บริการ

บริการ

บริการ

• ระบบการชำระเงิน (Payment)

  1.   Thai QR Code
  2.   BOT QR Payment
  3.   Thai Bank Chip Card Scheme (TBCC)


• ระบบการโอนเงิน (Remittance)

  1.   การโอนเงินภายในประเทศ
  2. การโอนเงินต่างประเทศ

• Digital Transformation

  1. PromptBiz
  2. National Digital ID (NDID)


Thai QR Code


สำนักงานระบบการชำระเงิน สมาคมธนาคารไทย ร่วมกับธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) โดยการหารือร่วมกันระหว่างสมาคมสถาบันการเงินของรัฐ สมาคมธนาคารนานาชาติ สมาคมการค้าผู้ให้บริการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ไทย และหน่วยงานสมาชิก ได้ร่วมกันกำหนดมาตรฐาน Thai QR Code (Thai Quick Response Code - TQRC) สำหรับเป็นมาตรฐานเดียวกันเพื่อใช้ในการชำระเงินหรือโอนเงินในประเทศไทย โดยยึดแนวปฏิบัติและมาตรฐานสากล QR Code ของบริษัท EMVCo เพื่อให้มีการปฏิบัติที่ถูกต้อง ตรงตามวัตถุประสงค์ จึงได้มีการกำหนดรายละเอียด ปฏิบัติในเรื่องของ Business Rule นี้ไว้เพื่อถือปฏิบัติร่วมกัน


ทั้งนี้ มาตรฐานนี้สามารถเปลี่ยนแปลงและแก้ไขได้ในอนาคตเพื่อรองรับบริการพิเศษอื่นและรูปแบบการชำระเงินสมัยใหม่ในอนาคต นอกเหนือจากการชำระเงินหรือโอนเงินผ่านบริการพร้อมเพย์ โดยขอให้ประสานงานกับ ธปท. สำนักงานระบบการชำระเงิน (PSO) สมาคมธนาคารไทย เพื่อปรับปรุงมาตรฐาน QR Code ในธุรกรรมการชำระเงิน (Thai QR Code Payment Standard) ในรูปแบบต่าง ๆ ต่อไป


กรณีธนาคารหรือผู้ให้บริการที่ยังไม่ได้เข้าร่วมระบบพร้อมเพย์ ควรประยุกต์ใช้มาตรฐานนี้ ตามความเหมาะสมกับลักษณะธุรกิจและประเภทของบริการชำระเงินหรือโอนเงินของตนเอง โดยสามารถหารือกับ PSO หรือ ธปท. เป็นรายกรณีไป

BOT QR Payment


ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และคณะอนุกรรมการความร่วมมือเพื่อการชำระเงินแห่งชาติ (อชช.) ซึ่งประกอบด้วย ธนาคารพาณิชย์ และบริษัทไปรษณีย์ไทย จำกัด ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน ได้ร่วมกันกำหนดบาร์โค้ดมาตรฐานสำหรับการชำระเงินที่ใช้บนเอกสารการชำระเงินต่าง ๆ เช่น ใบแจ้งหนี้ค่าไฟฟ้า น้ำประปา โทรศัพท์ ซึ่งประกอบด้วยข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในการชำระเงินตามจุดรับชำระเงินทั้งภาครัฐและภาคเอกชนรวมทั้งธนาคาร


ธปท. ได้กำหนดแนวนโยบายการใช้มาตรฐาน BOT QR Code ในธุรกรรมการชำระเงิน (Policy Guideline : Standardized Thai QR Code for Payment Transactions) เพื่อให้ผู้ให้บริการธุรกรรมชำระเงินในประเทศไทยใช้มาตรฐาน BOT QR Code ในการชำระเงินที่สอดคล้องกับมาตรฐานสากล เพิ่มช่องทางการชำระเงินที่สะดวกและมีต้นทุนการรับชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ต่ำลง เพิ่มความสะดวกและปลอดภัยในการชำระเงิน และสามารถต่อยอดนวัตกรรมทางการเงินและบริการชำระเงินสมัยใหม่ได้ในอนาคต


มาตรฐาน QR Code เพื่อการชำระเงินค่าสินค้าและบริการตามใบแจ้งหนี้ ซึ่งอ้างอิงตามแนวปฏิบัติในการจัดทำ Code สำหรับการชำระเงินและการโอนเงิน ลงวันที่ 31 มีนาคม 2560 โดยสามารถรองรับข้อมูลประกอบการชำระเงินอื่น เช่น ข้อมูลสำหรับการจัดทำใบเสร็จรับเงินและใบกำกับภาษี

Thai Bank Chip Card Scheme (TBCC)


ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้มีนโยบายในการปรับปรุงมาตรฐานระบบการชำระเงินของประเทศ เพื่อช่วยพัฒนาบริการทางการเงินให้เท่าทันมาตรฐานสากล โดยเฉพาะการชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ที่เป็นที่ยอมรับในอนาคต ด้วยเหตุนี้ทาง ธปท. จึงพิจารณาเห็นควรให้มีการกำหนดให้บัตรเดบิตที่ออกและมีการใช้จ่ายภายในประเทศต้องใช้มาตรฐานชิปการ์ดกลางที่เป็นมาตรฐานของประเทศไทย เพื่อให้มีความปลอดภัยเทียบเท่ามาตรฐานสากล รวมถึงกำหนดมาตรฐานของอุปกรณ์ต่าง ๆ ให้รองรับมาตรฐานไทย (Thai Standard)ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ประเภทดังนี้

  1. Local Debit
  2. Multi-Brand Debit คือ VISA+TBCC, Mastercard+TBCC และ UPI+TBCC
    โดยในปี 2558 ทาง ธปท. ได้กำหนดมาตรฐานชิปการ์ดกลางสำหรับบัตรเดบิตขึ้น และให้จัดตั้ง Thai Bank Chip Card Council (TBCC) โดยสำนักงานระบบการชำระเงิน(PSO) สมาคมธนาคารไทยเป็นผู้ดูแลหลัก และประกอบไปด้วย สมาชิกธนาคารพาณิชย์และธนาคารภาครัฐ และมีหน้าที่โดยสรุปคือ
    1. พิจารณาดูแลมาตรฐานชิปการ์ด ที่นำมาใช้ในประเทศไทย
    2. กำหนดและดูแลมาตรฐาน CA (Certification Authority)
    3. กำหนดมาตรฐาน BIN (Bank Identification Number) และ IIN (Issuer Identification Number) และ AID (Application Identifier)
    4. กำหนดและควบคุมมาตรฐาน Chip Certification, Card Certification
    5. กำหนดและดูแล Local card Brand


ซึ่งสถาบันการเงิน จะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไข Sub License Agreement (SLA) ที่ได้กำหนดไว้ร่วมกัน และเพื่อพิจารณาให้ความเห็น สำหรับหน่วยงานหรือองค์กร ที่จะขออนุมัติบัตรเดบิต ตามมาตรฐาน TBCC เพื่อยกระดับความปลอดภัยในการให้บริการการชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ ตลอดจนสร้างความเชื่อมั่นต่อระบบการเงินและระบบการชำระเงินของประเทศ และเพื่อพิจารณาให้ความเห็นสำหรับหน่วยงานหรือองค์กร ที่จะขออนุมัติบัตรเดบิตตามมาตรฐาน TBCC เพื่อยกระดับความปลอดภัยในการให้บริการการชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ ตลอดจนสร้างความเชื่อมั่นต่อระบบการเงินและระบบการชำระเงินของประเทศ


ทั้งนี้ทางกระทรวงการคลังและ ธปท. ได้มีประกาศ เรื่องกำหนดระบบการชำระเงินออกเป็นหลักเกณฑ์การกำกับดูแลการชำระเงินที่มีความสำคัญเพื่อรองรับระบบมาตรฐานกลางนี้แล้ว ครอบคลุมถึงความสำคัญกับหลักเกณฑ์การกำกับดูแลให้มีความเท่าเทียมกัน เพื่อส่งเสริมประสิทธิภาพการแข่งขันของระบบการชำระเงินภายในประเทศ ผลักดันให้สถาบันการเงินออกบัตรเดบิตให้กับประชาชน ได้ใช้กันมากขึ้น เพื่อเป็นไปตามแผนยุทธศาสตร์ ส่งเสริมการใช้ระบบการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศ (National e-Payment)

