“สมาคมธนาคารไทย” หนุน “กทม.” ขับเคลื่อนสู่เมืองเศรษฐกิจสีเขียว สร้างการเติบโตยั่งยืน
สมาคมธนาคารไทย พร้อมขับเคลื่อน “กรุงเทพมหานคร” สู่เมืองเศรษฐกิจสีเขียว ชูนโยบายสนับสนุน BCG สินเชื่อที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม นำโครงสร้างพื้นฐานด้าน “ดิจิทัล” ส่งเสริมการเพิ่มประสิทธิภาพ ยกระดับการให้บริการของกทม. เสริมสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืน สอดคล้องยุทธศาสตร์ 3 ปีของสมาคมฯ
นาย ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เปิดเผยภายหลังประชุมหารือร่วมกับผู้บริหารสมาคมธนาคารไทย เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2565 ว่า การประชุมในวันนี้ มีหลายประเด็นที่เน้นแนวทางความร่วมมือในหลายด้าน ซึ่งสมาคมธนาคารไทย เป็นหน่วยงานที่ 3 ที่ร่วมมือกับกรุงเทพมหานคร หลังจากเข้าพบสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ซึ่งทั้งหมดเป็น 3 เสาหลักเศรษฐกิจของประเทศไทย โดยในอนาคตจะรีบผลักดันให้มีการตั้งคณะกรรมการร่วมฯ เพื่อพูดคุยแลกเปลี่ยนหารือความคิดเห็นและความร่วมมือร่วมกันทุกเดือนระหว่างกทม.กับภาคธุรกิจ อาทิ สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสมาคมธนาคารไทย ซึ่งวันนี้ทางสมาคมธนาคารไทยได้รับทราบเป้าประสงค์ แนวคิดของกทม.แล้ว และอยากร่วมผลักดันกรุงเทพมหานครให้เป็น เมืองน่าอยู่ เป็นเมืองหลักของการสร้างงาน สามารถดึงดูดนักลงทุนจากทั่วโลก สร้างความสุขให้คนไทยและเป็นเมืองหลักสำคัญในการขับเคลื่อนประเทศ โดยการตั้งคณะกรรมการฯ คาดว่าจะสำเร็จภายใน 1 เดือน เนื่องจากการพัฒนาเมืองต้องมีความร่วมมือกันเพราะเมือง คือแหล่งงาน แหล่งอาชีพ เมืองจะอยู่ได้ต้องมีการสร้างงานสร้างเศรษฐกิจที่มีคุณภาพขึ้น
โดยกทม.จะอำนวยความสะดวกให้ภาคธุรกิจเอกชน ด้วยการลดขั้นตอนต่าง ๆ ส่งเสริมการลงทุนในต่างประเทศ ส่งเสริมการลงทุนในประเทศ โดยทำควบคู่กับเรื่องการพัฒนาคุณภาพชีวิต รวมถึงการใช้เทคโนโลยีนำมาปรับปรุงคุณภาพชีวิต โดยในปัจจุบันธนาคารก้าวหน้ามากในเรื่องของ Applicationการให้บริการ เทคโนโลยีการพิสูจน์ตัวตน ซึ่งกทม.อาจจะนำบางส่วนมาใช้งานกับ Application ของกทม.ด้วย เช่น การให้ความรู้กับประชาชนในชุมชนเรื่องการ ใช้ Application รวมถึงการให้ข้อมูลให้ชุมชนสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุน สำหรับผู้ที่มีรายได้น้อย โดยจัดทำฐานข้อมูลและ Open Data
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวเพิ่มเติมว่ากทม. ดูแลชุมชนกว่า 2,000 ชุมชน ซึ่งเป็นฐานข้อมูลมหาศาล คนจำนวนมากในชุมชนต้องการแหล่งเงินทุน แหล่งเงินกู้ หากสามารถทำการเชื่อมฐานข้อมูลให้รู้หลักแหล่งที่อยู่อาศัยและตัวตนของผู้กู้ รวมถึงการใช้เทคโนโลยี Application ต่างๆ เพื่อทำให้ธนาคารเข้าถึงลูกค้า และลูกค้าก็เข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ดีขึ้น ก็จะแก้ปัญหาในปัจจุบันที่ประชาชนต้องไปกู้หนี้นอกระบบได้ เนื่องจากกทม. มีข้อมูลชุมชนมากมายหากพัฒนาเป็นฐานข้อมูล และธนาคารสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ ก็จะทำให้คนเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ดีขึ้น เพราะหัวใจของการพัฒนาคุณภาพชีวิต คือการเข้าถึงแหล่งเงินหากประชาชนประกอบธุรกิจได้ดีขึ้น ก็จะเป็นส่วนหนึ่งในการลดความเหลื่อมล้ำ เพราะแหล่งเงินทุนเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้หลุดพ้นจากกับดักความยากจนได้ เบื้องต้นอาจจะเริ่มพัฒนาจาก 1 ชุมชน หรือ 1 อาชีพก่อน เช่น ผู้ค้าหาบเร่แผงลอยเนื่องจากมีหลักแหล่งตัวตนชัดเจนเพื่อให้สามารถเข้าถึงระบบแหล่งเงินทุนได้ หากประสบความสำเร็จ ก็จะเป็นต้นแบบที่จะขยายความสำเร็จนี้ต่อไป
“ปัจจุบันหลายชุมชน ยังไม่สามารถเข้าถึงเทคโนโลยีเพื่อเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ แนวคิดที่จะตั้งอาสาสมัครเทคโนโลยีประจำชุมชน ซึ่งอาจเป็นเด็กรุ่นใหม่ที่เข้าถึงเทคโนโลยีเพื่อจะแนะนำเทคโนโลยีต่าง ๆนี้ให้คนในชุมชน รวมถึงรวบรวมฐานข้อมูลของชุมชน ซึ่งส่วนหนึ่งเราเริ่มอบรมอาสาสมัครเทคโนโลยีไปบางส่วนบ้างแล้วก็คือคนกวาดถนนของกทม.ที่สามารถใช้เทคโนโลยี Traffy Fondue ได้ ประมาณ 10,000 คน เนื่องจากอาศัยอยู่ในทุกเขตและทุกชุมชน ซึ่งอนาคตอาจจะเป็นผู้แนะนำเทคโนโลยี ทางธนาคารเพื่อให้คนในชุมชนเข้าถึงแหล่งเงินทุน จะเป็นการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และ สิ่งแวดล้อม เพื่อลดความเหลื่อมล้ำและเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานของกทม.ได้ ซึ่งคาดว่าจะเห็นผลในรูปธรรมได้ ภายใน 6 เดือน” นายชัชชาติกล่าว
นายผยง ศรีวณิช ประธานสมาคมธนาคารไทย เปิดเผยว่า สมาคมฯ และธนาคารสมาชิกพร้อมสนับสนุนการพัฒนากรุงเทพมหานคร ทั้งในด้านการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และ สิ่งแวดล้อม เพื่อลดความเหลื่อมล้ำและเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานของกทม. สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ 3 ปีของสมาคมฯที่มุ่งยกระดับขีดความสามารถการแข่งขัน และเสริมสร้างการเติบโตที่ยั่งยืนให้กับสังคมและประเทศ
ทั้งนี้ สมาคมฯ จะร่วมผลักดันภาคธุรกิจปรับตัว สู่เศรษฐกิจสีเขียว(Green Economy) และ BCG Economy หรือโมเดลเศรษฐกิจสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน ผ่านการสนับสนุนสินเชื่อ ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม มุ่งเดินหน้าให้ความรู้ทางการเงินและดิจิทัล สร้างกลไกในการเพิ่มวินัยทางการเงินและส่งเสริมการออมเงิน โดยเฉพาะการออมเพื่อการเกษียณอายุ เพื่อลดความเหลื่อมล้ำ และส่งเสริมให้ประชาชนและภาคธุรกิจเข้าถึงผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงินมากขึ้น รวมถึงการสนับสนุนกลุ่มผู้ด้อยโอกาสให้เข้าถึงบริการการเงินขั้นพื้นฐานของภาคธนาคาร
