ซีอีโอธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ เตรียมพร้อมรับระเบียบธุรกิจใหม่ โดยเฉพาะกติกาที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้ออกประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เรื่อง การให้สินเชื่ออย่างรับผิดชอบ และเป็นธรรม (Responsible Lending) มีผลบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่1 มกราคม 2567 โดยพบคนไทยเกือบครึ่งยังเข้าไม่ถึงแหล่งเงินสินเชื่อในระบบ มองเป็นความท้าทายในภาวะหนี้ครัวเรือนสูง
นางสาวขัตติยา อินทรวิชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารกสิกรไทย เปิดเผยว่า กฎระเบียบต่างๆ มีเกิดขึ้นใหม่อย่างต่อเนื่องทั้งในระดับประเทศและสากล เป็นสิ่งที่ธนาคารต้องเตรียมพร้อม พัฒนาและปรับตัว ตลอดจนช่วยและสนับสนุนลูกค้าให้รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง โดยหนึ่งในนั้นคือ นโยบาย Responsible Lending ของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กับการสร้างการเข้าถึงสินเชื่ออย่างสมดุล
ซึ่งจากผลสำรวจของ ธปท. พบว่า ประชาชนเข้าถึงบริการทางการเงินได้ 99.7% หลักๆ เป็นบริการด้านเงินฝาก และบริการชำระเงิน ส่วนบริการด้านสินเชื่อมีอัตราการเข้าถึงต่ำที่สุด คือ 45.5% โจทย์ของธนาคาร คือ ทำอย่างไรให้ภาคประชาชนและภาคธุรกิจเข้าถึงบริการด้านสินเชื่อได้มากขึ้น ภายใต้ปัจจัยเสี่ยงเรื่องสัดส่วนหนี้ครัวเรือนของประเทศที่อยู่ในระดับสูงในปัจจุบัน
หลักการให้สินเชื่ออย่างรับผิดชอบและเป็นธรรม หรือResponsible Lending ของ ธปท. จึงเป็นแนวนโยบายที่ธนาคารให้ความสำคัญ โดยธนาคารมุ่งเน้นการปล่อยสินเชื่อที่มีคุณภาพ ควบคู่กับการใช้เทคโนโลยี ข้อมูล และความร่วมมือกับพันธมิตร ส่งเสริมวินัยทางการเงินที่ดี เพื่อการเติบโตอย่างมีคุณภาพไปพร้อมๆ กัน
โดยภาคธนาคารเป็นหนึ่งในฟันเฟืองสำคัญที่จะช่วยเพิ่มขีดความสามารถของภาคธุรกิจ และขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยให้เดินหน้าต่อไปได้ ด้วยความยืดหยุ่นพร้อมรับมือความท้าทาย และด้วยโมเดลการพัฒนาที่เป็นทางเลือกใหม่ที่จะสร้างโอกาสในการเติบโต ครอบคลุมการสร้างการเข้าถึงทางการเงินอย่างเหมาะสม
ควบคู่กับการส่งเสริมวินัยทางการเงินที่ดีบนรากฐานของResponsible Lending ตามแนวนโยบายของธนาคารแห่งประเทศไทย การให้บริการที่นอกเหนือจากบริการทางการเงินผ่านการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการที่หลากหลาย ตลอดจนการสร้างองค์ความรู้แก่ประชาชนเพื่อส่งเสริมวินัยทางการเงิน และการสร้างองค์ความรู้แก่ภาคธุรกิจเพื่อเสริมสร้างศักยภาพธุรกิจไทย “ธนาคารกสิกรไทย มุ่งมั่นที่จะเป็นธนาคารแห่งความยั่งยืน (Bank of Sustainability) โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อส่งมอบคุณค่าที่ยั่งยืนแก่ผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่าย พร้อมนำพาทุกคนสู่ความสำเร็จไปด้วยกัน ผ่านการดำเนินการแบบองค์รวม”
