คอลัมน์ : ร่วมด้วยช่วยคิด
ผู้เขียน : ดร.นครินทร์ อมเรศ, กัมพล พรพัฒนไพศาลกุล ธนาคารไทยพาณิชย์, พริ้มเพรา กิจพาณิชย์ ธนาคารแห่งประเทศไทย
ในโอกาสรับปีใหม่ที่จะเป็นปีแห่งการเดินหน้าสู่โลกดิจิทัลอย่างเต็มตัว หลัง McKinsey สรุปว่า ในปีที่ผ่านมา Generative AI ได้สร้างแรงกระเพื่อมต่อธุรกิจและสังคมผ่านการผลักดันให้หันกลับมาเสียบปลั๊ก (Rewire) ปรับวิถีการทำงานขององค์กรให้เป็นหนึ่งเดียวกับโลกดิจิทัล
สอดคล้องกับที่ธนาคารแห่งประเทศไทยได้เปิดรับฟังความคิดเห็นจากสาธารณชนในประเด็น อาทิ ธนาคารพาณิชย์ไร้สาขา (Virtual Bank) และการเปิดกว้างให้ใช้ประโยชน์จากข้อมูลตามสิทธิของผู้ใช้บริการ (Open Data for Consumer Empowerment) ภายใต้แนวนโยบายภูมิทัศน์ภาคการเงินไทยบนหลัก เปิดกว้างในการแข่งขัน (Open Competition) เปิดกว้างให้ผู้ใช้บริการเข้าถึงโครงสร้างพื้นฐานทางการเงิน (Open Infrastructure) และเปิดกว้างให้มีการใช้ประโยชน์จากข้อมูล (Open Data) บทความนี้ขอถอดบทเรียน 4 ประเทศ ประกอบการเดินหน้าสู่ดิจิทัลการเงินไทย
Social Media Bank จากเกาหลีใต้
Kakao Bank เป็นธนาคารดิจิทัลในกลุ่มบริษัท Kakao ที่ทำธุรกิจโซเชียลมีเดีย “Kakao Talk” โดยมีลูกค้ากว่า 20 ล้านคนในปี 2565 (38.6% ของประชากรเกาหลีใต้) และลูกค้า 86% อายุ 20-40+ ปี จุดเด่นมาจากฐานลูกค้าผู้ใช้งานโซเชียลมีเดีย และผลิตภัณฑ์และบริการที่สะดวก ต้นทุนต่ำ ให้อิสระการบริหารเงินแก่ผู้ใช้บริการ เช่น มีบริการข้อมูลเครดิต (My Credit Information) ที่ลูกค้าเข้าถึงข้อมูลเครดิตตนเอง จึงปรับปรุงสถานะเครดิตได้ โดยไม่คิดค่าธรรมเนียมในการโอนเงินและถอนเงินผ่าน ATM และใช้บริการได้ง่ายตลอด 24 ชั่วโมง ทำให้เป็นที่นิยมและแข่งขันกับธนาคารดั้งเดิมได้
ตลอดจนส่งเสริมนวัตกรรมทางการเงิน เช่น เงินฝากประจำ 26 สัปดาห์ ที่เน้นลูกค้าวัยรุ่นและวัยทำงาน โดยให้ดอกเบี้ยสูงและเงินฝากขั้นต่ำน้อย เพื่อจูงใจและลดอุปสรรคในการเข้าถึงบริการการเงิน เป็นต้น และสร้างการเข้าถึงบริการทางการเงิน (Financial Inclusion) โดยเฉพาะวัยรุ่นและผู้หญิง ซึ่งเป็นกลุ่มที่ได้รับการบริการไม่เพียงพอ (Underserved)
Digital Bank ดั้งเดิมจากสิงคโปร์
DBS ทำแอปพลิเคชั่นให้ลูกค้าเปิดบัญชีได้ทุกที่โดยไม่ต้องไปสาขาและใช้เวลาไม่กี่นาที ผ่านระบบยืนยันตัวตนแบบ Biometric Identification เพื่อความปลอดภัย และติดต่อ Chatbot ได้ตลอดเวลา การปรับตัวให้เป็นดิจิทัลเต็มตัวเพื่อให้สามารถรับมือแพลตฟอร์มยักษ์ใหญ่ที่เข้ามาบุกธุรกิจการเงิน ทั้ง Facebook กับ Google
