แบงก์พาณิชย์ลงทุนระบบบล็อกแอปดูดเงิน ป้องกันภัยไซเบอร์การเงิน “ไทยพาณิชย์-กรุงศรีฯ” อัดงบประมาณหมื่นกว่าล้าน “แบงก์กรุงเทพ-ทีทีบี-กสิกรไทย” ปรับมาตรการรับมือเข้มข้น “กรุงไทย-KBANK” ตั้งศูนย์ hotline 24 ชม. สมาคมแบงก์จับมือ ตร.-ธปท.-ดีอีเอส เปิดระบบศูนย์กลาง “Central Fraud Registry” สกัดบัญชีม้า
นายกฤษณ์ จันทโนทก ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารไทยพาณิชย์ เปิดเผยว่า ธนาคารได้เตรียมเม็ดเงินการลงทุนราว 7,000-10,000 ล้านบาท สำหรับลงทุนทางด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ ทั้งการลงทุนพัฒนาระบบปัญญาประดิษฐ์ (AI) ด้านข้อมูล (data) และแพลตฟอร์มที่มีความปลอดภัย ในระยะเวลา 3 ปีข้างหน้า (2566-2568)
“เรื่องนี้เป็นโจทย์แรกที่ธนาคารให้ความสำคัญ สอดคล้องกับการมุ่งสู่ digital banking” นายกฤษณ์กล่าว
กรุงศรีฯเพิ่มงบฯลงทุนอัพระบบ
นายรถพร เอกบุตร ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสายงานพัฒนาดิจิทัลโซลูชั่นเพื่อลูกค้ารายย่อย ธนาคารกรุงศรีอยุธยา กล่าวว่า ธนาคารให้ความสำคัญกับเรื่องความปลอดภัยของโมบายแบงกิ้งเป็นอย่างมาก ล่าสุด ทีมพัฒนาได้ปรับปรุงระบบของแอปพลิเคชั่น “KMA” เพื่อป้องกันการติดตั้งแอปปลอม
“ก่อนการเข้าใช้งาน KMA โทรศัพท์ระบบปฏิบัติการ Android ที่ติดตั้งแอปพลิเคชั่นนอก Google Play และมีการเปิดสิทธิการควบคุมอุปกรณ์ (accessibility) จะไม่สามารถเข้าสู่โมบายแบงกิ้งของกรุงศรีฯได้อีกต่อไป”ระดับที่มั่นคง และสามารถรองรับความเสี่ยงจากความผันผวนของเศรษฐกิจโลกได้ สะท้อนจากทุนสำรองระหว่างประเทศ ณ สิ้นเดือนมกราคม 2566 อยู่ในระดับสูงที่ 225.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
นอกจากนี้ ธนาคารเน้นการสื่อสารและเสริมสร้างความรู้ในการใช้งานโมบายแบงกิ้งให้ปลอดภัยมาอย่างต่อเนื่อง ผ่านทุกช่องทางของธนาคาร โดยปัญหาแอปดูดเงิน ไม่ได้เกิดจากประเด็นเรื่องความปลอดภัยของทางธนาคารโดยตรง เนื่องจากลูกค้าได้ถูกหลอกลวงให้ติดตั้งแอป ที่ผ่านการดัดแปลงให้เข้าถึงข้อมูลต่าง ๆ ในโทรศัพท์มือถือ (remote access) รวมทั้งได้ให้สิทธิการเข้าควบคุมอุปกรณ์ ทำให้ผู้ไม่หวังดีสามารถเข้าถึงข้อมูลทางการเงินได้
“แม้ปัญหาไม่ใช่เกิดจากเรื่องความปลอดภัยของแบงก์โดยตรง แต่แบงก์ไม่ได้นิ่งนอนใจ และเร่งพัฒนาเพิ่มประสิทธิภาพในการตรวจสอบและป้องกันปัญหาดังกล่าว ซึ่งเชื่อมั่นว่าความร่วมมือของผู้เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนจะช่วยแก้ไขปัญหาแอปพลิเคชั่นดูดเงิน และกลโกงต่าง ๆ ของมิจฉาชีพได้อย่างมีประสิทธิภาพ”
