สมาคมธนาคารไทยร่วมงานแถลงข่าวหัวข้อ “สรุปภาพรวมการจัดงาน APEC 2022 :
ประเทศไทยได้อะไรจากการประชุม”
วันพุธที่ 21 ธันวาคม 2565 “คุณผยง ศรีวณิช” กรรมการผู้จัดการใหญ่ธนาคารกรุงไทย จํากัด (มหาชน) และประธานสมาคมธนาคารไทย และ “คุณกอบศักดิ์ ดวงดี” เลขาธิการสมาคมธนาคารไทย พร้อมด้วย “คุณสนั่น อังอุบลกุล” ประธานคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน และประธานกรรมการหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย “คุณเกรียงไกร เธียรนุกุล” ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) และประธานสภาที่ปรึกษาทางธุรกิจเอเปค 2022 (APEC Business Advisory Council-ABAC) และดร.พจน์ อร่ามวัฒนานนท์ รองประธานกรรมการหอการค้าไทย และประธานจัดงาน APEC CEO SUMMIT ร่วมแถลงข่าวในหัวข้อ “มุมมองในอนาคตของคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) การต่อยอดและภาคเอกชนจะเดินหน้าอย่างไร” โดยมี รศ.ดร.ธนวรรธน์ พลวิชัย อธิการบดีมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวสรุป “ภาพรวมการจัดงาน APEC 2022 : ประเทศไทยได้อะไรจากการประชุม” ณ โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ บางกอก คอนเวนชัน เซ็นเตอร์ แอท เซ็นทรัลเวิลด์
การจัดประชุมเอเปค 2022 (APEC 2022) ที่มีผู้นำสมาชิกเขตเศรษฐกิจ 21 เขตเข้าร่วมประชุม ซึ่งเป็นการรวมกลุ่มเขตเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดยกลุ่มเอเปคมีประชากรร่วมกัน 2.8 พันล้านคน จีดีพีร่วมกันกว่า 59% ของจีดีพีโลก ซึ่งมีสัดส่วนการค้าระหว่างไทยกับสมาชิกสูงถึง 69.8% ของมูลค่าการค้าระหว่างประเทศของไทยทั้งหมด โดยที่ประชุมเห็นพ้องกับการนำแนวคิดเศรษฐกิจ BCG มาขับเคลื่อนการฟื้นฟูเศรษฐกิจในยุคหลังโควิด-19 อย่างยั่งยืน สมดุล และครอบคลุม พร้อมรับมือความท้าทายในอนาคตโดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง ซึ่งเศรษฐกิจ BCG จะทำให้คนไทยได้ประโยชน์มากที่สุด
การประชุมเอเปค 2022 ที่ผ่านมา ถือว่าคนไทยได้ประโยชน์อย่างมาก และไม่ต้องการให้คนไทยมองว่าประชุมเสร็จแล้วจบ แต่ควรที่จะนำผลการประชุมเหล่านั้นมาขยายต่อและสร้างเพื่อให้ก่อประโยชน์ต่อประเทศไทยให้อย่างเป็นรูปธรรมเร็วที่สุดโดยถือเป็นเรื่องของคนไทยทุกคน ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐหรือเอกชน ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจขนาดไหน ไม่ว่าจะอยู่ในเมืองหรือต่างจังหวัด ทุกคนล้วนมีส่วนช่วยต่อยอดโอกาสนี้
นายผยง ศรีวณิช กล่าวว่า การยกระดับภาคธุรกิจและเศรษฐกิจประเทศได้นำแพลตฟอร์ม NDTP (National Digital Trade Platform) หรือแพลตฟอร์มการค้าดิจิทัลระหว่างประเทศของไทย จากความเสี่ยงการค้าของโลกที่ส่งผลกระทบเชิงภูมิรัฐศาสตร์ ซัพพลายเชนอาจเปลี่ยนแปลง ดังนั้น การเชื่อมต่อในระบบภาคการค้าระหว่างประเทศควรผลักดัน ซึ่งระบบนี้ได้เริ่มทดลองแล้วในประเทศสิงคโปร์และญี่ปุ่น โดยมีบริษัทรายใหญ่ของภาคเอกชนเข้ามาทดลองจนประสบความสำเร็จ โดย 21 เขตเศรษฐกิจมีความสนใจจะยกระดับแพลตฟอร์มนี้ขึ้นมา