ORFT


การโอนเงินรายย่อยระหว่างธนาคาร (ORFT: On-line Retail Funds Transfer) เป็นบริการที่ผู้โอนเงินสามารถโอนเงินให้ผู้รับเงินที่มีบัญชีอยู่ต่างธนาคารได้ผ่านช่องทางต่าง ๆ ได้แก่ เครื่อง ATM เคาน์เตอร์สาขาธนาคาร หรือบริการ Internet banking โดยผู้รับเงินจะสามารถเบิกเงินในบัญชีได้ทันทีภายหลังจากที่ผู้โอนเงินทำรายการสำเร็จ ทั้งนี้ การโอนเงินผ่านบริการดังกล่าว จะใช้ได้เฉพาะในกลุ่มของธนาคารที่เป็นสมาชิกของแต่ละระบบเท่านั้น

    1. โอนผ่านเครื่อง ATM หรือเรียกว่า ATM ORFT ผู้โอนเงินสามารถทำรายการโอนเงินให้ผู้รับโอนเงินด้วยบัตร ATM ที่เครื่อง ATM ของธนาคารที่ผู้โอนเงินหรือผู้รับโอนเงินมีบัญชีอยู่ โดยระบุหมายเลขบัญชีผู้รับโอน และจำนวนเงินที่จะโอนซึ่งสูงสุดไม่เกิน 30,000 บาทต่อครั้ง แล้วผู้โอนจะได้ ATM Slip เก็บไว้เป็นหลักฐาน และบางธนาคารจะแจ้งผู้รับโอนทาง SMS ด้วย ข้อดีของการโอนแบบ ATM ORFT ผู้โอนสามารถทำรายการจากเครื่อง ATM ได้ โดยไม่ต้องเสียเวลาเดินทางไปโอนเงินที่สาขาธนาคาร และไม่ต้องเสียเวลารอคิวหรือรอวัน/เวลาที่ธนาคารเปิดทำการเป็นวิธีโอนเงินที่ปลอดภัย ไม่ต้องเสี่ยงกับการที่ต้องพกพาเงินสดไปที่ธนาคารค่าธรรมเนียมเท่ากันทั่วประเทศ ไม่ว่าจะเป็นการโอนเงินภายในจังหวัดเดียวกันหรือข้ามจังหวัดโอนเงิน
    2. โอนผ่านเคาน์เตอร์สาขาของธนาคาร หรือเรียกว่า Counter ORFT ผู้โอนเงินสามารถทำรายการโอนเงินที่เคาน์เตอร์สาขาของธนาคารที่เปิดให้บริการ โดยผู้โอนเงิน ไม่จำเป็นต้องมีบัญชีเงินฝากกับธนาคารนั้นก็ได้ ซึ่งโอนได้สูงสุดไม่เกิน 100,000 บาทต่อครั้ง แล้วผู้โอนจะได้ใบบันทึกรายงานโอนเงิน (Pay-in Slip) เก็บไว้เป็นหลักฐาน ข้อดีของการโอนแบบ Counter ORFT ผู้โอนเงินไม่จำเป็นต้องเปิดบัญชีกับธนาคาร โดยสามารถใช้บริการที่ธนาคารใดก็ได้ที่เป็นสมาชิกในระบบโอนเงิน
    3. โอนผ่าน Internet banking หรือ Internet ORFT ผู้โอนเงินสามารถทำรายการโอนเงินผ่านระบบอินเทอร์เน็ต ซึ่งผู้โอนเงินต้องเปิดบัญชีธนาคารไว้ ซึ่งโอนได้สูงสุด 100,000 บาทต่อครั้ง และยืนยันการทำรายการด้วยการระบุรหัส OTP (One-Time Password) ที่ธนาคารแจ้งทาง SMS ในแต่ละครั้ง ข้อดีของการใช้บริการโอนเงินแบบ Internet ORFT ผู้โอนสามารถทำรายการโอนได้ตลอด 24 ชั่วโมงจากสถานที่ใดก็ได้ที่สามารถเชื่อมต่อระบบอินเทอร์เน็ตได้ โดยไม่ต้องเสียเวลาเดินทางไปโอนเงินที่สาขาธนาคาร และไม่ต้องเสียเวลารอคิวหรือรอวัน/เวลาที่ธนาคารเปิดทำการ นอกจากนี้ ผู้โอนยังสามารถทำรายการเพื่อสั่งโอนล่วงหน้า หรือสั่งโอนที่มีความถี่เป็นประจำได้เป็นวิธีโอนเงินที่ปลอดภัย ไม่ต้องเสี่ยงกับการที่ต้องพกพาเงินสดไปที่ธนาคารเรียกดูประวัติและรายละเอียดการโอนย้อนหลังได้


ข้อควรระวังในการใช้บริการโอนเงิน ORFT ควรตรวจสอบเลขที่บัญชีผู้รับเงิน ชื่อผู้รับเงิน และจำนวนเงินที่โอนให้ถูกต้องก่อนยืนยันการทำรายการควรศึกษาเงื่อนไขเกี่ยวกับจำนวนเงินสูงสุดที่โอนได้ต่อครั้ง และค่าธรรมเนียมในการใช้บริการผ่านช่องทางต่าง ๆ เพื่อให้สามารถเลือกใช้ช่องทางได้อย่างเหมาะสม และประหยัดค่าธรรมเนียมได้มากที่สุด เช่น ATM ORFT สามารถทำรายการโอนเงิน ครั้งละไม่เกิน 30,000 บาท กรณีต้องการโอนเงินเกินกว่า 30,000 บาท สามารถทำรายการหลาย ๆ ครั้งได้ (เช่น ต้องการโอนเงิน 60,000 บาท สามารถทำรายการ 2 ครั้ง มีค่าธรรมเนียมครั้งละ 35 บาท รวมเป็น 70 บาท) อย่างไรก็ดี บัตรเอทีเอ็มหรือบัตรเดบิตแต่ละใบมีการกำหนดจำนวนเงินโอนสูงสุดที่โอนได้ต่อวันแตกต่างกันไปกรณีใช้บริการการโอนผ่าน Internet Banking ควรตรวจสอบเลขที่บัญชีซึ่งปรากฎใน SMS ที่แจ้งรหัส OTP เพื่อให้แน่ใจว่าเป็นหมายเลขบัญชีที่ต้องการโอน ก่อนทำรายการโอน รวมทั้งควรมีการอัพเดท Anti-virus software อยู่เสมอ

พร้อมเพย์ (PromptPay)


พร้อมเพย์ เป็นบริการทางเลือกใหม่ให้ภาคประชาชน ภาคธุรกิจ และหน่วยงานต่าง ๆ ภายใต้แผนกลยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานระบบการชำระเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติ (National e-Payment Master Plan) ของรัฐบาล เป็นการให้บริการระบบการโอนเงินแบบ Online Real time โดยมีแนวคิดการพัฒนารูปแบบการใช้ข้อมูล Proxy ID พื้นฐาน 3 ประเภท ได้แก่ หมายเลขบัตรประชาชน (National ID) หมายเลขโทรศัพท์มือถือ (Mobile no.) และ e-wallet ID เพื่อทำรายการชำระเงินหรือโอนเงินระหว่างธนาคารได้ โดยธนาคารผู้โอนจะตัดบัญชีลูกค้าผู้โอนเงิน เพื่อไปเข้าบัญชีผู้รับโอนที่อยู่ต่างธนาคารและผู้รับโอนเงินจะได้รับเงินทันทีเมื่อทำรายการเรียบร้อยแล้ว โดยแนวทางการดำเนินการ คือ การสร้าง Centralized Registration Database เพื่อให้ประชาชนสามารถลงทะเบียนเพื่อผูก PromptPay ID กับเลขที่บัญชีธนาคารผ่านช่องทางของสถาบันการเงินต่าง ๆ เช่น Branch, ATM, Call Center, Internet Banking และ Mobile Banking เมื่อลูกค้าทำรายการโอนเงินผ่านช่องทางต่างๆ ของธนาคารเข้ามา ระบบจะทำการค้นหาหมายเลขบัญชีเงินฝากธนาคารของผู้รับโอนเงินปลายทางที่ผูกไว้กับ PromptPay ID นั้นในฐานข้อมูลกลาง ที่ลูกค้าได้ลงทะเบียนไว้แล้ว ก่อนทำการโอนเงินไปเข้าบัญชีผู้รับโอนที่มีบัญชีอยู่ธนาคารปลายทาง


