จากสถานการณ์โควิด 19 ที่ทำให้รายได้ของประชาชนลดลงแต่หนี้ยังคงสูงขึ้นเรื่อย ๆ ประเทศไทยจึงมีอัตราการปรับตัวเพิ่มขึ้นของหนี้ครัวเรือนที่สูงมาก ที่ผ่านมา ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้ออกมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้อย่างต่อเนื่อง เพื่อรับกับสถานการณ์ที่มีความไม่แน่นอนสูงและสถานะของลูกหนี้ ตั้งแต่ขั้นปกติไปจนถึงถูกฟ้องบังคับคดี เพื่อช่วยเหลือลูกหนี้ให้ผ่านพ้นช่วงวิกฤตนี้ไปได้
"โครงการหมอหนี้เพื่อประชาชน" เป็นอีกหนึ่งโครงการของ ธปท. โดยมีสำนักงานภาคเหนือ สำนักงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สำนักงานภาคใต้ กลุ่มงานปรับโครงสร้างหนี้ และฝ่ายคุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน ร่วมเป็นแรงสำคัญในการทำโครงการนี้ให้เป็นช่องทางแนะนำ ให้ความรู้และข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการแก้ไขปัญหาหนี้แก่ผู้ประกอบการและประชาชนอย่างทั่วถึงและครบวงจร เพื่อให้การแก้ปัญหาหนี้สินมีความยั่งยืน
ภารกิจแก้หนี้ธุรกิจที่พึ่งพาการท่องเที่ยวในภาคเหนือ
ในภาคเหนือ ธุรกิจที่ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงในช่วงโควิด 19 ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มธุรกิจที่พึ่งพารายได้จากการท่องเที่ยว ไม่ว่าจะเป็นโรงแรม ร้านอาหาร กลุ่มสปา บริการให้เช่ารถตู้ และกลุ่มเลี้ยงสัตว์เพื่อการท่องเที่ยว เช่น ปางช้างและคุ้มเสือ โดย ธปท. สำนักงานภาคเหนือ ได้ร่วมกับ กลุ่มงานปรับโครงสร้างหนี้ บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) สถาบันการเงิน และองค์กรธุรกิจในภาคเหนือ ลงพื้นที่พูดคุยกับลูกหนี้ เพื่อทดลองและปรับเปลี่ยนรูปแบบแนวทางการแก้หนี้ให้เหมาะสมกับลูกหนี้และสถานการณ์ จากที่ ธปท. พบและได้เรียนรู้ปัญหาในภาคเหนือ จึงต้องมีวิธีการเข้าช่วยเหลือให้ตรงจุดตามความจำเป็นของลูกหนี้แต่ละกลุ่ม
โดยทั่วไปลูกหนี้มักต้องการการแก้ปัญหาแบบครบวงจร ธปท. จึงทำการช่วยเหลือลูกหนี้ให้มีโอกาสเข้าถึงการแก้ปัญหาในหลายมิติ เช่น การออกบูธให้คำปรึกษาในโครงการ "จับคู่ กู้เงิน" ให้ลูกหนี้ซึ่งส่วนใหญ่เป็นกิจการร้านอาหารได้รับคำปรึกษาพร้อมกับเข้าถึงรูปแบบการช่วยเหลือพิเศษของสถาบันการเงินเฉพาะกิจและสินเชื่อฟื้นฟูฯ ของ ธปท. นอกจากนี้ ยังมีจัดอบรมการบริหารหนี้ให้กับกลุ่มที่ปรึกษาของสมาพันธ์ SMEs ซึ่งเชี่ยวชาญการปรับตัวทางธุรกิจ เพื่อให้สามารถให้คำปรึกษาแก่สมาชิกในกลุ่มจังหวัดของตนเองอย่างครบวงจร