นอกจากนี้ มีเรื่องที่เร่งทำสำหรับคนตัวเล็ก กลุ่มเอสเอ็มอี คือเรื่องการพิจารณาความสามารถในการมีหนี้และชำระหนี้ด้วยข้อมูลทางเลือก เช่น ถ้ามีธุรกิจการค้า การขายที่มีข้อมูลใบสั่งซื้อ (PO) คือเอกสารที่แสดงถึงข้อตกลงกับผู้จัดจำหน่ายเพื่อซื้อสินค้าหรือบริการกับคู่ค้า และคู่ค้าของท่านเป็นคู่ค้าที่ตอบโจทย์ การเข้าถึงทรัพยากรเงินทุนในการเข้าไปใช้ เพื่อการผลิตสามารถเป็นไปได้ แต่ระบบการเงินต้องมีข้อมูลของการซื้อการขายการสั่งของระหว่างกัน
“โดยระบบนี้ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กำลังเร่งพัฒนาภายใต้โครงการพร้อมบิส (PromptBiz) ซึ่งตัวนี้จะเข้ามาเติมเต็มในเรื่องความร่วมมือการทำธุรกิจระหว่างประเทศ โดยให้ทุกภาคส่วนใช้ดิจิทัลให้เต็มศักยภาพ และสามารถยกระดับการเข้าถึงระบบการพัฒนาประเทศได้” จากความสำเร็จจากการยกระดับภาคการเงินของประเทศ โดยการสร้างโครงสร้างพื้นฐานที่ทุกกลุ่มเข้าถึง ลดความเหลื่อมล้ำและประสบความสำเร็จอย่างการชำระเงินระบบพร้อมเพย์ (PromptPay) ที่มีการใช้บริการแพร่หลายในช่วงการแพร่ระบาดโควิด นอกจากนี้ พัฒนาระบบแอพพลิเคชั่นเป๋าตัง ซึ่งมีฐานผู้ใช้งานแล้ว 40 ล้านคน โดยมีกลุ่มเปราะบางสามารถเข้าถึงได้ และธุรกิจเอสเอ็มอีกว่า 1.6 ล้าน ร้านค้า อยู่ในระบบโครงการของรัฐบนโครงสร้างพื้นฐานพร้อมเพย์
“หากพูดถึงดิจิทัลทรานฟอร์เมชั่นในระบบภาคการเงิน ต้องคิดว่าจะทำอย่างไรเสริมภาคการผลิต ภาคการบริการ ภาคธุรกิจ และภาคประชาชน สามารถยกระดับธุรกิจ การใช้ชีวิตจริงของกลุ่มเหล่านี้ให้ได้ตามยุคตามสมัยอย่างมีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผล โดยทั้งหมดนี้ เพื่อเพิ่มผลผลิตและความมั่งคั่งในระบบเศรษฐกิจของประเทศ”
ดังนั้น ต้องมองในระบบการสร้างโครงสร้างพื้นฐานของภาคการเงิน ต้องทำอย่างไรที่จะตอบโจทย์เรื่องการครอบคลุม เข้าถึงและเท่าเทียม ไม่เช่นนั้นนวัตกรรมหรือเทคโนโลยีใหม่ๆ เกิดขึ้นจะสร้างความเหลื่อมล้ำมากกว่าการสร้างให้เกิดประโยชน์ต่อทุกกลุ่มให้มีส่วนร่วม เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศต่อไป
นายสนั่น อังอุบลกุล กล่าวว่า ภายหลังจากที่ไทยเป็นเจ้าภาพการจัดงาน โดยประโยชน์ต่อเศรษฐกิจและสังคมไทยในช่วง 3-5 ปีข้างหน้า รวมทั้งสิ้นประมาณ 5-6 แสนล้านบาท อาทิ ประโยชน์ระยะสั้น ภายใน 3-6 เดือน จะส่งเสริมภาพลักษณ์ซอฟต์เพาเวอร์ผ่านการประชาสัมพันธ์ อาหาร และวัฒนธรรมไทยที่ได้นำเสนอผ่านการประชุมและงานเลี้ยงรับรองต่างๆ ซึ่งสร้างประโยชน์สำคัญ 2 ประการคือ 1.ส่งเสริมการท่องเที่ยว ซึ่งน่าจะเพิ่มจำนวนนักท่องเที่ยวให้มากขึ้น 1-2 แสนคน สร้างรายได้ให้อุตสาหกรรมท่องเที่ยวและธุรกิจต่อเนื่องของไทยถึงประมาณ 1 หมื่นล้านบาท และ 2.สร้างการรับรู้และช่วยดึงดูดการลงทุนจากต่างชาติ (FDI)ในอุตสาหกรรมบีซีจี พลังงาน ยานยนต์ไฟฟ้า (อีวี) เศรษฐกิจดิจิทัล และอุตสาหกรรมภาคบริการ เช่น การท่องเที่ยว และธุรกิจบริการสุขภาพ เป็นต้น โดยเฉพาะในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรืออีอีซี
ประธาน: คุณสุวิทย์ อินทรเฉลิม (ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน))
ผู้ประสานงาน: คุณศุภวัตร มะเส็ง