พร้อมเพย์ จึงเป็นบริการทางเลือกใหม่ ใช้ในการโอนเงินและรับเงิน เป็นบริการเพิ่มจากการโอนเงินแบบเดิม มีความสะดวกมากขึ้น เพราะบริการพร้อมเพย์จะใช้เลขประจำตัวประชาชน หรือหมายเลขโทรศัพท์มือถือของผู้รับเงินแทนได้ ทำให้สะดวกและง่ายต่อการจดจำ จากเดิมที่ต้องรู้เลขที่บัญชีเงินฝากธนาคารจึงจะโอนเงินให้ได้



ลักษณะ

  • เป็นการชำระเงินแบบ Online / Real-time Payment
  • มีการจำกัดวงเงินต่อรายการหรือต่อวันตามเกณฑ์ของแต่ละธนาคารที่ให้บริการโดยไม่เกิน 2 ล้านบาท

Bulk Payment (SMART)


เป็นบริการสำหรับรายการโอนเงินระหว่างธนาคารที่มีจำนวนเงินไม่สูง แต่มีปริมาณรายการจำนวนมาก และผู้รับโอนที่อยู่ต่างธนาคารจะได้รับเงินในวันไหนนั้น ขึ้นอยู่กับการเลือกใช้บริการแบบ Same Day (DC2) หรือ Next Day (DC3)เช่น

  • จ่ายเงินเดือน ค่าจ้าง บำนาญ เข้าบัญชีพนักงานหรือลูกจ้าง
  • จ่ายเงินปันผลของบริษัทเข้าบัญชีผู้ถือหุ้น
  • จ่ายคืนภาษีของกรมสรรพากร
  • จ่ายดอกเบี้ยตราสารต่าง ๆ

Bulk Payment Same Day (DC2) เป็นการโอนเงินจากลูกค้าของธนาคารหนึ่ง ไปเข้าบัญชีของลูกค้าอีกธนาคารหนึ่ง ซึ่งลูกค้าจะได้รับเงินในวันที่โอนเงิน ซึ่งเพิ่มความสะดวกให้ลูกค้ามากขึ้นไม่ต้องรอรับเงินในวันทำการถัดไป ประเภทของรายการเหมือนกับการใช้ Bulk Payment Credit Next Day


Bulk Payment Next Day (DC3) เป็นการโอนเงินจากลูกค้าของธนาคารหนึ่ง ไปเข้าบัญชีของลูกค้าอีกธนาคารหนึ่ง ซึ่งลูกค้าจะได้รับเงินในวันทำการถัดไป นับจากวันที่โอนเงิน



ลักษณะ

  • เป็นการชำระเงินแบบ Batch / Bulk Payment ส่งคำสั่งทีละหลายรายการเป็นไฟล์
  • มีการกำหนดวงเงินต่อรายการไม่เกิน 2 ล้านบาท

BAHTNET


ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้พัฒนาระบบบาทเนต (Bank of Thailand Automated High-value Transfer Network : BAHTNET) เป็นโครงสร้างพื้นฐานทางการเงินเพื่อรองรับการโอนเงินมูลค่าสูงระหว่างสถาบันการเงินและสถาบันที่มีบัญชีเงินฝากกับ ธปท. ในลักษณะ Real-Time Gross Settlement (RTGS) และเริ่มให้บริการตั้งแต่วันที่ 24 พฤษภาคม 2538 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยลดความเสี่ยงในการชำระดุลระหว่างสถาบันการเงินที่มีบัญชีเงินฝากกับ ธปท. และเพื่อให้การโอนเงินสำหรับบุคคลที่สามมีประสิทธิภาพ รวดเร็ว และปลอดภัย ทั้งนี้ ก่อนที่จะมีบริการระบบบาทเนต การชำระเงินระหว่างสถาบันการเงินส่วนใหญ่จะดำเนินการโดยการใช้เช็ค ซึ่งผู้รับโอนเงินจะไม่ได้รับเงินทันทีเนื่องจากต้องผ่านกระบวนการเรียกเก็บและการชำระเงินระหว่างธนาคารผู้สั่งจ่ายและธนาคารผู้รับโอนก่อน ผู้รับโอนเงินจึงยังคงมีความเสี่ยง เนื่องจากการชำระเงินไม่ได้มีผลสิ้นสุดทันที (finality) ซึ่งอาจนำไปสู่ความเสี่ยงของระบบการชำระเงินโดยรวมได้


ผู้ใช้บริการบาทเนตสามารถเชื่อมโยงกับระบบบาทเนต ได้ 2 ช่องทาง ได้แก่

  1. การเชื่อมโยงและรับส่งข้อความผ่านเครือข่าย S.W.I.F.T ซึ่งเป็นเครือข่ายสากลที่ใช้ในการส่งข้อความทางการเงิน ผู้ใช้บริการจะต้องส่งข้อความตามรูปแบบมาตรฐานของ S.W.I.F.T ทั้งนี้ ผู้ใช้บริการที่ใช้ระบบ S.W.I.F.T สามารถพัฒนาระบบงานภายในให้เชื่อมโยงกับ ธปท. โดยตรงในลักษณะ Straight-through Processing (STP) ได้
  2. การเชื่อมโยงและรับส่งข้อความผ่าน BOT WEB PORTAL ในระบบ Electronic Financial Service (EFS) ของ ธปท.โดยใช้บริการ BAHTNET Service และผู้ใช้บริการที่ส่งข้อความผ่านช่องทางนี้สามารถส่งข้อความตามรูปแบบที่ ธปท. ได้พัฒนาขึ้นในรูปแบบที่มีลักษณะเดียวกับรูปแบบมาตรฐานของ S.W.I.F.T เช่นเดียวกัน

อย่างไรก็ตาม ผู้ใช้บริการทุกสถาบันทั้งที่เป็นสมาชิก S.W.I.F.T. และที่ไม่เป็นสมาชิกจะต้องติดตั้ง BAHTNET Service เพื่อใช้ในการสอบถามข้อมูลที่เกี่ยวกับยอดคงเหลือหรือความเคลื่อนไหวของบัญชีเงินฝาก หรือบัญชีตราสารหนี้ รวมทั้งใช้ในการจัดการคิวสำหรับรายการที่ส่งผ่านระบบบาทเนตและการจัดการรายงานสิ้นวัน


ระบบบาทเนตเปิดให้บริการทุกวันทำการธนาคารตั้งแต่เวลา 8.30 น. ถึง17.30 น. โดยมีบริการประเภทต่าง ๆ ดังนี้


  1. การโอนเงิน (Funds Transfer) ผู้ใช้บริการสามารถสั่งโอนเงินจากบัญชีเงินฝากของตนที่ธนาคารแห่งประเทศไทยไปเข้าบัญชีเงินฝากของผู้ใช้บริการอื่นหรือโอนเงินระหว่างบัญชีของตนเองที่ธนาคารแห่งประเทศไทย
  2. การโอนเงินเพื่อบุคคลที่สาม (Third Party Funds Transfer) เป็นการโอนเงินตามคำสั่งของลูกค้าที่สั่งให้ธนาคารผู้สั่งโอนทำการโอนเงินเข้าบัญชีผู้รับผลประโยชน์ซึ่งอยู่อีกธนาคารหนึ่ง โดยการโอนเงินดังกล่าวดำเนินการภายในวันเดียวกัน (same day basis)
  3. การสอบถามข้อมูล (Inquiry) ผู้ใช้บริการสามารถใช้ระบบบาทเนตเรียกดูข้อมูลที่เกี่ยวกับบัญชีเงินฝากของตนที่ธนาคารแห่งประเทศไทย เช่น ยอดคงเหลือ ความเคลื่อนไหวในบัญชีและสอบถามรายการรับส่งข้อมูลที่รอดำเนินการและที่ดำเนินการสำเร็จแล้ว
  4. การสื่อสารระหว่างกัน (Bilateral Communication) ผู้ใช้บริการสามารถส่งข่าวสารผ่านระบบบาทเนตไปยังผู้ใช้บริการอื่น ๆ ได้ตลอดเวลาที่ระบบเปิดให้บริการ
  5. การประกาศข้อความ (Message Broadcast) โดยปกติจะเป็นการประกาศข้อความของธนาคารแห่งประเทศไทยถึงผู้ใช้บริการทั้งหมด หากผู้ใช้บริการรายใดต้องการส่งข่าวสารให้ผู้ใช้บริการทั้งหมดในระบบทราบก็สามารถขอให้ธนาคารแห่งประเทศไทย ดำเนินการประกาศให้ได้
  6. การชำระดุล (Multilateral Funds Transfer - MFT) เป็นกระบวนการโอนเงินพร้อมกันหลายฝ่ายที่ธนาคารแห่งประเทศไทยใช้ในการชำระดุลการหักบัญชีของผู้ใช้บริการ (ทำการ debit และ credit บัญชีพร้อมกัน) เช่น ดุลการหักบัญชีเช็คและดุลการโอนเงิน


แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม: https://www.bot.or.th/Thai/PaymentSystems/PSServices/bahtnet/Pages/default.aspx


Switch-to-Switch Model


เป็นแนวทางการเชื่อมโยงระบบการชำระเงินกับต่างประเทศ ที่เกิดขึ้นจาก Policy-driven โดยการสนับสนุนของธนาคารกลางทั้งสองประเทศ เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อภาคประชาชน ได้รับบริการที่มีประสิทธิภาพและต้นทุนต่ำ และผู้ให้บริการตอบโจทย์ลูกค้าได้หลากหลาย เพิ่มโอกาสทางธุรกิจ

Sponsor Bank Model


เป็นแนวทางการเชื่อมโยงระบบการชำระเงินกับต่างประเทศ ที่เกิดขึ้นจาก Business-driven โดยมีธนาคารหนึ่งเป็นผู้ให้บริการเชื่อมโยงกับธนาคารหรือผู้ให้บริการชำระเงินในต่างประเทศ

SWIFT


เป็นบริการโอนเงินผ่านธนาคารที่เป็นสมาชิกระบบด้วย SWIFT Code ซึ่งเป็นรหัสที่ใช้สำหรับระบุธนาคาร และสาขาของธนาคารทั่วโลก (Bank Identifier Code) ใช้ในการโอนเงินระหว่างธนาคาร โดยเฉพาะระหว่างประเทศ เพื่อความสะดวกรวดเร็ว รหัสของมาตรฐานนี้มักเรียกกันว่า BIC code หรือ SWIFT Code โดยธนาคารมีช่องทางการให้บริการโอนเงินไปต่างประเทศผ่านทาง Mobile Banking, Internet Banking การทำธุรกรรม ง่าย สะดวกสบาย ปลอดภัย และที่สำคัญไม่ต้องเดินทางไปที่สาขาธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดวงเงินสูงสุดที่สามารถโอนจากประเทศไทยได้ โดยขึ้นอยู่กับแหล่งที่มาของเงิน และ/หรือวัตถุประสงค์ของการโอนเงิน รวมถึงเอกสารประกอบ เช่น ชำระค่าสินค้าและบริการ เอกสารประกอบ คือ ใบแจ้งราคาสินค้า เป็นต้น

PromptBiz


Smart Financial Infrastructure and Payment for Business หรือ PromptBiz เป็นโครงสร้างพื้นฐานการชำระเงินและการค้าสำหรับภาคธุรกิจ เพื่อสนับสนุนการชำระเงิน และการทำธุรกรรมการค้าภายในประเทศทำให้ข้อมูลต่าง ๆ ได้ถูกเชื่อมโยง มีความสอดคล้องกับมาตรฐานสากล สามารถต่อยอดนวัตกรรม และเพิ่มการเข้าถึงแหล่งเงินทุนของภาคธุรกิจ

National Digital ID (NDID)


National Digital ID (NDID) Platform อยู่ภายใต้การควบคุมของบริษัท เนชั่นแนลดิจิทัล ไอดี จำกัด (National Digital ID Co., Ltd.: NDID) เป็นบริษัทร่วมทุนระหว่าง ธนาคารพาณิชย์ไทย บริษัทหลักทรัพย์ บริษัทจัดการกองทุน บริษัทประกันชีวิต บริษัทประกันวินาศภัย บริษัทผู้ให้บริการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย บริษัทไปรษณีย์ไทย ซึ่งแต่ละบริษัทอยู่ภายใต้การกำกับ จึงมั่นใจได้ว่าหน่วยงานที่กำกับและบริษัทเหล่านั้นต้องปฏิบัติตามกฏหมายและกฏเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องเรื่องความปลอดภัยของข้อมูล


NDID Platform คือ Platform กลางใช้ในการเป็นโครงสร้างพื้นฐานของการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล เพื่อเชื่อมโยงหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนเข้าด้วยกัน เป็นระบบกลางสำหรับบริหารจัดการ Digital ID เพื่อสนับสนุนกระบวนการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ของบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล เช่น การตรวจพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล (e-KYC) การลงนามด้วยลายมือชื่อดิจิทัล (e-Signature) การให้ความยินยอมในการเปิดเผยข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-Consent) เป็นการสร้างมาตรฐานและยกระดับการทำธุรกรรมต่าง ๆ ให้มีความน่าเชื่อถือมากขึ้น อีกทั้งยังเป็นการสร้างระบบ Data Sharing โดยทำหน้าที่เชื่อมต่อข้อมูลของหน่วยงานต่าง ๆ อย่างไรก็ตามการ Data Sharing ดังกล่าวต้องได้รับการยินยอมจากเจ้าของข้อมูลก่อนจึงจะสามารถเชื่อมต่อข้อมูลได้


หลักการออกแบบป็นแบบ Data Security and Privacy by Design เป็นบริการที่มีความปลอดภัยสูงด้วยการเข้ารหัสในการรับส่งข้อมูล และระบบไม่มีการรวมศูนย์เก็บข้อมูล ข้อมูลยังคงอยู่กับหน่วยงานที่ดูแลข้อมูลและให้บริการลูกค้า ระบบถูกออกแบบภายใต้แนวคิด Decentralized ด้วยเทคโนโลยี Blockchain



องค์ประกอบสำคัญ NDID Platform คือ

  1. RP (Relying Party)
    หน่วยงานซึ่งเป็นผู้ให้บริการโดยตรงกับลูกค้า และต้องการระบบยืนยันตัวตน โดยให้บริการลูกค้าได้ทั้ง F2F (Face to Face) และ NonF2F ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ต้องการรับบริการรูปแบบใหม่ เพื่อให้สามารถหาลูกค้าใหม่ได้มากขึ้น พร้อมทั้งช่วยในการลดต้นทุนการบริการ
  2. IdP (Identity Provider)
    หน่วยงานซึ่งมีหน้าที่พิสูจน์และยืนยันตัวตนของผู้ขอใช้บริการ ซึ่งจะต้องปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ของธนาคารแห่งประเทศไทยและสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) โดยสามารถออกสิ่งที่ใช้ยืนยันตัวตนได้ เช่น Mobile Banking หน่วยงานเหล่านี้ได้แก่ ธนาคาร และบริษัทโทรคมนาคม
  3. AS (Authoritative Source)
    หน่วยงานที่มีข้อมูลส่วนบุคคลที่น่าเชื่อถือของผู้ขอใช้บริการ เช่น ธนาคาร บริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติ (NDB) และหน่วยงานรัฐ

ประโยชน์

  1. ลดความยุ่งยาก ซับซ้อนในการพิสูจน์และยืนยันตัวตนที่เปลืองทรัพยากรเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นเวลาและแรงงาน
  2. ช่วยอำนวยความสะดวกให้ผู้รับบริการสามารถทำธุรกรรมต่าง ๆ ได้อย่างสะดวก รวดเร็ว ประหยัดเวลา และไม่ต้องมีหลาย ID
  3. ยกระดับการทำธุรกรรมของประเทศไทยให้มีความปลอดภัยสูงตามมาตรฐานสากล โดยมีความปลอดภัยสูงกว่าการทำธุรกรรมที่มีการพิสูจน์และยืนยันตัวตนด้วยสำเนาบัตรประชาชน


NDID Platform ไม่ใช่ระบบเก็บข้อมูลรวมศูนย์ ข้อมูลส่วนบุคคลยังคงเก็บอยู่ที่ RP, IdP และ AS ดังนั้น NDID จึงไม่เห็นข้อมูลการทำธุรกรรม เป็นการเก็บแค่ข้อมูล Timestamp บนระบบ Blockchain ว่าสมาชิกมีการร้องขอการพิสูจน์และยืนยันตัวตนไปที่ IdP และ AS มีการส่งข้อมูลกลับไปยัง RP สำหรับการส่งข้อมูลจาก AS กลับมายัง RP เป็นการส่งนอก NDID Platform แต่รับส่งกันด้วยมาตรฐานที่ NDID เป็นผู้ออกแบบให้ จึงมั่นใจได้ว่า NDID จะไม่เห็นข้อมูลใด ๆ ของลูกค้า