ปัจจุบันระบบสถาบันการเงินไทยรวมศูนย์การตัดสินใจที่ส่วนกลาง การมีส่วนร่วมของสถาบันการเงินทั้งในภูมิภาคและส่วนกลาง จึงมีความจำเป็นอย่างมาก ทางภาคเหนือมีกรณีที่กลุ่มรถตู้และรถเช่าเชิงพาณิชย์ จำนวนกว่า 200 ราย ที่ได้รับผลกระทบจากโควิด 19 ไม่สามารถหารายได้มาผ่อนชำระค่าเช่าซื้อรถได้ตามกำหนด ธปท. จึงติดต่อโดยตรงกับลีสซิ่ง 5 รายที่มีลูกหนี้จำนวนมากที่สุด เพื่อขอให้พิจารณารูปแบบการช่วยเหลือที่เหมาะสมกับสถานการณ์ ทำให้ลูกหนี้บางกลุ่มได้รับการพักชำระหนี้ครั้งละ 3 – 6 เดือน หรือบางรายได้รับความช่วยเหลือจากลีสซิ่งพักชำระหนี้ให้ถึง 12 เดือน จากเดิมที่กลุ่มนี้ได้รับการปฏิเสธหรือให้พักหนี้เพียง 2 เดือน
เทคโนโลยีเป็นสื่อกลางที่สำคัญในสถานการณ์โควิด 19 ธปท. ได้ทำโครงการ "ตลาดนัดสินเชื่อออนไลน์" ซึ่งอยู่ระหว่างการดำเนินโครงการร่วมกับ 3 จังหวัดนำร่อง ได้แก่ ลำปาง อุทัยธานี และเพชรบูรณ์ เพื่อสื่อสารกับลูกหนี้ธุรกิจจำนวนมากและครอบคลุมทุกจังหวัดให้ได้เร็วขึ้น โดยผู้ประกอบการจะได้พบกับสถาบันการเงินหรือหมอหนี้แบบออนไลน์ในห้องคุยส่วนตัว นอกจากนี้ สิ่งที่เราพบในการใช้เทคโนโลยีคือ ต้องไม่ละเลยลูกหนี้ที่ไม่คุ้นชินกับการใช้เทคโนโลยี จึงจัดให้มีพี่เลี้ยงคอยแนะนำช่วยเหลือลูกหนี้กลุ่มนี้เพิ่มขึ้นมาด้วย
ภารกิจแก้หนี้ลูกหนี้รายย่อยในภาคอีสาน
เนื่องจากภาคอีสานมีจำนวนประชากรมากถึง 1 ใน 3 ของประเทศ ดังนั้น ภารกิจแก้หนี้ที่มีความสำคัญเร่งด่วนจึงเป็นการช่วยเหลือลูกหนี้ประชาชนรายย่อย ทั้งลูกหนี้บัตรเครดิต สินเชื่อส่วนบุคคล สินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ และสินเชื่อที่อยู่อาศัย ซึ่งเป็นกลุ่มที่ได้รับผลกระทบทางอ้อมจากปัญหาในภาคธุรกิจ
ในภาคอีสานมีกรณีตัวอย่างที่น่าสนใจ เป็นกลุ่มลูกหนี้ที่ประกอบธุรกิจรับซื้อข้าวและพืชไร่ เป็นหนี้กับสถาบันการเงินหลายแห่ง และเคยปรับปรุงโครงสร้างหนี้แล้วแต่ผ่อนชำระไม่สม่ำเสมอ เจ้าหนี้อยู่ระหว่างเตรียมดำเนินคดี เมื่อ ธปท. เข้าตรวจสอบคุณสมบัติเบื้องต้น พบว่าสามารถลงทะเบียนเข้าโครงการ DR BIZ ของ ธปท. เพื่อแก้หนี้ธุรกิจที่มีเจ้าหนี้หลายรายได้ ซึ่งผลการเจรจาทำให้ลูกหนี้ได้รับการพักชำระหนี้ 6 เดือน โดยเจ้าหนี้กำหนดเงื่อนไขให้ลูกหนี้ต้องรายงานสินค้าคงเหลือทุกเดือน และภายในต้นปี 2565 จะเจรจาเพื่อหาทางออกร่วมกันอีกครั้ง
จากการทำงานในพื้นที่ก็พบว่าโจทย์สำคัญในการแก้หนี้ของภาคอีสานคือ ทำอย่างไรให้ลูกหนี้จำนวนมากที่ได้รับผลกระทบรับรู้มาตรการความช่วยเหลือต่าง ๆ ของ ธปท. เพื่อเป็นข้อมูลในการไปติดต่อขอรับความช่วยเหลือจากสถาบันการเงินให้ได้ผลในทางปฏิบัติทันการณ์ ทั้งในแง่ของการแก้ไขหนี้เดิมไม่ให้กลายเป็นหนี้เสีย หรือการขอรับสินเชื่อเพิ่มเติมเพื่อนำไปเสริมสภาพคล่องให้ธุรกิจดำเนินต่อไปได้จนสามารถผ่านพ้นช่วงวิกฤตนี้
การสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพเป็นเรื่องที่สำคัญมาก จึงสื่อสารผ่านทุกช่องทางรวมทั้งสื่อสารผ่านกลุ่มเครือข่ายพันธมิตร 5 กลุ่มหลักที่ครอบคลุมถึง 20 จังหวัด ได้แก่ กลุ่มผู้ประกอบการผ่านหอการค้าและสภาอุตสาหกรรมจังหวัด กลุ่มสื่อมวลชน กลุ่มสถาบันการเงิน กลุ่มสมาพันธ์ผู้ประกอบการ SMEs และกลุ่มหน่วยงานภาครัฐ เพื่อช่วยกันกระจายมาตรการความช่วยเหลือให้ลูกหนี้ได้รับรู้อย่างรวดเร็วและทั่วถึง