DBS มีกลยุทธ์ 4 ประการ คือ 1) ดึงดูดและรักษากลุ่ม Tech Talent ทั้ง Developer, User Experience/User Interface (UX/UI) Designer และ Product Manager ให้อยู่กับองค์กรผ่านการปรับรูปแบบการทำงานและวัฒนธรรม 2) ทำลายโครงสร้างองค์กรแบบ Silo ผ่านการทำงานโดยใช้คนจากหลายสายงานมาอยู่ในทีมเดียวกัน เพื่อสร้างความเข้าใจรายละเอียดของงาน 3) ใช้ประโยชน์จากข้อมูลและเทคโนโลยี AI ในทุกกระบวนการทำงาน โดยส่งข้อความการตลาดแบบเจาะจง (Hyper-Personalization) มากกว่า 45 ล้านครั้งต่อเดือน และ 4) ลงทุนต่อเนื่องในเทคโนโลยี โดยลงทุนแพลตฟอร์มเชื่อมต่อบริการและโครงสร้างพื้นฐานแล้วกว่า 5 พันล้านเหรียญสิงคโปร์ หรือ 122,000 ล้านบาท
ธนาคารเพื่อลดความยากจนในเคนยา
M-Pesa (Mobile-Pesa ในภาษาสวาฮิลี แปลว่า “เงิน”) เป็นบริการการเงินบนโทรศัพท์มือถือที่เริ่มในปี 2549 โดยโวดาโฟน (Vodafone) บริษัทโทรคมนาคมจากอังกฤษ และซาฟารีคอม (Safaricom) จากเคนยา เพื่อใช้กลไกธุรกิจและนวัตกรรมสร้างโอกาสให้ผู้มีรายได้น้อยที่เข้าไม่ถึงบริการการเงิน (Unbanked) กว่า 2,500 ล้านคนทั่วโลก โดยในเคนยามีประชากรที่เข้าถึงธนาคารเพียง 19% และใช้สถาบันการเงินไมโครไฟแนนซ์แค่ 7.5% แต่กลับมีคนถึง 80% ที่มีโทรศัพท์มือถือ
ทีมงานจึงวิเคราะห์พฤติกรรมลูกค้าที่ใช้ค่าเติมเงินมือถือแทนเงินสด เช่น โอนค่าเติมมือถือให้คนในครอบครัว หรือขายต่อให้คนอื่น แล้วปรับเป็นวิธีการชำระหนี้ไมโครไฟแนนซ์ผ่านทางมือถือ M-Pesa ซึ่งประสบความสำเร็จเกินที่คาดว่าจะมีสมาชิก 350,000 คนในปีแรก กลายเป็นมีสมาชิกสูงถึง 1.2 ล้านคน และเข้าถึงกลุ่มประชากรยากจนที่สุดที่รายได้น้อยกว่า 1.25 ดอลลาร์ (43 บาท) ต่อวัน ทำให้ลูกค้าจำนวนมากพ้นความยากจน
แบงก์ข้อมูลทางเลือกในแอฟริกาใต้
ไทม์แบงก์ TymeBank (Take Your Money Everywhere) ใช้ข้อมูลทางเลือกสร้าง Track Record เครดิตให้ลูกค้าเข้าถึงแหล่งเงินทุนมากขึ้น โดยในจำนวนผู้ใช้บริการทางการเงิน 23 ล้านราย พบว่าผู้ใช้บริการสินเชื่อกว่า 8 ล้านราย ไม่มีข้อมูลเครดิตบูโรเพียงพอต่อการประเมินความเสี่ยงเครดิต จึงต้องใช้ข้อมูลรูปแบบการซื้อของ (Purchasing Patterns) ผ่านความร่วมมือกับธุรกิจร้านค้ารายย่อย พิคแอนด์เพย์ (Pick n’ Pay) พัฒนา Scorecard ของลูกค้า นอกจากนั้นยังส่งเสริมการฝากเงินในระบบ จากเดิมที่คนแอฟริกาใต้นิยมฝากเงินนอกระบบการเงิน