บริการ

• ระบบการชำระเงิน (Payment)

  1.   Thai QR Code
  2.   BOT QR Payment
  3.   Thai Bank Chip Card Scheme (TBCC)


• ระบบการโอนเงิน (Remittance)

  1.   การโอนเงินภายในประเทศ
  2. การโอนเงินต่างประเทศ

• Digital Transformation

  1. PromptBiz
  2. National Digital ID (NDID)


Thai QR Code


สำนักงานระบบการชำระเงิน สมาคมธนาคารไทย ร่วมกับธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) โดยการหารือร่วมกันระหว่างสมาคมสถาบันการเงินของรัฐ สมาคมธนาคารนานาชาติ สมาคมการค้าผู้ให้บริการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ไทย และหน่วยงานสมาชิก ได้ร่วมกันกำหนดมาตรฐาน Thai QR Code (Thai Quick Response Code - TQRC) สำหรับเป็นมาตรฐานเดียวกันเพื่อใช้ในการชำระเงินหรือโอนเงินในประเทศไทย โดยยึดแนวปฏิบัติและมาตรฐานสากล QR Code ของบริษัท EMVCo เพื่อให้มีการปฏิบัติที่ถูกต้อง ตรงตามวัตถุประสงค์ จึงได้มีการกำหนดรายละเอียด ปฏิบัติในเรื่องของ Business Rule นี้ไว้เพื่อถือปฏิบัติร่วมกัน


ทั้งนี้ มาตรฐานนี้สามารถเปลี่ยนแปลงและแก้ไขได้ในอนาคตเพื่อรองรับบริการพิเศษอื่นและรูปแบบการชำระเงินสมัยใหม่ในอนาคต นอกเหนือจากการชำระเงินหรือโอนเงินผ่านบริการพร้อมเพย์ โดยขอให้ประสานงานกับ ธปท. สำนักงานระบบการชำระเงิน (PSO) สมาคมธนาคารไทย เพื่อปรับปรุงมาตรฐาน QR Code ในธุรกรรมการชำระเงิน (Thai QR Code Payment Standard) ในรูปแบบต่าง ๆ ต่อไป


กรณีธนาคารหรือผู้ให้บริการที่ยังไม่ได้เข้าร่วมระบบพร้อมเพย์ ควรประยุกต์ใช้มาตรฐานนี้ ตามความเหมาะสมกับลักษณะธุรกิจและประเภทของบริการชำระเงินหรือโอนเงินของตนเอง โดยสามารถหารือกับ PSO หรือ ธปท. เป็นรายกรณีไป

BOT QR Payment


ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และคณะอนุกรรมการความร่วมมือเพื่อการชำระเงินแห่งชาติ (อชช.) ซึ่งประกอบด้วย ธนาคารพาณิชย์ และบริษัทไปรษณีย์ไทย จำกัด ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน ได้ร่วมกันกำหนดบาร์โค้ดมาตรฐานสำหรับการชำระเงินที่ใช้บนเอกสารการชำระเงินต่าง ๆ เช่น ใบแจ้งหนี้ค่าไฟฟ้า น้ำประปา โทรศัพท์ ซึ่งประกอบด้วยข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในการชำระเงินตามจุดรับชำระเงินทั้งภาครัฐและภาคเอกชนรวมทั้งธนาคาร


ธปท. ได้กำหนดแนวนโยบายการใช้มาตรฐาน BOT QR Code ในธุรกรรมการชำระเงิน (Policy Guideline : Standardized Thai QR Code for Payment Transactions) เพื่อให้ผู้ให้บริการธุรกรรมชำระเงินในประเทศไทยใช้มาตรฐาน BOT QR Code ในการชำระเงินที่สอดคล้องกับมาตรฐานสากล เพิ่มช่องทางการชำระเงินที่สะดวกและมีต้นทุนการรับชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ต่ำลง เพิ่มความสะดวกและปลอดภัยในการชำระเงิน และสามารถต่อยอดนวัตกรรมทางการเงินและบริการชำระเงินสมัยใหม่ได้ในอนาคต


มาตรฐาน QR Code เพื่อการชำระเงินค่าสินค้าและบริการตามใบแจ้งหนี้ ซึ่งอ้างอิงตามแนวปฏิบัติในการจัดทำ Code สำหรับการชำระเงินและการโอนเงิน ลงวันที่ 31 มีนาคม 2560 โดยสามารถรองรับข้อมูลประกอบการชำระเงินอื่น เช่น ข้อมูลสำหรับการจัดทำใบเสร็จรับเงินและใบกำกับภาษี

Thai Bank Chip Card Scheme (TBCC)


ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้มีนโยบายในการปรับปรุงมาตรฐานระบบการชำระเงินของประเทศ เพื่อช่วยพัฒนาบริการทางการเงินให้เท่าทันมาตรฐานสากล โดยเฉพาะการชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ที่เป็นที่ยอมรับในอนาคต ด้วยเหตุนี้ทาง ธปท. จึงพิจารณาเห็นควรให้มีการกำหนดให้บัตรเดบิตที่ออกและมีการใช้จ่ายภายในประเทศต้องใช้มาตรฐานชิปการ์ดกลางที่เป็นมาตรฐานของประเทศไทย เพื่อให้มีความปลอดภัยเทียบเท่ามาตรฐานสากล รวมถึงกำหนดมาตรฐานของอุปกรณ์ต่าง ๆ ให้รองรับมาตรฐานไทย (Thai Standard)ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ประเภทดังนี้

  1. Local Debit
  2. Multi-Brand Debit คือ VISA+TBCC, Mastercard+TBCC และ UPI+TBCC
    โดยในปี 2558 ทาง ธปท. ได้กำหนดมาตรฐานชิปการ์ดกลางสำหรับบัตรเดบิตขึ้น และให้จัดตั้ง Thai Bank Chip Card Council (TBCC) โดยสำนักงานระบบการชำระเงิน(PSO) สมาคมธนาคารไทยเป็นผู้ดูแลหลัก และประกอบไปด้วย สมาชิกธนาคารพาณิชย์และธนาคารภาครัฐ และมีหน้าที่โดยสรุปคือ
    1. พิจารณาดูแลมาตรฐานชิปการ์ด ที่นำมาใช้ในประเทศไทย
    2. กำหนดและดูแลมาตรฐาน CA (Certification Authority)
    3. กำหนดมาตรฐาน BIN (Bank Identification Number) และ IIN (Issuer Identification Number) และ AID (Application Identifier)
    4. กำหนดและควบคุมมาตรฐาน Chip Certification, Card Certification
    5. กำหนดและดูแล Local card Brand


ซึ่งสถาบันการเงิน จะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไข Sub License Agreement (SLA) ที่ได้กำหนดไว้ร่วมกัน และเพื่อพิจารณาให้ความเห็น สำหรับหน่วยงานหรือองค์กร ที่จะขออนุมัติบัตรเดบิต ตามมาตรฐาน TBCC เพื่อยกระดับความปลอดภัยในการให้บริการการชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ ตลอดจนสร้างความเชื่อมั่นต่อระบบการเงินและระบบการชำระเงินของประเทศ และเพื่อพิจารณาให้ความเห็นสำหรับหน่วยงานหรือองค์กร ที่จะขออนุมัติบัตรเดบิตตามมาตรฐาน TBCC เพื่อยกระดับความปลอดภัยในการให้บริการการชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ ตลอดจนสร้างความเชื่อมั่นต่อระบบการเงินและระบบการชำระเงินของประเทศ


ทั้งนี้ทางกระทรวงการคลังและ ธปท. ได้มีประกาศ เรื่องกำหนดระบบการชำระเงินออกเป็นหลักเกณฑ์การกำกับดูแลการชำระเงินที่มีความสำคัญเพื่อรองรับระบบมาตรฐานกลางนี้แล้ว ครอบคลุมถึงความสำคัญกับหลักเกณฑ์การกำกับดูแลให้มีความเท่าเทียมกัน เพื่อส่งเสริมประสิทธิภาพการแข่งขันของระบบการชำระเงินภายในประเทศ ผลักดันให้สถาบันการเงินออกบัตรเดบิตให้กับประชาชน ได้ใช้กันมากขึ้น เพื่อเป็นไปตามแผนยุทธศาสตร์ ส่งเสริมการใช้ระบบการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศ (National e-Payment)

