ABAC แนะแนวทางเร่งการฟื้นตัวและกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจ
วันพฤหัสบดีที่ 4 สิงหาคม 2565 “คุณกอบศักดิ์ ดวงดี” เลขาธิการสมาคมธนาคารไทย และสมาชิกสภาที่ปรึกษาทางธุรกิจเอเปคของไทย ได้ให้เกียรติเข้าร่วมแถลงข่าวเผย “ABAC แนะแนวทางเร่งการฟื้นตัวและกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจ” หลังการประชุมครั้งที่ 3 จากประเทศเวียดนาม” ณ ห้องราชมณเฑียร Grand Ballroom ชั้น M โรงแรมมณเฑียร กรุงเทพ
ในงานดังกล่าว เป็นการแถลงข้อสรุปจากภาคเอกชนในฐานะสมาชิกสภาที่ปรึกษาทางธุรกิจเอเปค จากการประชุม ABAC ครั้งที่ 3/2022 ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 26-29 กรกฎาคม 2565 ณ Royal International Convention Palace Ha Long ประเทศเวียดนาม เพื่อรวบรวมส่งมอบให้กับการประชุมสุดยอดผู้นำภูมิภาคเอเชียเปซิฟิก(APEC) ระหว่างวันที่ 13-16 พฤศจิกายน 2565 ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพจัดประชุมที่กรุงเทพมหานคร โดยการประชุมครั้งนี้สภาที่ปรึกษาทางธุรกิจเอเปค ได้รายงานบทสรุปเพื่อส่งเสริมการฟื้นตัวอย่างรวดเร็วและยั่งยืน อันเป็นการดำเนินงานตามมาตรการเศรษฐกิจมหภาค การคลัง และการเงินเพื่อเร่งการฟื้นตัว ในขณะที่เศรษฐกิจเดินหน้าไปสู่การฟื้นตัวจากผลกระทบของโควิด-19 และปัจจุบันนี้ยังคงต้องเผชิญกับภัยคุกคามใหม่จากอัตราเงินเฟ้อที่สูงอย่างต่อเนื่อง นโยบายการเงินควรเน้นที่การรักษาอัตราเงินเฟ้อให้อยู่ภายใต้การควบคุม และนโยบายการคลังควรหลีกเลี่ยงความผันผวนของราคาค่าจ้างในระยะสั้น เช่น ผ่านการสนับสนุนที่ตรงเป้าหมายและการโอนเงินไปยังกลุ่มที่เปราะบางที่สุด
ในภูมิภาคนี้ กำลังเผชิญกับความท้าทายที่ร้ายแรงหลายอย่าง เช่น ภูมิศาสตร์การเมือง เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม ซึ่งมีส่วนทำให้เกิดความไม่มั่นคงทางด้านอาหารและพลังงาน ผลกระทบอย่างต่อเนื่องของการระบาดใหญ่ การหยุดชะงักในห่วงโซ่อุปทานทั่วโลกและแรงกดดันด้านเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้น ได้บั่นทอนความสามารถของภูมิภาคเอเปคในการบรรลุวิสัยทัศน์ปุตราจายา คณะทำงานเอแบค (ABAC) ยังคงสนับสนุนการบูรณาการทางเศรษฐกิจและความพยายามด้านนโยบายอย่างเต็มที่ โดยยกวาระอันเป็นส่วนหนึ่งของ 5 กลยุทธ์หลักของคณะทำงานเพื่อส่งมอบต่อที่ประชุมสุดยอดผู้นำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ได้แก่
1. Regional Economic Integration เส้นทางสู่เขตการค้าเสรีของเอเชียแปซิฟิก (FTAAP) และการเสริมสร้างความแข็งแกร่งของการค้าภาคบริการ ซึ่งสภาที่ปรึกษาทางธุรกิจเอเปคเห็นว่า FTAAP ควรตอบสนองต่อสภาพแวดล้อมทางธุรกิจระดับโลกที่ค่อยๆ พัฒนาและเปลี่ยนแปลงไป จึงเห็นควรในการพัฒนาแผนงานนี้ต่อไปเพื่อให้วาระนี้เกิดขึ้นจริงอย่างเป็นรูปธรรม ขณะเดียวกัน นวัตกรรมจะเป็นตัวขับเคลื่อนหลักของการเติบโตในภูมิภาคโดยเฉพาะในภาคบริการผ่านการผนึกกำลังระหว่างภาครัฐและเอกชนในการส่งเสริมนวัตกรรม โดยเฉพาะเกี่ยวกับบริการดิจิทัลที่สนับสนุนอีคอมเมิร์ซ,บริการทางโลจิสติกส์, บริการด้านสุขภาพ และบริการด้านสิ่งแวดล้อม