นายผยง ศรีวณิช กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงไทย กล่าวว่า การดำเนินการแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือนอย่างยั่งยืนและเป็นระบบมีความจำเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งมาตรการให้สินเชื่ออย่างรับผิดชอบและเป็นธรรม (Responsible Lending) ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยมีกำหนดเริ่มใช้ในปี 2567 เป็นแนวทางสำคัญที่จะช่วยบรรเทาปัญหาหนี้สินของครัวเรือนในระบบสถาบันการเงิน
โดยมุ่งเน้นไปที่การยกระดับมาตรฐานกระบวนการให้สินเชื่อและการปฏิบัติกับลูกหนี้อย่างเป็นธรรม ครอบคลุมตลอดทั้งวงจรของการเป็นหนี้ ตั้งแต่การพัฒนาผลิตภัณฑ์สินเชื่อที่เหมาะสมกับความต้องการของลูกค้า การโฆษณาและการเสนอขายผลิตภัณฑ์ด้วยข้อมูลที่ถูกต้องชัดเจน ครบถ้วน ไม่กระตุ้นการก่อหนี้เกินควร และลูกหนี้มีเงินเหลือหลังหักภาระผ่อนชำระหนี้ทั้งหมดแล้วเพียงพอในการดำรงชีวิต รวมถึงการแก้ไขหนี้เรื้อรัง ตลอดจนการให้ข้อมูลสำคัญเป็นระยะๆ เพื่อกระตุ้นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและวินัยทางการเงินที่ดีขึ้น และช่วยเหลือลูกหนี้ที่มีปัญหาการชำระหนี้
นอกจากนี้ ยังเสริมด้วยมาตรการที่จะสนับสนุนให้มีการคิดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ตามความเสี่ยง (risk-based pricing) เพื่อเพิ่มการเข้าถึงสินเชื่อในระบบ และมาตรการในการกำหนดให้พิจารณาสินเชื่อตามความสามารถในการชำระหนี้ โดยคำนึงถึงอัตราส่วนภาระหนี้ต่อรายได้ของลูกหนี้ (Debt Service Ratio) “ธนาคารกรุงไทยพร้อมให้ความสนับสนุนการดำเนินมาตรการดังกล่าวของ ธปท. เพื่อบรรลุเป้าหมายของการแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือนอย่างยั่งยืน และส่งเสริมการเข้าถึงสินเชื่อในระบบ”
ทั้งนี้ นับเป็นโอกาสที่ดีสำหรับธนาคารในการปรับกระบวนการดำเนินธุรกิจ สร้างผลเชิงบวกต่อสังคม โดยเข้าใจลูกค้าอย่างแท้จริง ทั้งในมิติด้านความต้องการสินเชื่อ พฤติกรรมการก่อหนี้และการชำระหนี้ และความสามารถในการชำระหนี้ ซึ่งตั้งอยู่บนพื้นฐานข้อมูลที่ครบถ้วนและรอบด้าน รวมถึงการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิทัลในการวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ พัฒนาผลิตภัณฑ์สินเชื่อและบริการทางการเงินที่เหมาะสมกับความศักยภาพของลูกค้าแต่ละราย
อย่างไรก็ดี ต้องติดตามประเมินผลข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์ต่อไป เพราะการก่อหนี้ที่จำเป็นในการทำธุรกิจและสร้างรายได้ ซึ่งแตกต่างจากกลุ่มที่ใช้จ่ายฟุ่มเฟือยและก่อหนี้เกินความจำเป็น จึงเป็นความท้าทายของในการหาสมดุลระหว่างความพยายามไม่ให้มีการก่อหนี้สินเกินกำลังจนตกอยู่ในสถานะเปราะบาง และการไม่เป็นการผลักไปพึ่งแหล่งเงินกู้นอกระบบที่มีการคิดดอกเบี้ยและติดตามทวงหนี้อย่างไม่เป็นธรรมอีก
ทั้งนี้ การจะแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือนอย่างยั่งยืนและทำให้ประชาชนมีสุขภาวะทางการเงินที่ดีขึ้น (financial well-being) ไม่สามารถแก้ปัญหาเฉพาะหนี้ในระบบเท่านั้น แต่ต้องแก้หนี้นอกระบบอย่างมีประสิทธิภาพควบคู่กันไป พร้อมทั้งช่วยยกระดับความสามารถในการแข่งขันและการสร้างรายได้ของประชาชน เพื่อทำให้ประชาชนสร้างรายได้มากพอครอบคลุมค่าใช้จ่าย ต่อยอดและหาช่องทางสร้างรายได้เพิ่มขึ้น รวมถึงยกระดับความรู้ความสามารถในการการบริหารการเงิน การลงทุน และการออมของประชาชน ผ่านการให้ความรู้ทางการเงินที่เข้าถึงได้สะดวกและเข้าใจง่าย