นอกจากนี้ จะนำเทคโนโลยีทางการเงินเข้ามาช่วยในการพัฒนากทม. และผลักดันให้เกิด Digital Transformation โดยส่งเสริมการนำระบบ Digital มาใช้ในกระบวนการทำงาน ทั้งการชำระเงิน การเก็บค่าธรรมเนียม การชำระค่าปรับ การออกใบเสร็จแบบอิเล็กทรอนิกส์ โดยสนับสนุนให้นำระบบ Digital Payment มาใช้ทุกเขตและทุกหน่วยงานของกทม. และสนับสนุนให้นำระบบ Digital Supply Chain Finance Platform มาใช้การจัดซื้อจัดจ้างของกทม. และบริษัทในเครือข่ายของกทม. เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพสร้างความโปร่งใส สามารถเชื่อมโยงข้อมูลที่เป็นประโยชน์ร่วมกันระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน และยังช่วยให้ SMEs ที่อยู่ในห่วงโซ่อุปทานการจัดซื้อจัดจ้างของกทม.สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้มากขึ้น อีกทั้ง พร้อมร่วมมือพัฒนาทรัพยากรบุคคลในรูปแบบ Knowledge Sharing หรือ Capacity Building เพื่อให้เกิดการประสานประโยชน์ (Synergy) ร่วมกัน
สมาคมฯ ยังสนับสนุนการพัฒนากทม. เป็นเมืองนำร่องในการเชื่อมโยงระบบชำระเงินของนักท่องเที่ยวในภูมิภาค เมื่อเดินทางมาท่องเที่ยว ซึ่งเป็นไปตามแผนงาน Regional Championing ของสมาคมฯในการสนับสนุนให้ผู้ประกอบการ นักลงทุนและประชาชน สามารถทำกิจกรรมการค้า การลงทุนระหว่างประเทศ และการชำระเงินของนักท่องเที่ยวในภูมิภาคได้อย่างรวดเร็ว ปลอดภัย ต้นทุนต่ำ
“สมาคมธนาคารไทย พร้อมร่วมมือกับทุกภาคส่วนในการพัฒนา กทม.ให้แข็งแกร่งในทุกด้าน เป็นเมืองที่น่าอยู่ และเป็นศูนย์กลางในการดึงดูดนักท่องเที่ยวจากทั่วโลก ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศอย่างยั่งยืน”
Chairman: Mr. Suwit Indrachalerm (Bangkok Bank Public Company Limited)
Coordinator: Mr. Suphawat Maseng
Objectives: This club is established with the approval of its members to carry out corporate social responsibility (CSR) activities consistent with the operations of the Thai Bankers’ Association as follows
This will close in 500 seconds
Chairman: Ms. Suteera Sripaibulya (Bangkok Bank Public Company Limited)
Coordinator: Ms. Sampantanee Apaipan
Objectives: This club is established
This will close in 500 seconds
Chairman: Mr. Than Siripokee (Bangkok Bank Public Company Limited)
Coordinator: Ms. Supada Ruttanapong
Objectives: This club is established
This will close in 500 seconds
Chairman: Mr. Paisarn Lertkowit (Bangkok Bank Public Company Limited)
Coordinator: Ms. Kristsanee Disapad
Objectives: This club is established
This will close in 500 seconds
Chairman: Mr. Kittichai Singha (Bank of Ayudhya Public Company Limited)
Coordinatior: Ms. Chutiporn Jiranansuroj
Objectives: This club is established
This will close in 500 seconds
Chairman: Pongpichet Nananukool (Kasikorn Bank Public Company Limited)
Coordinator: Mr. Warat Attanandana
Objectives: This club is established
This will close in 500 seconds
Chairman: Mr. Kitipong Muttamara (Krungthai Bank Public Company Limited)
Coordinator: Ms. Manisa Rueangsri
Objectives: This club is established
This will close in 500 seconds
Chairman: Mr. Atis Ruchirawat Ayudhya Capital Services Co., Ltd.