2. Digital การสร้างโครงสร้างพื้นฐานทางดิจิทัล เพื่อความปลอดภัยทางไซเบอร์และดิจิทัล เนื่องจากแนวทางการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ที่สอดคล้องและบูรณาการ นับเป็นสิ่งสำคัญสำหรับโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็น และนับเป็นความสามารถในการปกป้องความก้าวหน้าและนวัตกรรมต่างๆ คณะทำงานจึงขอเรียกร้องให้เอเปคสร้างแพลตฟอร์มในการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ระดับภูมิภาคที่จะประสานการดำเนินการและการลงทุนด้านความปลอดภัยในโลกไซเบอร์ร่วมกัน
3. MSME and Inclusiveness การเสริมสร้างแนวทางการปฏิบัติที่ยั่งยืนของ MSMEs เนื่องจาก MSMEs มีความสำคัญต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจโลก จึงเห็นควรในการพัฒนามาตรการเพื่อสนับสนุนการเติบโตนี้อย่างต่อเนื่องภายใต้กรอบการทำงานและการค้าระดับโลก โดยมาตรการดังกล่าวหมายรวมถึงการเข้าถึงแหล่งเงินทุน การฝึกอบรมอย่างต่อเนื่อง การบูรณาการเข้ากับห่วงโซ่คุณค่า และการสนับสนุนในมาตรการนี้ให้เป็นสากล
4. Sustainability ส่งเสริมระบบอาหารที่ยั่งยืนและยืดหยุ่น เนื่องจากผู้ผลิตและผู้บริโภคในภูมิภาคกำลังได้รับผลกระทบครั้งประวัติศาสตร์จากราคาอาหารโลกที่พุ่งสูงขึ้น และภาวะการหยุดชะงักของห่วงโซ่อุปทานทางการเกษตร คณะทำงานจึงเร่งดำเนินการ “แผนงานความมั่นคงด้านอาหารของ APEC สู่ปี 2030” ให้ความสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาและการดำเนินการตามแผนดิจิทัลความมั่นคงด้านอาหาร ในการนำเทคโนโลยีใหม่ๆ มาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพทางการผลิต การจำหน่ายและการค้า ตลอดจนการนำ Bio-Circular-Green (BCG) มาปรับใช้
5. Finance and Economics เนื่องจากการดำเนินการตามมาตรการเศรษฐกิจมหภาค การคลัง และการเงิน เพื่อเร่งการฟื้นตัว และการระบุการปฏิรูปโครงสร้างหลัก เพื่อเพิ่มผลผลิตและการเติบโต คณะทำงานเห็นความสำคัญของการควบคุมภาวะเงินเฟ้อ และนโยบายทางการเงินด้านอัตราค่าจ้างแรงงาน โดยในระยะยาว คณะทำงานเชื่อว่ารัฐบาลควรปฏิบัติตามสองเป้าหมาย คือการการเพิ่มศักยภาพทางการคลัง และการใช้เครื่องมือทางการเงินเพื่อสนับสนุนการปฏิรูปโครงสร้างในการพัฒนาสู่ระบบดิจิทัลและความยั่งยืนอย่างครอบคลุม
สำหรับการส่งเสริมสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยให้เกิดการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล “คุณกอบศักดิ์ ดวงดี” เผยว่า เรามีความเชื่อมั่นว่าเทคโนโลยีจะเป็นกลไกสำคัญที่จะขับเคลื่อนการเติบโตให้กับภูมิภาคของเราดังนั้นการสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาด้านนวตกรรม และเทคโนโลยีเพื่อการค้าจึงเป็นเรื่องเร่งด่วน อาทิ การจัดตั้งโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรักษาความปลอดภัยของระบบดิจิทัล (Cybersecurity) เสริมโครงสร้างข้อมูลพื้นฐานเพื่อส่งเสริมการค้าดิจิทัล(Data Infrastructure for Digital Trade) การสนับสนุนผู้ประกอบการรายย่อย (MSMEs) ในการใช้เทคโนโลยี และการสร้างโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับการชำระเงินในตลาดดิจิทัล (Digital Market Infrastructure) ล้วนเป็นสิ่งที่ต้องสนับสนุนเพื่อเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันและยกระดับมาตรฐานบริการของภาคเอกชนในภูมิภาค