นอกจากนั้น ยังมีการทำงานเชิงรุกโดยจัดประชุมชี้แจงให้กับกลุ่มเครือข่ายพันธมิตรผ่านการประชุมออนไลน์ รวมทั้งในช่วงที่โควิด 19 ระบาดไม่รุนแรง ธปท. ได้ลงพื้นที่จัดประชุมชี้แจงให้กับลูกหนี้กลุ่มต่าง ๆ เพื่อความเข้าใจและสามารถช่วยเหลือได้อย่างตรงจุด เช่น กลุ่มผู้ประกอบการแท็กซี่ กลุ่มการผลิต กลุ่มการเกษตร กลุ่มค้าส่งค้าปลีก กลุ่มธุรกิจโรงแรม และท่องเที่ยวย
ภารกิจแก้หนี้ที่ซับซ้อนในภาคใต้
ธปท. สำนักงานภาคใต้ให้ความสำคัญกับภารกิจแก้หนี้เป็นอันดับแรกในช่วงวิกฤตโควิด 19 โดยมีงานที่เกี่ยวข้องหลายด้าน ทั้งการสื่อสารมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ การช่วยเหลือลูกหนี้ในเชิงรุกผ่านองค์กรต่าง ๆ อาทิ หอการค้าจังหวัด สภาอุตสาหกรรมจังหวัด สมาคม และชมรมต่าง ๆ ตลอดจนการให้คำปรึกษาแก่ลูกหนี้และแนะนำโครงการหมอหนี้เพื่อประชาชน
สำหรับสถานการณ์ลูกหนี้ในภาคใต้ พบว่าการแพร่ระบาดของโควิด 19 ส่งผลกระทบต่อความสามารถในการชำระหนี้ทั้งลูกหนี้รายย่อยและลูกหนี้ธุรกิจ โดยเฉพาะ SMEs ในภาคใต้ หนี้ทั้งสองกลุ่มมีความซับซ้อน บางคนมีหนี้หลายประเภทและมีเจ้าหนี้หลายราย การแก้ไขปัญหาจึงต้องอาศัยความร่วมมือกับหลายฝ่ายทั้งในและนอก ธปท.
ปัญหาที่ลูกหนี้รายย่อยเข้ามาขอคำปรึกษามากที่สุดเป็นปัญหาหนี้บัตรเครดิต บัตรกดเงินสด สินเชื่อส่วนบุคคล สินเชื่อรถและบ้าน จึงทำการช่วยเหลือผ่านมาตรการต่าง ๆ ของ ธปท. ตามประเภทสินเชื่อที่มี เช่น มาตรการช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อยระยะที่ 3 ทั้งการแปลงหนี้บัตรเครดิตเป็นหนี้ระยะยาว ปรับเงื่อนไขการชำระหนี้ให้ผ่อนน้อยลง ขยายระยะเวลาชำระหนี้ให้ยาวขึ้น
ส่วนกรณีลูกหนี้ธุรกิจ ซึ่งได้รับผลกระทบจากการขาดสภาพคล่องรุนแรง ต้องมีการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ตามความสามารถในการชำระหนี้ โดยลูกหนี้จะต้องเสนอแผนปรับปรุงโครงสร้างหนี้แก่สถาบันการเงิน ส่วน ธปท. จะเป็นผู้รับเรื่องและประสานงานจัดประชุมเชิงรุกเพื่อหาข้อตกลงร่วมกันระหว่างเจ้าหนี้และลูกหนี้ หลังจาก ธปท. เข้าเป็นตัวกลางให้ลูกหนี้ซึ่งส่วนมากอยู่ที่จังหวัดภูเก็ต สุราษฎร์ธานี และกระบี่ ตั้งแต่เดือนมิถุนายน – กันยายน 2564 สามารถแก้ไขหนี้ได้ในระดับที่น่าพอใจ และมีลูกหนี้บางส่วนที่ได้รับสินเชื่อเสริมสภาพคล่องแล้วจากทั้งที่เป็นสินเชื่อฟื้นฟูฯ ของ ธปท. และสินเชื่อของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ วงเงินรวมไม่ต่ำกว่า 130 ล้านบาท (ข้อมูล ณ วันที่ 8 ตุลาคม 2564)