ก่อนหน้านี้ นางสาวดวงดาว วงค์พนิตกฤต ประธานคณะเจ้าหน้าที่ด้านการเงิน ธนาคารกรุงศรีอยุธยากล่าวว่า ธนาคารได้ตั้งงบประมาณทางการพัฒนาระบบไอทีและดิจิทัลในปี 2566 อยู่ที่ 10,000-11,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2565 ที่อยู่ที่ 7,400 ล้านบาท
ไทยพาณิชย์ยกระดับ SCB Easy
นายชาลี อัศวะธีระธรรม รองผู้จัดการใหญ่ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มงาน digital banking ธนาคารไทยพาณิชย์ กล่าวว่า ภายในสิ้นเดือน ก.พ.นี้ ธนาคารจะมีระบบที่สามารถตรวจเช็กแอปพลิเคชั่นที่เรียกใช้ฟีเจอร์การเข้าถึงแบบพิเศษ (accessibility service) ซึ่งถูกติดตั้งจากแหล่งที่มาที่ไม่น่าเชื่อถือ (นอก whitelist เช่น AppStore และ PlayStore เป็นต้น)
จากนั้นภายในเดือน มี.ค. แอป “SCB Easy” จะมีการตรวจสอบการใช้งาน remote application ซึ่งเป็นวิธีการเข้าถึง application จากระยะทางไกล, screen recording, screen mirroring และ screen capture บนหน้าจอที่มีข้อมูลสำคัญในแอป ทั้งหน้าจอการใส่ PIN, หน้าจอการโอนเงิน, หน้าจอการเติมเงิน และหน้าจอการจ่ายบิล”
“หากมีการตรวจพบการใช้งานดังกล่าว ขณะที่มีการแสดงข้อมูลสำคัญบนหน้าจอที่กำหนด ระบบจะมีการเตือนลูกค้า ทั้งนี้ หากเป็นมือถือ Android ระบบจะบังคับให้หน้าจอเป็นสีดำ ส่วน iOS หน้าจอจะขึ้นข้อความแจ้งเตือนเรื่องความปลอดภัย และให้ลูกค้ากดปุ่มเพื่อปิด application อย่างไรก็ดี กรณีพบความเสียหายและเกิดการทุจริต ธนาคารจะให้ความช่วยเหลือลูกค้าในการจัดเตรียมข้อมูลและเอกสารที่ต้องใช้ในการแจ้งความดำเนินคดี รวมถึงช่วยประสานเจ้าหน้าที่ตำรวจ เช่น กรณีที่ลูกค้าต้องการตรวจสอบอุปกรณ์ของตนเอง”
นายชาลีกล่าวว่า การลงทุนเพื่อการพัฒนาระบบเทคโนโลยีของ “SCB Easy” ถือเป็นส่วนสำคัญของการลงทุนทั้งหมดของธนาคาร เพื่อรักษาเสถียรภาพและความปลอดภัยในการใช้งานโมบายแบงกิ้ง โดยปัจจุบันฐานลูกค้ากว่า 90% หรือราว 15.1 ล้านรายของฐานลูกค้าทั้งหมดของธนาคารที่มีประมาณ 16-17 ล้านรายใช้บริการ “SCB Easy” และแนวทางป้องกันจะทำควบคู่และมาตรการของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และสมาคมธนาคารไทย (TBA) รวมถึงศูนย์ประสานงานด้านความมั่นคงปลอดภัย เทคโนโลยีสารสนเทศภาคการธนาคาร (TB CERT)
“เชื่อว่าความเสียหายจากการโดนหลอกผ่านแอปดูดเงินน่าจะลดลง อย่างไรก็ดี ประชาชนและผู้ใช้บริการควรตระหนักก่อนการกดลิงก์แปลกปลอมด้วย”
BBL ขึ้นระบบแจ้งเตือนลูกค้า
