ธปท.ผนึก TB-CERT และตำรวจไซเบอร์ เดินหน้ามาตรการป้องกันภัยทางการเงิน-เร่งกวาดบัญชีม้า คาด 5 ปี ภัยไซเบอร์ขึ้นเป็นอันดับ 1 ของการทุจริต เปิดสถิติ 5 อันดับเรื่องแจ้งความออนไลน์ สร้างความเสียหายกว่า 4 หมื่นล้านบาท เตือนรับเปิดบัญชีม้า รับโทษจำคุก 3 ปี ปรับ 3 แสนบาท แนะผู้เสียหายเร่งแจ้งธนาคารภายใน 72 ชั่วโมงระงับบัญชีทันท่วงที
วันที่ 16 กรกฎาคม 2566 นายอนุภาค มาตรมูล ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายการกำกับและตรวจสอบความเสี่ยงด้าน IT ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวในงานเสวนา “โครงการพัฒนาศักยภาพผู้สื่อข่าวเศรษฐกิจระดับสูง (พศส.) 2566” เปิดโลกนวัตกรรม ก้าวทันเทรนด์ การเงินยั่งยืน ในหัวข้อ “ความปลอดภัยของข้อมูลในโลกการเงิน ภัยการเงิน การหลอกลวงทางไซเบอร์ การทำคดีด้านการเงินของเจ้าหน้าที่ตำรวจ” ว่า เมื่อวันที่ 9 มีนาคม 66 ที่ผ่านมาธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้ออกแนวมาตรการจัดการภัยทุจริตทางการเงิน
ธปท.กำชับแบงก์ยกระดับโมบายแบงกิ้ง
โดยเป็นมาตรการขั้นต่ำ เพื่อป้องกันภัยทางการเงิน ซึ่งที่ผ่านมามีความเสียหายเกิดจาก “แอปดูดเงิน” เป็นจำนวนมาก ทำให้มาตรการป้องกันจะทำเป็นระยะ ซึ่งระยะแรก หรือเวอร์ชั่นแรก จะเป็นการให้สถาบันการเงินหรือธนาคารพาณิชย์พัฒนาระบบการตรวจจับว่ามีการติดตั้งแอปพลิเคชั่นปลอมติดตั้งอยู่หรือไม่ และระยะที่ 2 คือ การป้องกันการแคปหน้าจอมือถือ ซึ่งมิจฉาชีพจะรู้ว่าเหยื่อทำอะไรอยู่บนหน้าจอ
และระยะที่ 3 คือ มาตรการยืนยันตัวตนด้วย Biometrics เพื่อเปิดบัญชีออนไลน์ และการเปลี่ยนวงเงิน-โอนเงิน โดยการสแกนใบหน้าเมื่อเข้าเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในการทำธุรกรรมผ่าน Mobile Banking เช่น โอนเงินมากกว่า 50,000 บาทต่อครั้ง หรือ 200,000 บาทต่อวัน หรือปรับเพิ่มวงเงินทำธุรกรรมต่อวันเป็นตั้งแต่ 50,000 บาทขึ้นไป เพื่อป้องกันเกิดความเสียหายน้อยลง เมื่อถูกหลอกติดตั้งแอป ดูดเงิน
“วิธีป้องกันประชาชนควรหมั่นอัปเดตแอปพลิเคชั่นเป็นเวอร์ชั่นล่าสุด และไม่กดลิงก์ที่แนบมากับข้อความ SMS หรืออีเมล์ เนื่องจากธนาคารยกเลิกส่งลิงก์ทั้งหมดแล้ว”
ขณะเดียวภายหลังจากพระราชกำหนด (พ.ร.ก.) มาตรการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี พ.ศ. 2566 มีผลบังคับใช้ 17 มี.ค. 66 จะเห็นว่าสถาบันการเงินสามารถตรวจสอบและส่งข้อมูลเส้นทางการเงินให้กับเจ้าหน้าที่ตำรวจได้เร็วขึ้น เนื่องจากไม่ผิดกฎหมายข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA) ทำให้จำนวนยอดอายัดบัญชีม้าเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยในเดือน มี.ค. 66 อยู่ที่ 5,000 บัญชี เดือน เม.ย. 66 อยู่ที่ 6,000 บัญชี เดือน พ.ค. 66 อยู่ที่ 8,000 บัญชี และเดือน มิ.ย. 66 อยู่ที่ 9,000 บัญชี