โดยเสนอบริการทางการเงินที่ง่ายและรวดเร็ว ด้วยต้นทุนการเงินที่ไม่สูง ผ่านกระบวนการไม่ยุ่งยากและนำข้อมูลทางชีวภาพของลูกค้าเข้าระบบกลางของทางการเพื่อเชื่อมต่อฐานข้อมูล มีจุดให้บริการทางกายภาพในรูปแบบ Kiosk เชื่อมบริการออนไลน์และออฟไลน์ ได้แก่ การเปิดบัญชีและทำ Know Your Customer (KYC) เป็นต้น เพื่อให้บริการกลุ่มที่เข้าถึงบริการการเงินไม่เพียงพอ เช่น ผู้หญิงวัยรุ่น รายได้น้อย ที่อยู่ห่างไกล โดยกลุ่มดังกล่าวมีสัดส่วนเพียง 2.3% ของประชากรที่เข้าถึงบริการทางการเงิน แต่คิดเป็น 7% ของลูกค้าไทม์แบงก์ โดย 13% ของลูกค้าเป็นกลุ่มที่ใช้บริการการเงินเป็นครั้งแรก
สำหรับประเทศไทย การใช้งานดิจิทัลแบงก์ไม่ได้อยู่กับผู้กำกับดูแลและผู้ให้บริการการเงินเท่านั้น แต่ต้องอาศัยความพร้อมของผู้ใช้บริการที่ต้องมีความรู้ทางการเงิน (Financial Literacy) และเข้าใจวิธีรับมือความเสี่ยงจากอาชญากรรมออนไลน์ที่อาจเกิดขึ้น ตลอดจนต้องผสานความร่วมมือกับผู้กำกับดูแลและผู้ให้บริการที่เกี่ยวข้องนอกระบบการเงิน จึงจะทำให้การเงินไทยเดินหน้าสู่โลกดิจิทัลได้อย่างสมบูรณ์
ขอขอบคุณแหล่งที่มา : ประชาชาติธุรกิจ
Chairman: Mr. Suwit Indrachalerm (Bangkok Bank Public Company Limited)
Coordinator: Mr. Suphawat Maseng
Objectives: This club is established with the approval of its members to carry out corporate social responsibility (CSR) activities consistent with the operations of the Thai Bankers’ Association as follows
This will close in 500 seconds
Chairman: Ms. Suteera Sripaibulya (Bangkok Bank Public Company Limited)
Coordinator: Ms. Sampantanee Apaipan
Objectives: This club is established
This will close in 500 seconds
Chairman: Mr. Than Siripokee (Bangkok Bank Public Company Limited)
Coordinator: Ms. Supada Ruttanapong
Objectives: This club is established
This will close in 500 seconds
Chairman: Mr. Paisarn Lertkowit (Bangkok Bank Public Company Limited)
Coordinator: Ms. Kristsanee Disapad
Objectives: This club is established
This will close in 500 seconds
Chairman: Mr. Kittichai Singha (Bank of Ayudhya Public Company Limited)
Coordinatior: Ms. Chutiporn Jiranansuroj
Objectives: This club is established
This will close in 500 seconds
Chairman: Pongpichet Nananukool (Kasikorn Bank Public Company Limited)
Coordinator: Mr. Warat Attanandana
Objectives: This club is established
This will close in 500 seconds
Chairman: Mr. Kitipong Muttamara (Krungthai Bank Public Company Limited)
Coordinator: Ms. Manisa Rueangsri
Objectives: This club is established
This will close in 500 seconds
Chairman: Mr. Atis Ruchirawat Ayudhya Capital Services Co., Ltd.