นางปรัศนี อุยยามะพันธุ์ ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ กล่าวว่า ธนาคารมีการลงทุนและพัฒนาระบบเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่อง ทำให้ยังไม่ต้องมีการลงทุนใหม่ขนาดใหญ่ โดยธนาคารได้ร่วมมือกับสมาคมธนาคารไทย และ ธปท. ในการยกระดับมาตรการ ทั้งที่เป็นการป้องกัน การตรวจจับ และการรับมือเมื่อเกิดปัญหาขึ้น
ทั้งนี้ สิ่งที่ธนาคารได้ดำเนินการป้องกันภัยจากไซเบอร์และกลโกงจากมิจฉาชีพ เช่น การตรวจสอบการใช้งาน remote application หรือมัลแวร์ ซึ่งเป็นวิธีการหลักที่มิจฉาชีพใช้ ธนาคารจึงมีระบบตรวจจับหากพบว่ามีการใช้งานดังกล่าว บนหน้าจอโมบายแบงกิ้งจะมี pop up แจ้งเตือนลูกค้า และให้ปิดการใช้งาน รวมถึงให้ลูกค้าลบ application ที่อยู่นอก PlayStore จึงจะสามารถทำธุรกรรมได้
“มาตรการขั้นต่อไปคือ การใช้ face biometric มาใช้ยืนยันในการทำธุรกรรมบางประเภท โดยจะทำให้สอดคล้องกับ ธปท. ซึ่งปัจจุบันมีคณะทำงาน เพื่อกำหนดเป็นมาตรฐานความปลอดภัยเดียวกันทั้งระบบธนาคารพาณิชย์ เช่น การปรับวงเงิน การโอนเงินจำนวนสูง หรือธุรกรรมประเภทไหนที่จะต้องใช้ เป็นต้น ซึ่งระบบเทคโนโลยีเหล่านี้ธนาคารมีอยู่แล้ว และใช้กับลูกค้าเปิดบัญชีออนไลน์ แต่จะต้องปรับให้สอดคล้องกัน”
นางปรัศนีกล่าวอีกว่า นอกจากนี้ ยังมีระบบการตรวจจับธุรกรรม หรือระบบ fraud monitoring เช่น มีธุรกรรมสงสัย และอายัด ทั้งบัตรเครดิต เดบิต และธุรกรรมอื่น ๆ ได้ นอกจากนี้ ธนาคารยังร่วมมือกับ TBA และหน่วยงานอื่น ในการตั้งคณะทำงานดูเรื่องของรายละเอียดให้เป็นไปตามพระราชกำหนด (พ.ร.ก.)
ป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยีที่ผ่านคณะรัฐมนตรี (ครม.) เหลือประกาศบังคับใช้กฎหมาย ซึ่งในระหว่างนี้จะมีทีมงานทั้ง compliance และ audit และ operation จะช่วยกันแปลเนื้อความกฎหมายมาเป็นแนวทางวิธีการปฏิบัติให้ชัดเจนร่วมกันของธนาคารพาณิชย์ โดยแต่ละธนาคารจะเตรียมระบบภายในรองรับให้ทันกับ พ.ร.ก.ประกาศใช้
“ตอนนี้งบลงทุนที่เราใช้เพียงพอ เพราะระบบต่าง ๆ เรามีอยู่แล้ว ทั้งความปลอดภัยและดิจิทัล แต่ต้องพัฒนาเพิ่มขึ้น ส่วนระบบกลางที่จะจัดตั้งขึ้นร่วมกันทั้งระบบ ปัจจุบันธนาคารต่าง ๆ พยายามหามาตรการป้องกัน และหากสงสัยจะแชร์ข้อมูล จึงยังไม่น่าจะลงทุน นอกจากจะมีการยกระดับที่สูงขึ้น และ efficiency ก็คงต้องมาดูอีกที แต่ขณะนี้ยังไม่มี big invest”
ทีทีบี ปรับระบบป้องกันทันที
