“Summary“
SCB EIC ได้ดำเนินการสำรวจผู้ประกอบการ SMEs 124 ราย และดำเนินการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ประกอบการเหล่านี้ 12 ราย โดยสามารถจำแนกผู้ประกอบการออกเป็นสองกลุ่ม คือ กลุ่มที่เคยใช้งานและไม่เคยใช้งาน Generative AI โดยทั้ง 2 กลุ่ม มองว่าเทคโนโลยีนี้จะเข้ามามีบทบาทสำคัญต่อธุรกิจในปัจจุบันและอนาคต หากแต่มุมมองในด้านต่างๆ เช่น ความพร้อมในการใช้งาน การปรับตัว ความเชื่อมั่น และการสนับสนุนจากภาครัฐ แตกต่างกันไปตามประสบการณ์และการใช้ Generative AI ของแต่ละกลุ่ม
“computer has always been a bicycle of the mind, something that takes us far beyond our inherent abilities” Steve Jobs, นักธุรกิจ นวัตกร และนักลงทุน ผู้ร่วมก่อตั้ง บริษัท Apple
ถ้าคอมพิวเตอร์เป็นจักรยาน คนขับขี่ก็ยังต้องจับแฮนด์เพื่อควบคุมทิศทาง หรือออกคำสั่งให้ไปตรงเป้าหมายที่ต้องการ แล้ว AI ที่เหมือนกับระบบขับขี่อัตโนมัติ โดยเฉพาะ Generative AI ที่ผู้ขับขี่ทั่วไป ซึ่งไม่จำเป็นต้องมีความรู้ความเข้าใจในเชิงเทคนิคก็สามารถใช้งานได้นั้น จะพาเราสู่ขอบเขตใด?
Generative AI กับมิติทางเศรษฐกิจ
ในทางเศรษฐศาสตร์แล้ว มูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจเกิดจากการใช้ปัจจัยการผลิตในแต่ละอุตสาหกรรม ในการนี้ การประเมินผลของการใช้ประโยชน์ Generative AI ต่อเศรษฐกิจในภาพรวม จึงดำเนินการผ่านผลบวกต่อแรงงานและผู้ประกอบการ ซึ่งมีการประเมินไว้ว่าจะช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจในโลก หรือ Global GDP ได้ถึง 6.0%-7.8% ต่อปี ผ่านการสร้างกระบวนการทำงานแบบอัตโนมัติและช่วยลดจำนวนชั่วโมงการทำงานในประเทศสหรัฐอเมริกาได้ถึง 8.0% ภายในปี 2030 โดยในส่วนของประเทศไทย คาดว่า Generative AI จะเพิ่ม GDP ได้ถึง 5.9% และเพิ่มผลิตภาพแรงงานได้ 7.3%
การใช้งาน Generative AI จะเอื้อให้แรงงานที่ไม่ได้มีพื้นฐานความรู้ในการเขียนโปรแกรมหรือทักษะในด้านวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์สามารถใช้งานปัญญาประดิษฐ์ในการสร้างเนื้อหาใหม่ๆ ทั้งในส่วนของงานธุรการ อาทิ การเขียนจดหมาย การแปลภาษา การค้นหาข้อมูลผ่านการประมวลผลร่วมกันจากหลากหลายแหล่งข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต และงานที่ต้องใช้ทักษะเฉพาะทาง เช่น การสร้างสื่อมัลติมีเดีย การวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ และการศึกษาวิจัย เป็นต้น
สำหรับผู้ประกอบการแล้ว แรงงานที่จะใช้ประโยชน์ของ Generative AI ได้ จะต้องมีโครงสร้างพื้นฐานขององค์กรรองรับ ทั้งการวิจัยและพัฒนา การจัดสรรทรัพยากรด้านการตลาด การใช้งานระบบคอมพิวเตอร์และการจัดการข้อมูลและประมวลผลบนคลาวด์ ตลอดจนการใช้งานด้านโทรคมนาคมอย่างเป็นระบบ ซึ่งนับเป็นความท้าทายของผู้ประกอบการไทย โดยเฉพาะผู้ประกอบการ SMEs ที่อาจมีทรัพยากรจำกัดในการลงทุนสร้างความพร้อมดังกล่าว
ผู้ประกอบการมีความเห็นต่อการใช้งาน Generative AI อย่างไร?