วัตถุประสงค์: ชมรมฯ นี้ตั้งขึ้นเพื่อดำเนินงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคมโดยความเห็นชอบของสมาชิกซึ่งสอดคล้องกับการดำเนินงานของสมาคมธนาคารไทย ดังนี้
This will close in 500 seconds
ประธาน: คุณสุธีรา ศรีไพบูลย์ (ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน))
ผู้ประสานงาน: คุณสัมพันธนี อภัยพันธุ์
วัตถุประสงค์: ชมรมฯ นี้ตั้งขึ้น
This will close in 500 seconds
ประธาน: คุณทัฬห์ สิริโภคี (ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน))
ผู้ประสานงาน: คุณศุภดา รัตนพงษ์
วัตถุประสงค์: ชมรมฯ นี้ตั้งขึ้น
This will close in 500 seconds
ประธาน: คุณไพศาล เลิศโกวิทย์ (ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)
ผู้ประสานงาน: คุณสมฤทัย สุขจันทร์
วัตถุประสงค์: ชมรมฯ นี้ตั้งขึ้น
This will close in 500 seconds
ประธาน: คุณดุจหทัย สมบูรณ์นิตย์ (ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน))
ผู้ประสานงาน: คุณวรรณนิภา ศิริภักดีชัยกุล
วัตถุประสงค์: ชมรมฯ นี้ตั้งขึ้น
This will close in 500 seconds
ประธาน: คุณธีรวัฒน์ อัศวโภคี (ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน))
ผู้ประสานงาน: คุณวรัท อัตตะนันทน์
วัตถุประสงค์: ชมรมฯ นี้ตั้งขึ้น
This will close in 500 seconds
ประธาน: คุณกิติพงศ์ มุตตามระ (ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน))
ผู้ประสานงาน: คุณมนิษา เรืองศรี
วัตถุประสงค์: ชมรมฯ นี้ตั้งขึ้น
This will close in 500 seconds
ประธาน: คุณอฑิศ รุจิรวัฒน์ (ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน))
ผู้ประสานงาน: คุณอัปสร สุทธาโรจน์
วัตถุประสงค์: ชมรมฯ นี้ตั้งขึ้น
This will close in 500 seconds
รักษาการประธาน: คุณเศรษฐรัฐ ณ นคร (ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน))
: คุณสุชาณี ลวนะวณิช (ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน))
ผู้ประสานงาน: คุณมลฤดี ตีรรุ่งเรือง
วัตถุประสงค์: ชมรมฯ นี้ตั้งขึ้น
This will close in 500 seconds
ประธาน: คุณฐิติวร โชตยาภรณ์ (ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน))
ผู้ประสานงาน: คุณจิตติ วิจิตรบรรจง
วัตถุประสงค์: ชมรมฯ นี้ตั้งขึ้น
This will close in 500 seconds
ประธาน: คุณประทิน กิจจารุวรรรกุล (ธนาคารเกียรตินาคินภัทร จำกัด (มหาชน))
ผู้ประสานงาน: คุณธรรมนูญ หาญประสิทธิ์คำ
วัตถุประสงค์: ชมรมฯ นี้ตั้งขึ้น
This will close in 500 seconds
ประธาน: คุณอรนุช นำพูลสวัสดิ์ (ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน))
ผู้ประสานงาน: คุณรุ่งรัตน์ รัตนราชชาติกุล
วัตถุประสงค์: ชมรมฯ นี้ตั้งขึ้น
This will close in 500 seconds
ประธาน: ดร.พชรพจน์ นันทรามาศ (ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน))
ผู้ประสานงาน: ดร.ฉมาดนัย มากนวล
วัตถุประสงค์: ชมรมฯ นี้ตั้งขึ้น
This will close in 500 seconds
ประธาน: คุณพรวลัย กุลโรจน์เสฏฐ (ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน))
ผู้ประสานงาน: -
วัตถุประสงค์: ชมรมฯ นี้ตั้งขึ้น