นายฐากร ปิยะพันธ์ ผู้จัดการใหญ่ ธนาคารทหารไทยธนชาต (ทีทีบี) กล่าวว่า ปัจจุบันมี 2 เรื่องที่ธนาคารดำเนินการไปแล้วคือ โปรแกรมการตรวจจับว่าโทรศัพท์มือถือของลูกค้ามีการดาวน์โหลดแอปพลิเคชั่นที่มีความเสี่ยง และหรือมีการเปิดให้เข้าถึงเครื่องผ่าน “accessibility” ฟังก์ชั่นหรือไม่ และรวมถึงระบบการป้องกันการแคปหน้าจอมือถือ”
ขณะที่ในส่วนของมาตรการพิสูจน์และยืนยันตัวตน (biometric) ปัจจุบันแต่ละธนาคารได้มีการตั้งคณะทำงานเพื่อหารือถึงมาตรการป้องกันให้เป็นมาตรฐานทั้งระบบธนาคารพาณิชย์ เช่น การปรับเปลี่ยนวงเงิน หรือการโอนเงิน ลูกค้าจะต้องมีการโชว์หน้า เพื่อพิสูจน์ตัวตน รวมถึงมาตรการอื่น ๆ เพิ่มเติมเพื่อป้องกันมิจฉาชีพ โดยจะมีการประชุมร่วมกันอีกครั้งสัปดาห์หน้า
คาดว่าอีกไม่เกิน 2-3 เดือน สมาคมธนาคารไทย ร่วมมือกับธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (DES) สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และศูนย์ประสานงานการรักษาความมั่นคงปลอดภัยทางเทคโนโลยีสารสนเทศภาคธนาคาร จะร่วมมือกันมีการจัดตั้งศูนย์ “Central Fraud Registry” ตรวจจับธุรกรรมที่เสี่ยงทุจริตหรือต้องสงสัย ให้พร้อมใช้งาน
ระหว่างนี้ต้องรอกระบวนการตามกฎหมาย โดยธนาคารจะมีการพิจารณาร่วมกันถึงการกำหนดเงื่อนไข วิธีปฏิบัติ ขั้นตอนการดำเนินงาน หากเกิดเหตุหรือพบธุรกรรมต้องสงสัย หรือเข้าข่ายบัญชีม้า เช่น ระยะเวลาการบล็อกบัญชี วงเงินที่บล็อกจะเป็นทั้งจำนวนหรือเฉพาะความเสียหาย ซึ่งอันนี้ธนาคารจะต้องมีการเขียนกรอบกติการะเบียบปฏิบัติให้ชัดเจน เพื่อให้การดำเนินการเป็นไปในแนวทางเดียวกันทั้งระบบ
“เรามีการประชุมร่วมกันทั้งในส่วนของ ธปท.และสมาคมเพื่อป้องกัน digital fraud ซึ่งไทยมีความเสี่ยงนี้เยอะ ส่วนหนึ่งไทยมีผู้ใช้โมบายแบงกิ้งเยอะ และจำนวนธุรกรรมมหาศาล ซึ่งแต่ละแบงก์ความพร้อมอาจไม่เท่ากัน แต่ทุกคนพยายามรีบทำให้เร็วที่สุด” นายฐากรกล่าว
กสิกรไทย ออกมาตรการต่อเนื่อง
นายชัชวัฒน์ อัศวรักวงศ์ Chief Information Security Officer บริษัท กสิกร บิซิเนส-เทคโนโลยี กรุ๊ป (KBTG) กล่าวว่า มาตรการป้องกันมิจฉาชีพและภัยทางการเงินบนแอปพลิเคชั่น “K PLUS” ของธนาคารกสิกรไทยจะทยอยออกมาต่อเนื่อง เช่นก่อนหน้านี้ให้ลูกค้าที่ใช้ระบบปฏิบัติการ Android เวอร์ชั่นต่ำกว่า 5.16.8 จะไม่สามารถใช้งานได้ตั้งแต่วันที่ 13 ก.พ. 66
รวมถึงยกเลิกการส่ง SMS แบบแนบลิงก์ เพื่อความปลอดภัยของลูกค้า ทั้งในส่วนข่าวสารประชาสัมพันธ์ทั่วไป การแจ้งโปรโมชั่น การแจ้งเตือนทำรายการบัตรเครดิต หรือความเคลื่อนไหวของบัญชี และข้อมูลรายละเอียดผลิตภัณฑ์ เป็นต้น
แบงก์ตั้งศูนย์รับแจ้งเหตุ 24 ชม.
