สมาคมธนาคารไทย ได้จัดตั้งชมรมต่างๆ ขึ้นเพื่อเป็นเวทีแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารระหว่างสมาชิกของชมรม ส่งเสริมความรู้ทางวิชาการ ส่งเสริมความร่วมมือและความสัมพันธ์อันดี แก้ไขอุปสรรคปัญหาในการดำเนินธุรกิจ เสริมสร้างคุณภาพและจรรยาบรรณของธุรกิจการธนาคาร รวมทั้งประสานงานกับองค์กรต่างๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งแต่ละชมรมจะมีการกำหนดวัตถุประสงค์และขอบเขตการดำเนินงานที่ชัดเจนตามวัตถุประสงค์การจัดตั้ง |
ปัจจุบันสมาคมฯ มีชมรมต่างๆ รวมทั้งสิ้น 20 ชมรม ได้แก่ |
|
|

ในแต่ละปี ชมรมฯ ได้มีผลการดำเนินงานในปี 2562 ในหลายๆ ด้านที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งสามารถสรุปได้ ดังนี้ |
ประธานชมรม คุณเกรียง วงศ์หนองเตย | |
ผลการดำเนินงาน โดยสังเขป | |
• จัดประชุมคณะกรรมการบริหารชมรมและสมาชิก จำนวน 2 ครั้ง | |
• จัดประชุมคณะอนุกรรมการทั้ง 5 ด้าน จำนวน 14 ครั้ง ได้แก่ – คณะกรรมการบริหาร (กบร.) จำนวน 8 ครั้ง – คณะอนุกรรมการตรวจสอบด้านต่างประเทศและบริหารเงิน จำนวน 3 ครั้ง – คณะอนุกรรมการตรวจสอบด้านทั่วไป จำนวน 1 ครั้ง – คณะอนุกรรมการตรวจสอบด้านสินเชื่อ จำนวน 1 ครั้ง – คณะอนุกรรมการตรวจสอบด้านคอมพิวเตอร์ จำนวน 1 ครั้ง |
|
• จัดอบรมสัมนาในหัวข้อต่างๆ – แนวทางปฏิบัติในการขาย และให้บริการเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน ที่เป็นหน่วยลงทุนและตราสารหนี้ – Workshop on Cyber security audit in practice – The Effect of Data Privacy Protection with Internal Auditors – New technology applied in financial world and key concerned issues – Chief Audit Executive (CAE) Forum หัวข้อ IA Transformation – การถือปฏิบัติตาม TFRS9 ของสถาบันการเงินและบทบาทของผู้ตรวจสอบภายใน – แนวทางปฏิบัติในการบริหารความเสี่ยงด้านเทคโนโลยีสารนเทศ (IT Risk Management Implementation Guideline) และแนวทางการตรวจสอบด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ(SA-IT Examination Guideline) |
ประธานชมรม คุณฐากร ปิยะพันธ์ | |
ผลการดำเนินงาน โดยสังเขป | |
• จัดประชุมคณะกรรมการบริหารชมรมและสมาชิก จำนวน 4 ครั้ง | |
• จัดอบรมและบรรยายพิเศษให้สมาชิกชมรมในเรื่องต่างๆ อาทิ เทคนิคการสืบค้นข้อมูล, VISA 3D Secured 2.0, e-KYC/ e-Signature & National Digital ID เป็นต้น | |
• จัดตั้งคณะทำงานย่อย 5 คณะ เพื่อรับผิดชอบงานต่างๆ ได้แก่ – คณะทำงานโครงการป้องกันการทุจริตบัตรเครดิต – คณะทำงานพัฒนาความรู้บัตรเครดิตและกฎเกณฑ์ Card Association – คณะทำงานด้านกฎหมายและ Credit Bureau – คณะทำงานด้าน Chargeback – คณะทำงานด้าน Payment Technology |
ประธานชมรม คุณศุภวัฒน์ วัฒน์ธนปติ | |
ผลการดำเนินงาน โดยสังเขป | |
• การแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ระหว่างธนาคารสมาชิก โดยบรรยายพิเศษในหัวข้อ Visual Thinking , Digital Learning at Krungsri และการพัฒนาการเรียนรู้ผ่านมุมมอง Edtech Startup | |
• การบรรยายพิเศษ – Mini-workshop เรื่อง “Talent Development as a Growth Strategy for the Banking Industry” – การสัมมนา เรื่อง “Global Talent Development Trends and Your Digital Transformation: Implication on Development/Acceleration of Your Talent” – ศึกษาดูงานต่างประเทศ ณ ประเทศสิงคโปร์ The Institute of Banking and Finance Singapore (IBF), Association of Banks in Singapore (ABS), National University of Singapore (NUS), SmartUp, UOB Bank |
|
• การศึกษาดูงานภายในประเทศ ณ Food Passion Co., Ltd. | |
• สัมมนาประจำปี หัวข้อ “Data Visualization: Show & Tell” |
ประธานชมรม คุณอรรถสิทธิ์ เอื้ออารักษ์ | |
ผลการดำเนินงาน โดยสังเขป | |