ชี้ผู้เสียหายเร่งแจ้งแบงก์ภายใน 72 ชั่วโมง
โดยนายยศ กิมสวัสดิ์ กรรมการ TB-CERT และประธานสำนักงานระบบการชำระเงิน สมาคมธนาคารไทย และกล่าวเสริมว่า ตอนนี้ ธปท. สมาคมธนาคารไทย (TBA) TB-CERT และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อยู่ระหว่างร่วมมือในการทำงานเชิงรุกมากขึ้นในการปิดบัญชีม้า เนื่องจากที่ผ่านมาเป็นการอายัดบัญชีอย่างเดียว แต่ระยะต่อไปจะมีการติดตามบัญชีที่มีความผิดปกติและต้องสงสัยจะเป็นบัญชีม้า โดยเรียกว่ามาตรการ “เผาบัญชีม้า” ซึ่งเป็นมาตรการเชิงรุกแบบถอดรากถอนโคน
อย่างไรก็ดี ในส่วนของผู้เสียหายที่ถูกหลอกลวงผ่าน “แอปดูดเงิน” หรือช่องทางอื่นให้มีการโอนเงินไปยังบัญชีอื่นนั้น ผู้เสียหายเมื่อรู้ตัวแล้วควรรีบโทร.แจ้งธนาคารเป็นเจ้าของบัญชีผ่านสายด่วน Hotline และแจ้งตำรวจภายใน 72 ชั่วโมง เนื่องจากธนาคารจะมีสิทธิสามารถระงับบัญชีเพื่อให้ตำรวจสามารถตรวจสอบได้ 7 วัน เพื่อดำเนินการอายัดบัญชีต่อไป แต่กรณีหากไม่มีการแจ้งความภายใน 72 ชั่วโมง ธนาคารจะสามารถระงับการใช้บัญชีได้
ยอดอายัดบัญชีพุ่ง 15%
ด้านนายธีรวัฒน์ อัศวโภคี ประธานชมรมตรวจสอบและป้องกันการทุจริต สมาคมธนาคารไทย กล่าวว่า แนวโน้มการระงับบัญชีและการตรวจสอบธุรกรรมที่ต้องสงสัยทำได้ดีขึ้น โดยจำนวนการอายัดบัญชีเพิ่มขึ้นจาก 10% เป็น 15% ของมูลค่าความเสียหายทั้งหมด ภายหลัง พ.ร.ก.มาตรการป้องกันฯ มีผลบังคับใช้
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าแนวโน้มการติดตามธุรกรรมต้องสงสัยจนนำไปสู่การอายัดบัญชีทำได้ดีขึ้น แต่มองว่ายังดีไม่มากนัก เพราะการแลกเปลี่ยนข้อมูลยังทำได้ไม่รวดเร็วมากนัก จึงต้องมีการเพิ่มประสิทธิภาพและยกระดับระบบการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ดีขึ้น
“ธุรกรรมการทุจริตจะเห็นว่ามีวิวัฒนาการตามเทคโนโลยีและเปลี่ยนรูปแบบกลโกง ซึ่งที่ผ่านมาในช่วงปลายปี 64 เราจะเจอการทุจริต (Fraud) ในเรื่องของบัตรเครดิตและเดบิต หรือที่เราเรียกว่า Bill Attack ที่ใช้การสุ่มหมายเลขหลังบัตรเพื่อซื้อของออนไลน์โดยไม่ใช่รหัส OTP ทำให้ยอด Fraud ช่วงนั้นเพิ่มขึ้น 2 เท่า และหลังเรามีการทำมาตรการซื้อขายต้องมี OTP ทำให้ยอด Fraud ลดลง 3 เท่า ทำให้มิจฉาชีพหันมาหลอกลวงผ่านการส่งลิงก์ให้ติดตั้งแอปปลอม หรือเรียกแอปดูดเงินแทนผ่าน 3-4 ข้อ รัก โลภ กลัว หลง แทน”