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ล่าสุดธนาคารพาณิชย์ 2 แห่งจัดตั้งศูนย์รับแจ้งเหตุภัยการเงินตลอด 24 ชั่วโมง อาทิ ธนาคารกสิกรไทย โทร.0-2888-8888 กด 001 และธนาคารกรุงไทย โทร.0-2111-1111 กด 108
ขอขอบคุณแหล่งที่มา : ประชาชาติธุรกิจ
Chairman: Mr. Suwit Indrachalerm (Bangkok Bank Public Company Limited)
Coordinator: Mr. Suphawat Maseng
Objectives: This club is established with the approval of its members to carry out corporate social responsibility (CSR) activities consistent with the operations of the Thai Bankers’ Association as follows
This will close in 500 seconds
Chairman: Ms. Suteera Sripaibulya (Bangkok Bank Public Company Limited)
Coordinator: Ms. Sampantanee Apaipan
Objectives: This club is established
This will close in 500 seconds
Chairman: Mr. Than Siripokee (Bangkok Bank Public Company Limited)
Coordinator: Ms. Supada Ruttanapong
Objectives: This club is established
This will close in 500 seconds
Chairman: Mr. Paisarn Lertkowit (Bangkok Bank Public Company Limited)
Coordinator: Ms. Kristsanee Disapad
Objectives: This club is established
This will close in 500 seconds
Chairman: Mr. Kittichai Singha (Bank of Ayudhya Public Company Limited)
Coordinatior: Ms. Chutiporn Jiranansuroj
Objectives: This club is established
This will close in 500 seconds
Chairman: Pongpichet Nananukool (Kasikorn Bank Public Company Limited)
Coordinator: Mr. Warat Attanandana
Objectives: This club is established
This will close in 500 seconds
Chairman: Mr. Kitipong Muttamara (Krungthai Bank Public Company Limited)
Coordinator: Ms. Manisa Rueangsri
Objectives: This club is established
This will close in 500 seconds
Chairman: Mr. Atis Ruchirawat Ayudhya Capital Services Co., Ltd.
Coordinator: Ms. Apsorn Suttaroj
Objectives: This club is established
This will close in 500 seconds
Acting Chairman: Mr. Settarat Na-Nakorn (Kasikorn Bank Public Company Limited)
: Ms. Suchanee.lavanavanija (Bangkok Bank Public Company Limited)
Coordinator: Ms. Monruedee Teerarungruang
Objectives: The Club is established
This will close in 500 seconds
Chairman: Mr. Thitivorn Chothayaphorn (Bank of Ayudhya Public Company Limited)
Coordinator: K. Jitti Wijitbanjong
Objectives: The Club is established
This will close in 500 seconds
Chairman: Mr. Prathin Kijjaruwankul (Kiatnakin Phatra Bank Public Company Limited)
Coordinator: Mr. Thammanun Harnprasitkam
Objectives: The Club is established