• จัดงานมหกรรมบ้านธนาคาร – Central Festival Phuket จังหวัดภูเก็ต – Central Festival Chiangrai จังหวัดเชียงราย – ศูนย์การค้าฟิวเจอร์พาร์ค รังสิต จังหวัดปทุมธานี |
ประธานชมรม คุณวรนุช เดชะไกศยะ | |
ผลการดำเนินงาน โดยสังเขป | |
• ประสานงานกับธนาคารสมาชิกชมรมในการเตรียมความพร้อมและความเสถียรในการให้บริการระบบงาน PromptPay ซึ่งอาจมีผลกระทบกับผู้บริโภค – ด้านระบบงานของสมาชิก แก้ไขปัญหาด้าน parameter capacity หรือ performance ของระบบที่ไม่สามารถรองรับปริมาณธุรกรรมที่นานกว่าค่ามาตรฐานที่ตกลง – ด้านกระบวนการดำเนินงานของ ITMX และธนาคารสมาชิก ในการ suspend port, resume port ระบบงานธนาคารจากระบบกลาง – การบริหารจัดการภาวะวิกฤติ 2562 ได้ดำเนินการทำซักซ้อมแผน Incident and Crisis management plan เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2562 โดยจำลองสถานการณ์อิงตามเหตุการณ์ที่เคยเกิดขึ้นจริงกับ 3 บริการ ได้แก่ Promptpay บริการ Single Payment และบริการ Local Switching – การสนับสนุนการให้บริการใหม่ๆ ตามแผ่นแม่บท Payment Road ฉบับที่ 4 ของทาง ธปท. โดยให้คำแนะนำต่อการดำเนินงานของ ITMX และธนาคารสมาชิก ได้แก่ New Flag and IC Fee, Cross Border Payment by Sponsoring model, B Scan C with ISO 20022 implement, Promptpay x PayNow ,New Bulk Payment with ISO 20022 |
|
• สนับสนุนและเตรียมการสำหรับ Initiatives ต่างๆ ที่จะกระทบกับการดำเนินงานของภาคธนาคาร – National Digital ID (NDIN) : เชิญคณะทำงานมาให้ข้อมูลแผนโครงการ Technical และ draft business rules แก่สมาชิกชมรมฯ เพื่อให้ระบบงานของทางธนาคารสมาชิกดำเนินการเป็นไปตามแผนงานของ NDID – RD : เชิญคณะทำงานของกรมสรรพากรมาให้ข้อมูลแผนโครงการ eWHT eTAX แก่สมาชิกชมรมฯ เพื่อให้ระบบงานของทางธนาคารสมาชิกดำเนินการเป็นไปตามแผนงานของ RD – TB-CERT : ได้ร่วมทดสอบ Table-top exercise กับ TB-CERT และ TBA Bank Crisis Management team – PDPA : เชิญวิทยากรที่มีความรู้มาบรรยายให้แก่สมาชิกชมรมฯ |
ประธานชมรม คุณณญาณี เผือกขำ | |
ผลการดำเนินงาน โดยสังเขป | |
• จัดประชุมสมาชิกชมรมประจำปี ทั้งหมด 4 ครั้ง | |
• จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์โครงการส่งเสริมการให้ความรู้ทางด้านการเงินแก่ภาคประชาชน (Financial Literacy) – วิธีง่ายๆ ในการรักษาเครดิตดีของตัวคุณ – ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นเมื่อคุณค้างชำระหนี้ – ยืมเงินทางไลน์ใช้แทนสัญญาเงินกู้ได้นะ…รู้ยัง? – ปรับปรุงโครงสร้างหนี้สบายๆ กับคลีนิกแก้หนี้ – ความแตกต่างระหว่างดอกเบี้ยคงที่และดอกเบี้ยที่แท้จริง – เคล็ดลับใช้บัตรกดเงินสด พกไว้อุ่นใจ เป็นต้น |
|
• อื่นๆ – ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในการเข้าร่วมคลินิกแก้หนี้ – ร่วมแก้ไขปัญหาความแตกต่างทางภาษีระหว่างสถาบันการเงินและผู้ประกอบธุรกิจที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน |
ประธานชมรม คุณพิมลวรรณ จิรชาญชัย | |
ผลการดำเนินงาน โดยสังเขป | |
• การจัดประชุมสมาชิก 4 ครั้ง : เพื่อรับทราบแผนงาน ผลการดำเนินงาน รายงานการเงิน และการแก้ไขระเบียบข้อบังคับให้สอดคล้องกับมติของสมาคมธนาคารไทย | |
• จัดตั้งชมรมธนาคารภาคกลางและชมรมธนาคารตะวันออก | |
• ร่วมกับสมาคมฯ ในการดำเนินการของชมรมผู้บริหารกิจการสาขาธนาคาร เกี่ยวกับการกำหนดแนวทางในการเก็บค่าธรรมเนียมของ ชมรมธนาคารจังหวัด | |
• ร่วมกับสมาคมฯ กำหนดแนวทางในการเสนอรายชื่อผู้แทนสมาคมฯ เพื่อไปดำรงตำแหน่ง กกร. จังหวัดและ กกร. กลุ่มจังหวัด และเข้าร่วมประชุมกกร. จังหวัดและ กกร. กลุ่ม | |
• จัดสัมมนา ในหัวข้อ เกณฑ์กำกับการดูแลด้านการใช้บริการแก่ลูกค้าอย่างเป็นธรรม Market Conduct |
ประธานชมรม คุณสมเกียรติ ปรีดามาโนช | |
ผลการดำเนินงาน โดยสังเขป | |