Generative AI กำลังเข้ามามีบทบาทสำคัญในการเปลี่ยนแปลงภาคธุรกิจ ทำให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น และเปิดโอกาสใหม่ๆ ในการสร้างสรรค์และพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการ ธุรกิจที่สามารถปรับตัวและใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีนี้จะสามารถอยู่รอดและเติบโตในยุคดิจิทัลที่ไม่หยุดนิ่งนี้ได้อย่างยั่งยืน โดย SCB EIC ได้ดำเนินการสำรวจผู้ประกอบการ SMEs 124 ราย และดำเนินการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ประกอบการเหล่านี้ 12 ราย โดยสามารถจำแนกผู้ประกอบการออกเป็นสองกลุ่ม คือ กลุ่มที่เคยใช้งานและไม่เคยใช้งาน Generative AI
กลุ่มตัวอย่างผู้ประกอบการ SMEs ทั้ง 2 กลุ่ม คือกลุ่มที่เคยใช้และไม่เคยใช้ Generative AI มองว่าเทคโนโลยีนี้จะเข้ามามีบทบาทสำคัญต่อธุรกิจในปัจจุบันและอนาคต อย่างไรก็ตาม มุมมองในด้านต่างๆ เช่น ความพร้อมในการใช้งาน การปรับตัว ความเชื่อมั่น และการสนับสนุนจากภาครัฐ แตกต่างกันไปตามประสบการณ์และการใช้ Generative AI ของแต่ละกลุ่ม
กลุ่มผู้ประกอบการ SMEs ที่ไม่เคยใช้ Generative AI ส่วนมากยังขาดความพร้อมเรื่องทักษะแรงงานและความเข้าใจในตัวเทคโนโลยี รวมไปถึงยังมีความกังวลต่อความเสี่ยงจากการใช้งาน เช่น ความปลอดภัยของข้อมูลและเสถียรภาพของระบบ โดยภาครัฐควรเข้ามามีบทบาทในการวางกฎเกณฑ์และขอบเขตการใช้งานให้ชัดเจน
ในขณะที่กลุ่มผู้ประกอบการ SMEs ที่ใช้งาน Generative AI อยู่แล้ว มองว่าก้าวสำคัญในการนำเทคโนโลยีนี้มาประยุกต์ใช้ในองค์กรคือการทำ Digital transformation หรือการนำเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาเปลี่ยนแปลงกระบวนการและวิธีการทำงานแบบดั้งเดิม เพื่อสร้างรากฐานสำหรับการเพิ่มขีดความสามารถในการใช้ Generative AI อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ผู้ประกอบการในกลุ่มนี้ค่อนข้างมีความเชื่อมั่นในประสิทธิภาพและความปลอดภัยของ Generative AI เมื่อเทียบกับกลุ่มที่ไม่เคยใช้ แต่จะมีความกังวลในการถูก Disrupt จากผู้ประกอบการรายใหญ่และการแข่งขันที่จะเพิ่มขึ้น
โดยการจะปลดล็อกข้อจำกัดในการนำ Generative AI เข้ามาเพิ่มขีดความสามารถให้องค์กรนั้น อาศัยความเข้าใจถึงความต้องการและ Pain point ของผู้ประกอบการทุกกลุ่ม รวมไปถึงการทำงานร่วมกันระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน เพื่อเพิ่มความมั่นใจและสร้างสภาวะที่เอื้อต่อการนำ Generative AI เข้าสู่ธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัย
นัยของการใช้งาน Generative AI กับการยกระดับศักยภาพ SMEs ไทย
เสียงของผู้ประกอบการ SMEs สะท้อนถึงความรู้ความเข้าใจและการมีชุดความคิดที่กล้าและพร้อมที่จะปรับตัวใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีที่ไม่เพียงเป็นกระแสตามความนิยม แต่มีโอกาสสูงที่จะกลายมาเป็นเครื่องมือหลักดังที่ชุดโปรแกรมสำนักงานของไมโครซอฟท์เคยเจาะตลาดในวงกว้างและกำหนดบรรทัดฐานการทำงานในอดีต