This will close in 500 seconds
Chairman: Ms. Oranuch Nampoolsuksan (Bangkok Bank Public Company Limited)
Coordinator: Ms. Roongratt Ratanarajchartikul
Objectives: The Club is established
This will close in 500 seconds
Chairman: Dr. Phacharaphot Nuntramas (Krungthai Bank Public Company Limited)
Coordinator: Dr. Chamadanai Maknual
Objectives: The Club is established
This will close in 500 seconds
Chairman: Ms. Pornvalai Kulrojseth (Krungthai Bank Public Company Limited)
Coordinator: -
Objectives: The Club is established
This will close in 500 seconds
Chairman: Ms. Puntipa Hannoraseth (Bank of Ayudhya Public Company Limited)
Coordinator: Ms. Tippawan Bannajirakul
Objectives: The Club is established
This will close in 500 seconds
Chairman: Ms. Waranee Wanrat (TMBThanachart Bank Public Company Limited)
Coordinator: Ms. Sunisa Netsawang
Objectives: The Club is established
This will close in 500 seconds
Acting Chairman: Ms. Jeerana Ramasoot (Bangkok Bank Public Company Limited)
Coordinator: Ms. Natchanok Aryukong
Objectives: The Club is established
This will close in 500 seconds
Chairman: Dr. Vasin Udomratchatavanich Bank of Ayudhya Public Company Limited
Coordinator: Ms. Manduan Aeambunapong
Objectives: The Club is established
This will close in 500 seconds
Chairman: Mr. Sant Thaosuwan (Bank of Ayudhya Public Company Limited)
Coordinator: Ms. Wasunthree Tri-utok
Objectives: The Club is established
This will close in 500 seconds
Chairman: Mr. luesak Sukasem (Krungthai Bank Public Company Limited)
Coordinator: Ms. Nipaporn Daokhanon
Objectives: The Club is established
This will close in 500 seconds
ธรรมาภิบาล(Governance) : มีระบบการกำกับดูแลกิจการที่ดี และดำเนินการกำกับดูแลได้อย่างมีประสิทธิผลในระดับคณะกรรมการ โดยกำหนดภาระและขอบเขตความรับผิดชอบที่ชัดเจนในระดับการจัดการในเรื่องที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล
This will close in 500 seconds
ยุทธศาสตร์ (Strategy) : บูรณาการพันธกิจด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล เข้ากับยุทธศาสตร์การดำเนินธุรกิจและกำหนดกรอบด้านการเงินที่ยั่งยืน โดยสนับสนุนเพื่อให้ประเทศสามารถเปลี่ยนผ่านไปสู่เป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ได้อย่างราบรื่น
This will close in 500 seconds
การบริหารความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อม สังคมและธรรมาภิบาล (ESG Risk Management) : ผนวกรวมประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล ไว้ในกระบวนการบริหารความเสี่ยง