• จัดประชุมคณะกรรมการบริหารและสมาชิก จำนวน 4 ครั้ง และประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2562 จำนวน 1 ครั้ง | |
• ประชุมร่วมกับธนาคารแห่งประเทศไทย 24 ครั้ง – ประชุมคณะทำงานพัฒนาระบบจัดการธนบัตร จำนวน 3 ครั้ง – ประชุมคณะทำงานศึกษาโครงการจัดตั้งศูนย์เงินสดกลาง จำนวน 21 ครั้ง |
|
• ศึกษาแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพระบบบริหารจัดการธนบัตร – โครงการจัดตั้งศูนย์เงินสดกลาง จ.ภูเก็ต ทำหน้าที่รับฝาก-ถอนธนบัตร และจัดเก็บธนบัตรแทน ธปท. เพื่อ ลดผลกระทบจากการปิดศูนย์จัดการธนบัตรพังงา ซึ่งสามารถช่วยลดต้นทุนค่าใช้จ่ายด้าน Logistic Cost และ Holding Cost ให้กับธนาคารได้ โดยทดลองให้บริการตั้งแต่วันที่ 11 พ.ย.2562 เป็นระยะเวลา 1 ปี – โครงการศึกษาการจัดตั้งศูนย์เงินสดลาง (1) การจัดตั้งศูนย์เงินสดกลาง จ.ขอนแก่น ซึ่งอยู่ระหว่างการศึกษาแนวทางการจัดตั้งโดยใช้พื้นที่ศูนย์จัดการธนบัตร จ.ขอนแก่น ดำเนินการศูนย์เงินสดกลาง และให้บริการแบบ Full Service (2) การจัดตั้งศูนย์เงินสดกลางของระบบ ปัจจุบันอยู่ระหว่างการศึกษาพื้นที่ศักยภาพที่เหมาะสม – การพัฒนา ปรับปรุง ระบบบริหารจัดการธนบัตร ร่วมกับ ธปท. เช่น การปรับการตั้งค่าเครื่องคัดนับธนบัตรตามโครงการยกระดับสภาพธนบัตร |
|
• โครงการ BCP รถขนส่งเงิน กรณีบริษัทขนส่งเงินเกิดเหตุฉุกเฉิน จนไม่สามารถให้บริการได้ – ปัจจุบัน อยู่ระหว่างการทบทวนจำนวนรถขนส่งเงินที่ต้องการ-สนับสนุน เนื่องจากธนาคารทหารไทยและธนาคารธนชาตอยู่ระหว่างการควบรวมกิจการ |
ประธานชมรม ดร.เชาว์ เก่งชน | |
ผลการดำเนินงาน โดยสังเขป | |
• สำรวจประมาณการเครื่องชี้ที่สำคัญของเศรษฐกิจไทยประจำทุกเดือน และจัดประชุมสมาชิกรายเดือน รวม 9 ครั้ง | |
• เป็นผู้แทนชมรมฯ เข้าร่วมประชุม และให้มุมมองภาวะเศรษฐกิจและแนวโน้ม พร้อมนำเสนอประมาณการของ ชมรมฯ ในการประชุมคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) ในวาระเศรษฐกิจ ทุกเดือน รวม 12 ครั้ง | |
• ให้การสนับสนุนภารกิจของสมาคมฯ และ กกร. ด้วยการจัดทำเอกสารประกอบการบรรยายและข้อมูลสนับสนุนสำหรับงานต่างๆ รวมไปถึงการส่งผู้แทนหรือวิทยากรไปบรรยายและเข้าร่วมประชุม เช่น การประชุมหารือนโยบายเศรษฐกิจทุกเดือนจัดโดยสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง การประชุมคณะกรรมการฯ ด้านการท่องเที่ยว การประชุมคณะกรรมการยุทธศาสตร์เศรษฐกิจและศูนย์ข้อมูล ตลอดจนการจัดทำข้อมูลและให้ความคิดเห็นต่อโจทย์ที่เฉพาะเจาะจง เช่น การหามาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการ SMEs เป็นต้น |
ประธานชมรม คุณพงษ์สิทธิ์ วิไลเลิศ | |
ผลการดำเนินงาน โดยสังเขป | |
• เข้าร่วมประชุมและให้ความเห็นกับหน่วยงานภายนอกในประเด็นต่าง ๆ เช่น – เข้าร่วมประชุม The ICC Banking Commission Annual Meeting – ICC Technical Meeting at France – การผ่อนคลายหลักเกณฑ์ควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน – ประชุมกรรมการกฤษฎีกา คณะพิเศษ เพื่อพิจารณาเรื่องแผนการให้มีกฎหมายว่าด้วยสัญญาซื้อขายระหว่างประเทศและร่างพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายสินค้าระหว่างประเทศ – การเตรียมความพร้อมในการเยือนประเทศต่าง ๆ ของคณะรัฐบาล เพื่อส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ – การเข้าร่วมเป็นคณะกรรมการในสภาธุรกิจต่าง ๆ เพื่อสนับสนุน และแก้ไขปัญหาการค้าระหว่างประเทศ นั้น ๆ |
|
• ร่วมหารือกับธนาคารสมาชิก และให้ความรู้แก่สมาชิกอันเกี่ยวเนื่องกับ การปฏิบัติงานในด้านธุรกรรมต่างประเทศ ดังนี้ – พรบ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล – โครงการบริหารความเสี่ยง FX ของ SMEs ระยะที่ 3 – TRADE FINANCE THEMATIC EXAM – NDTP (National Digital Trade Platform) – Inthanon Project |
|