Coordinator: Ms. Apsorn Suttaroj
Objectives: This club is established
This will close in 500 seconds
Acting Chairman: Mr. Settarat Na-Nakorn (Kasikorn Bank Public Company Limited)
: Ms. Suchanee.lavanavanija (Bangkok Bank Public Company Limited)
Coordinator: Ms. Monruedee Teerarungruang
Objectives: The Club is established
This will close in 500 seconds
Chairman: Mr. Thitivorn Chothayaphorn (Bank of Ayudhya Public Company Limited)
Coordinator: K. Jitti Wijitbanjong
Objectives: The Club is established
This will close in 500 seconds
Chairman: Mr. Prathin Kijjaruwankul (Kiatnakin Phatra Bank Public Company Limited)
Coordinator: Mr. Thammanun Harnprasitkam
Objectives: The Club is established
This will close in 500 seconds
Chairman: Ms. Oranuch Nampoolsuksan (Bangkok Bank Public Company Limited)
Coordinator: Ms. Roongratt Ratanarajchartikul
Objectives: The Club is established
This will close in 500 seconds
Chairman: Dr. Phacharaphot Nuntramas (Krungthai Bank Public Company Limited)
Coordinator: Dr. Chamadanai Maknual
Objectives: The Club is established
This will close in 500 seconds
Chairman: Ms. Pornvalai Kulrojseth (Krungthai Bank Public Company Limited)
Coordinator: -
Objectives: The Club is established
This will close in 500 seconds
Chairman: Ms. Puntipa Hannoraseth (Bank of Ayudhya Public Company Limited)
Coordinator: Ms. Tippawan Bannajirakul
Objectives: The Club is established
This will close in 500 seconds
Chairman: Ms. Waranee Wanrat (TMBThanachart Bank Public Company Limited)
Coordinator: Ms. Sunisa Netsawang
Objectives: The Club is established
This will close in 500 seconds
Acting Chairman: Ms. Jeerana Ramasoot (Bangkok Bank Public Company Limited)
Coordinator: Ms. Natchanok Aryukong
Objectives: The Club is established
This will close in 500 seconds
Chairman: Dr. Vasin Udomratchatavanich Bank of Ayudhya Public Company Limited
Coordinator: Ms. Manduan Aeambunapong
Objectives: The Club is established
This will close in 500 seconds
Chairman: Mr. Sant Thaosuwan (Bank of Ayudhya Public Company Limited)
Coordinator: Ms. Wasunthree Tri-utok
Objectives: The Club is established
This will close in 500 seconds
Chairman: Mr. luesak Sukasem (Krungthai Bank Public Company Limited)
Coordinator: Ms. Nipaporn Daokhanon
Objectives: The Club is established
This will close in 500 seconds
ธรรมาภิบาล(Governance) : มีระบบการกำกับดูแลกิจการที่ดี และดำเนินการกำกับดูแลได้อย่างมีประสิทธิผลในระดับคณะกรรมการ โดยกำหนดภาระและขอบเขตความรับผิดชอบที่ชัดเจนในระดับการจัดการในเรื่องที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล
This will close in 500 seconds
ยุทธศาสตร์ (Strategy) : บูรณาการพันธกิจด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล เข้ากับยุทธศาสตร์การดำเนินธุรกิจและกำหนดกรอบด้านการเงินที่ยั่งยืน โดยสนับสนุนเพื่อให้ประเทศสามารถเปลี่ยนผ่านไปสู่เป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ได้อย่างราบรื่น
This will close in 500 seconds
การบริหารความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อม สังคมและธรรมาภิบาล (ESG Risk Management) : ผนวกรวมประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล ไว้ในกระบวนการบริหารความเสี่ยง
This will close in 500 seconds
ผลิตภัณฑ์ทางการเงิน(Financial Products) : ปรับใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อส่งเสริมการเข้าถึงบริการทางการเงิน รวมทั้งนวัตกรรมทางการเงินที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและยั่งยืน
This will close in 500 seconds