Coordinator: Ms. Apsorn Suttaroj
Objectives: This club is established
This will close in 500 seconds
Acting Chairman: Mr. Settarat Na-Nakorn (Kasikorn Bank Public Company Limited)
: Ms. Suchanee.lavanavanija (Bangkok Bank Public Company Limited)
Coordinator: Ms. Monruedee Teerarungruang
Objectives: The Club is established
This will close in 500 seconds
Chairman: Mr. Thitivorn Chothayaphorn (Bank of Ayudhya Public Company Limited)
Coordinator: K. Jitti Wijitbanjong
Objectives: The Club is established
This will close in 500 seconds
Chairman: Mr. Prathin Kijjaruwankul (Kiatnakin Phatra Bank Public Company Limited)
Coordinator: Mr. Thammanun Harnprasitkam
Objectives: The Club is established
This will close in 500 seconds
Chairman: Ms. Oranuch Nampoolsuksan (Bangkok Bank Public Company Limited)
Coordinator: Ms. Roongratt Ratanarajchartikul
Objectives: The Club is established
This will close in 500 seconds
Chairman: Dr. Phacharaphot Nuntramas (Krungthai Bank Public Company Limited)
Coordinator: Dr. Chamadanai Maknual
Objectives: The Club is established
This will close in 500 seconds
Chairman: Ms. Pornvalai Kulrojseth (Krungthai Bank Public Company Limited)
Coordinator: -
Objectives: The Club is established
This will close in 500 seconds
Chairman: Ms. Puntipa Hannoraseth (Bank of Ayudhya Public Company Limited)
Coordinator: Ms. Tippawan Bannajirakul
Objectives: The Club is established
This will close in 500 seconds
Chairman: Ms. Waranee Wanrat (TMBThanachart Bank Public Company Limited)
Coordinator: Ms. Sunisa Netsawang
Objectives: The Club is established
This will close in 500 seconds
Acting Chairman: Ms. Jeerana Ramasoot (Bangkok Bank Public Company Limited)
Coordinator: Ms. Natchanok Aryukong
Objectives: The Club is established
This will close in 500 seconds
Chairman: Dr. Vasin Udomratchatavanich Bank of Ayudhya Public Company Limited
Coordinator: Ms. Manduan Aeambunapong
Objectives: The Club is established
This will close in 500 seconds
Chairman: Mr. Sant Thaosuwan (Bank of Ayudhya Public Company Limited)
Coordinator: Ms. Wasunthree Tri-utok
Objectives: The Club is established
This will close in 500 seconds
Chairman: Mr. luesak Sukasem (Krungthai Bank Public Company Limited)
Coordinator: Ms. Nipaporn Daokhanon
Objectives: The Club is established
This will close in 500 seconds
ธรรมาภิบาล(Governance) : มีระบบการกำกับดูแลกิจการที่ดี และดำเนินการกำกับดูแลได้อย่างมีประสิทธิผลในระดับคณะกรรมการ โดยกำหนดภาระและขอบเขตความรับผิดชอบที่ชัดเจนในระดับการจัดการในเรื่องที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล
This will close in 500 seconds
ยุทธศาสตร์ (Strategy) : บูรณาการพันธกิจด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล เข้ากับยุทธศาสตร์การดำเนินธุรกิจและกำหนดกรอบด้านการเงินที่ยั่งยืน โดยสนับสนุนเพื่อให้ประเทศสามารถเปลี่ยนผ่านไปสู่เป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ได้อย่างราบรื่น
This will close in 500 seconds
การบริหารความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อม สังคมและธรรมาภิบาล (ESG Risk Management) : ผนวกรวมประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล ไว้ในกระบวนการบริหารความเสี่ยง
This will close in 500 seconds
ผลิตภัณฑ์ทางการเงิน(Financial Products) : ปรับใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อส่งเสริมการเข้าถึงบริการทางการเงิน รวมทั้งนวัตกรรมทางการเงินที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและยั่งยืน
This will close in 500 seconds