• จัดสัมมนา “Workshop for ICC Docdex decision, ICC Banking Commission Guidance and SWIFT gpt ” เพื่อให้ความรู้แก่ธนาคารสมาชิก | |
• จัดตั้งคณะทำงาน Working Group เพื่อร่วมพิจารณาในรายละเอียด eUCP & eURC เพื่อศึกษาผลกระทบและการนำออกใช้งาน | |
• หารือแนวทางในการแก้ไขปัญหาการชำระเงินล่าช้าด้านสินค้าออกระหว่างประเทศปากีสถาน และ ประเทศบังคลาเทศ (Pakistan & Bangladesh) ทั้งนี้ พบว่ามีปัญหาด้านการจ่ายเงินล่าช้า ไม่เป็นไปตามกำหนดระยะเวลาและหลักปฏิบัติสากล โดยได้รวบรวมรายชื่อธนาคารและปัญหา เพื่อนำเรียนแก่ผู้แทนทั้งสองประเทศต่อไป |
ประธานชมรม คุณรวินทร์ บุญญานุสาสน์ | |
ผลการดำเนินงาน โดยสังเขป | |
• ที่ประชุม TFMC มีมติเห็นชอบให้จัดตั้งคณะทำงาน โดยมี ACI Thailand เป็นประธานคณะทำงาน และ ธปท. เป็นที่ปรึกษาคณะทำงาน เพื่อศึกษาและทบทวนThailand Code of Conduct ทาง ACI ได้จัดตั้งจัดตั้งคณะทำงานเพื่อศึกษา/ทบทวน Thailand Code of Conduct และความคืบหน้าของการใช้ FX Global Code ในต่างประเทศ ทั้งนี้ธนาคารแห่งประเทศไทย ได้ประกาศใช้ Thailand Code of Conduct อย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2562 |
ประธานชมรม คุณนพชัย ตั้งสินพูลชัย | |
ผลการดำเนินงาน โดยสังเขป | |
• จัดการประชุมสมาชิก เพื่อเลือกตั้งประธานชมรมฯ และกรรมการบริหาร ชมรมฯ | |
• จัดการประชุมกรรมการบริหารชมรมฯ เพื่อพัฒนาและจัดทำระบบ Sharing Platform รองรับการแลกเปลี่ยนข้อมูลและประสบการณ์ระหว่างสมาชิก |


ประธานชมรม คุณชลวิทย์ แจ่มประเสริฐ | |
ผลการดำเนินงาน โดยสังเขป | |
• จัดประชุมใหญ่และสัมมนาประจำปี จำนวน 1 ครั้ง และประชุมคณะกรรมการบริหารชมรม จำนวน 4 ครั้ง | |
• ร่วมพิจารณาให้ความเห็นต่อร่างประกาศแนวนโยบายการประเมินราคาหลักประกันและอสังหาริมทรัพย์รอการขายที่ได้มาจากการรับชำระหนี้ฯ แต่งตั้งคณะทำงาน IT ,Operation ประชุมร่วมกัน และจัด workshop กำหนดแนวทางปฏิบัติการใช้รายงานประเมินมูลค่าทรัพย์สินหลักประกันร่วมกันระหว่างสถาบันการเงิน รวมถึงศึกษา ความเป็นไปได้ และสำรวจความเห็นความพร้อมในการใช้งาน | |
• การประชุมคณะทำงานเพื่อรองรับ “พ.ร.บ.หลักประกันทางธุรกิจ” (เมษายน 2559 – มิถุนายน 2559) | |
• พ.ร.บ. การประกอบวิชาชีพประเมินมูลค่าทรัพย์สิน พ.ศ……. – หารือกับชมรมนักกฎหมายและ ประชุมร่วมกับสมาคมธนาคารไทย เพื่อตรวจพิจารณาร่าง พ.ร.บ. การประกอบวิชาชีพประเมินมูลค่าทรัพย์สิน พ.ศ……. – ประชุมกับคณะกรรมการกฤษฏีกา (คณะพิเศษ) ชี้แจง เพื่อตรวจพิจารณาร่าง พ.ร.บ. การประกอบวิชาชีพประเมินมูลค่าทรัพย์สิน พ.ศ……. |
|
• จัดสัมมนาทางวิชาการในหัวข้อ “พ.ร.บ.ทรัพย์อิงสิทธิ พ.ศ. 2562 กับการประเมินมูลค่าทรัพย์สิน” | |
• ร่วมจัดเสวนาทางวิชาการกับสมาคมนักประเมินราคาอิสระไทย ในเรื่อง ปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยสำหรับวิชาชีพการประเมินมูลค่าทรัพย์สิน |
ประธานชมรม คุณทศพร รัตนมาศทิพย์ | |
ผลการดำเนินงาน โดยสังเขป | |
• การจัดประชุมสมาชิก 2 ครั้ง | |
• มอบหมายคณะทำงานรับผิดชอบโดยเฉพาะและประสานงานโดยตรงและรายงานที่ประชุม ดังนี้ – คณะทำงานด้านการตรวจสอบและป้องกันการทุจริตฉ้อฉล (Fraudulent Scheme) – คณะทำงานด้านการตรวจสอบและป้องกันการทุจริตทางสื่ออิเล็กทรอนิคส์ (E-Channel/Cybercrime) – คณะทำงานด้านเทคโนโลยีที่ใช้ในการตรวจสอบและป้องกันการทุจริต (Fraud Technology) – คณะทำงานด้านการรวบรวมข้อมูลทุจริตในทุกผลิตภัณฑ์ของสถาบันการเงิน – คณะทำงานพิเศษกรณีการ Implement Any ID2 National E-Payment Project |
|