การสื่อสาร (Communication) : สื่อสารและประสานความร่วมมือกับผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วนในการสร้างจิตสำนึกสาธารณะด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล
This will close in 500 seconds
การเปิดเผยข้อมูลทางการเงิน (Disclosure) : พัฒนาระบบการติดตามและการรายงานที่สอดคล้องกับกรอบการกำกับดูแลของประเทศไทยและมาตรฐานการเปิดเผยข้อมูลด้านความยั่งยืนในระดับสากล
This will close in 500 seconds
3 เรื่องต้องรู้ก่อนเข้าร่วมมาตรการปิดจบ หนี้เรื้อรัง
**สามารถขอออกจากมาตรการได้ แต่จะไม่ได้รับสิทธิแก้หนี้ตามเงื่อนไขเดิม**
3 เรื่องต้องรู้ หากจ่ายขั้นต่ำบัตรกดเงินสดนาน ๆ
แบบไหนเข้าข่ายปัญหาหนี้เรื้อรัง (Persistent Debt - PD)
1. แม้ภาระต่อเดือนไม่สูง แต่ใช้เวลานาน กว่าจะหมดหนี้
2. ยอดขั้นต่ำที่จ่ายแต่ละเดือนเป็นดอกเบี้ยมากกว่าเงินต้น
3. เมื่อผ่อนจบพบว่ายอดรวมที่จ่ายไปส่วนใหญ่คือ ดอกเบี้ย
อยากหมดหนี้ไว ㆍจ่ายดอกเบี้ยลดลง ㆍ ภาระต่อเดือนไม่เพิ่มจากเดิม
เลือกเข้ามาตรการปิดจบหนี้เรื้อรังได้ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป
หมายเหตุ : ลูกหนี้ที่เข้าข่ายเป็นหนี้รื้อร้ง จะได้รับการติดต่อจากเจ้าหนี้ โดยหาก 5 ปีที่ผ่านมา ลูกหนี้จ่ายดอกเบี้ยรวมมากกว่าเงินต้นรวม จะได้รับข้อเสนอปิดจบหนี้ภายใน 5 ปี ดอกเบี้ยไม่เกิน 15% ต่อปี
ตัวอย่าง
ใช้บัตรกดเงินสด
วงเงินหมุนเวียน 15,000 บาท
ผ่อนขั้นต่ำ (3%) มาแล้ว 5 ปี
เหลือจ่ายเงินต้นอีก 8,700 บาท
ทางเลือกที่ 1 : ผ่อนขั้นต่ำต่อไปจนครบ ดอกเบี้ย 25% ต่อปี ผ่อนต่ออีก 13 ปี 5 เดือน
เหลือจ่ายดอกเบี้ยอีก 14,000 บาท
ดอกเบี้ยรวมทั้งสัญญา 29,000 บาท
ทางเลือกที่ 2 : เข้าโครงการแก้หนี้เรื้อรัง ดอกเบี้ย 15% ต่อปี ผ่อนต่ออีก 3 ปี 6 เดือน (เดือนละ 260 บาท)
เหลือจ่ายดอกเบี้ยอีก 2,500 บาท
ดอกเบี้ยรวมทั้งสัญญา 17,500 บาท
*ประหยัดดอกเบี้ยได้ 11,500 บาท*
หมายเหตุ: ผ่อนเดือนละ 260 บาท เท่ากับยอดการผ่อนขั้นต่ำ ณ เดือนสุดท้ายของปีที่ 5 ก่อนเข้าโครงการ
ตอบข้อสงสัย มาตรการปิดจบหนี้เรื้อรัง
(1) ทำไมมาตรการปิดจบหนี้เรื้อรัง ไม่รวมหนี้บัตรเครดิต?
(2) ทำไมต้องมีเงื่อนไขปิดวงเงินหากเข้าร่วมมาตรการปิดจบหนี้เรื้อรัง
(3) การเข้ามาตรการปิดจบหนี้เรื้อรัง จะมีการรายงานข้อมูลในเครดิตบูโร (NCB) หรือไม่
ทำไมมาตรการปิดจบหนี้เรื้อรัง ไม่รวมหนี้บัตรเครดิต?
เพราะหนี้บัตรเครดิตมี (1) อัตราดอกเบี้ย และ (2) เงื่อนไขการผ่อนชำระที่ทำให้ไม่เข้าข่ายหนี้เรื้อรังที่จ่ายดอกเบี้ยมากกว่าเงินต้นและใช้เวลานานในการปิดจบ
ลูกหนี้บัตรเครดิตจ่ายขั้นต่ำที่ 8% ทำให้จ่ายชำระเงินต้นมากกว่าดอกเบี้ย ลูกหนี้สามารถปิดจบหนี้ได้ภายในระยะเวลาไม่นานนัก
บัตรกดเงินสดมักจ่ายขั้นต่ำที่ 3% และดอกเบี้ยส่วนใหญ่อยู่ที่ 25% ต่อปี ซึ่งจะทำให้ ตัดจ่ายดอกเบี้ย 2% และตัดเงินต้นเพียง 1%
ทำไมต้องมีเงื่อนไขปิดวงเงินหากเข้าร่วมมาตรการปิดจบหนี้เรื้อรัง
เงื่อนไขการปิดวงเงินจะช่วยให้ลูกหนี้มีวินัยทางการเงินเพิ่มขึ้นและสามารถปิดจบหนี้ได้ภายใน 5 ปี
อย่างไรก็ดี กรณีลูกหนี้ที่เข้ามาตรการฯ มีความจำเป็นฉุกเฉิน เช่น เจ็บป่วย ได้รับอุบัติเหตุ ตกงาน ผู้ให้บริการอาจพิจารณาให้สินเชื่อได้ หากลูกหนี้มีความสามารถในการชำระหนี้เพียงพอ ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับนโยบายและเงื่อนไขของผู้ให้บริการแต่ละแห่ง
กรณีลูกหนี้มีบัตรกดเงินสดมากกว่า 1 ใบ สามารถเลือกเข้าโครงการแค่บางบัตร และเก็บวงเงินบัตรกดเงินสดที่เหลือไว้ก่อนได้
การเข้ามาตรการปิดจบหนี้เรื้อรัง จะมีการรายงานข้อมูลในเครดิตบูโร (NCB) หรือไม่
จะมีการรายงานข้อมูลใน NCB โดยเพิ่มการรายงานประเภทของสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้ "รหัส (code) 03" โดยจะไม่กระทบสถานะบัญชีลูกหนี้ที่ยังเป็น 10-ปกติ เช่นเดิมทั้งนี้ การรายงานนี้ จะช่วยให้ผู้ให้บริการทราบถึงการเข้าโครงการซึ่งสะท้อนความตั้งใจที่ดีในการแก้ปัญหาหนี้ของลูกหนี้
มาตรการปิดจบหนี้เรื้อรัง..ช่วยเหลือลูกหนี้อย่างไร?