วามท้าทายในการแก้หนี้ในภาคใต้ คือลูกหนี้ไม่มีรายได้มาเป็นระยะเวลานาน โดยเฉพาะภาคการท่องเที่ยวที่ได้รับผลกระทบรุนแรงและฟื้นตัวช้ากว่าภาคอื่น ส่งผลให้ผู้ประกอบการและผู้ที่ทำงานในภาคการท่องเที่ยว ไม่สามารถประเมินรายได้ในอนาคตได้ สิ่งที่จะช่วยแก้ไขปัญหาหนี้ได้สำเร็จคือการหารายได้เพิ่ม เช่น แนะนำพนักงานโรงแรมในจังหวัดภูเก็ตที่ตกงาน ให้รับอาหารทะเลจากหาดราไวยมาขายออนไลน์ โดยเพิ่มเรื่องราวการช่วยเหลือชาวประมงเพื่อความน่าสนใจ และแนะนำให้สาวโรงงานที่ตกงานในจังหวัดตรังเปลี่ยนไปขายขนมหวานหน้าร้านก๋วยเตี๋ยว ทั้งสองกรณีประสบความสำเร็จอย่างมาก ทำให้ลูกหนี้ยังพอหารายได้มาจุนเจือครอบครัวและชำระหนี้ต่อไปได้
ภารกิจแก้หนี้ภาคกลางช่วยลูกจ้างที่ถูกไล่ออก
ผลกระทบลูกหนี้ในภาคกลางในช่วงโควิด 19 ส่วนใหญ่เกิดจากการถูกลดเงินเดือน การยกเลิกการจ้างงาน และการเลิกกิจการ ลูกหนี้มีจำนวนมาก มีหลากหลายกลุ่มอาชีพ เช่น กลุ่มลูกจ้างรายวัน พนักงานสัญญาจ้าง กลุ่มรับจ้างทำของ กลุ่มงานบริการ กลุ่มธุรกิจท่องเที่ยว รวมทั้งกลุ่มรถแท็กซี่ และกลุ่มธุรกิจการบิน ซึ่ง ธปท. ได้มีโครงการและช่องทางเพื่อช่วยเหลือผู้เดือดร้อนเหล่านี้มาอย่างต่อเนื่อง
กรณีที่น่าสนใจของภาคกลางโดยเฉพาะกรุงเทพฯ คือลูกหนี้ร้านอาหารประเภทชาบูที่ลูกค้ามักจะมาใช้บริการเป็นหมู่คณะ ซึ่งได้รับผลกระทบหนักมาก เมื่อเจ้าของร้านเข้ามาปรึกษา ทีมหมอหนี้ฯ ได้ให้คำแนะนำเพื่อวางแผนปรับโครงสร้างหนี้ โดยการหารายได้เพิ่มจากจุดแข็งของธุรกิจ เพื่อประคองสถานการณ์และชำระหนี้ที่มี ด้วยการขายวัตถุดิบและเครื่องปรุงผ่านช่องทางออนไลน์ และการขายอาหารประเภทอื่น ๆ สิ่งเหล่านี้ต้องทำคู่กับแผนการชำระหนี้ เพื่อให้สถาบันการเงินเห็นถึงความตั้งใจและความเป็นไปได้ในการชำระหนี้คืนในอนาคต ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญของการแก้ไขหนี้ให้สำเร็จ
หมายเลขโทรศัพท์ 1213 เป็นอีกหนึ่งหมายเลขที่หลายคนจำขึ้นใจ และมักจะติดต่อมาที่นี่ก่อน ไม่ว่าจะเป็นการสอบถามหรือมีปัญหาอะไรเกี่ยวกับเรื่องการเงิน สถาบันการเงิน หรือมาตรการของ ธปท. ในช่วงที่มีการระบาดของโควิด 19 ก็ทำให้มีโทรศัพท์เข้ามาสอบถามถึงปัญหาหนี้สินเพิ่มขึ้นหลายเท่า ธปท. จึงเปิดทางด่วนแก้หนี้เป็นช่องทางเพิ่มเติม เพื่อรับฟังและหาทางแก้ปัญหาช่วยประชาชน โดยสามารถแบ่งปัญหาและแนวทางแก้ไขที่พบได้บ่อยออกเป็น 4 กลุ่ม คือ
(1) ลูกหนี้ที่ชำระหนี้ได้ในช่วงที่ผ่านมา แต่ปัจจุบันไม่สามารถทำตามเงื่อนไขเดิมได้ ธปท. จะติดต่อสถาบันการเงินเพื่อติดตามการให้ความช่วยเหลือ ซึ่งพบว่าสถาบันการเงินส่วนใหญ่จะปรับเงื่อนไขชำระหนี้ให้เหมาะสมกับความสามารถของลูกหนี้และผลกระทบที่ได้รับ
(2) ลูกหนี้บัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคลที่ค้างชำระเกิน 90 วัน หรือถูกฟ้องร้องแต่ยังไม่มีคำพิพากษา จะแนะนำให้สมัครเข้าคลินิกแก้หนี้ ที่ดำเนินการโดยบริษัทบริหารสินทรัพย์สุขุมวิท (SAM) เพื่อรวมหนี้บัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคลของสถาบันการเงินที่เข้าร่วมโครงการไว้ในที่เดียว