ในการนี้ นอกจากภาครัฐจะต้องสร้างโครงสร้างพื้นฐานทั้งในด้านระบบความปลอดภัยของการใช้ข้อมูล การกำหนดกฎเกณฑ์ในการกำกับดูแลการใช้งาน Generative AI อย่างมีความรับผิดชอบและมีธรรมาภิบาล ตลอดจนการพัฒนาทักษะพื้นฐานให้กับนักเรียน นักศึกษา และแรงงานโดยทั่วไปแล้ว ภาคการเงินเองก็อาจจะมีส่วนร่วมสำคัญ ผ่านการให้สินเชื่อธุรกิจซึ่งมีบทบาทสำคัญในการโยกย้ายทรัพยากรทางการเงินในอนาคตมาใช้จ่ายในปัจจุบัน เพื่อลงทุนเพิ่มผลิตภาพ ลดต้นทุนการผลิต และสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ
การใช้งาน Generative AI ในภาคการเงินจะไม่เพียงเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานผ่านการลดต้นทุนในการประกอบการ แต่จะเปิดโอกาสให้ผู้ให้บริการทางการเงินสามารถนำเสนอผลิตภัณฑ์ทางการเงินในการช่วยให้ผู้ประกอบการ SMEs สามารถปรับตัวใช้งานเทคโนโลยีได้อย่างเป็นรูปธรรม อันจะช่วยยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการ SMEs และยกระดับศักยภาพทางเศรษฐกิจให้กับประเทศได้ในภาพรวม
** บทความนี้เป็นความคิดเห็นส่วนบุคคล จึงไม่จำเป็นต้องสอดคล้องกับความเห็นของหน่วยงานที่ผู้เขียนสังกัด **
ขอขอบคุณแหล่งที่มา : ไทยรัฐ
Chairman: Mr. Suwit Indrachalerm (Bangkok Bank Public Company Limited)
Coordinator: Mr. Suphawat Maseng
Objectives: This club is established with the approval of its members to carry out corporate social responsibility (CSR) activities consistent with the operations of the Thai Bankers’ Association as follows
This will close in 500 seconds
Chairman: Ms. Suteera Sripaibulya (Bangkok Bank Public Company Limited)
Coordinator: Ms. Sampantanee Apaipan
Objectives: This club is established
This will close in 500 seconds
Chairman: Mr. Than Siripokee (Bangkok Bank Public Company Limited)
Coordinator: Ms. Supada Ruttanapong
Objectives: This club is established
This will close in 500 seconds
Chairman: Mr. Paisarn Lertkowit (Bangkok Bank Public Company Limited)
Coordinator: Ms. Kristsanee Disapad
Objectives: This club is established
This will close in 500 seconds
Chairman: Mr. Kittichai Singha (Bank of Ayudhya Public Company Limited)
Coordinatior: Ms. Chutiporn Jiranansuroj
Objectives: This club is established
This will close in 500 seconds
Chairman: Pongpichet Nananukool (Kasikorn Bank Public Company Limited)
Coordinator: Mr. Warat Attanandana
Objectives: This club is established
This will close in 500 seconds
Chairman: Mr. Kitipong Muttamara (Krungthai Bank Public Company Limited)
Coordinator: Ms. Manisa Rueangsri
Objectives: This club is established
This will close in 500 seconds
Chairman: Mr. Atis Ruchirawat Ayudhya Capital Services Co., Ltd.