ORFT


การโอนเงินรายย่อยระหว่างธนาคาร (ORFT: On-line Retail Funds Transfer) เป็นบริการที่ผู้โอนเงินสามารถโอนเงินให้ผู้รับเงินที่มีบัญชีอยู่ต่างธนาคารได้ผ่านช่องทางต่าง ๆ ได้แก่ เครื่อง ATM เคาน์เตอร์สาขาธนาคาร หรือบริการ Internet banking โดยผู้รับเงินจะสามารถเบิกเงินในบัญชีได้ทันทีภายหลังจากที่ผู้โอนเงินทำรายการสำเร็จ ทั้งนี้ การโอนเงินผ่านบริการดังกล่าว จะใช้ได้เฉพาะในกลุ่มของธนาคารที่เป็นสมาชิกของแต่ละระบบเท่านั้น

    1. โอนผ่านเครื่อง ATM หรือเรียกว่า ATM ORFT ผู้โอนเงินสามารถทำรายการโอนเงินให้ผู้รับโอนเงินด้วยบัตร ATM ที่เครื่อง ATM ของธนาคารที่ผู้โอนเงินหรือผู้รับโอนเงินมีบัญชีอยู่ โดยระบุหมายเลขบัญชีผู้รับโอน และจำนวนเงินที่จะโอนซึ่งสูงสุดไม่เกิน 30,000 บาทต่อครั้ง แล้วผู้โอนจะได้ ATM Slip เก็บไว้เป็นหลักฐาน และบางธนาคารจะแจ้งผู้รับโอนทาง SMS ด้วย ข้อดีของการโอนแบบ ATM ORFT ผู้โอนสามารถทำรายการจากเครื่อง ATM ได้ โดยไม่ต้องเสียเวลาเดินทางไปโอนเงินที่สาขาธนาคาร และไม่ต้องเสียเวลารอคิวหรือรอวัน/เวลาที่ธนาคารเปิดทำการเป็นวิธีโอนเงินที่ปลอดภัย ไม่ต้องเสี่ยงกับการที่ต้องพกพาเงินสดไปที่ธนาคารค่าธรรมเนียมเท่ากันทั่วประเทศ ไม่ว่าจะเป็นการโอนเงินภายในจังหวัดเดียวกันหรือข้ามจังหวัดโอนเงิน
    2. โอนผ่านเคาน์เตอร์สาขาของธนาคาร หรือเรียกว่า Counter ORFT ผู้โอนเงินสามารถทำรายการโอนเงินที่เคาน์เตอร์สาขาของธนาคารที่เปิดให้บริการ โดยผู้โอนเงิน ไม่จำเป็นต้องมีบัญชีเงินฝากกับธนาคารนั้นก็ได้ ซึ่งโอนได้สูงสุดไม่เกิน 100,000 บาทต่อครั้ง แล้วผู้โอนจะได้ใบบันทึกรายงานโอนเงิน (Pay-in Slip) เก็บไว้เป็นหลักฐาน ข้อดีของการโอนแบบ Counter ORFT ผู้โอนเงินไม่จำเป็นต้องเปิดบัญชีกับธนาคาร โดยสามารถใช้บริการที่ธนาคารใดก็ได้ที่เป็นสมาชิกในระบบโอนเงิน
    3. โอนผ่าน Internet banking หรือ Internet ORFT ผู้โอนเงินสามารถทำรายการโอนเงินผ่านระบบอินเทอร์เน็ต ซึ่งผู้โอนเงินต้องเปิดบัญชีธนาคารไว้ ซึ่งโอนได้สูงสุด 100,000 บาทต่อครั้ง และยืนยันการทำรายการด้วยการระบุรหัส OTP (One-Time Password) ที่ธนาคารแจ้งทาง SMS ในแต่ละครั้ง ข้อดีของการใช้บริการโอนเงินแบบ Internet ORFT ผู้โอนสามารถทำรายการโอนได้ตลอด 24 ชั่วโมงจากสถานที่ใดก็ได้ที่สามารถเชื่อมต่อระบบอินเทอร์เน็ตได้ โดยไม่ต้องเสียเวลาเดินทางไปโอนเงินที่สาขาธนาคาร และไม่ต้องเสียเวลารอคิวหรือรอวัน/เวลาที่ธนาคารเปิดทำการ นอกจากนี้ ผู้โอนยังสามารถทำรายการเพื่อสั่งโอนล่วงหน้า หรือสั่งโอนที่มีความถี่เป็นประจำได้เป็นวิธีโอนเงินที่ปลอดภัย ไม่ต้องเสี่ยงกับการที่ต้องพกพาเงินสดไปที่ธนาคารเรียกดูประวัติและรายละเอียดการโอนย้อนหลังได้


ข้อควรระวังในการใช้บริการโอนเงิน ORFT ควรตรวจสอบเลขที่บัญชีผู้รับเงิน ชื่อผู้รับเงิน และจำนวนเงินที่โอนให้ถูกต้องก่อนยืนยันการทำรายการควรศึกษาเงื่อนไขเกี่ยวกับจำนวนเงินสูงสุดที่โอนได้ต่อครั้ง และค่าธรรมเนียมในการใช้บริการผ่านช่องทางต่าง ๆ เพื่อให้สามารถเลือกใช้ช่องทางได้อย่างเหมาะสม และประหยัดค่าธรรมเนียมได้มากที่สุด เช่น ATM ORFT สามารถทำรายการโอนเงิน ครั้งละไม่เกิน 30,000 บาท กรณีต้องการโอนเงินเกินกว่า 30,000 บาท สามารถทำรายการหลาย ๆ ครั้งได้ (เช่น ต้องการโอนเงิน 60,000 บาท สามารถทำรายการ 2 ครั้ง มีค่าธรรมเนียมครั้งละ 35 บาท รวมเป็น 70 บาท) อย่างไรก็ดี บัตรเอทีเอ็มหรือบัตรเดบิตแต่ละใบมีการกำหนดจำนวนเงินโอนสูงสุดที่โอนได้ต่อวันแตกต่างกันไปกรณีใช้บริการการโอนผ่าน Internet Banking ควรตรวจสอบเลขที่บัญชีซึ่งปรากฎใน SMS ที่แจ้งรหัส OTP เพื่อให้แน่ใจว่าเป็นหมายเลขบัญชีที่ต้องการโอน ก่อนทำรายการโอน รวมทั้งควรมีการอัพเดท Anti-virus software อยู่เสมอ

พร้อมเพย์ (PromptPay)


พร้อมเพย์ เป็นบริการทางเลือกใหม่ให้ภาคประชาชน ภาคธุรกิจ และหน่วยงานต่าง ๆ ภายใต้แผนกลยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานระบบการชำระเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติ (National e-Payment Master Plan) ของรัฐบาล เป็นการให้บริการระบบการโอนเงินแบบ Online Real time โดยมีแนวคิดการพัฒนารูปแบบการใช้ข้อมูล Proxy ID พื้นฐาน 3 ประเภท ได้แก่ หมายเลขบัตรประชาชน (National ID) หมายเลขโทรศัพท์มือถือ (Mobile no.) และ e-wallet ID เพื่อทำรายการชำระเงินหรือโอนเงินระหว่างธนาคารได้ โดยธนาคารผู้โอนจะตัดบัญชีลูกค้าผู้โอนเงิน เพื่อไปเข้าบัญชีผู้รับโอนที่อยู่ต่างธนาคารและผู้รับโอนเงินจะได้รับเงินทันทีเมื่อทำรายการเรียบร้อยแล้ว โดยแนวทางการดำเนินการ คือ การสร้าง Centralized Registration Database เพื่อให้ประชาชนสามารถลงทะเบียนเพื่อผูก PromptPay ID กับเลขที่บัญชีธนาคารผ่านช่องทางของสถาบันการเงินต่าง ๆ เช่น Branch, ATM, Call Center, Internet Banking และ Mobile Banking เมื่อลูกค้าทำรายการโอนเงินผ่านช่องทางต่างๆ ของธนาคารเข้ามา ระบบจะทำการค้นหาหมายเลขบัญชีเงินฝากธนาคารของผู้รับโอนเงินปลายทางที่ผูกไว้กับ PromptPay ID นั้นในฐานข้อมูลกลาง ที่ลูกค้าได้ลงทะเบียนไว้แล้ว ก่อนทำการโอนเงินไปเข้าบัญชีผู้รับโอนที่มีบัญชีอยู่ธนาคารปลายทาง


