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม ไม่ใช่นวัตกรรมที่สร้างความเสี่ยงจนเกินไป ดังนั้น หน้าที่ของ ธปท. คือ ต้องพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเรื่องการเงินดิจิทัลให้เกิดขึ้นให้ได้”
โดยที่ผ่านมา สิ่งที่ ธปท. ทำได้ดีคือพร้อมเพย์ ซึ่งในฝั่งของ Retail ปัจจุบันมีกว่า 70 ล้านบัญชี เรียกว่าเป็น Game Changer ที่เข้ามาช่วยสร้างโอกาสให้ประชาชน โดย ธปท. ต้องต่อยอดระบบการชำระเงินหรือพร้อมเพย์ไปสู่ Cross Border เพื่อช่วยเข้าไปลดต้นทุนในการชำระเงินระหว่างประเทศ รวมถึงเชื่อมระบบ Fast Payment ข้ามประเทศให้มากยิ่งขึ้น
“Cross Border มีความสำคัญ เพราะจะทำให้เรามีเสถียรภาพมากขึ้น ทำให้เราทนทานต่อความไม่แน่นอน ซึ่งปัจจุบันความไม่แน่นอนทางภูมิรัฐศาสตร์มีค่อยข้างมาก ดังนั้น หน้าที่ของ ธปท. คือต้องลดความเสี่ยงในด้านนี้ เพื่อให้ระบบการชำระเงินระหว่างประเทศของไทยอยู่รอดได้”
นอกจากนี้ ธปท.จะพัฒนาระบบการชำระเงินไปสู่ภาคธุรกิจ หรือ PromptBiz ที่จะช่วยให้ภาคธุรกิจทำธุรกรรมด้านการเงินได้อย่างครบวงจร ทั้งการชำระเงิน ภาษี ซึ่งจะช่วยลดต้นทุนและเพิ่มโอกาสการเข้าถึงสินเชื่อให้ภาคธุรกิจได้ โดยคาดว่าจะได้เห็นในเดือนมิถุนายน 2566 โดยจะเป็นการทดลองใช้ในกลุ่มเล็กๆ ซึ่ง ธปท. หวังว่า PromptBiz จะเป็น Game Changer ของภาคเอสเอ็มอี
ในส่วนของ Central Bank Digital Currency (CBDC) ธปท.ได้ทำในสองฝั่งคือ สำหรับการทำธุรกรรมระหว่างสถาบันการเงิน (Wholesale CBDC) เพื่อให้การโอนเงินระหว่างประเทศมีต้นทุน ระยะเวลา และความเสี่ยงลดลง และสำหรับการทำธุรกรรมรายย่อยของภาคธุรกิจและประชาชน (Retail CBDC) ปัจจุบัน อยู่ในขั้นตอนของการศึกษาเพื่อให้เข้าใจความต้องการของผู้ใช้ ซึ่งจะเอื้อในนำนวัตกรรมใหม่ๆ มาใช้ได้ง่ายขึ้น
โดยเหตุผลที่ ธปท. ให้มองว่าไม่มีความจำเป็นที่ต้องรีบใช้ Retail CBDC เนื่องจากระบบการชำระเงินในปัจจุบันทำงานได้ดีแล้ว แต่มีข้อจำกัดบางอย่างที่ทำให้ ธปท. สนในการทำ Retail CBDC คือ มีข้อจำกัดบางอย่างที่ระบบพร้อมเพย์ไม่เอื้อ เช่น การกำหนดเงื่อนไขต่างๆ เช่น ห้ามซื้อสินค้าบางชนิด
“Retail CBDC จะเริ่มทดลองใช้ในแบงก์ชาติก่อน แล้วขยายไประหว่างแบงก์คือ กรุงศรี ไทยพาณิชย์ และมีนอนแบงก์หนึ่งแห่งคือ 2C2P อีกหนึ่งแห่ง เพื่อให้มีความครอบคลุม เพราะเราเชื่อว่านวัตกรรมส่วนใหญ่จะมาจากฝั่งของนอนแบงก์”
นอกจากนี้ ธปท.ยังให้ความสำคัญในการเพิ่มผู้เล่นรายใหม่โดยใช้ Virtual Bank ซึ่งคาดว่าเกณฑ์จะออกได้ในเดือน ม.ค. 2566 โดยจะมีการเปิดรับฟังความเห็นของผู้ที่เกี่ยวข้องต่อไป
“Virtual Bank จะเป็นการเปิดขอใบอนุญาตใหม่โดย ธปท. คาดว่าจะไม่ได้อนุญาตหลายราย ซึ่งสิ่งที่เราอยากเห็นคือนวัตกรรมใหม่ๆ ที่ให้ประชาชนเข้าถึงบริการทางการเงินได้มากขึ้น
ขอขอบคุณแหล่งที่มา : MB Online
ประธาน: คุณสุวิทย์ อินทรเฉลิม (ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน))
ผู้ประสานงาน: คุณศุภวัตร มะเส็ง
วัตถุประสงค์: ชมรมฯ นี้ตั้งขึ้นเพื่อดำเนินงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคมโดยความเห็นชอบของสมาชิกซึ่งสอดคล้องกับการดำเนินงานของสมาคมธนาคารไทย ดังนี้