นายเคนอิจิ ยามาโตะ กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารกรุงศรีอยุธยา กล่าวว่า ด้วยระดับหนี้ครัวเรือนที่ปัจจุบันสูงเกินกว่า 80% ของขนาดเศรษฐกิจไทย จึงเป็นประเด็นที่ ธปท.ให้ความสำคัญและได้ออกมาตรการเพื่อบรรเทาและแก้ไขปัญหาดังกล่าวอย่างยั่งยืน โดยหนึ่งในมาตรการสำคัญของ ธปท. คือ การให้สินเชื่ออย่างรับผิดชอบและเป็นธรรม (Responsible Lending) เพื่อช่วยลูกหนี้อย่างตรงจุดและครอบคลุมตลอดช่วงเวลา
การเป็นหนี้ทั้ง 4 ระยะ ตั้งแต่ช่วงก่อนหรือกำลังจะเป็นหนี้ ช่วงระหว่างเป็นหนี้ ช่วงลูกหนี้มีปัญหาชำระหนี้ และช่วงจะดำเนินคดีและโอนขายหนี้ โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2567
ซึ่งมาตรการนี้ถือเป็นความท้าทายของธนาคารโดยเฉพาะในช่วงแรกที่อาจต้องปรับแผนการตลาด ให้มีความรัดกุมและถูกต้องตามกฎระเบียบเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการกระตุ้นการก่อหนี้เกินตัว ซึ่งในระยะสั้นอาจเป็นความท้าทายต่อธนาคาร อย่างไรก็ตาม มาตรการนี้จะส่งผลดีในระยะยาวเพราะเป็นการแก้ปัญหาหนี้ตั้งแต่ต้นน้ำไปจนถึงปลายน้ำซึ่งจะช่วยสร้างเสถียรภาพในระบบการเงินและเศรษฐกิจได้อย่างยั่งยืน
ขอขอบคุณแหล่งที่มา : MB การเงินธนาคาร
Chairman: Mr. Suwit Indrachalerm (Bangkok Bank Public Company Limited)
Coordinator: Mr. Suphawat Maseng
Objectives: This club is established with the approval of its members to carry out corporate social responsibility (CSR) activities consistent with the operations of the Thai Bankers’ Association as follows
This will close in 500 seconds
Chairman: Ms. Suteera Sripaibulya (Bangkok Bank Public Company Limited)
Coordinator: Ms. Sampantanee Apaipan
Objectives: This club is established
This will close in 500 seconds
Chairman: Mr. Than Siripokee (Bangkok Bank Public Company Limited)
Coordinator: Ms. Supada Ruttanapong
Objectives: This club is established
This will close in 500 seconds
Chairman: Mr. Paisarn Lertkowit (Bangkok Bank Public Company Limited)
Coordinator: Ms. Kristsanee Disapad
Objectives: This club is established
This will close in 500 seconds
Chairman: Mr. Kittichai Singha (Bank of Ayudhya Public Company Limited)
Coordinatior: Ms. Chutiporn Jiranansuroj
Objectives: This club is established
This will close in 500 seconds
Chairman: Pongpichet Nananukool (Kasikorn Bank Public Company Limited)
Coordinator: Mr. Warat Attanandana
Objectives: This club is established
This will close in 500 seconds
Chairman: Mr. Kitipong Muttamara (Krungthai Bank Public Company Limited)
Coordinator: Ms. Manisa Rueangsri
Objectives: This club is established
This will close in 500 seconds
Chairman: Mr. Atis Ruchirawat Ayudhya Capital Services Co., Ltd.