การประชุมสภาที่ปรึกษาทางธุรกิจเอเปค ครั้งที่ 3 ได้ปิดท้ายลงอย่างงดงาม ท่ามกลางความมุ่งมั่นในการยกระดับความเป็นอยู่ของชุมชนเอเชียแปซิฟิก สู่ความมั่งคั่ง เติบโต และความเป็นอยู่ที่ดีร่วมกันอย่างยั่งยืน “นายเกรียงไกร เธียรนุกุล” ประธานสภาที่ปรึกษาทางธุรกิจเอเปค 2022 กล่าวปิดท้ายไว้ว่า “เสียงสะท้อนจากภาคธุรกิจจะมีส่วนสำคัญในการกำหนดแนวทางความร่วมมือในระดับภูมิภาค ด้วยมาจากความต้องการที่แท้จริงของผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจในทุกระดับ และเราเชื่อมั่นว่าจะเป็นแนวทางในการช่วยผลักดันให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนในทุกภาคส่วนต่อไป”
ประธาน: คุณสุวิทย์ อินทรเฉลิม (ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน))
ผู้ประสานงาน: คุณศุภวัตร มะเส็ง
วัตถุประสงค์: ชมรมฯ นี้ตั้งขึ้นเพื่อดำเนินงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคมโดยความเห็นชอบของสมาชิกซึ่งสอดคล้องกับการดำเนินงานของสมาคมธนาคารไทย ดังนี้
This will close in 500 seconds
ประธาน: คุณสุธีรา ศรีไพบูลย์ (ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน))
ผู้ประสานงาน: คุณสัมพันธนี อภัยพันธุ์
วัตถุประสงค์: ชมรมฯ นี้ตั้งขึ้น
This will close in 500 seconds
ประธาน: คุณทัฬห์ สิริโภคี (ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน))
ผู้ประสานงาน: คุณศุภดา รัตนพงษ์
วัตถุประสงค์: ชมรมฯ นี้ตั้งขึ้น
This will close in 500 seconds
ประธาน: คุณไพศาล เลิศโกวิทย์ (ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)
ผู้ประสานงาน: คุณสมฤทัย สุขจันทร์
วัตถุประสงค์: ชมรมฯ นี้ตั้งขึ้น
This will close in 500 seconds
ประธาน: คุณดุจหทัย สมบูรณ์นิตย์ (ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน))
ผู้ประสานงาน: คุณวรรณนิภา ศิริภักดีชัยกุล
วัตถุประสงค์: ชมรมฯ นี้ตั้งขึ้น
This will close in 500 seconds
ประธาน: คุณธีรวัฒน์ อัศวโภคี (ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน))
ผู้ประสานงาน: คุณวรัท อัตตะนันทน์
วัตถุประสงค์: ชมรมฯ นี้ตั้งขึ้น
This will close in 500 seconds
ประธาน: คุณกิติพงศ์ มุตตามระ (ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน))
ผู้ประสานงาน: คุณมนิษา เรืองศรี
วัตถุประสงค์: ชมรมฯ นี้ตั้งขึ้น
This will close in 500 seconds
ประธาน: คุณอฑิศ รุจิรวัฒน์ (ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน))
ผู้ประสานงาน: คุณอัปสร สุทธาโรจน์
วัตถุประสงค์: ชมรมฯ นี้ตั้งขึ้น
This will close in 500 seconds
รักษาการประธาน: คุณเศรษฐรัฐ ณ นคร (ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน))
: คุณสุชาณี ลวนะวณิช (ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน))
ผู้ประสานงาน: คุณมลฤดี ตีรรุ่งเรือง
วัตถุประสงค์: ชมรมฯ นี้ตั้งขึ้น
This will close in 500 seconds
ประธาน: คุณฐิติวร โชตยาภรณ์ (ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน))
ผู้ประสานงาน: คุณจิตติ วิจิตรบรรจง
วัตถุประสงค์: ชมรมฯ นี้ตั้งขึ้น
This will close in 500 seconds
ประธาน: คุณประทิน กิจจารุวรรรกุล (ธนาคารเกียรตินาคินภัทร จำกัด (มหาชน))
ผู้ประสานงาน: คุณธรรมนูญ หาญประสิทธิ์คำ
วัตถุประสงค์: ชมรมฯ นี้ตั้งขึ้น
This will close in 500 seconds
ประธาน: คุณอรนุช นำพูลสวัสดิ์ (ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน))
ผู้ประสานงาน: คุณรุ่งรัตน์ รัตนราชชาติกุล
วัตถุประสงค์: ชมรมฯ นี้ตั้งขึ้น
This will close in 500 seconds
ประธาน: ดร.พชรพจน์ นันทรามาศ (ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน))