คาด 5 ปี ภัยทางไซเบอร์พุ่งขึ้นอันดับ 1
พ.ต.อ.เจษฎา บุรินทร์สุชาติ ผู้กำกับการกลุ่มงานรักษาความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ กองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี กล่าวว่า แนวโน้มภัยไซเบอร์มีอัตราการเติบโตแบบก้าวกระโดด และมีวิวัฒนาการไปตามเทคโนโลยี ซึ่งรูปแบบการหลอกลวงเริ่มตั้งแต่เงินสด โอนเงิน และไปสู่สกุลเงินคริปโตเคอร์เรนซี เป็นต้น ซึ่งมีการคาดการณ์ว่าภายใน 5 ปีข้างหน้า การทุจริตที่เกิดจากภัยไซเบอร์จะขึ้นเป็นอันดับ 1 ของโลก และทวีความรุนแรงขึ้น ซึ่งปัจจุบันต้องยอมรับว่าเทคโนโลยีที่มีความก้าวหน้ายังคงมีช่องโหว่ให้มืจฉาชีพ และการตรวจจับยังตามหลังมิจฉาชีพ
เปิดสถิติแจ้งความออนไลน์ 5 อันดับแรก
ทั้งนี้ หากดูข้อมูลสถิติการแจ้งความออนไลน์สะสมนับตั้งแต่วันที่ 1 มี.ค. 65-28 มิ.ย. 66 พบว่ามีคดีออนไลน์ทั้งสิ้น 285,917 คดี แบ่งเป็นคดีที่เชื่อมโยงกันทั้งสิ้น 145,322 คดี และคดีที่ไม่เชื่อมโยงกันอยู่ที่ 140,537 คดี ยอดมูลค่าความเสียหายอยู่ที่ราว 4 หมื่นล้านบาท
โดยหากดูประเภทคดีที่เกิดขึ้นมากที่สุดตั้งแต่ 17 มี.ค.-28 มิ.ย. 66 ใน 5 อันดับแรก คือ 1.คดีหลอกซื้อขายสินค้าและบริการ จำนวน 299 คดีต่อวัน มูลค่าความเสียหาย 4.3 ล้านบาทต่อวัน 2.คดีหลอกให้โอนเงินเพื่อทำงานหารายได้พิเศษ จำนวน 78 เรื่องต่อวัน มูลค่าความเสียหาย 9.8 ล้านบาทต่อวัน และ 3.คดีหลอกให้กู้เงิน จำนวน 65 เรื่องต่อวัน มูลค่าความเสียหาย 3 ล้านบาทต่อวัน 4.คดี Call Center จำนวน 36 คดีต่อวัน มูลค่าความเสียหาย 8.3 ล้านบาทต่อวัน และ 5.คดีหลอกให้ลงทุนผ่านระบบคอมพิวเตอร์ จำนวน 32 เรื่องต่อวัน มูลค่าความเสียหาย 16.5 ล้านบาทต่อวัน
ทั้งนี้ ภายหลังจากมี พ.ร.ก.มาตรการป้องกันฯ พบว่าแนวโน้มสถิติการแจ้งความออนไลน์ปรับลดลงจากอดีตเฉลี่ยอยู่ที่ 700-800 เรื่องต่อสัปดาห์ ปัจจุบันเฉลี่ยเหลือ 500-600 เรื่องต่อสัปดาห์ และคาดว่าในระยะข้างหน้าอาจจะปรับลดลงต่อเนื่อง โดยอยากเห็นลดลงมาอยู่ที่ราว 200 เรื่อง
เพิ่มโทษบัญชีม้า-เสริมมาตรการสกัดจับ
อย่างไรก็ดี แม้ว่าในส่วนของการอายัดบัญชีจะทำได้ดีขึ้นจาก 10% เป็น 15% แต่หากดูเม็ดเงินที่ตามเก็บและสามารถอายัดได้ยังคงมีสัดส่วนน้อยเพียง 1-2% ของมูลค่าความเสียหาย 4 หมื่นล้านบาท ดังนััน จึงต้องมีความร่วมมือแบบบูรณาการจากหน่วยงานอื่น ๆ รวมถึงต้องทำมาตรการเชิงรุกเพิ่มเติม เช่น ที่ผ่านมาได้ดำเนินมาตรการที่เรียกว่า RS03 ซึ่งเป็นมาตรการแบบถอดรากถอดโคน โดยนำเลขบัตรประชาชนของผู้ที่เปิดบัญชีม้า เพื่อตรวจสอบว่ามีบัญชีที่ต้องสงสัยเป็นบัญชีม้าอีกหรือไม่ ซึ่งหลังจากดำเนินมาตรการพบว่าสามารถปิดบัญชีม้าเพิ่มเติมได้ถึง 20,000 บัญชีภายในระยพเวลา 2 เดือนที่ผ่านมา