Coordinator: Ms. Apsorn Suttaroj
Objectives: This club is established
This will close in 500 seconds
Acting Chairman: Mr. Settarat Na-Nakorn (Kasikorn Bank Public Company Limited)
: Ms. Suchanee.lavanavanija (Bangkok Bank Public Company Limited)
Coordinator: Ms. Monruedee Teerarungruang
Objectives: The Club is established
This will close in 500 seconds
Chairman: Mr. Thitivorn Chothayaphorn (Bank of Ayudhya Public Company Limited)
Coordinator: K. Jitti Wijitbanjong
Objectives: The Club is established
This will close in 500 seconds
Chairman: Mr. Prathin Kijjaruwankul (Kiatnakin Phatra Bank Public Company Limited)
Coordinator: Mr. Thammanun Harnprasitkam
Objectives: The Club is established
This will close in 500 seconds
Chairman: Ms. Oranuch Nampoolsuksan (Bangkok Bank Public Company Limited)
Coordinator: Ms. Roongratt Ratanarajchartikul
Objectives: The Club is established
This will close in 500 seconds
Chairman: Dr. Phacharaphot Nuntramas (Krungthai Bank Public Company Limited)
Coordinator: Dr. Chamadanai Maknual
Objectives: The Club is established
This will close in 500 seconds
Chairman: Ms. Pornvalai Kulrojseth (Krungthai Bank Public Company Limited)
Coordinator: -
Objectives: The Club is established
This will close in 500 seconds
Chairman: Ms. Puntipa Hannoraseth (Bank of Ayudhya Public Company Limited)
Coordinator: Ms. Tippawan Bannajirakul
Objectives: The Club is established
This will close in 500 seconds
Chairman: Ms. Waranee Wanrat (TMBThanachart Bank Public Company Limited)
Coordinator: Ms. Sunisa Netsawang
Objectives: The Club is established
This will close in 500 seconds
Acting Chairman: Ms. Jeerana Ramasoot (Bangkok Bank Public Company Limited)
Coordinator: Ms. Natchanok Aryukong
Objectives: The Club is established
This will close in 500 seconds
Chairman: Dr. Vasin Udomratchatavanich Bank of Ayudhya Public Company Limited
Coordinator: Ms. Manduan Aeambunapong
Objectives: The Club is established
This will close in 500 seconds
Chairman: Mr. Sant Thaosuwan (Bank of Ayudhya Public Company Limited)
Coordinator: Ms. Wasunthree Tri-utok
Objectives: The Club is established
This will close in 500 seconds
Chairman: Mr. luesak Sukasem (Krungthai Bank Public Company Limited)
Coordinator: Ms. Nipaporn Daokhanon
Objectives: The Club is established
This will close in 500 seconds
ธรรมาภิบาล(Governance) : มีระบบการกำกับดูแลกิจการที่ดี และดำเนินการกำกับดูแลได้อย่างมีประสิทธิผลในระดับคณะกรรมการ โดยกำหนดภาระและขอบเขตความรับผิดชอบที่ชัดเจนในระดับการจัดการในเรื่องที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล
This will close in 500 seconds