Coordinator: Ms. Apsorn Suttaroj
Objectives: This club is established
This will close in 500 seconds
Acting Chairman: Mr. Settarat Na-Nakorn (Kasikorn Bank Public Company Limited)
: Ms. Suchanee.lavanavanija (Bangkok Bank Public Company Limited)
Coordinator: Ms. Monruedee Teerarungruang
Objectives: The Club is established
This will close in 500 seconds
Chairman: Mr. Thitivorn Chothayaphorn (Bank of Ayudhya Public Company Limited)
Coordinator: K. Jitti Wijitbanjong
Objectives: The Club is established
This will close in 500 seconds
Chairman: Mr. Prathin Kijjaruwankul (Kiatnakin Phatra Bank Public Company Limited)
Coordinator: Mr. Thammanun Harnprasitkam
Objectives: The Club is established
This will close in 500 seconds
Chairman: Ms. Oranuch Nampoolsuksan (Bangkok Bank Public Company Limited)
Coordinator: Ms. Roongratt Ratanarajchartikul
Objectives: The Club is established
This will close in 500 seconds
Chairman: Dr. Phacharaphot Nuntramas (Krungthai Bank Public Company Limited)
Coordinator: Dr. Chamadanai Maknual
Objectives: The Club is established
This will close in 500 seconds
Chairman: Ms. Pornvalai Kulrojseth (Krungthai Bank Public Company Limited)
Coordinator: -
Objectives: The Club is established
This will close in 500 seconds
Chairman: Ms. Puntipa Hannoraseth (Bank of Ayudhya Public Company Limited)
Coordinator: Ms. Tippawan Bannajirakul
Objectives: The Club is established
This will close in 500 seconds
Chairman: Ms. Waranee Wanrat (TMBThanachart Bank Public Company Limited)
Coordinator: Ms. Sunisa Netsawang
Objectives: The Club is established
This will close in 500 seconds
Acting Chairman: Ms. Jeerana Ramasoot (Bangkok Bank Public Company Limited)
Coordinator: Ms. Natchanok Aryukong
Objectives: The Club is established
This will close in 500 seconds
Chairman: Dr. Vasin Udomratchatavanich Bank of Ayudhya Public Company Limited
Coordinator: Ms. Manduan Aeambunapong
Objectives: The Club is established
This will close in 500 seconds
Chairman: Mr. Sant Thaosuwan (Bank of Ayudhya Public Company Limited)
Coordinator: Ms. Wasunthree Tri-utok
Objectives: The Club is established
This will close in 500 seconds
Chairman: Mr. luesak Sukasem (Krungthai Bank Public Company Limited)
Coordinator: Ms. Nipaporn Daokhanon
Objectives: The Club is established
This will close in 500 seconds
ธรรมาภิบาล(Governance) : มีระบบการกำกับดูแลกิจการที่ดี และดำเนินการกำกับดูแลได้อย่างมีประสิทธิผลในระดับคณะกรรมการ โดยกำหนดภาระและขอบเขตความรับผิดชอบที่ชัดเจนในระดับการจัดการในเรื่องที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล
This will close in 500 seconds
ยุทธศาสตร์ (Strategy) : บูรณาการพันธกิจด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล เข้ากับยุทธศาสตร์การดำเนินธุรกิจและกำหนดกรอบด้านการเงินที่ยั่งยืน โดยสนับสนุนเพื่อให้ประเทศสามารถเปลี่ยนผ่านไปสู่เป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ได้อย่างราบรื่น
This will close in 500 seconds
การบริหารความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อม สังคมและธรรมาภิบาล (ESG Risk Management) : ผนวกรวมประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล ไว้ในกระบวนการบริหารความเสี่ยง
This will close in 500 seconds
ผลิตภัณฑ์ทางการเงิน(Financial Products) : ปรับใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อส่งเสริมการเข้าถึงบริการทางการเงิน รวมทั้งนวัตกรรมทางการเงินที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและยั่งยืน
This will close in 500 seconds