This will close in 500 seconds
ประธาน: คุณพรรณทิพา หาญนรเศรษฐ์ (ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน))
ผู้ประสานงาน: คุณทิพวรรณ บรรณจิรกุล
วัตถุประสงค์: ชมรมฯ นี้ตั้งขึ้น
This will close in 500 seconds
ประธาน: คุณวราณี วรรณรัตน์ (ธนาคารทหารไทยธนชาต จำกัด (มหาชน))
ผู้ประสานงาน: คุณสุนิษา เนตรสว่าง
วัตถุประสงค์: ชมรมฯ นี้ตั้งขึ้น
This will close in 500 seconds
ประธาน: คุณสมเกียรติ ปรีดามาโนช (ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน))
ผู้ประสานงาน: คุณนาทชนก อายุคง
วัตถุประสงค์: ชมรมฯ นี้ตั้งขึ้น
This will close in 500 seconds
ประธาน: ดร.วศิน อุดมรัชตวนิชย์ (ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน))
ผู้ประสานงาน: คุณแม้นเดือน เอี่ยมบรรณพงษ์
วัตถุประสงค์: ชมรมฯ นี้ตั้งขึ้น
This will close in 500 seconds
ประธาน: คุณสัณฑ์ เถาสุวรรณ (ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน))
ผู้ประสานงาน: คุณวสุนทรี ไตรอุโฆษ
วัตถุประสงค์: ชมรมฯ นี้ตั้งขึ้น
This will close in 500 seconds
ประธาน: คุณลือศักดิ์ สุขเกษม (ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน))
ผู้ประสานงาน: คุณนิภาพร ดาวขนอน
วัตถุประสงค์: ชมรมฯ นี้ตั้งขึ้น
This will close in 500 seconds
ธรรมาภิบาล(Governance) : มีระบบการกำกับดูแลกิจการที่ดี และดำเนินการกำกับดูแลได้อย่างมีประสิทธิผลในระดับคณะกรรมการ โดยกำหนดภาระและขอบเขตความรับผิดชอบที่ชัดเจนในระดับการจัดการในเรื่องที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล
This will close in 500 seconds
ยุทธศาสตร์ (Strategy) : บูรณาการพันธกิจด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล เข้ากับยุทธศาสตร์การดำเนินธุรกิจและกำหนดกรอบด้านการเงินที่ยั่งยืน โดยสนับสนุนเพื่อให้ประเทศสามารถเปลี่ยนผ่านไปสู่เป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ได้อย่างราบรื่น
This will close in 500 seconds
การบริหารความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อม สังคมและธรรมาภิบาล (ESG Risk Management) : ผนวกรวมประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล ไว้ในกระบวนการบริหารความเสี่ยง
This will close in 500 seconds
ผลิตภัณฑ์ทางการเงิน(Financial Products) : ปรับใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อส่งเสริมการเข้าถึงบริการทางการเงิน รวมทั้งนวัตกรรมทางการเงินที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและยั่งยืน
This will close in 500 seconds
การสื่อสาร (Communication) : สื่อสารและประสานความร่วมมือกับผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วนในการสร้างจิตสำนึกสาธารณะด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล
This will close in 500 seconds
การเปิดเผยข้อมูลทางการเงิน (Disclosure) : พัฒนาระบบการติดตามและการรายงานที่สอดคล้องกับกรอบการกำกับดูแลของประเทศไทยและมาตรฐานการเปิดเผยข้อมูลด้านความยั่งยืนในระดับสากล
This will close in 500 seconds