การสื่อสาร (Communication) : สื่อสารและประสานความร่วมมือกับผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วนในการสร้างจิตสำนึกสาธารณะด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล
This will close in 500 seconds
การเปิดเผยข้อมูลทางการเงิน (Disclosure) : พัฒนาระบบการติดตามและการรายงานที่สอดคล้องกับกรอบการกำกับดูแลของประเทศไทยและมาตรฐานการเปิดเผยข้อมูลด้านความยั่งยืนในระดับสากล
This will close in 500 seconds
3 เรื่องต้องรู้ก่อนเข้าร่วมมาตรการปิดจบ หนี้เรื้อรัง
**สามารถขอออกจากมาตรการได้ แต่จะไม่ได้รับสิทธิแก้หนี้ตามเงื่อนไขเดิม**
3 เรื่องต้องรู้ หากจ่ายขั้นต่ำบัตรกดเงินสดนาน ๆ
แบบไหนเข้าข่ายปัญหาหนี้เรื้อรัง (Persistent Debt - PD)
1. แม้ภาระต่อเดือนไม่สูง แต่ใช้เวลานาน กว่าจะหมดหนี้
2. ยอดขั้นต่ำที่จ่ายแต่ละเดือนเป็นดอกเบี้ยมากกว่าเงินต้น
3. เมื่อผ่อนจบพบว่ายอดรวมที่จ่ายไปส่วนใหญ่คือ ดอกเบี้ย
อยากหมดหนี้ไว ㆍจ่ายดอกเบี้ยลดลง ㆍ ภาระต่อเดือนไม่เพิ่มจากเดิม
เลือกเข้ามาตรการปิดจบหนี้เรื้อรังได้ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป
หมายเหตุ : ลูกหนี้ที่เข้าข่ายเป็นหนี้รื้อร้ง จะได้รับการติดต่อจากเจ้าหนี้ โดยหาก 5 ปีที่ผ่านมา ลูกหนี้จ่ายดอกเบี้ยรวมมากกว่าเงินต้นรวม จะได้รับข้อเสนอปิดจบหนี้ภายใน 5 ปี ดอกเบี้ยไม่เกิน 15% ต่อปี
ตัวอย่าง
ใช้บัตรกดเงินสด
วงเงินหมุนเวียน 15,000 บาท
ผ่อนขั้นต่ำ (3%) มาแล้ว 5 ปี
เหลือจ่ายเงินต้นอีก 8,700 บาท
ทางเลือกที่ 1 : ผ่อนขั้นต่ำต่อไปจนครบ ดอกเบี้ย 25% ต่อปี ผ่อนต่ออีก 13 ปี 5 เดือน
เหลือจ่ายดอกเบี้ยอีก 14,000 บาท
ดอกเบี้ยรวมทั้งสัญญา 29,000 บาท
ทางเลือกที่ 2 : เข้าโครงการแก้หนี้เรื้อรัง ดอกเบี้ย 15% ต่อปี ผ่อนต่ออีก 3 ปี 6 เดือน (เดือนละ 260 บาท)
เหลือจ่ายดอกเบี้ยอีก 2,500 บาท
ดอกเบี้ยรวมทั้งสัญญา 17,500 บาท
*ประหยัดดอกเบี้ยได้ 11,500 บาท*
หมายเหตุ: ผ่อนเดือนละ 260 บาท เท่ากับยอดการผ่อนขั้นต่ำ ณ เดือนสุดท้ายของปีที่ 5 ก่อนเข้าโครงการ
ตอบข้อสงสัย มาตรการปิดจบหนี้เรื้อรัง
(1) ทำไมมาตรการปิดจบหนี้เรื้อรัง ไม่รวมหนี้บัตรเครดิต?
(2) ทำไมต้องมีเงื่อนไขปิดวงเงินหากเข้าร่วมมาตรการปิดจบหนี้เรื้อรัง
(3) การเข้ามาตรการปิดจบหนี้เรื้อรัง จะมีการรายงานข้อมูลในเครดิตบูโร (NCB) หรือไม่
ทำไมมาตรการปิดจบหนี้เรื้อรัง ไม่รวมหนี้บัตรเครดิต?
เพราะหนี้บัตรเครดิตมี (1) อัตราดอกเบี้ย และ (2) เงื่อนไขการผ่อนชำระที่ทำให้ไม่เข้าข่ายหนี้เรื้อรังที่จ่ายดอกเบี้ยมากกว่าเงินต้นและใช้เวลานานในการปิดจบ
ลูกหนี้บัตรเครดิตจ่ายขั้นต่ำที่ 8% ทำให้จ่ายชำระเงินต้นมากกว่าดอกเบี้ย ลูกหนี้สามารถปิดจบหนี้ได้ภายในระยะเวลาไม่นานนัก
บัตรกดเงินสดมักจ่ายขั้นต่ำที่ 3% และดอกเบี้ยส่วนใหญ่อยู่ที่ 25% ต่อปี ซึ่งจะทำให้ ตัดจ่ายดอกเบี้ย 2% และตัดเงินต้นเพียง 1%
ทำไมต้องมีเงื่อนไขปิดวงเงินหากเข้าร่วมมาตรการปิดจบหนี้เรื้อรัง
เงื่อนไขการปิดวงเงินจะช่วยให้ลูกหนี้มีวินัยทางการเงินเพิ่มขึ้นและสามารถปิดจบหนี้ได้ภายใน 5 ปี
อย่างไรก็ดี กรณีลูกหนี้ที่เข้ามาตรการฯ มีความจำเป็นฉุกเฉิน เช่น เจ็บป่วย ได้รับอุบัติเหตุ ตกงาน ผู้ให้บริการอาจพิจารณาให้สินเชื่อได้ หากลูกหนี้มีความสามารถในการชำระหนี้เพียงพอ ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับนโยบายและเงื่อนไขของผู้ให้บริการแต่ละแห่ง
กรณีลูกหนี้มีบัตรกดเงินสดมากกว่า 1 ใบ สามารถเลือกเข้าโครงการแค่บางบัตร และเก็บวงเงินบัตรกดเงินสดที่เหลือไว้ก่อนได้
การเข้ามาตรการปิดจบหนี้เรื้อรัง จะมีการรายงานข้อมูลในเครดิตบูโร (NCB) หรือไม่
จะมีการรายงานข้อมูลใน NCB โดยเพิ่มการรายงานประเภทของสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้ "รหัส (code) 03" โดยจะไม่กระทบสถานะบัญชีลูกหนี้ที่ยังเป็น 10-ปกติ เช่นเดิมทั้งนี้ การรายงานนี้ จะช่วยให้ผู้ให้บริการทราบถึงการเข้าโครงการซึ่งสะท้อนความตั้งใจที่ดีในการแก้ปัญหาหนี้ของลูกหนี้
มาตรการปิดจบหนี้เรื้อรัง..ช่วยเหลือลูกหนี้อย่างไร?