(3) ลูกหนี้ถูกฟ้องร้อง หรือศาลมีคำพิพากษา หรือถูกอายัดทรัพย์แล้ว จะแนะนำให้ลูกหนี้เข้าสู่กระบวนการไกล่เกลี่ยหนี้ ไม่ว่าจะเป็นการไกล่เกลี่ยก่อนฟ้อง การไกล่เกลี่ยในชั้นศาล และการไกล่เกลี่ยก่อนและหลังการบังคับคดี
(4) ลูกหนี้ที่ถูกดำเนินคดีมีประวัติการชำระหนี้ไม่สม่ำเสมอ และไม่ให้ความร่วมมือในการแก้หนี้ สถาบันการเงินมักจะยึดทรัพย์ขายทอดตลาด เพื่อให้ได้รับชำระเงินคืนแน่นอน ธปท. จะประสานงานกับสถาบันการเงินให้พิจารณาช่วยเหลือลูกหนี้อีกครั้ง ซึ่งส่วนใหญ่ลูกหนี้จะได้รับความช่วยเหลือให้ผ่อนชำระตามเกณฑ์ที่กำหนด
ในด้านของลูกหนี้เองก็จะต้องระบุปัญหาและสถานะทางการเงินที่ชัดเจน เพื่อให้สถาบันการเงินเข้าใจและให้ความช่วยเหลือได้ตามเกณฑ์ที่กำหนด เราหวังว่าวิกฤตครั้งนี้จะเป็นโอกาสครั้งใหญ่ให้ลูกหนี้ทุกคนปรับปรุงโครงสร้างหนี้ และมีกำลังใจจะก้าวเดินต่อไป เพื่อกลับมามีชีวิตการเงินที่มั่นคงและยั่งยืนได้อีกครั้ง
ขอขอบคุณแหล่งที่มา : ธนาคารแห่งประเทศไทย
Chairman: Mr. Suwit Indrachalerm (Bangkok Bank Public Company Limited)
Coordinator: Mr. Suphawat Maseng
Objectives: This club is established with the approval of its members to carry out corporate social responsibility (CSR) activities consistent with the operations of the Thai Bankers’ Association as follows
This will close in 500 seconds
Chairman: Ms. Suteera Sripaibulya (Bangkok Bank Public Company Limited)
Coordinator: Ms. Sampantanee Apaipan
Objectives: This club is established
This will close in 500 seconds
Chairman: Mr. Than Siripokee (Bangkok Bank Public Company Limited)
Coordinator: Ms. Supada Ruttanapong
Objectives: This club is established
This will close in 500 seconds
Chairman: Mr. Paisarn Lertkowit (Bangkok Bank Public Company Limited)
Coordinator: Ms. Kristsanee Disapad
Objectives: This club is established
This will close in 500 seconds
Chairman: Mr. Kittichai Singha (Bank of Ayudhya Public Company Limited)
Coordinatior: Ms. Chutiporn Jiranansuroj
Objectives: This club is established
This will close in 500 seconds
Chairman: Pongpichet Nananukool (Kasikorn Bank Public Company Limited)
Coordinator: Mr. Warat Attanandana
Objectives: This club is established
This will close in 500 seconds
Chairman: Mr. Kitipong Muttamara (Krungthai Bank Public Company Limited)
Coordinator: Ms. Manisa Rueangsri
Objectives: This club is established
This will close in 500 seconds
Chairman: Mr. Atis Ruchirawat Ayudhya Capital Services Co., Ltd.