“ก่อนกฎหมาย พ.ร.ก.มาตรการป้องกันฯ ออกมาช่วงแรกอาจจะติดขัดบ้าง เพราะเราไม่สามารถอายัดบัญชีม้าได้ เพราะติดกฎหมาย PDPA ทำให้เราอายัดบัญชีไม่ทัน แต่หลังมี พ.ร.ก.และเปลี่ยนเป็นให้แบงก์เป็นผู้ตรวจสอบและส่งเรื่องมาที่ตำรวจ ทำให้เราสามารถอายัดบัญชีได้ดีขึ้น แต่ยังคงดีไม่พอ จะต้องมีมาตรการเพิ่มเติมก่อนจะเป็นบัญชีม้า คือ การตรวจสอบบัญชีผิดปกติและดำเนินการ รวมถึงการเพิ่มบทลงโทษ เช่น จำคุก 3 ปี และปรับไม่เกิน 3 แสนบาท ซึ่งจากเดิมบัญชีม้าจะขายขาด ต่อไปจะเป็นบัญชีม้าเลี้ยง โดยไม่ได้เปิดบัญชีอย่างเดียว แต่ทำธุรกรรมให้ด้วย ซึ่งกลุ่มจะได้รับโทษเช่นเดียวกับมิจฉาชีพเพราะถือว่าสมรู้ร่วมคิดกัน
ขอขอบคุณแหล่งที่มา : ประชาชาติธุรกิจ
Chairman: Mr. Suwit Indrachalerm (Bangkok Bank Public Company Limited)
Coordinator: Mr. Suphawat Maseng
Objectives: This club is established with the approval of its members to carry out corporate social responsibility (CSR) activities consistent with the operations of the Thai Bankers’ Association as follows
This will close in 500 seconds
Chairman: Ms. Suteera Sripaibulya (Bangkok Bank Public Company Limited)
Coordinator: Ms. Sampantanee Apaipan
Objectives: This club is established
This will close in 500 seconds
Chairman: Mr. Than Siripokee (Bangkok Bank Public Company Limited)
Coordinator: Ms. Supada Ruttanapong
Objectives: This club is established
This will close in 500 seconds
Chairman: Mr. Paisarn Lertkowit (Bangkok Bank Public Company Limited)
Coordinator: Ms. Kristsanee Disapad
Objectives: This club is established
This will close in 500 seconds
Chairman: Mr. Kittichai Singha (Bank of Ayudhya Public Company Limited)
Coordinatior: Ms. Chutiporn Jiranansuroj
Objectives: This club is established
This will close in 500 seconds
Chairman: Pongpichet Nananukool (Kasikorn Bank Public Company Limited)
Coordinator: Mr. Warat Attanandana
Objectives: This club is established
This will close in 500 seconds
Chairman: Mr. Kitipong Muttamara (Krungthai Bank Public Company Limited)
Coordinator: Ms. Manisa Rueangsri
Objectives: This club is established
This will close in 500 seconds
Chairman: Mr. Atis Ruchirawat Ayudhya Capital Services Co., Ltd.