ถ้าได้รับแจ้งเตือนว่าเป็นลูกหนี้เรื้อรัง (severe PD) จะได้รับข้อเสนอให้สมัครเข้าร่วมมาตรการเพื่อปิดจบหนี้ ซึ่งจะได้รับประโยชน์จากการเข้าร่วมมาตรการ ดังนี้
** สำหรับลูกหนี้ที่เริ่มเรื้อรัง (general PD) ให้รีบติดต่อเจ้าหนี้หากต้องการแก้หนี้ เจ้าหนี้จะมีแนวทางให้ความช่วยเหลือที่เหมาะสมเป็นรายกรณี **
การแจ้งเตือนเมื่อเข้าข่ายลูกหนี้เรื้อรัง
ความถี่การแจ้งเตือนจากเจ้าหนี้
ช่องทางการแจ้งเตือน
โดยลูกหนี้เรื้อรังจะได้รับข้อเสนอแนวทางการปิดจบหนี้จากเจ้าหนี้ด้วย
หนี้เรื้อรัง คืออะโร.. แค่ไหนที่เรียกว่าเรื้อรัง?
แบบไหนเข้าข่ายปัญหาหนี้เรื้อรัง (Persistent Debt - PD)
ลูกหนี้เรื้อรัง 2 แบบ
1. เริ่มเป็นหนี้เรื้อรัง (general PD)
2. เป็นหนี้เรื้อรัง (severe PD)
** ธปท. กำหนดเกณฑ์รายได้ เพื่อมุ่งให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ที่เดือดร้อนที่สุดก่อน โดยพิจารณาความเรื้อรังและรายได้ที่ไม่สูงมากของลูกหนี้ **
ทวงหนี้อย่างเป็นธรรม ต้องแจ้งข้อมูลสำคัญอะไรบ้าง
เจ้าหนี้จะต้องแจ้งรายละเอียดของภาระหนี้พร้อมข้อมูลสำคัญอื่น ๆ แก่ลูกหนี้ให้ครบถ้วน เช่น
และห้ามเรียกให้ผู้ค้ำประกันชำระหนี้ก่อน ยกเว้น ลูกหนี้ล้มละลายหรือติดต่อไม่ได้
#ResponsibleLending #แก้หนี้ยั่งยืน #เจ้าหนี้รับผิดชอบ #ลูกหนี้มีวินัย
มีหนี้กับหลายเจ้าหนี้จะทำอย่างไร?
เคยปรับโครงสร้างหนี้แล้วขอปรับซ้ำได้ไหม?
หมายเหตุ: เกณฑ์ Responsible Lending ลูกหนี้มีสิทธิขอปรับโครงสร้างหนี้ ก่อนเป็นหนี้เสีย อย่างน้อย 1 ครั้ง และหลังเป็นหนี้เสีย อย่างน้อย 1 ครั้ง โดยนับรวมการปรับโครงสร้างหนี้ก่อน 1 ม.ค. 67
สัญญาณปัญหาหนี้
สัญญาณว่าลูกหนี้กำลังมีปัญหา เช่น จ่ายขั้นต่ำ จ่ายช้า กดบัตรเงินสดมาจ่ายคืนหนี้อื่น รายได้ไม่พอรายจ่าย ถ้าเห็นสัญญาณแบบนี้ไปคุยกับเจ้าหนี้ได้เลย !!
หมายเหตุ: สนใจติดต่อ Call center และสาขาของธนาคารที่ท่านใช้บริการ