ถ้าได้รับแจ้งเตือนว่าเป็นลูกหนี้เรื้อรัง (severe PD) จะได้รับข้อเสนอให้สมัครเข้าร่วมมาตรการเพื่อปิดจบหนี้ ซึ่งจะได้รับประโยชน์จากการเข้าร่วมมาตรการ ดังนี้
** สำหรับลูกหนี้ที่เริ่มเรื้อรัง (general PD) ให้รีบติดต่อเจ้าหนี้หากต้องการแก้หนี้ เจ้าหนี้จะมีแนวทางให้ความช่วยเหลือที่เหมาะสมเป็นรายกรณี **
การแจ้งเตือนเมื่อเข้าข่ายลูกหนี้เรื้อรัง
ความถี่การแจ้งเตือนจากเจ้าหนี้
ช่องทางการแจ้งเตือน
โดยลูกหนี้เรื้อรังจะได้รับข้อเสนอแนวทางการปิดจบหนี้จากเจ้าหนี้ด้วย
หนี้เรื้อรัง คืออะโร.. แค่ไหนที่เรียกว่าเรื้อรัง?
แบบไหนเข้าข่ายปัญหาหนี้เรื้อรัง (Persistent Debt - PD)
ลูกหนี้เรื้อรัง 2 แบบ
1. เริ่มเป็นหนี้เรื้อรัง (general PD)
2. เป็นหนี้เรื้อรัง (severe PD)
** ธปท. กำหนดเกณฑ์รายได้ เพื่อมุ่งให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ที่เดือดร้อนที่สุดก่อน โดยพิจารณาความเรื้อรังและรายได้ที่ไม่สูงมากของลูกหนี้ **
ทวงหนี้อย่างเป็นธรรม ต้องแจ้งข้อมูลสำคัญอะไรบ้าง
เจ้าหนี้จะต้องแจ้งรายละเอียดของภาระหนี้พร้อมข้อมูลสำคัญอื่น ๆ แก่ลูกหนี้ให้ครบถ้วน เช่น
และห้ามเรียกให้ผู้ค้ำประกันชำระหนี้ก่อน ยกเว้น ลูกหนี้ล้มละลายหรือติดต่อไม่ได้
#ResponsibleLending #แก้หนี้ยั่งยืน #เจ้าหนี้รับผิดชอบ #ลูกหนี้มีวินัย
มีหนี้กับหลายเจ้าหนี้จะทำอย่างไร?
เคยปรับโครงสร้างหนี้แล้วขอปรับซ้ำได้ไหม?
หมายเหตุ: เกณฑ์ Responsible Lending ลูกหนี้มีสิทธิขอปรับโครงสร้างหนี้ ก่อนเป็นหนี้เสีย อย่างน้อย 1 ครั้ง และหลังเป็นหนี้เสีย อย่างน้อย 1 ครั้ง โดยนับรวมการปรับโครงสร้างหนี้ก่อน 1 ม.ค. 67
สัญญาณปัญหาหนี้
สัญญาณว่าลูกหนี้กำลังมีปัญหา เช่น จ่ายขั้นต่ำ จ่ายช้า กดบัตรเงินสดมาจ่ายคืนหนี้อื่น รายได้ไม่พอรายจ่าย ถ้าเห็นสัญญาณแบบนี้ไปคุยกับเจ้าหนี้ได้เลย !!
หมายเหตุ: สนใจติดต่อ Call center และสาขาของธนาคารที่ท่านใช้บริการ