• ร่วมสัมมนาแลกเปลี่ยนความรู้กับหน่วยงานภาครัฐและเอกชนในเรื่องต่างๆ เช่น – มาตรการและกลไกในการป้องกันและปราบปรามการหลอกลวงในการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ – ประชุมเชิงปฏิบัติการกับ ป.ป.ท. ด้านการต่อต้านการทุจริตเพื่อยกระดับค่าดัชนีการรับรู้การทุจริต (Corruption Perception Index : CPI) – จัดทำโครงการศึกษาเพื่อขับเคลื่อนการปรับปรุงสภาพแวดล้อมเพื่ออำนวยความสะดวกในการประกอบธุรกิจระยะที่ 2 – เป็นหัวหน้าคณะผู้สังเกตการณ์อิสระ (Independent observer) โครงการภาครัฐ จำนวน 6 โครงการ |
|
• งานบรรยายให้ความรู้กับธนาคารสมาชิกและเครือช่ายโครงการต่อต้านการทุจริต ในเรื่องต่างๆ อาทิ – การมีส่วนร่วมขององค์กรรัฐวิสาหกิจและเอกชนในการลดการทุจริต สำนักงาน ปปช. – การทำธุรกรรมและการติดตามร่องรอยทางการเงิน (1) สถาบันการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ สำนักงาน ปปช. รุ่นที่ 1 และ รุ่นที่ 2 – การตรวจสอบธุรกรรมทางการเงิน การรวบรวมพยานหลักฐานในการดำเนินคดี และ การตรวจสอบเส้นทางการเงิน |
ประธานชมรม คุณไพศาล วรเศรษฐ์ศิริ | |
ผลการดำเนินงาน โดยสังเขป | |
• จัดประชุมคณะกรรมการบริหารชมรมและชมรม จำนวน 4 ครั้ง | |
• สนับสนุนการดำเนินงานของสมาคมฯ ตามยุทธศาสตร์ แผนงาน และกิจกรรมต่างๆ เช่น จัดทำพ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 พ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ พ.ศ. 2562 และแนวปฏิบัติการบริหารจัดการด้านการให้บริการแก่ลูกค้าอย่างเป็นธรรม (Market conduct) | |
• ส่งเสริมมาตรฐานการกำกับดูแลการปฏิบัติงานของธนาคารสมาชิกให้สอดคล้องกฎหมาย กฎเกณฑ์ทางการแนวทางการกำกับดูแลกิจการที่ดี และแนวปฏิบัติสากล รวมถึงเป็นศูนย์กลางในการศึกษาทำความเข้าใจข้อกำหนด กฎเกณฑ์ ระเบียบที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของธนาคาร และสถาบันการเงินอื่น ระดมความคิดเห็นเพื่อแก้ไขปัญหาข้อขัดข้องต่างๆ และการบริหารจัดการความเสี่ยงด้านการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ – จัดหลักสูตร “ความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติงานด้านธุรกิจหลักทรัพย์สำหรับผู้รับผิดชอบสูงสุดในหน่วยงานกำกับดูแลการปฏิบัติงาน ประจำปี 2562” – ให้ความเห็นเกี่ยวกับหลักเกณฑ์ต่อหน่วยงานทางการต่างๆ ที่สำคัญ ดังนี้ 1.ธปท. เช่น มาตรฐานการปฏิบัติกรณีที่ธนาคารนำระบบงาน IT ใหม่เข้ามาใช้ 2.สำนักงาน ก.ล.ต. เช่น พ.ร.บ. หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2562 ประกาศ เรื่อง แนวปฏิบัติในการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการทำความรู้จักลูกค้า การปรับปรุงหลักเกณฑ์การกำหนดค่าธรรมเนียมรายปีจากผู้ประกอบธุรกิจตัวกลางของก.ล.ต. และการปรับปรุง Factsheet กองทุน 3.สำนักงาน ปปง. เช่น มาตรการเรียกบัตรประชาชนในการทำธุรกรรม การทำลายเช็ค ตามระเบียบคณะกรรมการ ปปง. ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการเก็บรักษารายละเอียดเกี่ยวกับการตรวจสอบเพื่อทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับลูกค้า แนวทางในการปรับเงื่อนไข (scenario) ในการตรวจจับรายการที่มีธุรกรรมน่าสงสัย แนวทางการปฏิบัติงานเรื่องการรายงาน STR ของ Banking Agent 4.สำนักงาน คปภ. เช่น แบบรายงานการประเมินระบบควบคุมคุณภาพการขายผลิตภัณฑ์ประกันภัยของธนาคาร (Market Conduct Annual Statement: MCAS) และประกาศ เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการออก การเสนอขายกรมธรรม์ประกันภัยของบริษัทประกันชีวิต และการปฏิบัติหน้าที่ของตัวแทนประกันชีวิต/วินาศภัย นายหน้าประกันชีวิต/วินาศภัย และธนาคาร 5.กรมสรรพากร เช่น การรายงานข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลที่มีธุรกรรมลักษณะเฉพาะ ตามพ.ร.บ. แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 48) พ.ศ. 2562 – ขอผ่อนผันหลักเกณฑ์ เรื่อง เงินรับล่วงหน้า ตามประกาศธปท. ที่ สนช. 8/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจบริการโอนเงินด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ |
|
• ประสานงานให้ความร่วมมือ และสร้างสัมพันธ์อันดีระหว่างธนาคารสมาชิก หน่วยงานทางการ และหน่วยงานต่างๆ – ให้ความร่วมมือกับฝ่ายตรวจสอบเทคโนโลยีสารสนเทศ ธปท. ในการจัดกิจกรรมเสริมสร้างความเข้มแข็ง 2nd line 3rd line ในปี 2562 จำนวน 6 ครั้ง และได้เป็นเจ้าภาพในการจัดกิจกรรมในครั้งที่ 3/2562 ในหัวข้อ “Data Governance and Thailand’s Personal Data Protection Act B.E. 2562 Implementation” – ร่วมสนับสนุน ธปท. ในการจัดงานเสวนา We Fine Tune 2019 หัวข้อ “Related Services แนวโน้มการยื่นคำขออนุญาตของสถาบันการเงินในปี 2562” เพื่อกระชับความสัมพันธ์และแลกเปลี่ยนความคิดเห็น |
ประธานชมรม คุณวสันต์ เอกนุ่ม | |
ผลการดำเนินงาน โดยสังเขป | |
• ให้คำปรึกษาและความเห็นทางกฎหมาย แก่คณะกรรมการบริหารสมาคมฯ รวมถึงการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชนต่างๆ | |
• เป็นตัวแทนสมาคมฯ เข้าร่วมเป็นคณะทำงาน และ/หรือเข้าร่วมประชุม และ/หรือแสดงความคิดเห็นต่อร่างกฎหมายต่างๆ ที่สำคัญ และเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจของธนาคารสมาชิก เช่น – ร่างพระราชบัญญัติประกันชีวิต (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .. – ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (การแลกเปลี่ยนข้อมูลตามคำขอระหว่างประเทศและการและเปลี่ยนข้อมูลอัตโนมัติระหว่างประเทศ) – ร่างพระราชบัญญัติล้มละลาย (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. (ส่วนที่เกี่ยวกับการล้มละลายต่างประเทศ) – ร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. …. – ร่างพระราชบัญญัติประกันชีวิต (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. – ร่างพระราชบัญญัติการประกอบวิชาชีพประเมินมูลค่าทรัพย์สิน |
|
• เป็นผู้แทนสมาคมฯ เข้าร่วมประชุมและเป็นคณะทำงานต่างๆ เช่น – ประชุมรับฟังความคิดเห็นแนวทางการจัดตั้งสถาบันพัฒนาการบังคับคดีในรูปแบบหน่วยบริการรูปแบบพิเศษ – ประชุมคณะกรรมการกำกับการประกอบกิจการดูแลผลประโยชน์ ครั้งที่ 1/2562 – ประชุมระหว่างประเทศด้านการบังคับคดีร่วมกับหน่วยงานด้านการบังคับคดีของประเทศสมาชิกอาเซียนและประเทศคู่เจรจา (สาธารณรัฐประชาชนจีน ประเทศญี่ปุ่น และสาธารณรัฐเกาหลี) และร่วมงานเลี้ยงอาหารค่ำ – ประชุมปฏิบัติการเรื่อง การประสานความร่วมมือด้านการยุติธรรรรมของศาลล้มละลายกลางกับหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรม – ประชุมกับ World Bank เรื่องร่างกฎหมายสิทธิในหลักประกัน – คณะทำงานด้านกฎหมายโครงการ National Digital Trade Platform – คณะทำงานพิจารณาการดำเนินการข้อที่ 7 การจัดการข้อมูลและข้อที่ 9 การแข่งขันทางการค้าและการระงับข้อพิพาท Industry Code of Conduct |
|
• ให้ความเห็นในประเด็นข้อกฎหมาย และ/หรือร่างแบบฟอร์มเอกสารต่างๆ ในโครงการ/กิจการของสมาคมฯ และ/หรือของธนาคารสมาชิก เช่น – การยกเลิกการแลกเปลี่ยนเช็คกลุ่มพิเศษในระบบ ICAS – โครงการ e-LG on Block Chain – โครงการเช็คอิเล็กทรอนิกส์ (Prompt Cheque) – โครงการจัดทำ Banking Industry Guidelines ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562 – การประเมินราคาหลักประกันและอสังหาริมทรัพย์รอการขายที่ได้มาจากการรับชำระหนี้ฯ – โครงการ e-donation – แนวปฏิบัติตามประกาศคณะกรรมการกำกับการทวงถามหนี้ เรื่อง จำนวนครั้งในการติดต่อทวงถามหนี้ – โครงการศึกษาแนวทางการจัดทำกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคจากการขายสินค้าหรือบริการเชิงรุก – ให้ข้อมูลเกี่ยวกับกระบวนการตรากฎหมายและการบังคับใช้กฎหมายกับสำนักงานคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน – ให้ความเห็นการใช้ One Report ของงานประเมินราคา – ให้ความเห็นเกี่ยวกับ การทำลายเช็ค การยกเลิกเช็คกลุ่มพิเศษ รวมถึงข้อร้องเรียนต่างๆ |