Coordinator: Ms. Apsorn Suttaroj
Objectives: This club is established
This will close in 500 seconds
Acting Chairman: Mr. Settarat Na-Nakorn (Kasikorn Bank Public Company Limited)
: Ms. Suchanee.lavanavanija (Bangkok Bank Public Company Limited)
Coordinator: Ms. Monruedee Teerarungruang
Objectives: The Club is established
This will close in 500 seconds
Chairman: Mr. Thitivorn Chothayaphorn (Bank of Ayudhya Public Company Limited)
Coordinator: K. Jitti Wijitbanjong
Objectives: The Club is established
This will close in 500 seconds
Chairman: Mr. Prathin Kijjaruwankul (Kiatnakin Phatra Bank Public Company Limited)
Coordinator: Mr. Thammanun Harnprasitkam
Objectives: The Club is established
This will close in 500 seconds
Chairman: Ms. Oranuch Nampoolsuksan (Bangkok Bank Public Company Limited)
Coordinator: Ms. Roongratt Ratanarajchartikul
Objectives: The Club is established
This will close in 500 seconds
Chairman: Dr. Phacharaphot Nuntramas (Krungthai Bank Public Company Limited)
Coordinator: Dr. Chamadanai Maknual
Objectives: The Club is established
This will close in 500 seconds
Chairman: Ms. Pornvalai Kulrojseth (Krungthai Bank Public Company Limited)
Coordinator: -
Objectives: The Club is established
This will close in 500 seconds
Chairman: Ms. Puntipa Hannoraseth (Bank of Ayudhya Public Company Limited)
Coordinator: Ms. Tippawan Bannajirakul
Objectives: The Club is established
This will close in 500 seconds
Chairman: Ms. Waranee Wanrat (TMBThanachart Bank Public Company Limited)
Coordinator: Ms. Sunisa Netsawang
Objectives: The Club is established
This will close in 500 seconds
Acting Chairman: Ms. Jeerana Ramasoot (Bangkok Bank Public Company Limited)
Coordinator: Ms. Natchanok Aryukong
Objectives: The Club is established
This will close in 500 seconds
Chairman: Dr. Vasin Udomratchatavanich Bank of Ayudhya Public Company Limited
Coordinator: Ms. Manduan Aeambunapong
Objectives: The Club is established
This will close in 500 seconds
Chairman: Mr. Sant Thaosuwan (Bank of Ayudhya Public Company Limited)
Coordinator: Ms. Wasunthree Tri-utok
Objectives: The Club is established
This will close in 500 seconds
Chairman: Mr. luesak Sukasem (Krungthai Bank Public Company Limited)
Coordinator: Ms. Nipaporn Daokhanon
Objectives: The Club is established
This will close in 500 seconds
ธรรมาภิบาล(Governance) : มีระบบการกำกับดูแลกิจการที่ดี และดำเนินการกำกับดูแลได้อย่างมีประสิทธิผลในระดับคณะกรรมการ โดยกำหนดภาระและขอบเขตความรับผิดชอบที่ชัดเจนในระดับการจัดการในเรื่องที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล
This will close in 500 seconds