Coordinator: Ms. Apsorn Suttaroj
Objectives: This club is established
This will close in 500 seconds
Acting Chairman: Mr. Settarat Na-Nakorn (Kasikorn Bank Public Company Limited)
: Ms. Suchanee.lavanavanija (Bangkok Bank Public Company Limited)
Coordinator: Ms. Monruedee Teerarungruang
Objectives: The Club is established
This will close in 500 seconds
Chairman: Mr. Thitivorn Chothayaphorn (Bank of Ayudhya Public Company Limited)
Coordinator: K. Jitti Wijitbanjong
Objectives: The Club is established
This will close in 500 seconds
Chairman: Mr. Prathin Kijjaruwankul (Kiatnakin Phatra Bank Public Company Limited)
Coordinator: Mr. Thammanun Harnprasitkam
Objectives: The Club is established
This will close in 500 seconds
Chairman: Ms. Oranuch Nampoolsuksan (Bangkok Bank Public Company Limited)
Coordinator: Ms. Roongratt Ratanarajchartikul
Objectives: The Club is established
This will close in 500 seconds
Chairman: Dr. Phacharaphot Nuntramas (Krungthai Bank Public Company Limited)
Coordinator: Dr. Chamadanai Maknual
Objectives: The Club is established
This will close in 500 seconds
Chairman: Ms. Pornvalai Kulrojseth (Krungthai Bank Public Company Limited)
Coordinator: -
Objectives: The Club is established
This will close in 500 seconds
Chairman: Ms. Puntipa Hannoraseth (Bank of Ayudhya Public Company Limited)
Coordinator: Ms. Tippawan Bannajirakul
Objectives: The Club is established
This will close in 500 seconds
Chairman: Ms. Waranee Wanrat (TMBThanachart Bank Public Company Limited)
Coordinator: Ms. Sunisa Netsawang
Objectives: The Club is established
This will close in 500 seconds
Acting Chairman: Ms. Jeerana Ramasoot (Bangkok Bank Public Company Limited)
Coordinator: Ms. Natchanok Aryukong
Objectives: The Club is established
This will close in 500 seconds
Chairman: Dr. Vasin Udomratchatavanich Bank of Ayudhya Public Company Limited
Coordinator: Ms. Manduan Aeambunapong
Objectives: The Club is established
This will close in 500 seconds
Chairman: Mr. Sant Thaosuwan (Bank of Ayudhya Public Company Limited)
Coordinator: Ms. Wasunthree Tri-utok
Objectives: The Club is established
This will close in 500 seconds
Chairman: Mr. luesak Sukasem (Krungthai Bank Public Company Limited)
Coordinator: Ms. Nipaporn Daokhanon
Objectives: The Club is established
This will close in 500 seconds
ธรรมาภิบาล(Governance) : มีระบบการกำกับดูแลกิจการที่ดี และดำเนินการกำกับดูแลได้อย่างมีประสิทธิผลในระดับคณะกรรมการ โดยกำหนดภาระและขอบเขตความรับผิดชอบที่ชัดเจนในระดับการจัดการในเรื่องที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล
This will close in 500 seconds