การสื่อสาร (Communication) : สื่อสารและประสานความร่วมมือกับผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วนในการสร้างจิตสำนึกสาธารณะด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล
This will close in 500 seconds
การเปิดเผยข้อมูลทางการเงิน (Disclosure) : พัฒนาระบบการติดตามและการรายงานที่สอดคล้องกับกรอบการกำกับดูแลของประเทศไทยและมาตรฐานการเปิดเผยข้อมูลด้านความยั่งยืนในระดับสากล
This will close in 500 seconds
3 เรื่องต้องรู้ก่อนเข้าร่วมมาตรการปิดจบ หนี้เรื้อรัง
**สามารถขอออกจากมาตรการได้ แต่จะไม่ได้รับสิทธิแก้หนี้ตามเงื่อนไขเดิม**
3 เรื่องต้องรู้ หากจ่ายขั้นต่ำบัตรกดเงินสดนาน ๆ
แบบไหนเข้าข่ายปัญหาหนี้เรื้อรัง (Persistent Debt - PD)
1. แม้ภาระต่อเดือนไม่สูง แต่ใช้เวลานาน กว่าจะหมดหนี้
2. ยอดขั้นต่ำที่จ่ายแต่ละเดือนเป็นดอกเบี้ยมากกว่าเงินต้น
3. เมื่อผ่อนจบพบว่ายอดรวมที่จ่ายไปส่วนใหญ่คือ ดอกเบี้ย
อยากหมดหนี้ไว ㆍจ่ายดอกเบี้ยลดลง ㆍ ภาระต่อเดือนไม่เพิ่มจากเดิม
เลือกเข้ามาตรการปิดจบหนี้เรื้อรังได้ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป
หมายเหตุ : ลูกหนี้ที่เข้าข่ายเป็นหนี้รื้อร้ง จะได้รับการติดต่อจากเจ้าหนี้ โดยหาก 5 ปีที่ผ่านมา ลูกหนี้จ่ายดอกเบี้ยรวมมากกว่าเงินต้นรวม จะได้รับข้อเสนอปิดจบหนี้ภายใน 5 ปี ดอกเบี้ยไม่เกิน 15% ต่อปี
ตัวอย่าง
ใช้บัตรกดเงินสด
วงเงินหมุนเวียน 15,000 บาท
ผ่อนขั้นต่ำ (3%) มาแล้ว 5 ปี
เหลือจ่ายเงินต้นอีก 8,700 บาท
ทางเลือกที่ 1 : ผ่อนขั้นต่ำต่อไปจนครบ ดอกเบี้ย 25% ต่อปี ผ่อนต่ออีก 13 ปี 5 เดือน
เหลือจ่ายดอกเบี้ยอีก 14,000 บาท
ดอกเบี้ยรวมทั้งสัญญา 29,000 บาท
ทางเลือกที่ 2 : เข้าโครงการแก้หนี้เรื้อรัง ดอกเบี้ย 15% ต่อปี ผ่อนต่ออีก 3 ปี 6 เดือน (เดือนละ 260 บาท)
เหลือจ่ายดอกเบี้ยอีก 2,500 บาท
ดอกเบี้ยรวมทั้งสัญญา 17,500 บาท
*ประหยัดดอกเบี้ยได้ 11,500 บาท*
หมายเหตุ: ผ่อนเดือนละ 260 บาท เท่ากับยอดการผ่อนขั้นต่ำ ณ เดือนสุดท้ายของปีที่ 5 ก่อนเข้าโครงการ
ตอบข้อสงสัย มาตรการปิดจบหนี้เรื้อรัง
(1) ทำไมมาตรการปิดจบหนี้เรื้อรัง ไม่รวมหนี้บัตรเครดิต?
(2) ทำไมต้องมีเงื่อนไขปิดวงเงินหากเข้าร่วมมาตรการปิดจบหนี้เรื้อรัง
(3) การเข้ามาตรการปิดจบหนี้เรื้อรัง จะมีการรายงานข้อมูลในเครดิตบูโร (NCB) หรือไม่
ทำไมมาตรการปิดจบหนี้เรื้อรัง ไม่รวมหนี้บัตรเครดิต?
เพราะหนี้บัตรเครดิตมี (1) อัตราดอกเบี้ย และ (2) เงื่อนไขการผ่อนชำระที่ทำให้ไม่เข้าข่ายหนี้เรื้อรังที่จ่ายดอกเบี้ยมากกว่าเงินต้นและใช้เวลานานในการปิดจบ
ลูกหนี้บัตรเครดิตจ่ายขั้นต่ำที่ 8% ทำให้จ่ายชำระเงินต้นมากกว่าดอกเบี้ย ลูกหนี้สามารถปิดจบหนี้ได้ภายในระยะเวลาไม่นานนัก
บัตรกดเงินสดมักจ่ายขั้นต่ำที่ 3% และดอกเบี้ยส่วนใหญ่อยู่ที่ 25% ต่อปี ซึ่งจะทำให้ ตัดจ่ายดอกเบี้ย 2% และตัดเงินต้นเพียง 1%
ทำไมต้องมีเงื่อนไขปิดวงเงินหากเข้าร่วมมาตรการปิดจบหนี้เรื้อรัง
เงื่อนไขการปิดวงเงินจะช่วยให้ลูกหนี้มีวินัยทางการเงินเพิ่มขึ้นและสามารถปิดจบหนี้ได้ภายใน 5 ปี
อย่างไรก็ดี กรณีลูกหนี้ที่เข้ามาตรการฯ มีความจำเป็นฉุกเฉิน เช่น เจ็บป่วย ได้รับอุบัติเหตุ ตกงาน ผู้ให้บริการอาจพิจารณาให้สินเชื่อได้ หากลูกหนี้มีความสามารถในการชำระหนี้เพียงพอ ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับนโยบายและเงื่อนไขของผู้ให้บริการแต่ละแห่ง
กรณีลูกหนี้มีบัตรกดเงินสดมากกว่า 1 ใบ สามารถเลือกเข้าโครงการแค่บางบัตร และเก็บวงเงินบัตรกดเงินสดที่เหลือไว้ก่อนได้
การเข้ามาตรการปิดจบหนี้เรื้อรัง จะมีการรายงานข้อมูลในเครดิตบูโร (NCB) หรือไม่
จะมีการรายงานข้อมูลใน NCB โดยเพิ่มการรายงานประเภทของสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้ "รหัส (code) 03" โดยจะไม่กระทบสถานะบัญชีลูกหนี้ที่ยังเป็น 10-ปกติ เช่นเดิมทั้งนี้ การรายงานนี้ จะช่วยให้ผู้ให้บริการทราบถึงการเข้าโครงการซึ่งสะท้อนความตั้งใจที่ดีในการแก้ปัญหาหนี้ของลูกหนี้
มาตรการปิดจบหนี้เรื้อรัง..ช่วยเหลือลูกหนี้อย่างไร?