พร้อมเพย์ จึงเป็นบริการทางเลือกใหม่ ใช้ในการโอนเงินและรับเงิน เป็นบริการเพิ่มจากการโอนเงินแบบเดิม มีความสะดวกมากขึ้น เพราะบริการพร้อมเพย์จะใช้เลขประจำตัวประชาชน หรือหมายเลขโทรศัพท์มือถือของผู้รับเงินแทนได้ ทำให้สะดวกและง่ายต่อการจดจำ จากเดิมที่ต้องรู้เลขที่บัญชีเงินฝากธนาคารจึงจะโอนเงินให้ได้



ลักษณะ

  • เป็นการชำระเงินแบบ Online / Real-time Payment
  • มีการจำกัดวงเงินต่อรายการหรือต่อวันตามเกณฑ์ของแต่ละธนาคารที่ให้บริการโดยไม่เกิน 2 ล้านบาท

Bulk Payment (SMART)


เป็นบริการสำหรับรายการโอนเงินระหว่างธนาคารที่มีจำนวนเงินไม่สูง แต่มีปริมาณรายการจำนวนมาก และผู้รับโอนที่อยู่ต่างธนาคารจะได้รับเงินในวันไหนนั้น ขึ้นอยู่กับการเลือกใช้บริการแบบ Same Day (DC2) หรือ Next Day (DC3)เช่น

  • จ่ายเงินเดือน ค่าจ้าง บำนาญ เข้าบัญชีพนักงานหรือลูกจ้าง
  • จ่ายเงินปันผลของบริษัทเข้าบัญชีผู้ถือหุ้น
  • จ่ายคืนภาษีของกรมสรรพากร
  • จ่ายดอกเบี้ยตราสารต่าง ๆ

Bulk Payment Same Day (DC2) เป็นการโอนเงินจากลูกค้าของธนาคารหนึ่ง ไปเข้าบัญชีของลูกค้าอีกธนาคารหนึ่ง ซึ่งลูกค้าจะได้รับเงินในวันที่โอนเงิน ซึ่งเพิ่มความสะดวกให้ลูกค้ามากขึ้นไม่ต้องรอรับเงินในวันทำการถัดไป ประเภทของรายการเหมือนกับการใช้ Bulk Payment Credit Next Day


Bulk Payment Next Day (DC3) เป็นการโอนเงินจากลูกค้าของธนาคารหนึ่ง ไปเข้าบัญชีของลูกค้าอีกธนาคารหนึ่ง ซึ่งลูกค้าจะได้รับเงินในวันทำการถัดไป นับจากวันที่โอนเงิน



ลักษณะ

  • เป็นการชำระเงินแบบ Batch / Bulk Payment ส่งคำสั่งทีละหลายรายการเป็นไฟล์
  • มีการกำหนดวงเงินต่อรายการไม่เกิน 2 ล้านบาท

BAHTNET


ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้พัฒนาระบบบาทเนต (Bank of Thailand Automated High-value Transfer Network : BAHTNET) เป็นโครงสร้างพื้นฐานทางการเงินเพื่อรองรับการโอนเงินมูลค่าสูงระหว่างสถาบันการเงินและสถาบันที่มีบัญชีเงินฝากกับ ธปท. ในลักษณะ Real-Time Gross Settlement (RTGS) และเริ่มให้บริการตั้งแต่วันที่ 24 พฤษภาคม 2538 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยลดความเสี่ยงในการชำระดุลระหว่างสถาบันการเงินที่มีบัญชีเงินฝากกับ ธปท. และเพื่อให้การโอนเงินสำหรับบุคคลที่สามมีประสิทธิภาพ รวดเร็ว และปลอดภัย ทั้งนี้ ก่อนที่จะมีบริการระบบบาทเนต การชำระเงินระหว่างสถาบันการเงินส่วนใหญ่จะดำเนินการโดยการใช้เช็ค ซึ่งผู้รับโอนเงินจะไม่ได้รับเงินทันทีเนื่องจากต้องผ่านกระบวนการเรียกเก็บและการชำระเงินระหว่างธนาคารผู้สั่งจ่ายและธนาคารผู้รับโอนก่อน ผู้รับโอนเงินจึงยังคงมีความเสี่ยง เนื่องจากการชำระเงินไม่ได้มีผลสิ้นสุดทันที (finality) ซึ่งอาจนำไปสู่ความเสี่ยงของระบบการชำระเงินโดยรวมได้


ผู้ใช้บริการบาทเนตสามารถเชื่อมโยงกับระบบบาทเนต ได้ 2 ช่องทาง ได้แก่

  1. การเชื่อมโยงและรับส่งข้อความผ่านเครือข่าย S.W.I.F.T ซึ่งเป็นเครือข่ายสากลที่ใช้ในการส่งข้อความทางการเงิน ผู้ใช้บริการจะต้องส่งข้อความตามรูปแบบมาตรฐานของ S.W.I.F.T ทั้งนี้ ผู้ใช้บริการที่ใช้ระบบ S.W.I.F.T สามารถพัฒนาระบบงานภายในให้เชื่อมโยงกับ ธปท. โดยตรงในลักษณะ Straight-through Processing (STP) ได้
  2. การเชื่อมโยงและรับส่งข้อความผ่าน BOT WEB PORTAL ในระบบ Electronic Financial Service (EFS) ของ ธปท.โดยใช้บริการ BAHTNET Service และผู้ใช้บริการที่ส่งข้อความผ่านช่องทางนี้สามารถส่งข้อความตามรูปแบบที่ ธปท. ได้พัฒนาขึ้นในรูปแบบที่มีลักษณะเดียวกับรูปแบบมาตรฐานของ S.W.I.F.T เช่นเดียวกัน

อย่างไรก็ตาม ผู้ใช้บริการทุกสถาบันทั้งที่เป็นสมาชิก S.W.I.F.T. และที่ไม่เป็นสมาชิกจะต้องติดตั้ง BAHTNET Service เพื่อใช้ในการสอบถามข้อมูลที่เกี่ยวกับยอดคงเหลือหรือความเคลื่อนไหวของบัญชีเงินฝาก หรือบัญชีตราสารหนี้ รวมทั้งใช้ในการจัดการคิวสำหรับรายการที่ส่งผ่านระบบบาทเนตและการจัดการรายงานสิ้นวัน


ระบบบาทเนตเปิดให้บริการทุกวันทำการธนาคารตั้งแต่เวลา 8.30 น. ถึง17.30 น. โดยมีบริการประเภทต่าง ๆ ดังนี้


  1. การโอนเงิน (Funds Transfer) ผู้ใช้บริการสามารถสั่งโอนเงินจากบัญชีเงินฝากของตนที่ธนาคารแห่งประเทศไทยไปเข้าบัญชีเงินฝากของผู้ใช้บริการอื่นหรือโอนเงินระหว่างบัญชีของตนเองที่ธนาคารแห่งประเทศไทย
  2. การโอนเงินเพื่อบุคคลที่สาม (Third Party Funds Transfer) เป็นการโอนเงินตามคำสั่งของลูกค้าที่สั่งให้ธนาคารผู้สั่งโอนทำการโอนเงินเข้าบัญชีผู้รับผลประโยชน์ซึ่งอยู่อีกธนาคารหนึ่ง โดยการโอนเงินดังกล่าวดำเนินการภายในวันเดียวกัน (same day basis)
  3. การสอบถามข้อมูล (Inquiry) ผู้ใช้บริการสามารถใช้ระบบบาทเนตเรียกดูข้อมูลที่เกี่ยวกับบัญชีเงินฝากของตนที่ธนาคารแห่งประเทศไทย เช่น ยอดคงเหลือ ความเคลื่อนไหวในบัญชีและสอบถามรายการรับส่งข้อมูลที่รอดำเนินการและที่ดำเนินการสำเร็จแล้ว
  4. การสื่อสารระหว่างกัน (Bilateral Communication) ผู้ใช้บริการสามารถส่งข่าวสารผ่านระบบบาทเนตไปยังผู้ใช้บริการอื่น ๆ ได้ตลอดเวลาที่ระบบเปิดให้บริการ
  5. การประกาศข้อความ (Message Broadcast) โดยปกติจะเป็นการประกาศข้อความของธนาคารแห่งประเทศไทยถึงผู้ใช้บริการทั้งหมด หากผู้ใช้บริการรายใดต้องการส่งข่าวสารให้ผู้ใช้บริการทั้งหมดในระบบทราบก็สามารถขอให้ธนาคารแห่งประเทศไทย ดำเนินการประกาศให้ได้
  6. การชำระดุล (Multilateral Funds Transfer - MFT) เป็นกระบวนการโอนเงินพร้อมกันหลายฝ่ายที่ธนาคารแห่งประเทศไทยใช้ในการชำระดุลการหักบัญชีของผู้ใช้บริการ (ทำการ debit และ credit บัญชีพร้อมกัน) เช่น ดุลการหักบัญชีเช็คและดุลการโอนเงิน


แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม: https://www.bot.or.th/Thai/PaymentSystems/PSServices/bahtnet/Pages/default.aspx


Switch-to-Switch Model


เป็นแนวทางการเชื่อมโยงระบบการชำระเงินกับต่างประเทศ ที่เกิดขึ้นจาก Policy-driven โดยการสนับสนุนของธนาคารกลางทั้งสองประเทศ เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อภาคประชาชน ได้รับบริการที่มีประสิทธิภาพและต้นทุนต่ำ และผู้ให้บริการตอบโจทย์ลูกค้าได้หลากหลาย เพิ่มโอกาสทางธุรกิจ

Sponsor Bank Model


เป็นแนวทางการเชื่อมโยงระบบการชำระเงินกับต่างประเทศ ที่เกิดขึ้นจาก Business-driven โดยมีธนาคารหนึ่งเป็นผู้ให้บริการเชื่อมโยงกับธนาคารหรือผู้ให้บริการชำระเงินในต่างประเทศ

SWIFT


เป็นบริการโอนเงินผ่านธนาคารที่เป็นสมาชิกระบบด้วย SWIFT Code ซึ่งเป็นรหัสที่ใช้สำหรับระบุธนาคาร และสาขาของธนาคารทั่วโลก (Bank Identifier Code) ใช้ในการโอนเงินระหว่างธนาคาร โดยเฉพาะระหว่างประเทศ เพื่อความสะดวกรวดเร็ว รหัสของมาตรฐานนี้มักเรียกกันว่า BIC code หรือ SWIFT Code โดยธนาคารมีช่องทางการให้บริการโอนเงินไปต่างประเทศผ่านทาง Mobile Banking, Internet Banking การทำธุรกรรม ง่าย สะดวกสบาย ปลอดภัย และที่สำคัญไม่ต้องเดินทางไปที่สาขาธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดวงเงินสูงสุดที่สามารถโอนจากประเทศไทยได้ โดยขึ้นอยู่กับแหล่งที่มาของเงิน และ/หรือวัตถุประสงค์ของการโอนเงิน รวมถึงเอกสารประกอบ เช่น ชำระค่าสินค้าและบริการ เอกสารประกอบ คือ ใบแจ้งราคาสินค้า เป็นต้น

PromptBiz


Smart Financial Infrastructure and Payment for Business หรือ PromptBiz เป็นโครงสร้างพื้นฐานการชำระเงินและการค้าสำหรับภาคธุรกิจ เพื่อสนับสนุนการชำระเงิน และการทำธุรกรรมการค้าภายในประเทศทำให้ข้อมูลต่าง ๆ ได้ถูกเชื่อมโยง มีความสอดคล้องกับมาตรฐานสากล สามารถต่อยอดนวัตกรรม และเพิ่มการเข้าถึงแหล่งเงินทุนของภาคธุรกิจ

National Digital ID (NDID)


National Digital ID (NDID) Platform อยู่ภายใต้การควบคุมของบริษัท เนชั่นแนลดิจิทัล ไอดี จำกัด (National Digital ID Co., Ltd.: NDID) เป็นบริษัทร่วมทุนระหว่าง ธนาคารพาณิชย์ไทย บริษัทหลักทรัพย์ บริษัทจัดการกองทุน บริษัทประกันชีวิต บริษัทประกันวินาศภัย บริษัทผู้ให้บริการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย บริษัทไปรษณีย์ไทย ซึ่งแต่ละบริษัทอยู่ภายใต้การกำกับ จึงมั่นใจได้ว่าหน่วยงานที่กำกับและบริษัทเหล่านั้นต้องปฏิบัติตามกฏหมายและกฏเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องเรื่องความปลอดภัยของข้อมูล


NDID Platform คือ Platform กลางใช้ในการเป็นโครงสร้างพื้นฐานของการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล เพื่อเชื่อมโยงหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนเข้าด้วยกัน เป็นระบบกลางสำหรับบริหารจัดการ Digital ID เพื่อสนับสนุนกระบวนการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ของบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล เช่น การตรวจพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล (e-KYC) การลงนามด้วยลายมือชื่อดิจิทัล (e-Signature) การให้ความยินยอมในการเปิดเผยข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-Consent) เป็นการสร้างมาตรฐานและยกระดับการทำธุรกรรมต่าง ๆ ให้มีความน่าเชื่อถือมากขึ้น อีกทั้งยังเป็นการสร้างระบบ Data Sharing โดยทำหน้าที่เชื่อมต่อข้อมูลของหน่วยงานต่าง ๆ อย่างไรก็ตามการ Data Sharing ดังกล่าวต้องได้รับการยินยอมจากเจ้าของข้อมูลก่อนจึงจะสามารถเชื่อมต่อข้อมูลได้


หลักการออกแบบป็นแบบ Data Security and Privacy by Design เป็นบริการที่มีความปลอดภัยสูงด้วยการเข้ารหัสในการรับส่งข้อมูล และระบบไม่มีการรวมศูนย์เก็บข้อมูล ข้อมูลยังคงอยู่กับหน่วยงานที่ดูแลข้อมูลและให้บริการลูกค้า ระบบถูกออกแบบภายใต้แนวคิด Decentralized ด้วยเทคโนโลยี Blockchain



องค์ประกอบสำคัญ NDID Platform คือ

  1. RP (Relying Party)
    หน่วยงานซึ่งเป็นผู้ให้บริการโดยตรงกับลูกค้า และต้องการระบบยืนยันตัวตน โดยให้บริการลูกค้าได้ทั้ง F2F (Face to Face) และ NonF2F ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ต้องการรับบริการรูปแบบใหม่ เพื่อให้สามารถหาลูกค้าใหม่ได้มากขึ้น พร้อมทั้งช่วยในการลดต้นทุนการบริการ
  2. IdP (Identity Provider)
    หน่วยงานซึ่งมีหน้าที่พิสูจน์และยืนยันตัวตนของผู้ขอใช้บริการ ซึ่งจะต้องปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ของธนาคารแห่งประเทศไทยและสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) โดยสามารถออกสิ่งที่ใช้ยืนยันตัวตนได้ เช่น Mobile Banking หน่วยงานเหล่านี้ได้แก่ ธนาคาร และบริษัทโทรคมนาคม
  3. AS (Authoritative Source)
    หน่วยงานที่มีข้อมูลส่วนบุคคลที่น่าเชื่อถือของผู้ขอใช้บริการ เช่น ธนาคาร บริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติ (NDB) และหน่วยงานรัฐ

ประโยชน์

  1. ลดความยุ่งยาก ซับซ้อนในการพิสูจน์และยืนยันตัวตนที่เปลืองทรัพยากรเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นเวลาและแรงงาน
  2. ช่วยอำนวยความสะดวกให้ผู้รับบริการสามารถทำธุรกรรมต่าง ๆ ได้อย่างสะดวก รวดเร็ว ประหยัดเวลา และไม่ต้องมีหลาย ID
  3. ยกระดับการทำธุรกรรมของประเทศไทยให้มีความปลอดภัยสูงตามมาตรฐานสากล โดยมีความปลอดภัยสูงกว่าการทำธุรกรรมที่มีการพิสูจน์และยืนยันตัวตนด้วยสำเนาบัตรประชาชน


NDID Platform ไม่ใช่ระบบเก็บข้อมูลรวมศูนย์ ข้อมูลส่วนบุคคลยังคงเก็บอยู่ที่ RP, IdP และ AS ดังนั้น NDID จึงไม่เห็นข้อมูลการทำธุรกรรม เป็นการเก็บแค่ข้อมูล Timestamp บนระบบ Blockchain ว่าสมาชิกมีการร้องขอการพิสูจน์และยืนยันตัวตนไปที่ IdP และ AS มีการส่งข้อมูลกลับไปยัง RP สำหรับการส่งข้อมูลจาก AS กลับมายัง RP เป็นการส่งนอก NDID Platform แต่รับส่งกันด้วยมาตรฐานที่ NDID เป็นผู้ออกแบบให้ จึงมั่นใจได้ว่า NDID จะไม่เห็นข้อมูลใด ๆ ของลูกค้า