This will close in 500 seconds
ผลิตภัณฑ์ทางการเงิน(Financial Products) : ปรับใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อส่งเสริมการเข้าถึงบริการทางการเงิน รวมทั้งนวัตกรรมทางการเงินที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและยั่งยืน
This will close in 500 seconds
การสื่อสาร (Communication) : สื่อสารและประสานความร่วมมือกับผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วนในการสร้างจิตสำนึกสาธารณะด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล
This will close in 500 seconds
การเปิดเผยข้อมูลทางการเงิน (Disclosure) : พัฒนาระบบการติดตามและการรายงานที่สอดคล้องกับกรอบการกำกับดูแลของประเทศไทยและมาตรฐานการเปิดเผยข้อมูลด้านความยั่งยืนในระดับสากล
This will close in 500 seconds
3 เรื่องต้องรู้ก่อนเข้าร่วมมาตรการปิดจบ หนี้เรื้อรัง
**สามารถขอออกจากมาตรการได้ แต่จะไม่ได้รับสิทธิแก้หนี้ตามเงื่อนไขเดิม**
3 เรื่องต้องรู้ หากจ่ายขั้นต่ำบัตรกดเงินสดนาน ๆ
แบบไหนเข้าข่ายปัญหาหนี้เรื้อรัง (Persistent Debt - PD)
1. แม้ภาระต่อเดือนไม่สูง แต่ใช้เวลานาน กว่าจะหมดหนี้
2. ยอดขั้นต่ำที่จ่ายแต่ละเดือนเป็นดอกเบี้ยมากกว่าเงินต้น
3. เมื่อผ่อนจบพบว่ายอดรวมที่จ่ายไปส่วนใหญ่คือ ดอกเบี้ย
อยากหมดหนี้ไว ㆍจ่ายดอกเบี้ยลดลง ㆍ ภาระต่อเดือนไม่เพิ่มจากเดิม
เลือกเข้ามาตรการปิดจบหนี้เรื้อรังได้ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป
หมายเหตุ : ลูกหนี้ที่เข้าข่ายเป็นหนี้รื้อร้ง จะได้รับการติดต่อจากเจ้าหนี้ โดยหาก 5 ปีที่ผ่านมา ลูกหนี้จ่ายดอกเบี้ยรวมมากกว่าเงินต้นรวม จะได้รับข้อเสนอปิดจบหนี้ภายใน 5 ปี ดอกเบี้ยไม่เกิน 15% ต่อปี
ตัวอย่าง
ใช้บัตรกดเงินสด
วงเงินหมุนเวียน 15,000 บาท
ผ่อนขั้นต่ำ (3%) มาแล้ว 5 ปี
เหลือจ่ายเงินต้นอีก 8,700 บาท
ทางเลือกที่ 1 : ผ่อนขั้นต่ำต่อไปจนครบ ดอกเบี้ย 25% ต่อปี ผ่อนต่ออีก 13 ปี 5 เดือน
เหลือจ่ายดอกเบี้ยอีก 14,000 บาท
ดอกเบี้ยรวมทั้งสัญญา 29,000 บาท
ทางเลือกที่ 2 : เข้าโครงการแก้หนี้เรื้อรัง ดอกเบี้ย 15% ต่อปี ผ่อนต่ออีก 3 ปี 6 เดือน (เดือนละ 260 บาท)
เหลือจ่ายดอกเบี้ยอีก 2,500 บาท
ดอกเบี้ยรวมทั้งสัญญา 17,500 บาท
*ประหยัดดอกเบี้ยได้ 11,500 บาท*
หมายเหตุ: ผ่อนเดือนละ 260 บาท เท่ากับยอดการผ่อนขั้นต่ำ ณ เดือนสุดท้ายของปีที่ 5 ก่อนเข้าโครงการ
ตอบข้อสงสัย มาตรการปิดจบหนี้เรื้อรัง
(1) ทำไมมาตรการปิดจบหนี้เรื้อรัง ไม่รวมหนี้บัตรเครดิต?
(2) ทำไมต้องมีเงื่อนไขปิดวงเงินหากเข้าร่วมมาตรการปิดจบหนี้เรื้อรัง
(3) การเข้ามาตรการปิดจบหนี้เรื้อรัง จะมีการรายงานข้อมูลในเครดิตบูโร (NCB) หรือไม่
ทำไมมาตรการปิดจบหนี้เรื้อรัง ไม่รวมหนี้บัตรเครดิต?
เพราะหนี้บัตรเครดิตมี (1) อัตราดอกเบี้ย และ (2) เงื่อนไขการผ่อนชำระที่ทำให้ไม่เข้าข่ายหนี้เรื้อรังที่จ่ายดอกเบี้ยมากกว่าเงินต้นและใช้เวลานานในการปิดจบ