ยุทธศาสตร์ (Strategy) : บูรณาการพันธกิจด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล เข้ากับยุทธศาสตร์การดำเนินธุรกิจและกำหนดกรอบด้านการเงินที่ยั่งยืน โดยสนับสนุนเพื่อให้ประเทศสามารถเปลี่ยนผ่านไปสู่เป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ได้อย่างราบรื่น
This will close in 500 seconds
การบริหารความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อม สังคมและธรรมาภิบาล (ESG Risk Management) : ผนวกรวมประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล ไว้ในกระบวนการบริหารความเสี่ยง
This will close in 500 seconds
ผลิตภัณฑ์ทางการเงิน(Financial Products) : ปรับใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อส่งเสริมการเข้าถึงบริการทางการเงิน รวมทั้งนวัตกรรมทางการเงินที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและยั่งยืน
This will close in 500 seconds
การสื่อสาร (Communication) : สื่อสารและประสานความร่วมมือกับผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วนในการสร้างจิตสำนึกสาธารณะด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล
This will close in 500 seconds
การเปิดเผยข้อมูลทางการเงิน (Disclosure) : พัฒนาระบบการติดตามและการรายงานที่สอดคล้องกับกรอบการกำกับดูแลของประเทศไทยและมาตรฐานการเปิดเผยข้อมูลด้านความยั่งยืนในระดับสากล
This will close in 500 seconds
3 เรื่องต้องรู้ก่อนเข้าร่วมมาตรการปิดจบ หนี้เรื้อรัง
**สามารถขอออกจากมาตรการได้ แต่จะไม่ได้รับสิทธิแก้หนี้ตามเงื่อนไขเดิม**
3 เรื่องต้องรู้ หากจ่ายขั้นต่ำบัตรกดเงินสดนาน ๆ
แบบไหนเข้าข่ายปัญหาหนี้เรื้อรัง (Persistent Debt - PD)
1. แม้ภาระต่อเดือนไม่สูง แต่ใช้เวลานาน กว่าจะหมดหนี้
2. ยอดขั้นต่ำที่จ่ายแต่ละเดือนเป็นดอกเบี้ยมากกว่าเงินต้น
3. เมื่อผ่อนจบพบว่ายอดรวมที่จ่ายไปส่วนใหญ่คือ ดอกเบี้ย
อยากหมดหนี้ไว ㆍจ่ายดอกเบี้ยลดลง ㆍ ภาระต่อเดือนไม่เพิ่มจากเดิม
เลือกเข้ามาตรการปิดจบหนี้เรื้อรังได้ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป
หมายเหตุ : ลูกหนี้ที่เข้าข่ายเป็นหนี้รื้อร้ง จะได้รับการติดต่อจากเจ้าหนี้ โดยหาก 5 ปีที่ผ่านมา ลูกหนี้จ่ายดอกเบี้ยรวมมากกว่าเงินต้นรวม จะได้รับข้อเสนอปิดจบหนี้ภายใน 5 ปี ดอกเบี้ยไม่เกิน 15% ต่อปี
ตัวอย่าง
ใช้บัตรกดเงินสด
วงเงินหมุนเวียน 15,000 บาท
ผ่อนขั้นต่ำ (3%) มาแล้ว 5 ปี
เหลือจ่ายเงินต้นอีก 8,700 บาท
ทางเลือกที่ 1 : ผ่อนขั้นต่ำต่อไปจนครบ ดอกเบี้ย 25% ต่อปี ผ่อนต่ออีก 13 ปี 5 เดือน
เหลือจ่ายดอกเบี้ยอีก 14,000 บาท
ดอกเบี้ยรวมทั้งสัญญา 29,000 บาท
ทางเลือกที่ 2 : เข้าโครงการแก้หนี้เรื้อรัง ดอกเบี้ย 15% ต่อปี ผ่อนต่ออีก 3 ปี 6 เดือน (เดือนละ 260 บาท)
เหลือจ่ายดอกเบี้ยอีก 2,500 บาท
ดอกเบี้ยรวมทั้งสัญญา 17,500 บาท
*ประหยัดดอกเบี้ยได้ 11,500 บาท*
หมายเหตุ: ผ่อนเดือนละ 260 บาท เท่ากับยอดการผ่อนขั้นต่ำ ณ เดือนสุดท้ายของปีที่ 5 ก่อนเข้าโครงการ
ตอบข้อสงสัย มาตรการปิดจบหนี้เรื้อรัง
(1) ทำไมมาตรการปิดจบหนี้เรื้อรัง ไม่รวมหนี้บัตรเครดิต?
(2) ทำไมต้องมีเงื่อนไขปิดวงเงินหากเข้าร่วมมาตรการปิดจบหนี้เรื้อรัง
(3) การเข้ามาตรการปิดจบหนี้เรื้อรัง จะมีการรายงานข้อมูลในเครดิตบูโร (NCB) หรือไม่
ทำไมมาตรการปิดจบหนี้เรื้อรัง ไม่รวมหนี้บัตรเครดิต?
