ความเป็นมาและวิสัยทัศน์

ความเป็นมาและวิสัยทัศน์

ความเป็นมา

จากแผนกลยุทธ์ระบบการชำระเงินฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559) และแผนกลยุทธ์ระบบการชำระเงินฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2562-2564) ที่ประกาศโดยธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้ให้ความสำคัญในการพัฒนาระบบการชำระเงินของประเทศ โดยดำเนินงานอย่างต่อเนื่องจากแผนกลยุทธ์ระบบการชำระเงินฉบับก่อนหน้านี้ รวมถึงแผนกลยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานระบบการชำระเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติ (National e-Payment Master Plan) ได้ดำเนินการขับเคลื่อนแผนงานผ่านความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สมาคมธนาคารไทย (TBA) สมาคมธนาคารนานาชาติ (AIB) สมาคมสถาบันการเงินของรัฐ (GFA) สมาคมการค้าผู้ให้บริการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ไทย (TEPA) หน่วยงานภาครัฐ และภาคธุรกิจ ซึ่งจะทำให้สามารถผลักดันแผนงานให้บรรลุวัตถุประสงค์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ


สำนักงานระบบการชำระเงิน สมาคมธนาคารไทย (Payment System Office : PSO) จัดตั้งขึ้นด้วยมติความเห็นชอบจากคณะกรรมการระบบการชำระเงิน (กรช.) และคณะกรรมการขับเคลื่อนตามแผนยุทธศาสตร์ National e-Payment เมื่อปี พ.ศ. 2557 เพื่อทำหน้าที่ขับเคลื่อนการปฏิบัติตาม Payment System Roadmap การ Monitor Industry และแนวโน้มของเทคโนโลยี

วิสัยทัศน์

เพื่อเสนอแนะทิศทาง และผลักดันการพัฒนาระบบการชำระเงินให้สอดคล้องกับแผนกลยุทธ์ระบบการชำระเงิน และได้ร่วมดำเนินการผลักดันการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือ Digital Payment ของธนาคารให้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยคำนึงถึงความมั่นคงปลอดภัยและได้มาตรฐานสากล ซึ่งจะเห็นได้ว่าสำนักงานระบบการชำระเงินได้ร่วมมือกับธนาคารสมาชิกและภาครัฐมาอย่างต่อเนื่อง

บทบาทและความรับผิดชอบ

  1. ผลักดันให้มีการดำเนินงานตามแผนระบบการชำระเงิน และแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานระบบการชำระเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติ
  2. กำหนดแผนงานของระบบการชำระเงิน โดยติดตามแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยี  สนับสนุนการวิจัยด้านกฎระเบียบต่าง ๆ ที่จำเป็นในการวิเคราะห์ปัจจัยสนับสนุนระบบการชำระเงิน
  3. การประสานงานกับกลุ่มผู้มีส่วนร่วมในระบบการชำระเงิน เพื่อลดข้อขัดแย้งและอุปสรรคในการพัฒนาระบบการชำระเงิน
  4. พัฒนาสำนักงานระบบการชำระเงินให้เป็นสำนักงานที่ได้รับความเชื่อถือ และสร้างบรรยากาศการดำเนินงานที่จูงใจให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องมุ่งมั่นในการพัฒนาระบบการชำระเงินของชาติให้บรรลุจุดมุ่งหมายการเป็นผู้นำในภูมิภาคอาเซียนในระยะยาว

ความเป็นมา

จากแผนกลยุทธ์ระบบการชำระเงินฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559) และแผนกลยุทธ์ระบบการชำระเงินฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2562-2564) ที่ประกาศโดยธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้ให้ความสำคัญในการพัฒนาระบบการชำระเงินของประเทศ โดยดำเนินงานอย่างต่อเนื่องจากแผนกลยุทธ์ระบบการชำระเงินฉบับก่อนหน้านี้ รวมถึงแผนกลยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานระบบการชำระเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติ (National e-Payment Master Plan) ได้ดำเนินการขับเคลื่อนแผนงานผ่านความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สมาคมธนาคารไทย (TBA) สมาคมธนาคารนานาชาติ (AIB) สมาคมสถาบันการเงินของรัฐ (GFA) สมาคมการค้าผู้ให้บริการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ไทย (TEPA) หน่วยงานภาครัฐ และภาคธุรกิจ ซึ่งจะทำให้สามารถผลักดันแผนงานให้บรรลุวัตถุประสงค์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ


สำนักงานระบบการชำระเงิน สมาคมธนาคารไทย (Payment System Office : PSO) จัดตั้งขึ้นด้วยมติความเห็นชอบจากคณะกรรมการระบบการชำระเงิน (กรช.) และคณะกรรมการขับเคลื่อนตามแผนยุทธศาสตร์ National e-Payment เมื่อปี พ.ศ. 2557 เพื่อทำหน้าที่ขับเคลื่อนการปฏิบัติตาม Payment System Roadmap การ Monitor Industry และแนวโน้มของเทคโนโลยี

วิสัยทัศน์

เพื่อเสนอแนะทิศทาง และผลักดันการพัฒนาระบบการชำระเงินให้สอดคล้องกับแผนกลยุทธ์ระบบการชำระเงิน และได้ร่วมดำเนินการผลักดันการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือ Digital Payment ของธนาคารให้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยคำนึงถึงความมั่นคงปลอดภัยและได้มาตรฐานสากล ซึ่งจะเห็นได้ว่าสำนักงานระบบการชำระเงินได้ร่วมมือกับธนาคารสมาชิกและภาครัฐมาอย่างต่อเนื่อง

บทบาทและความรับผิดชอบ

  1. ผลักดันให้มีการดำเนินงานตามแผนระบบการชำระเงิน และแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานระบบการชำระเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติ
  2. กำหนดแผนงานของระบบการชำระเงิน โดยติดตามแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยี  สนับสนุนการวิจัยด้านกฎระเบียบต่าง ๆ ที่จำเป็นในการวิเคราะห์ปัจจัยสนับสนุนระบบการชำระเงิน
  3. การประสานงานกับกลุ่มผู้มีส่วนร่วมในระบบการชำระเงิน เพื่อลดข้อขัดแย้งและอุปสรรคในการพัฒนาระบบการชำระเงิน
  4. พัฒนาสำนักงานระบบการชำระเงินให้เป็นสำนักงานที่ได้รับความเชื่อถือ และสร้างบรรยากาศการดำเนินงานที่จูงใจให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องมุ่งมั่นในการพัฒนาระบบการชำระเงินของชาติให้บรรลุจุดมุ่งหมายการเป็นผู้นำในภูมิภาคอาเซียนในระยะยาว