ยุทธศาสตร์ (Strategy) : บูรณาการพันธกิจด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล เข้ากับยุทธศาสตร์การดำเนินธุรกิจและกำหนดกรอบด้านการเงินที่ยั่งยืน โดยสนับสนุนเพื่อให้ประเทศสามารถเปลี่ยนผ่านไปสู่เป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ได้อย่างราบรื่น
This will close in 500 seconds
การบริหารความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อม สังคมและธรรมาภิบาล (ESG Risk Management) : ผนวกรวมประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล ไว้ในกระบวนการบริหารความเสี่ยง
This will close in 500 seconds
ผลิตภัณฑ์ทางการเงิน(Financial Products) : ปรับใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อส่งเสริมการเข้าถึงบริการทางการเงิน รวมทั้งนวัตกรรมทางการเงินที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและยั่งยืน
This will close in 500 seconds
การสื่อสาร (Communication) : สื่อสารและประสานความร่วมมือกับผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วนในการสร้างจิตสำนึกสาธารณะด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล
This will close in 500 seconds
การเปิดเผยข้อมูลทางการเงิน (Disclosure) : พัฒนาระบบการติดตามและการรายงานที่สอดคล้องกับกรอบการกำกับดูแลของประเทศไทยและมาตรฐานการเปิดเผยข้อมูลด้านความยั่งยืนในระดับสากล
This will close in 500 seconds
3 เรื่องต้องรู้ก่อนเข้าร่วมมาตรการปิดจบ หนี้เรื้อรัง
**สามารถขอออกจากมาตรการได้ แต่จะไม่ได้รับสิทธิแก้หนี้ตามเงื่อนไขเดิม**
3 เรื่องต้องรู้ หากจ่ายขั้นต่ำบัตรกดเงินสดนาน ๆ
แบบไหนเข้าข่ายปัญหาหนี้เรื้อรัง (Persistent Debt - PD)
1. แม้ภาระต่อเดือนไม่สูง แต่ใช้เวลานาน กว่าจะหมดหนี้
2. ยอดขั้นต่ำที่จ่ายแต่ละเดือนเป็นดอกเบี้ยมากกว่าเงินต้น
3. เมื่อผ่อนจบพบว่ายอดรวมที่จ่ายไปส่วนใหญ่คือ ดอกเบี้ย
อยากหมดหนี้ไว ㆍจ่ายดอกเบี้ยลดลง ㆍ ภาระต่อเดือนไม่เพิ่มจากเดิม
เลือกเข้ามาตรการปิดจบหนี้เรื้อรังได้ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป
หมายเหตุ : ลูกหนี้ที่เข้าข่ายเป็นหนี้รื้อร้ง จะได้รับการติดต่อจากเจ้าหนี้ โดยหาก 5 ปีที่ผ่านมา ลูกหนี้จ่ายดอกเบี้ยรวมมากกว่าเงินต้นรวม จะได้รับข้อเสนอปิดจบหนี้ภายใน 5 ปี ดอกเบี้ยไม่เกิน 15% ต่อปี
ตัวอย่าง
ใช้บัตรกดเงินสด
วงเงินหมุนเวียน 15,000 บาท
ผ่อนขั้นต่ำ (3%) มาแล้ว 5 ปี
เหลือจ่ายเงินต้นอีก 8,700 บาท
ทางเลือกที่ 1 : ผ่อนขั้นต่ำต่อไปจนครบ ดอกเบี้ย 25% ต่อปี ผ่อนต่ออีก 13 ปี 5 เดือน
เหลือจ่ายดอกเบี้ยอีก 14,000 บาท
ดอกเบี้ยรวมทั้งสัญญา 29,000 บาท
ทางเลือกที่ 2 : เข้าโครงการแก้หนี้เรื้อรัง ดอกเบี้ย 15% ต่อปี ผ่อนต่ออีก 3 ปี 6 เดือน (เดือนละ 260 บาท)
เหลือจ่ายดอกเบี้ยอีก 2,500 บาท
ดอกเบี้ยรวมทั้งสัญญา 17,500 บาท
*ประหยัดดอกเบี้ยได้ 11,500 บาท*
หมายเหตุ: ผ่อนเดือนละ 260 บาท เท่ากับยอดการผ่อนขั้นต่ำ ณ เดือนสุดท้ายของปีที่ 5 ก่อนเข้าโครงการ
ตอบข้อสงสัย มาตรการปิดจบหนี้เรื้อรัง
(1) ทำไมมาตรการปิดจบหนี้เรื้อรัง ไม่รวมหนี้บัตรเครดิต?
(2) ทำไมต้องมีเงื่อนไขปิดวงเงินหากเข้าร่วมมาตรการปิดจบหนี้เรื้อรัง
(3) การเข้ามาตรการปิดจบหนี้เรื้อรัง จะมีการรายงานข้อมูลในเครดิตบูโร (NCB) หรือไม่
ทำไมมาตรการปิดจบหนี้เรื้อรัง ไม่รวมหนี้บัตรเครดิต?