ผู้ประสานงาน: ดร.ฉมาดนัย มากนวล
วัตถุประสงค์: ชมรมฯ นี้ตั้งขึ้น
This will close in 500 seconds
ประธาน: คุณพรวลัย กุลโรจน์เสฏฐ (ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน))
ผู้ประสานงาน: -
วัตถุประสงค์: ชมรมฯ นี้ตั้งขึ้น
This will close in 500 seconds
ประธาน: คุณพรรณทิพา หาญนรเศรษฐ์ (ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน))
ผู้ประสานงาน: คุณทิพวรรณ บรรณจิรกุล
วัตถุประสงค์: ชมรมฯ นี้ตั้งขึ้น
This will close in 500 seconds
ประธาน: คุณวราณี วรรณรัตน์ (ธนาคารทหารไทยธนชาต จำกัด (มหาชน))
ผู้ประสานงาน: คุณสุนิษา เนตรสว่าง
วัตถุประสงค์: ชมรมฯ นี้ตั้งขึ้น
This will close in 500 seconds
ประธาน: คุณสมเกียรติ ปรีดามาโนช (ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน))
ผู้ประสานงาน: คุณนาทชนก อายุคง
วัตถุประสงค์: ชมรมฯ นี้ตั้งขึ้น
This will close in 500 seconds
ประธาน: ดร.วศิน อุดมรัชตวนิชย์ (ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน))
ผู้ประสานงาน: คุณแม้นเดือน เอี่ยมบรรณพงษ์
วัตถุประสงค์: ชมรมฯ นี้ตั้งขึ้น
This will close in 500 seconds
ประธาน: คุณสัณฑ์ เถาสุวรรณ (ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน))
ผู้ประสานงาน: คุณวสุนทรี ไตรอุโฆษ
วัตถุประสงค์: ชมรมฯ นี้ตั้งขึ้น
This will close in 500 seconds
ประธาน: คุณลือศักดิ์ สุขเกษม (ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน))
ผู้ประสานงาน: คุณนิภาพร ดาวขนอน
วัตถุประสงค์: ชมรมฯ นี้ตั้งขึ้น
This will close in 500 seconds
ธรรมาภิบาล(Governance) : มีระบบการกำกับดูแลกิจการที่ดี และดำเนินการกำกับดูแลได้อย่างมีประสิทธิผลในระดับคณะกรรมการ โดยกำหนดภาระและขอบเขตความรับผิดชอบที่ชัดเจนในระดับการจัดการในเรื่องที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล
This will close in 500 seconds
ยุทธศาสตร์ (Strategy) : บูรณาการพันธกิจด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล เข้ากับยุทธศาสตร์การดำเนินธุรกิจและกำหนดกรอบด้านการเงินที่ยั่งยืน โดยสนับสนุนเพื่อให้ประเทศสามารถเปลี่ยนผ่านไปสู่เป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ได้อย่างราบรื่น
This will close in 500 seconds
การบริหารความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อม สังคมและธรรมาภิบาล (ESG Risk Management) : ผนวกรวมประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล ไว้ในกระบวนการบริหารความเสี่ยง
This will close in 500 seconds
ผลิตภัณฑ์ทางการเงิน(Financial Products) : ปรับใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อส่งเสริมการเข้าถึงบริการทางการเงิน รวมทั้งนวัตกรรมทางการเงินที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและยั่งยืน
This will close in 500 seconds
การสื่อสาร (Communication) : สื่อสารและประสานความร่วมมือกับผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วนในการสร้างจิตสำนึกสาธารณะด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล
This will close in 500 seconds
การเปิดเผยข้อมูลทางการเงิน (Disclosure) : พัฒนาระบบการติดตามและการรายงานที่สอดคล้องกับกรอบการกำกับดูแลของประเทศไทยและมาตรฐานการเปิดเผยข้อมูลด้านความยั่งยืนในระดับสากล
This will close in 500 seconds