|
• พิจารณาร่างสัญญา/ข้อตกลงต่างๆ ที่สมาคมฯ และ/หรือธนาคารสมาชิกเข้าเป็นคู่สัญญา เช่น – ร่างบันทึกข้อตกลง 1.การรับ-ส่งข้อมูลบัญชีเงินฝากของผู้ประกันในคดีอาญาผ่านทางจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ 2.การรับส่งข้อมูลการรับบริจาคผ่านระบบบริจาคอิเล็กทรอนิกส์ (e-Donation) 3.ความร่วมมือกำหนดแนวทางการดำเนินกิจการธนาคารอย่างยั่งยืนในด้านการให้สินเชื่ออย่างรับผิดชอบ 4.ความร่วมมือระหว่างสมาคมธนาคารไทยและสมาคมธนาคารเกาหลี 5.ความร่วมมือสานพลังประชารัฐส่งเสริมการท่องเที่ยวประเทศไทยโครงการ Tourism Digital Platform 6.ความร่วมมือการแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกร 7.ความร่วมมือสนับสนุนผู้ประกอบการให้จัดทำบัญชีและงบการเงินให้ถูกต้องและสอดคล้องกับสภาพที่แท้จริงของกิจการ 8.ร่างสัญญาผู้ถือหุ้นโครงการ Tourism Digital Platform – ร่างสัญญาจ้าง 1.Organizer จัดงาน CLMVT Bankers’ Leadership Program และงานประชาสัมพันธ์โครงการบริหารความเสี่ยง FX ของ SME 2.โครงการ คนไทยยุคใหม่ไม่ใส่ใจเรื่องเงิน (Train the Trainer Season 1,2) 3.การว่าจ้าง รศ.ดร.ไทนศิริ เวทไว เป็นที่ปรึกษาจัดทำโครงการวิจัยการค้ำประกันสินเชื่อแบบ Portfolio Guarantee |
|
• จัดสัมมนา พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล |
ประธานชมรม คุณพูนสิทธิ์ ว่องธวัชชัย | |
ผลการดำเนินงาน โดยสังเขป | |
• จัดประชุมสมาชิกชมรม จำนวน 3 ครั้ง | |
• เป็นผู้แทนประชุมอนุกรรมการส่งเสริมความรับผิดชอบต่อสังคมของภาคธุรกิจ ในคณะกรรมการส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคมแห่งชาติ จำนวน 2 ครั้ง | |
• สนับสนุนโครงการ “คนไทยยุคใหม่ ใส่ใจเรื่องเงิน” สมาคมธนาคารไทย ปีที่ 2 | |
• สนับสนุนการดำเนินกิจกรรมของสหพันธ์สมาคมสตรีนักธุรกิจและวิชาชีพแห่งประเทศไทยในพระบรมราชินูปถัมภ์ | |
• สนับสนุนโครงการให้ความรู้ทางการเงินแก่หน่วยงานภาครัฐอื่นๆ เช่น ร่วมเป็นวิทยากรบรรยายพิเศษในโครงการ “ติวเข้มผู้สูงวัย สู่ดิจิทัล 5.0” หัวข้อ “นวัตกรรมการเงินตอบโจทย์สังคมผู้สูงอายุ |
ประธานชมรม คุณปัญญา อุนพานิช | |
ผลการดำเนินงานของคณะอนุกรรม 4 ด้าน มีดังนี้ | |
• คณะอนุกรรมการด้าน Procedure – ปรับวิธีการดำเนินการแก้ไข Unmatch PromptPay Reason Code 08 จากเดิมที่ธนาคารผู้โอนคืนเงินกลับลูกค้า เปลี่ยนเป็นธนาคารผู้โอน ส่งเงินชำระดุลให้กับธนาคารผู้รับโอน และธนาคารผู้รับโอนเข้าเงินให้กับลูกค้า – ปรับวิธีการดำเนินการแก้ไข Unmatch PromptPay Reason Code 08 จากเดิม ITMX ไม่ได้ดำเนินการ Auto Adjust ทำให้ธนาคารผู้โอน ต้อง Manual ส่งเงินชำระดุลให้กับ ธนาคารผู้รับโอน เปลี่ยนเป็น ITMX ดำเนินการ Auto Adjust เงินชำระดุลให้กับธนาคารผู้รับโอน และธนาคารผู้รับโอนเข้าเงินห้กับลูกค้า |
|
• คณะอนุกรรมการด้าน Fraud – ประสานงานกับเจ้าหน้าที่ตำรวจในการตรวจสอบข้อมูล เมื่อเกิดทุจริตเกี่ยวกับบัตรเดบิตและเครื่องเอทีเอ็ม |
|
• คณะอนุกรรมการด้าน IT Development & Audit – พิจารณาแนงทางการใช้ Reject Code ระบบ Single Payment เพื่อปฏิเสธรายการถอนเงินโดยใช้บัตรอิเล็กทรอนิกส์แบบแถบแม่เหล็ก ที่เครื่อง ATM/ CDM/ ADM ร่วมกับ ITMX – พัฒนา และร่วมทดสอบ(Development & SIT & UAT) การใช้ Reject Code : 95 ระบบ Single Payment เพื่อปฏิเสธรายการถอนเงินโดยใช้บัตรอิเล็กทรอนิกส์แบบแถบแม่เหล็กที่เครื่อง ATM/ CDM/ ADM ร่วมกับ ITMX – Rollout การใช้ Reject Code: 95 ระบบ Single Payment เพื่อปฏิเสธรายการถอนเงินโดยใช้บัตรอิเล็กทรอนิกส์แบบแถบแม่เหล็ก ที่เครื่อง ATM/ CDM/ ADM |
|