เพราะหนี้บัตรเครดิตมี (1) อัตราดอกเบี้ย และ (2) เงื่อนไขการผ่อนชำระที่ทำให้ไม่เข้าข่ายหนี้เรื้อรังที่จ่ายดอกเบี้ยมากกว่าเงินต้นและใช้เวลานานในการปิดจบ
ลูกหนี้บัตรเครดิตจ่ายขั้นต่ำที่ 8% ทำให้จ่ายชำระเงินต้นมากกว่าดอกเบี้ย ลูกหนี้สามารถปิดจบหนี้ได้ภายในระยะเวลาไม่นานนัก
บัตรกดเงินสดมักจ่ายขั้นต่ำที่ 3% และดอกเบี้ยส่วนใหญ่อยู่ที่ 25% ต่อปี ซึ่งจะทำให้ ตัดจ่ายดอกเบี้ย 2% และตัดเงินต้นเพียง 1%
ทำไมต้องมีเงื่อนไขปิดวงเงินหากเข้าร่วมมาตรการปิดจบหนี้เรื้อรัง
เงื่อนไขการปิดวงเงินจะช่วยให้ลูกหนี้มีวินัยทางการเงินเพิ่มขึ้นและสามารถปิดจบหนี้ได้ภายใน 5 ปี
อย่างไรก็ดี กรณีลูกหนี้ที่เข้ามาตรการฯ มีความจำเป็นฉุกเฉิน เช่น เจ็บป่วย ได้รับอุบัติเหตุ ตกงาน ผู้ให้บริการอาจพิจารณาให้สินเชื่อได้ หากลูกหนี้มีความสามารถในการชำระหนี้เพียงพอ ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับนโยบายและเงื่อนไขของผู้ให้บริการแต่ละแห่ง
กรณีลูกหนี้มีบัตรกดเงินสดมากกว่า 1 ใบ สามารถเลือกเข้าโครงการแค่บางบัตร และเก็บวงเงินบัตรกดเงินสดที่เหลือไว้ก่อนได้
การเข้ามาตรการปิดจบหนี้เรื้อรัง จะมีการรายงานข้อมูลในเครดิตบูโร (NCB) หรือไม่
จะมีการรายงานข้อมูลใน NCB โดยเพิ่มการรายงานประเภทของสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้ "รหัส (code) 03" โดยจะไม่กระทบสถานะบัญชีลูกหนี้ที่ยังเป็น 10-ปกติ เช่นเดิมทั้งนี้ การรายงานนี้ จะช่วยให้ผู้ให้บริการทราบถึงการเข้าโครงการซึ่งสะท้อนความตั้งใจที่ดีในการแก้ปัญหาหนี้ของลูกหนี้
มาตรการปิดจบหนี้เรื้อรัง..ช่วยเหลือลูกหนี้อย่างไร?
ถ้าได้รับแจ้งเตือนว่าเป็นลูกหนี้เรื้อรัง (severe PD) จะได้รับข้อเสนอให้สมัครเข้าร่วมมาตรการเพื่อปิดจบหนี้ ซึ่งจะได้รับประโยชน์จากการเข้าร่วมมาตรการ ดังนี้
** สำหรับลูกหนี้ที่เริ่มเรื้อรัง (general PD) ให้รีบติดต่อเจ้าหนี้หากต้องการแก้หนี้ เจ้าหนี้จะมีแนวทางให้ความช่วยเหลือที่เหมาะสมเป็นรายกรณี **
การแจ้งเตือนเมื่อเข้าข่ายลูกหนี้เรื้อรัง
ความถี่การแจ้งเตือนจากเจ้าหนี้
ช่องทางการแจ้งเตือน
โดยลูกหนี้เรื้อรังจะได้รับข้อเสนอแนวทางการปิดจบหนี้จากเจ้าหนี้ด้วย
หนี้เรื้อรัง คืออะโร.. แค่ไหนที่เรียกว่าเรื้อรัง?
แบบไหนเข้าข่ายปัญหาหนี้เรื้อรัง (Persistent Debt - PD)
ลูกหนี้เรื้อรัง 2 แบบ
1. เริ่มเป็นหนี้เรื้อรัง (general PD)
2. เป็นหนี้เรื้อรัง (severe PD)
** ธปท. กำหนดเกณฑ์รายได้ เพื่อมุ่งให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ที่เดือดร้อนที่สุดก่อน โดยพิจารณาความเรื้อรังและรายได้ที่ไม่สูงมากของลูกหนี้ **
ทวงหนี้อย่างเป็นธรรม ต้องแจ้งข้อมูลสำคัญอะไรบ้าง
เจ้าหนี้จะต้องแจ้งรายละเอียดของภาระหนี้พร้อมข้อมูลสำคัญอื่น ๆ แก่ลูกหนี้ให้ครบถ้วน เช่น
และห้ามเรียกให้ผู้ค้ำประกันชำระหนี้ก่อน ยกเว้น ลูกหนี้ล้มละลายหรือติดต่อไม่ได้
#ResponsibleLending #แก้หนี้ยั่งยืน #เจ้าหนี้รับผิดชอบ #ลูกหนี้มีวินัย
มีหนี้กับหลายเจ้าหนี้จะทำอย่างไร?