ยุทธศาสตร์ (Strategy) : บูรณาการพันธกิจด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล เข้ากับยุทธศาสตร์การดำเนินธุรกิจและกำหนดกรอบด้านการเงินที่ยั่งยืน โดยสนับสนุนเพื่อให้ประเทศสามารถเปลี่ยนผ่านไปสู่เป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ได้อย่างราบรื่น
This will close in 500 seconds
การบริหารความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อม สังคมและธรรมาภิบาล (ESG Risk Management) : ผนวกรวมประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล ไว้ในกระบวนการบริหารความเสี่ยง
This will close in 500 seconds
ผลิตภัณฑ์ทางการเงิน(Financial Products) : ปรับใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อส่งเสริมการเข้าถึงบริการทางการเงิน รวมทั้งนวัตกรรมทางการเงินที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและยั่งยืน
This will close in 500 seconds
การสื่อสาร (Communication) : สื่อสารและประสานความร่วมมือกับผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วนในการสร้างจิตสำนึกสาธารณะด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล
This will close in 500 seconds
การเปิดเผยข้อมูลทางการเงิน (Disclosure) : พัฒนาระบบการติดตามและการรายงานที่สอดคล้องกับกรอบการกำกับดูแลของประเทศไทยและมาตรฐานการเปิดเผยข้อมูลด้านความยั่งยืนในระดับสากล
This will close in 500 seconds
3 เรื่องต้องรู้ก่อนเข้าร่วมมาตรการปิดจบ หนี้เรื้อรัง
**สามารถขอออกจากมาตรการได้ แต่จะไม่ได้รับสิทธิแก้หนี้ตามเงื่อนไขเดิม**
3 เรื่องต้องรู้ หากจ่ายขั้นต่ำบัตรกดเงินสดนาน ๆ
แบบไหนเข้าข่ายปัญหาหนี้เรื้อรัง (Persistent Debt - PD)
1. แม้ภาระต่อเดือนไม่สูง แต่ใช้เวลานาน กว่าจะหมดหนี้
2. ยอดขั้นต่ำที่จ่ายแต่ละเดือนเป็นดอกเบี้ยมากกว่าเงินต้น
3. เมื่อผ่อนจบพบว่ายอดรวมที่จ่ายไปส่วนใหญ่คือ ดอกเบี้ย
อยากหมดหนี้ไว ㆍจ่ายดอกเบี้ยลดลง ㆍ ภาระต่อเดือนไม่เพิ่มจากเดิม
เลือกเข้ามาตรการปิดจบหนี้เรื้อรังได้ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป
หมายเหตุ : ลูกหนี้ที่เข้าข่ายเป็นหนี้รื้อร้ง จะได้รับการติดต่อจากเจ้าหนี้ โดยหาก 5 ปีที่ผ่านมา ลูกหนี้จ่ายดอกเบี้ยรวมมากกว่าเงินต้นรวม จะได้รับข้อเสนอปิดจบหนี้ภายใน 5 ปี ดอกเบี้ยไม่เกิน 15% ต่อปี
ตัวอย่าง
ใช้บัตรกดเงินสด
วงเงินหมุนเวียน 15,000 บาท
ผ่อนขั้นต่ำ (3%) มาแล้ว 5 ปี
เหลือจ่ายเงินต้นอีก 8,700 บาท
ทางเลือกที่ 1 : ผ่อนขั้นต่ำต่อไปจนครบ ดอกเบี้ย 25% ต่อปี ผ่อนต่ออีก 13 ปี 5 เดือน
เหลือจ่ายดอกเบี้ยอีก 14,000 บาท
ดอกเบี้ยรวมทั้งสัญญา 29,000 บาท
ทางเลือกที่ 2 : เข้าโครงการแก้หนี้เรื้อรัง ดอกเบี้ย 15% ต่อปี ผ่อนต่ออีก 3 ปี 6 เดือน (เดือนละ 260 บาท)
เหลือจ่ายดอกเบี้ยอีก 2,500 บาท
ดอกเบี้ยรวมทั้งสัญญา 17,500 บาท
*ประหยัดดอกเบี้ยได้ 11,500 บาท*
หมายเหตุ: ผ่อนเดือนละ 260 บาท เท่ากับยอดการผ่อนขั้นต่ำ ณ เดือนสุดท้ายของปีที่ 5 ก่อนเข้าโครงการ
ตอบข้อสงสัย มาตรการปิดจบหนี้เรื้อรัง
(1) ทำไมมาตรการปิดจบหนี้เรื้อรัง ไม่รวมหนี้บัตรเครดิต?
(2) ทำไมต้องมีเงื่อนไขปิดวงเงินหากเข้าร่วมมาตรการปิดจบหนี้เรื้อรัง
(3) การเข้ามาตรการปิดจบหนี้เรื้อรัง จะมีการรายงานข้อมูลในเครดิตบูโร (NCB) หรือไม่
ทำไมมาตรการปิดจบหนี้เรื้อรัง ไม่รวมหนี้บัตรเครดิต?