This will close in 500 seconds
ประธาน: คุณสุธีรา ศรีไพบูลย์ (ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน))
ผู้ประสานงาน: คุณสัมพันธนี อภัยพันธุ์
วัตถุประสงค์: ชมรมฯ นี้ตั้งขึ้น
This will close in 500 seconds
ประธาน: คุณทัฬห์ สิริโภคี (ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน))
ผู้ประสานงาน: คุณศุภดา รัตนพงษ์
วัตถุประสงค์: ชมรมฯ นี้ตั้งขึ้น
This will close in 500 seconds
ประธาน: คุณไพศาล เลิศโกวิทย์ (ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)
ผู้ประสานงาน: คุณสมฤทัย สุขจันทร์
วัตถุประสงค์: ชมรมฯ นี้ตั้งขึ้น
This will close in 500 seconds
ประธาน: คุณดุจหทัย สมบูรณ์นิตย์ (ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน))
ผู้ประสานงาน: คุณวรรณนิภา ศิริภักดีชัยกุล
วัตถุประสงค์: ชมรมฯ นี้ตั้งขึ้น
This will close in 500 seconds
ประธาน: คุณธีรวัฒน์ อัศวโภคี (ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน))
ผู้ประสานงาน: คุณวรัท อัตตะนันทน์
วัตถุประสงค์: ชมรมฯ นี้ตั้งขึ้น
This will close in 500 seconds
ประธาน: คุณกิติพงศ์ มุตตามระ (ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน))
ผู้ประสานงาน: คุณมนิษา เรืองศรี
วัตถุประสงค์: ชมรมฯ นี้ตั้งขึ้น
This will close in 500 seconds
ประธาน: คุณอฑิศ รุจิรวัฒน์ (ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน))
ผู้ประสานงาน: คุณอัปสร สุทธาโรจน์
วัตถุประสงค์: ชมรมฯ นี้ตั้งขึ้น
This will close in 500 seconds
รักษาการประธาน: คุณเศรษฐรัฐ ณ นคร (ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน))
: คุณสุชาณี ลวนะวณิช (ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน))
ผู้ประสานงาน: คุณมลฤดี ตีรรุ่งเรือง
วัตถุประสงค์: ชมรมฯ นี้ตั้งขึ้น
This will close in 500 seconds
ประธาน: คุณฐิติวร โชตยาภรณ์ (ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน))
ผู้ประสานงาน: คุณจิตติ วิจิตรบรรจง
วัตถุประสงค์: ชมรมฯ นี้ตั้งขึ้น
This will close in 500 seconds
ประธาน: คุณประทิน กิจจารุวรรรกุล (ธนาคารเกียรตินาคินภัทร จำกัด (มหาชน))
ผู้ประสานงาน: คุณธรรมนูญ หาญประสิทธิ์คำ
วัตถุประสงค์: ชมรมฯ นี้ตั้งขึ้น
This will close in 500 seconds
ประธาน: คุณอรนุช นำพูลสวัสดิ์ (ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน))
ผู้ประสานงาน: คุณรุ่งรัตน์ รัตนราชชาติกุล
วัตถุประสงค์: ชมรมฯ นี้ตั้งขึ้น
This will close in 500 seconds
ประธาน: ดร.พชรพจน์ นันทรามาศ (ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน))
ผู้ประสานงาน: ดร.ฉมาดนัย มากนวล
วัตถุประสงค์: ชมรมฯ นี้ตั้งขึ้น
This will close in 500 seconds
ประธาน: คุณพรวลัย กุลโรจน์เสฏฐ (ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน))
ผู้ประสานงาน: -
วัตถุประสงค์: ชมรมฯ นี้ตั้งขึ้น
This will close in 500 seconds