เพราะหนี้บัตรเครดิตมี (1) อัตราดอกเบี้ย และ (2) เงื่อนไขการผ่อนชำระที่ทำให้ไม่เข้าข่ายหนี้เรื้อรังที่จ่ายดอกเบี้ยมากกว่าเงินต้นและใช้เวลานานในการปิดจบ
ลูกหนี้บัตรเครดิตจ่ายขั้นต่ำที่ 8% ทำให้จ่ายชำระเงินต้นมากกว่าดอกเบี้ย ลูกหนี้สามารถปิดจบหนี้ได้ภายในระยะเวลาไม่นานนัก
บัตรกดเงินสดมักจ่ายขั้นต่ำที่ 3% และดอกเบี้ยส่วนใหญ่อยู่ที่ 25% ต่อปี ซึ่งจะทำให้ ตัดจ่ายดอกเบี้ย 2% และตัดเงินต้นเพียง 1%
ทำไมต้องมีเงื่อนไขปิดวงเงินหากเข้าร่วมมาตรการปิดจบหนี้เรื้อรัง
เงื่อนไขการปิดวงเงินจะช่วยให้ลูกหนี้มีวินัยทางการเงินเพิ่มขึ้นและสามารถปิดจบหนี้ได้ภายใน 5 ปี
อย่างไรก็ดี กรณีลูกหนี้ที่เข้ามาตรการฯ มีความจำเป็นฉุกเฉิน เช่น เจ็บป่วย ได้รับอุบัติเหตุ ตกงาน ผู้ให้บริการอาจพิจารณาให้สินเชื่อได้ หากลูกหนี้มีความสามารถในการชำระหนี้เพียงพอ ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับนโยบายและเงื่อนไขของผู้ให้บริการแต่ละแห่ง
กรณีลูกหนี้มีบัตรกดเงินสดมากกว่า 1 ใบ สามารถเลือกเข้าโครงการแค่บางบัตร และเก็บวงเงินบัตรกดเงินสดที่เหลือไว้ก่อนได้
การเข้ามาตรการปิดจบหนี้เรื้อรัง จะมีการรายงานข้อมูลในเครดิตบูโร (NCB) หรือไม่
จะมีการรายงานข้อมูลใน NCB โดยเพิ่มการรายงานประเภทของสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้ "รหัส (code) 03" โดยจะไม่กระทบสถานะบัญชีลูกหนี้ที่ยังเป็น 10-ปกติ เช่นเดิมทั้งนี้ การรายงานนี้ จะช่วยให้ผู้ให้บริการทราบถึงการเข้าโครงการซึ่งสะท้อนความตั้งใจที่ดีในการแก้ปัญหาหนี้ของลูกหนี้
มาตรการปิดจบหนี้เรื้อรัง..ช่วยเหลือลูกหนี้อย่างไร?
ถ้าได้รับแจ้งเตือนว่าเป็นลูกหนี้เรื้อรัง (severe PD) จะได้รับข้อเสนอให้สมัครเข้าร่วมมาตรการเพื่อปิดจบหนี้ ซึ่งจะได้รับประโยชน์จากการเข้าร่วมมาตรการ ดังนี้
** สำหรับลูกหนี้ที่เริ่มเรื้อรัง (general PD) ให้รีบติดต่อเจ้าหนี้หากต้องการแก้หนี้ เจ้าหนี้จะมีแนวทางให้ความช่วยเหลือที่เหมาะสมเป็นรายกรณี **
การแจ้งเตือนเมื่อเข้าข่ายลูกหนี้เรื้อรัง
ความถี่การแจ้งเตือนจากเจ้าหนี้
ช่องทางการแจ้งเตือน
โดยลูกหนี้เรื้อรังจะได้รับข้อเสนอแนวทางการปิดจบหนี้จากเจ้าหนี้ด้วย
หนี้เรื้อรัง คืออะโร.. แค่ไหนที่เรียกว่าเรื้อรัง?
แบบไหนเข้าข่ายปัญหาหนี้เรื้อรัง (Persistent Debt - PD)
ลูกหนี้เรื้อรัง 2 แบบ
1. เริ่มเป็นหนี้เรื้อรัง (general PD)
2. เป็นหนี้เรื้อรัง (severe PD)
** ธปท. กำหนดเกณฑ์รายได้ เพื่อมุ่งให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ที่เดือดร้อนที่สุดก่อน โดยพิจารณาความเรื้อรังและรายได้ที่ไม่สูงมากของลูกหนี้ **
ทวงหนี้อย่างเป็นธรรม ต้องแจ้งข้อมูลสำคัญอะไรบ้าง
เจ้าหนี้จะต้องแจ้งรายละเอียดของภาระหนี้พร้อมข้อมูลสำคัญอื่น ๆ แก่ลูกหนี้ให้ครบถ้วน เช่น
และห้ามเรียกให้ผู้ค้ำประกันชำระหนี้ก่อน ยกเว้น ลูกหนี้ล้มละลายหรือติดต่อไม่ได้
#ResponsibleLending #แก้หนี้ยั่งยืน #เจ้าหนี้รับผิดชอบ #ลูกหนี้มีวินัย