• คณะอนุกรรมการด้านประชาสัมพันธ์ – จัดเตรียมข้อความสื่อประชาสัมพันธ์ให้ลูกค้าทราบ เกี่ยวกับการเปลี่ยนบัตรให้เป็นบัตร Chip Thai Standard และจัดเตรียม FAQ เพื่อให้ Call Center ทุกธนาคาร ไว้ใช้ตอบคำถามลูกค้า – ร่วมมือกับหน่วยงาน/ องค์กรต่างๆ ประชาสัมพันธ์ ผ่านหน้าจอ ATM ปี 2562 อาทิ เช่น ประชาสัมพันธ์การเป็นประธานอาเซียนของไทย ในปี 2562, โครงการ เกื้อกูลผู้สูงวัยสังคมไทยน่าอยู่, ประชาสัมพันธ์การอบรมผ่าน e-learning ภายใต้โครงการบริหารความเสี่ยง FX ของ SMEs ระยะที่ 2, วันต่อต้านคอร์รัปชั่น 2562, งาน ABA 2019 – จัดอบรมให้ความรู้ธนาคารสมาชิก |
ประธานชมรม คุณเบญจพร ไพรสุวรรณ | |
ผลการดำเนินงาน โดยสังเขป | |
• เตรียมความพร้อมในการนำมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับที่ 9 เรื่อง เครื่องมือทางการเงิน (TFRS9) มาใช้ในประเทศ โดยได้มีการจัดประชุมรวมทั้งการดำเนินการ ดังนี้ – ประชุมร่วมกันกับ ธปท. ผู้สอบบัญชี 2 ครั้ง – หารือกับกรมสรรพากร เพื่อติดตามประเด็นภาษีที่เกี่ยวข้องกับ TFRS 9 – หารือร่วมกับ ธปท. ถึงแนวการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์มาตรฐานการรายงานทางการเงิน (TFRS9) เรื่องการรายงานข้อมูลสำรองกรณีระบบงานไม่เสถียร การผ่อนผันเรื่องการเปิดเผยข้อมูลในงบการเงิน แนวทางการสื่อสารให้ Public เข้าใจผลกระทบจากการใช้ TFRS 9 ที่มีต่อการวิเคราะห์งบการเงินที่จะต้องเปลี่ยนแปลงไป แนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับร่างแนวทางการจัดชั้นสินทรัพย์ว่าด้วยข้อพิจารณา SICR และการปรับการจัดชั้นให้ดีขึ้นกรณีปรับปรุงโครงสร้างหนี้ รวมทั้งแนวทางการตั้งสำรอง General Provision และออกหนังสือนำส่งถึง ผู้ว่า ธปท. เพื่อแสดงความเห็นในเรื่องเกี่ยวกับ การบริหารจัดการสำรองส่วนเกิน อย่างเป็นทางการ |
|
• ประสานงานกับคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) ออกหนังสือในนาม กกร. นำเสนอความเห็นเรื่องการรับรู้ภาระชดเชยตาม พรบ.คุ้มครองแรงงาน ฉบับลงวันที่ 13 ธันวาคม 2561 ตาม TAS19ต่อคณะกรรมการกำกับดูแลการประกอบวิชาชีพบัญชี (กกบ.) และสภาวิชาชีพบัญชี จนสามารถออก ‘ข้อกำหนดเพิ่มเติม’ ให้ทางเลือก PAE (และ NPAE) ในการรับรู้ผลกระทบดังกล่าว ในปี 2561 ได้ | |
• หารือ เกี่ยวกับการจัดประเภทรายการของหุ้นกู้ที่มีลักษณะคล้ายทุน รวมทั้งการปฏิบัติในช่วงการเปลี่ยนแปลง |
ประธานชมรม คุณทัฬห์ สิริโภคี | |
ผลการดำเนินงาน โดยสังเขป | |
• จัดประชุมสมาชิกชมรม ทั้งหมด 4 ครั้ง | |
• ให้ความเห็นและเสนอแนวทางในการคำนวณ Debt Service Ratio (DSR) ต่อธนาคารแห่งประเทศไทย | |
• ดำเนินการโครงการการจัดอบรมบัญชีเล่มเดียวให้กับผู้ประกอบการ SMEs ร่วมกับ 5 หน่วยงาน (คณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.), กรมสรรพากร, กรมพัฒนาธุรกิจการค้า, ธนาคารแห่งประเทศไทย, สภาวิชาชีพบัญชี ในพระบรมราชูปถัมภ์) จำนวนรวม 10 ครั้ง ทั่วประเทศ โดยมีผู้เข้าร่วมงานสัมมนาทั้งหมด 4,318 ราย | |
• ดำเนินการโครงการ FX Option Phase 2 เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการกลุ่มลูกค้าส่งออกและนำเข้า | |
• หารือร่วมกับกรมสรรพากรในการให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการ SMEs สำหรับกลุ่มที่ดำเนินการปรับปรุงบัญชีแล้ว จำนวน 24,000 ราย | |
• แลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกันในการจัดทำข้อมูลลูกค้าบุคคลทำธุรกิจ เนื่องจาก พรบ. ข้อมูลส่วนบุคคลจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2563เป็นต้นไป | |
• หารือเรื่องการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมสินเชื่อ SMEs และการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ร่วมกับธนาคารแห่งประเทศไทย | |
• หารือแนวทางช่วยเหลือ SMEs กลุ่มลูกค้าส่งออกและนำเข้าและดำเนินโครงการมาตรการต่อเติมเสริมทุน SME สร้างไทย | |
• หารือเรื่องการเชื่อมโยงข้อมูลร่วมกับหน่วยงานเครดิตบูโรและกรมสรรพากร |