ประธาน: คุณพรรณทิพา หาญนรเศรษฐ์ (ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน))
ผู้ประสานงาน: คุณทิพวรรณ บรรณจิรกุล
วัตถุประสงค์: ชมรมฯ นี้ตั้งขึ้น
This will close in 500 seconds
ประธาน: คุณวราณี วรรณรัตน์ (ธนาคารทหารไทยธนชาต จำกัด (มหาชน))
ผู้ประสานงาน: คุณสุนิษา เนตรสว่าง
วัตถุประสงค์: ชมรมฯ นี้ตั้งขึ้น
This will close in 500 seconds
ประธาน: คุณสมเกียรติ ปรีดามาโนช (ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน))
ผู้ประสานงาน: คุณนาทชนก อายุคง
วัตถุประสงค์: ชมรมฯ นี้ตั้งขึ้น
This will close in 500 seconds
ประธาน: ดร.วศิน อุดมรัชตวนิชย์ (ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน))
ผู้ประสานงาน: คุณแม้นเดือน เอี่ยมบรรณพงษ์
วัตถุประสงค์: ชมรมฯ นี้ตั้งขึ้น
This will close in 500 seconds
ประธาน: คุณสัณฑ์ เถาสุวรรณ (ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน))
ผู้ประสานงาน: คุณวสุนทรี ไตรอุโฆษ
วัตถุประสงค์: ชมรมฯ นี้ตั้งขึ้น
This will close in 500 seconds
ประธาน: คุณลือศักดิ์ สุขเกษม (ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน))
ผู้ประสานงาน: คุณนิภาพร ดาวขนอน
วัตถุประสงค์: ชมรมฯ นี้ตั้งขึ้น
This will close in 500 seconds
ธรรมาภิบาล(Governance) : มีระบบการกำกับดูแลกิจการที่ดี และดำเนินการกำกับดูแลได้อย่างมีประสิทธิผลในระดับคณะกรรมการ โดยกำหนดภาระและขอบเขตความรับผิดชอบที่ชัดเจนในระดับการจัดการในเรื่องที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล
This will close in 500 seconds
ยุทธศาสตร์ (Strategy) : บูรณาการพันธกิจด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล เข้ากับยุทธศาสตร์การดำเนินธุรกิจและกำหนดกรอบด้านการเงินที่ยั่งยืน โดยสนับสนุนเพื่อให้ประเทศสามารถเปลี่ยนผ่านไปสู่เป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ได้อย่างราบรื่น
This will close in 500 seconds
การบริหารความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อม สังคมและธรรมาภิบาล (ESG Risk Management) : ผนวกรวมประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล ไว้ในกระบวนการบริหารความเสี่ยง
This will close in 500 seconds
ผลิตภัณฑ์ทางการเงิน(Financial Products) : ปรับใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อส่งเสริมการเข้าถึงบริการทางการเงิน รวมทั้งนวัตกรรมทางการเงินที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและยั่งยืน
This will close in 500 seconds
การสื่อสาร (Communication) : สื่อสารและประสานความร่วมมือกับผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วนในการสร้างจิตสำนึกสาธารณะด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล
This will close in 500 seconds
การเปิดเผยข้อมูลทางการเงิน (Disclosure) : พัฒนาระบบการติดตามและการรายงานที่สอดคล้องกับกรอบการกำกับดูแลของประเทศไทยและมาตรฐานการเปิดเผยข้อมูลด้านความยั่งยืนในระดับสากล
This will close in 500 seconds