ลูกหนี้บัตรเครดิตจ่ายขั้นต่ำที่ 8% ทำให้จ่ายชำระเงินต้นมากกว่าดอกเบี้ย ลูกหนี้สามารถปิดจบหนี้ได้ภายในระยะเวลาไม่นานนัก
บัตรกดเงินสดมักจ่ายขั้นต่ำที่ 3% และดอกเบี้ยส่วนใหญ่อยู่ที่ 25% ต่อปี ซึ่งจะทำให้ ตัดจ่ายดอกเบี้ย 2% และตัดเงินต้นเพียง 1%
ทำไมต้องมีเงื่อนไขปิดวงเงินหากเข้าร่วมมาตรการปิดจบหนี้เรื้อรัง
เงื่อนไขการปิดวงเงินจะช่วยให้ลูกหนี้มีวินัยทางการเงินเพิ่มขึ้นและสามารถปิดจบหนี้ได้ภายใน 5 ปี
อย่างไรก็ดี กรณีลูกหนี้ที่เข้ามาตรการฯ มีความจำเป็นฉุกเฉิน เช่น เจ็บป่วย ได้รับอุบัติเหตุ ตกงาน ผู้ให้บริการอาจพิจารณาให้สินเชื่อได้ หากลูกหนี้มีความสามารถในการชำระหนี้เพียงพอ ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับนโยบายและเงื่อนไขของผู้ให้บริการแต่ละแห่ง
กรณีลูกหนี้มีบัตรกดเงินสดมากกว่า 1 ใบ สามารถเลือกเข้าโครงการแค่บางบัตร และเก็บวงเงินบัตรกดเงินสดที่เหลือไว้ก่อนได้
การเข้ามาตรการปิดจบหนี้เรื้อรัง จะมีการรายงานข้อมูลในเครดิตบูโร (NCB) หรือไม่
จะมีการรายงานข้อมูลใน NCB โดยเพิ่มการรายงานประเภทของสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้ "รหัส (code) 03" โดยจะไม่กระทบสถานะบัญชีลูกหนี้ที่ยังเป็น 10-ปกติ เช่นเดิมทั้งนี้ การรายงานนี้ จะช่วยให้ผู้ให้บริการทราบถึงการเข้าโครงการซึ่งสะท้อนความตั้งใจที่ดีในการแก้ปัญหาหนี้ของลูกหนี้
มาตรการปิดจบหนี้เรื้อรัง..ช่วยเหลือลูกหนี้อย่างไร?
ถ้าได้รับแจ้งเตือนว่าเป็นลูกหนี้เรื้อรัง (severe PD) จะได้รับข้อเสนอให้สมัครเข้าร่วมมาตรการเพื่อปิดจบหนี้ ซึ่งจะได้รับประโยชน์จากการเข้าร่วมมาตรการ ดังนี้
** สำหรับลูกหนี้ที่เริ่มเรื้อรัง (general PD) ให้รีบติดต่อเจ้าหนี้หากต้องการแก้หนี้ เจ้าหนี้จะมีแนวทางให้ความช่วยเหลือที่เหมาะสมเป็นรายกรณี **
การแจ้งเตือนเมื่อเข้าข่ายลูกหนี้เรื้อรัง
ความถี่การแจ้งเตือนจากเจ้าหนี้
ช่องทางการแจ้งเตือน
โดยลูกหนี้เรื้อรังจะได้รับข้อเสนอแนวทางการปิดจบหนี้จากเจ้าหนี้ด้วย
หนี้เรื้อรัง คืออะโร.. แค่ไหนที่เรียกว่าเรื้อรัง?
แบบไหนเข้าข่ายปัญหาหนี้เรื้อรัง (Persistent Debt - PD)
ลูกหนี้เรื้อรัง 2 แบบ
1. เริ่มเป็นหนี้เรื้อรัง (general PD)
2. เป็นหนี้เรื้อรัง (severe PD)
** ธปท. กำหนดเกณฑ์รายได้ เพื่อมุ่งให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ที่เดือดร้อนที่สุดก่อน โดยพิจารณาความเรื้อรังและรายได้ที่ไม่สูงมากของลูกหนี้ **
ทวงหนี้อย่างเป็นธรรม ต้องแจ้งข้อมูลสำคัญอะไรบ้าง
เจ้าหนี้จะต้องแจ้งรายละเอียดของภาระหนี้พร้อมข้อมูลสำคัญอื่น ๆ แก่ลูกหนี้ให้ครบถ้วน เช่น
และห้ามเรียกให้ผู้ค้ำประกันชำระหนี้ก่อน ยกเว้น ลูกหนี้ล้มละลายหรือติดต่อไม่ได้
#ResponsibleLending #แก้หนี้ยั่งยืน #เจ้าหนี้รับผิดชอบ #ลูกหนี้มีวินัย
มีหนี้กับหลายเจ้าหนี้จะทำอย่างไร?