เพราะหนี้บัตรเครดิตมี (1) อัตราดอกเบี้ย และ (2) เงื่อนไขการผ่อนชำระที่ทำให้ไม่เข้าข่ายหนี้เรื้อรังที่จ่ายดอกเบี้ยมากกว่าเงินต้นและใช้เวลานานในการปิดจบ
ลูกหนี้บัตรเครดิตจ่ายขั้นต่ำที่ 8% ทำให้จ่ายชำระเงินต้นมากกว่าดอกเบี้ย ลูกหนี้สามารถปิดจบหนี้ได้ภายในระยะเวลาไม่นานนัก
บัตรกดเงินสดมักจ่ายขั้นต่ำที่ 3% และดอกเบี้ยส่วนใหญ่อยู่ที่ 25% ต่อปี ซึ่งจะทำให้ ตัดจ่ายดอกเบี้ย 2% และตัดเงินต้นเพียง 1%
ทำไมต้องมีเงื่อนไขปิดวงเงินหากเข้าร่วมมาตรการปิดจบหนี้เรื้อรัง
เงื่อนไขการปิดวงเงินจะช่วยให้ลูกหนี้มีวินัยทางการเงินเพิ่มขึ้นและสามารถปิดจบหนี้ได้ภายใน 5 ปี
อย่างไรก็ดี กรณีลูกหนี้ที่เข้ามาตรการฯ มีความจำเป็นฉุกเฉิน เช่น เจ็บป่วย ได้รับอุบัติเหตุ ตกงาน ผู้ให้บริการอาจพิจารณาให้สินเชื่อได้ หากลูกหนี้มีความสามารถในการชำระหนี้เพียงพอ ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับนโยบายและเงื่อนไขของผู้ให้บริการแต่ละแห่ง
กรณีลูกหนี้มีบัตรกดเงินสดมากกว่า 1 ใบ สามารถเลือกเข้าโครงการแค่บางบัตร และเก็บวงเงินบัตรกดเงินสดที่เหลือไว้ก่อนได้
การเข้ามาตรการปิดจบหนี้เรื้อรัง จะมีการรายงานข้อมูลในเครดิตบูโร (NCB) หรือไม่
จะมีการรายงานข้อมูลใน NCB โดยเพิ่มการรายงานประเภทของสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้ "รหัส (code) 03" โดยจะไม่กระทบสถานะบัญชีลูกหนี้ที่ยังเป็น 10-ปกติ เช่นเดิมทั้งนี้ การรายงานนี้ จะช่วยให้ผู้ให้บริการทราบถึงการเข้าโครงการซึ่งสะท้อนความตั้งใจที่ดีในการแก้ปัญหาหนี้ของลูกหนี้
มาตรการปิดจบหนี้เรื้อรัง..ช่วยเหลือลูกหนี้อย่างไร?
ถ้าได้รับแจ้งเตือนว่าเป็นลูกหนี้เรื้อรัง (severe PD) จะได้รับข้อเสนอให้สมัครเข้าร่วมมาตรการเพื่อปิดจบหนี้ ซึ่งจะได้รับประโยชน์จากการเข้าร่วมมาตรการ ดังนี้
** สำหรับลูกหนี้ที่เริ่มเรื้อรัง (general PD) ให้รีบติดต่อเจ้าหนี้หากต้องการแก้หนี้ เจ้าหนี้จะมีแนวทางให้ความช่วยเหลือที่เหมาะสมเป็นรายกรณี **
การแจ้งเตือนเมื่อเข้าข่ายลูกหนี้เรื้อรัง
ความถี่การแจ้งเตือนจากเจ้าหนี้
ช่องทางการแจ้งเตือน
โดยลูกหนี้เรื้อรังจะได้รับข้อเสนอแนวทางการปิดจบหนี้จากเจ้าหนี้ด้วย
หนี้เรื้อรัง คืออะโร.. แค่ไหนที่เรียกว่าเรื้อรัง?
แบบไหนเข้าข่ายปัญหาหนี้เรื้อรัง (Persistent Debt - PD)
ลูกหนี้เรื้อรัง 2 แบบ
1. เริ่มเป็นหนี้เรื้อรัง (general PD)
2. เป็นหนี้เรื้อรัง (severe PD)
** ธปท. กำหนดเกณฑ์รายได้ เพื่อมุ่งให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ที่เดือดร้อนที่สุดก่อน โดยพิจารณาความเรื้อรังและรายได้ที่ไม่สูงมากของลูกหนี้ **