ถ้าได้รับแจ้งเตือนว่าเป็นลูกหนี้เรื้อรัง (severe PD) จะได้รับข้อเสนอให้สมัครเข้าร่วมมาตรการเพื่อปิดจบหนี้ ซึ่งจะได้รับประโยชน์จากการเข้าร่วมมาตรการ ดังนี้
** สำหรับลูกหนี้ที่เริ่มเรื้อรัง (general PD) ให้รีบติดต่อเจ้าหนี้หากต้องการแก้หนี้ เจ้าหนี้จะมีแนวทางให้ความช่วยเหลือที่เหมาะสมเป็นรายกรณี **
การแจ้งเตือนเมื่อเข้าข่ายลูกหนี้เรื้อรัง
ความถี่การแจ้งเตือนจากเจ้าหนี้
ช่องทางการแจ้งเตือน
โดยลูกหนี้เรื้อรังจะได้รับข้อเสนอแนวทางการปิดจบหนี้จากเจ้าหนี้ด้วย
หนี้เรื้อรัง คืออะโร.. แค่ไหนที่เรียกว่าเรื้อรัง?
แบบไหนเข้าข่ายปัญหาหนี้เรื้อรัง (Persistent Debt - PD)
ลูกหนี้เรื้อรัง 2 แบบ
1. เริ่มเป็นหนี้เรื้อรัง (general PD)
2. เป็นหนี้เรื้อรัง (severe PD)
** ธปท. กำหนดเกณฑ์รายได้ เพื่อมุ่งให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ที่เดือดร้อนที่สุดก่อน โดยพิจารณาความเรื้อรังและรายได้ที่ไม่สูงมากของลูกหนี้ **
ทวงหนี้อย่างเป็นธรรม ต้องแจ้งข้อมูลสำคัญอะไรบ้าง
เจ้าหนี้จะต้องแจ้งรายละเอียดของภาระหนี้พร้อมข้อมูลสำคัญอื่น ๆ แก่ลูกหนี้ให้ครบถ้วน เช่น
และห้ามเรียกให้ผู้ค้ำประกันชำระหนี้ก่อน ยกเว้น ลูกหนี้ล้มละลายหรือติดต่อไม่ได้
#ResponsibleLending #แก้หนี้ยั่งยืน #เจ้าหนี้รับผิดชอบ #ลูกหนี้มีวินัย
มีหนี้กับหลายเจ้าหนี้จะทำอย่างไร?
เคยปรับโครงสร้างหนี้แล้วขอปรับซ้ำได้ไหม?
หมายเหตุ: เกณฑ์ Responsible Lending ลูกหนี้มีสิทธิขอปรับโครงสร้างหนี้ ก่อนเป็นหนี้เสีย อย่างน้อย 1 ครั้ง และหลังเป็นหนี้เสีย อย่างน้อย 1 ครั้ง โดยนับรวมการปรับโครงสร้างหนี้ก่อน 1 ม.ค. 67
สัญญาณปัญหาหนี้
สัญญาณว่าลูกหนี้กำลังมีปัญหา